เข้าใจว่าวิธีการพิจารณาคดีความในประเทศไทย ให้ถือว่า จำเลย เป็นผู้บริสุทธิ ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้โดยไม่มีข้อสงสัยว่าได้กระทำผิดจริง หากยังไม่ปราศจากข้อสงสัย ก็ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
แต่นั่นคงเป็นวิธีโบราณมากๆๆๆ เพราะช่วงนี้ มักเห็นว่า จำเลย ผิดแน่นอน ถ้าหาข้อกฎหมายว่าผิดไม่ได้ ก็ให้ปรับใช้ หรือขยายความ เอาผิดให้ได้ ..
ดังนั้นไม่แปลกใจว่าสมัยนี้การที่ "..แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต.." จะสามารถเอาผิด เอาโทษคนได้ เหมือนกับที่เคยเห็นมาในกรณีก่อนๆนี้
คำพิพากษาคดีหนึ่ง
"แม้โจทก์ยังไม่สามารถนำสืบพยานอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ [ทำผิด] ตามฟ้อง"
"แต่เป็นการยากที่โจทก์จะสืบด้วยประจักษ์พยาน"
ปปช. คนหนึ่งว่าไว้
"กฎหมายสามารถปรับมาใช้กับผู้คนโดยมีทฤษฏีมาสนับสนุน เมื่อกฎหมายออกมาแล้วจะต้องสามารถใช้ได้ แม้จะไม่เป็นธรรมกับทุกคน"
คำวินิจฉัย คดีหนึ่งว่าไว้
" ... การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผลจึงมิใช่แปลคำว่า “ลูกจ้าง” ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากร เท่านั้น...
... ดังนั้น คำว่า “ลูกจ้าง” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ จึงมีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลความตามความหมายทั่วไป..."
อดีตเลขาฯ อะไรก็ช่างเถอะ
"บัดนี้เราต้องการนักกฎหมายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงทาสของกฎหมายที่นักการเมืองเขียนกฎหมายขึ้นเพื่อปกป้องประโยชน์ของตนเองและแนวร่วมพันธมิตรของเขา นักกฎหมายต้องมีมาตรฐาน สามารถอ่านกฎหมายออกและใช้กฎหมายได้หลากหลายวิธีเพื่อไปสู่จุดที่ถูกต้องเป็นธรรมในสังคม ไม่ว่าคุณจะเขียนกฎหมายมาอย่างไร แต่นักกฎหมายพันธุ์ใหม่จะใช้กฎหมายด้วยความเป็นอิสระ เป็นอิสระจากเจตนาของคนร่างที่ไม่คำนึงถึงฐานความถูกต้องเป็นธรรม เราจะต้องเคารพคุณธรรมที่อยู่ในกฎหมาย"
ครั้งหนึ่ง ...
"..ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการถ่วงดุลในการตรวจสอบ..."
"...ไม่ใช่การก้าวล่วงกำกับรัฐสภาแต่ให้มองในทางบวกว่าการรับคำร้องก็เพื่อทำให้ลดความตึงเครียด และความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาลและรัฐสภา..."
"...ส่วนการตีความมาตรา 68 นั้น ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ จะชัดเจนว่าการยื่นคำร้อง เป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว..."
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คงไม่อยากให้ความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นควร ในกรณีที่บุคคลออกมาวิพากษ์วิจารณ์แนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่โดยหลักการแล้วศาลตุลาการจะรับฟังในรายละเอียดคำร้องและคำชี้แจงของผู้ถูกร้อง ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้รับฟังเพียงฝ่ายหนึ่ง จากนั้นจะนำข้อเท็จจริงของแต่ละฝ่ายมาวิเคราะห์วิจัยตามหลักวิชา หากเหตุผลฝ่ายใดมีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ไม่สร้างความเสียหายและความขัดแย้งในสังคม จะรับฟังได้มากกว่าเหตุผลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง จากนั้นต้องตรวจสอบว่าสามารถใช้ข้อกฎหมายใดบ้างที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่วิเคราะห์วิจัยได้ ศาลจะต้องนำข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายมาปรับใช้คู่กัน
----
แปลว่า ถ้าฟังความแล้ว ชอบแบบไหน (เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง) ก็ตัดสินให้เป็นไปตามนั้น โดยไปหาข้อกฎหมาย (ที่ตีความเอาเองว่า) อตรงกับข้อเท็จจริง (ที่เข้าใจเอาเอง) มาปรับใช้
มิน่าเหล่า ข้อกฎหมายไม่มี ก็ใช้ พจนานุกรม
มิน่าเหล่า ถึงสุกเอาเผากิน
มิน่าเหล่า ต้องไปอ่านภาษาอังกฤษ
มิน่าเหล่า ยุบหมดทุกพรรค เว้นไว้พรรคเดียว
มิน่าเหล่า ถึงมีการยื่นยุบพรรคเลยกำหนดเวลา
มิน่าเหล่า ถึงยกเรื่องเพราะยุบสภาแล้ว
ฯลฯ
กฎหมายไทยและวิธีการพิจารณาสมัยใหม่
แต่นั่นคงเป็นวิธีโบราณมากๆๆๆ เพราะช่วงนี้ มักเห็นว่า จำเลย ผิดแน่นอน ถ้าหาข้อกฎหมายว่าผิดไม่ได้ ก็ให้ปรับใช้ หรือขยายความ เอาผิดให้ได้ ..
