คัดย่อสรุปเหตุตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ จากหนังสือ "บางระจัน" ของไม้ เมืองเดิม



เนื้อหา ส่วนหนึ่งจาก "คำนำเสนอ" ของหนังสือ  "บางระจัน" ของ ไม้ เมืองเดิม บอกเล่าคัดย่อสรุปเหตุตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์

-----------------------------------------

สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (กรมขุนพรพินิต) ครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๑๐ วัน แล้วทรงถวายราชสมบัติแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐาธิราช ส่วนพระองค์เสด็จออกทรงผนวช ณ วันเดิม แล้วมาประทับอยู่ ณ วันประดู่

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ได้กระทำพิธีราชาภิเษกแล้ว ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด สมเด็จพระราชบิดาจึงไม่มอบราชสมบัติให้ เมื่อพระองค์ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดังนี้ จึงทำให้เกิดความระส่ำระสายในหมู่เจ้านายและข้าราชการทั้งปวง ต่างแยกตัวออก หรือไม่ก็แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า ทั้งไม่เต็มใจปฏิบัติราชการ เมื่อเป็นเช่นนี้ บ้านเมืองย่อมอ่อนแอ และไม่เจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ข้าศึกมองเห็นช่องทางที่จะมีชัยชนะได้ง่าย

ใน พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลอพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นของไทย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทยยกออกไปป้องกันถึง ๓ ทัพ แต่ก็พ่ายแพ้พม่ากลับพระนครทั้งสิ้น ฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่าย ก็ได้ใจยกล่วงเข้าเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นข้าราชการและราษฏรได้พากันไปกราบทูลวิงวอนเจ้าฟ้ากรมขุนพินิจให้ทรงลาผนวชมาจัดการรักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตาม กองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ตั้งใจปฏิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้ามาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญาถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงยกทัพกลับไปทางเหนือตามแนวแม่น้ำใหญ่ ในวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๐๓ พอถึงตำบลเมาะกะโลก นอกด่านเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สวรรคต ครั้งนั้นกองทัพไทยยกตามไปแต่ไม่ทันทัพพม่า เมื่อบ้านเมืองสงบศึก เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตก็เสด็จออกทรงผนวชอีกเพราะเข้าพระทัยดีว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงรังเกียจพระองค์

ทางฝ่ายพม่า เกิดความไม่สงบในแผ่นดิน ต้องปราบจลาจลอยู่เป็นเวลานาน ไทยจึงไม่ต้องเผชิญกับศัตรูที่กล้าแข็ง แต่ระหว่างนี้ก็มีเหตุการณ์ไม่สงบต่างๆ เกิดขึ้นในเมืองไทยอยู่เนืองๆ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๐๗ พรเจ้ามังระกษัตริย์พม่าขึ้นครองราชย์ต่อจากมังลอกพระเชษฐา คิดจะตีกรุงศรีอยุธยาอีก แต่ได้ข่าวว่าเมืองทวายขบถ จึงโปรดให้จัดทัพเป็น ๒ ทัพ ทัพแรกมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๕,๐๐๐ ยกมาทางใต้ ตีเมืองทวายแล้วเข้าตีกรุงศรีอยุธยา อีกทัพหนึ่งให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกมาทางเหนือเพื่อบรรจบกับทัพของมังมหานรธา ตีกระหนาบกรุงศรีอยุธยา ศึกพม่าครั้งนี้เองเป็นคราวที่เกิดวีรกรรมขึ้นที่บ้างบางระจัน และกรุงศรีอยุธยาต้องสูญเสียเอกราชในที่สุด

สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๓ (พระเจ้าบรมโกศ) เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๑ ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (กรมขุนพรพินิต) ครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๑๐ วัน แล้วทรงถวายราชสมบัติแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐาธิราช ส่วนพระองค์เสด็จออกทรงผนวช ณ วันเดิม แล้วมาประทับอยู่ ณ วันประดู่

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ได้กระทำพิธีราชาภิเษกแล้ว ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด สมเด็จพระราชบิดาจึงไม่มอบราชสมบัติให้ เมื่อพระองค์ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดังนี้ จึงทำให้เกิดความระส่ำระสายในหมู่เจ้านายและข้าราชการทั้งปวง ต่างแยกตัวออก หรือไม่ก็แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า ทั้งไม่เต็มใจปฏิบัติราชการ เมื่อเป็นเช่นนี้ บ้านเมืองย่อมอ่อนแอ และไม่เจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ข้าศึกมองเห็นช่องทางที่จะมีชัยชนะได้ง่าย