ดังนั้นไม่แปลกใจว่าสมัยนี้การที่ "..แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริต.." จะสามารถเอาผิด เอาโทษคนได้ เหมือนกับที่เคยเห็นมาในกรณีก่อนๆนี้
คำพิพากษาคดีหนึ่ง
"แม้โจทก์ยังไม่สามารถนำสืบพยานอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ [ทำผิด] ตามฟ้อง"
"แต่เป็นการยากที่โจทก์จะสืบด้วยประจักษ์พยาน"
ปปช. คนหนึ่งว่าไว้
"กฎหมายสามารถปรับมาใช้กับผู้คนโดยมีทฤษฏีมาสนับสนุน เมื่อกฎหมายออกมาแล้วจะต้องสามารถใช้ได้ แม้จะไม่เป็นธรรมกับทุกคน"
คำวินิจฉัย คดีหนึ่งว่าไว้
" ... การทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผลจึงมิใช่แปลคำว่า “ลูกจ้าง” ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ เพียงหมายถึงลูกจ้างตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือตามกฎหมายภาษีอากร เท่านั้น...
... ดังนั้น คำว่า “ลูกจ้าง” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ จึงมีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลความตามความหมายทั่วไป..."
อดีตเลขาฯ อะไรก็ช่างเถอะ
"บัดนี้เราต้องการนักกฎหมายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงทาสของกฎหมายที่นักการเมืองเขียนกฎหมายขึ้นเพื่อปกป้องประโยชน์ของตนเองและแนวร่วมพันธมิตรของเขา นักกฎหมายต้องมีมาตรฐาน สามารถอ่านกฎหมายออกและใช้กฎหมายได้หลากหลายวิธีเพื่อไปสู่จุดที่ถูกต้องเป็นธรรมในสังคม ไม่ว่าคุณจะเขียนกฎหมายมาอย่างไร แต่นักกฎหมายพันธุ์ใหม่จะใช้กฎหมายด้วยความเป็นอิสระ เป็นอิสระจากเจตนาของคนร่างที่ไม่คำนึงถึงฐานความถูกต้องเป็นธรรม เราจะต้องเคารพคุณธรรมที่อยู่ในกฎหมาย"
ครั้งหนึ่ง ...
"..ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการถ่วงดุลในการตรวจสอบ..."
"...ไม่ใช่การก้าวล่วงกำกับรัฐสภาแต่ให้มองในทางบวกว่าการรับคำร้องก็เพื่อทำให้ลดความตึงเครียด และความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาลและรัฐสภา..."
"...ส่วนการตีความมาตรา 68 นั้น ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ จะชัดเจนว่าการยื่นคำร้อง เป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว..."
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คงไม่อยากให้ความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นควร ในกรณีที่บุคคลออกมาวิพากษ์วิจารณ์แนวทางการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่โดยหลักการแล้วศาลตุลาการจะรับฟังในรายละเอียดคำร้องและคำชี้แจงของผู้ถูกร้อง ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้รับฟังเพียงฝ่ายหนึ่ง จากนั้นจะนำข้อเท็จจริงของแต่ละฝ่ายมาวิเคราะห์วิจัยตามหลักวิชา หากเหตุผลฝ่ายใดมีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ไม่สร้างความเสียหายและความขัดแย้งในสังคม จะรับฟังได้มากกว่าเหตุผลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง จากนั้นต้องตรวจสอบว่าสามารถใช้ข้อกฎหมายใดบ้างที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่วิเคราะห์วิจัยได้ ศาลจะต้องนำข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายมาปรับใช้คู่กัน
----
แปลว่า ถ้าฟังความแล้ว ชอบแบบไหน (เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง) ก็ตัดสินให้เป็นไปตามนั้น โดยไปหาข้อกฎหมาย (ที่ตีความเอาเองว่า) อตรงกับข้อเท็จจริง (ที่เข้าใจเอาเอง) มาปรับใช้
มิน่าเหล่า ข้อกฎหมายไม่มี ก็ใช้ พจนานุกรม
มิน่าเหล่า ถึงสุกเอาเผากิน
มิน่าเหล่า ต้องไปอ่านภาษาอังกฤษ
มิน่าเหล่า ยุบหมดทุกพรรค เว้นไว้พรรคเดียว
มิน่าเหล่า ถึงมีการยื่นยุบพรรคเลยกำหนดเวลา
มิน่าเหล่า ถึงยกเรื่องเพราะยุบสภาแล้ว
ฯลฯ