ใน พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลอพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นของไทย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทยยกออกไปป้องกันถึง ๓ ทัพ แต่ก็พ่ายแพ้พม่ากลับพระนครทั้งสิ้น ฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่าย ก็ได้ใจยกล่วงเข้าเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ครั้งนั้นข้าราชการและราษฏรได้พากันไปกราบทูลวิงวอนเจ้าฟ้ากรมขุนพินิจให้ทรงลาผนวชมาจัดการรักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตาม กองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ตั้งใจปฏิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้ามาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงพระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญาถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงยกทัพกลับไปทางเหนือตามแนวแม่น้ำใหญ่ ในวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๐๓ พอถึงตำบลเมาะกะโลก นอกด่านเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สวรรคต ครั้งนั้นกองทัพไทยยกตามไปแต่ไม่ทันทัพพม่า เมื่อบ้านเมืองสงบศึก เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตก็เสด็จออกทรงผนวชอีกเพราะเข้าพระทัยดีว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงรังเกียจพระองค์

ทางฝ่ายพม่า เกิดความไม่สงบในแผ่นดิน ต้องปราบจลาจลอยู่เป็นเวลานาน ไทยจึงไม่ต้องเผชิญกับศัตรูที่กล้าแข็ง แต่ระหว่างนี้ก็มีเหตุการณ์ไม่สงบต่างๆ เกิดขึ้นในเมืองไทยอยู่เนืองๆ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๐๗ พรเจ้ามังระกษัตริย์พม่าขึ้นครองราชย์ต่อจากมังลอกพระเชษฐา คิดจะตีกรุงศรีอยุธยาอีก แต่ได้ข่าวว่าเมืองทวายขบถ จึงโปรดให้จัดทัพเป็น ๒ ทัพ ทัพแรกมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๕,๐๐๐ ยกมาทางใต้ ตีเมืองทวายแล้วเข้าตีกรุงศรีอยุธยา อีกทัพหนึ่งให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกมาทางเหนือเพื่อบรรจบกับทัพของมังมหานรธา ตีกระหนาบกรุงศรีอยุธยา ศึกพม่าครั้งนี้เองเป็นคราวที่เกิดวีรกรรมขึ้นที่บ้างบางระจัน และกรุงศรีอยุธยาต้องสูญเสียเอกราชในที่สุด

สงครามครั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ พม่ายึดได้เมืองต่างๆ หลายเมืองและได้เข้ามาตั้งทัพอยู่ชายเขตกรุงศรีอยุธยา คือ ทัพมังมหานรธา ตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ตำบลสีกุก ให้กองทัพเรือยกมาตั้งที่ตำบลบางไทร เนเมียวสีหบดียกเข้ามาตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ตำบลวัดป่าฝ้าย ปากน้ำประสบ พระเจ้าอังวะส่งทัพหนุนเข้ามาอีก คือสุรินทจอข่อง มณีจอข่อง มหาจอแทง อากาปันคยี ถือพลพันเศษยกมาทางเมาะตะมะ เดินทัพเข้ามาทางอุทัยธานี มาตั้งค่ายอยู่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ในเดือนยี่ พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาเจ่งตละเสี้ยง ตละเกล็บ คุมพลรามัญจากเมาะตะมะสองพันเศษเข้ามาทาง กาญจนบุรี มาถึงค่ายตอกระออมแล้วยกทัพเรือหนุนเข้ามาตั้งค่ายอยู่ ณ ขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ จะเห็นได้ว่าขณะนั้นกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตั้งค่ายล้อมไว้โดยรอบ ถ้าแม่ทัพนายกองของไทยทำการศึกกันโดยเต็มกำลังแล้ว กองทัพพม่าก็จะไม่สามารถบุกเข้ามาถึงชานพระนครได้

เนเมียวสีหบดี ได้ให้ทหารกองหนึ่งออกลาดตระเวนกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินทางเมืองวิเศษชัยชาญ และเมื่อรู้ว่าผู้ใดมีลูกสาว ก็จะเรียกเอาตัวด้วย ทำให้ชายไทยพากันโกรธแค้น คิดต่อสู้พม่า ฉะนั้น ในเดือน ๓ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรค์บุรี จึงพากันคิดอุบายล่อลวงพม่า ตลอดจนซ่องสุมผู้คนไว้ เป็นจุดเริ่มต้นของวีรกรรมที่ได้รับการกล่าวขวัญว่า “ชาวบ้านบางระจัน”
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่