เกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ผ่านวรรณกรรม "พิษสวาท"
บทประพันธ์ ทมยันตี
บทโทรทัศน์ พิมมาดา พัฒนอลงกรณ์,วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข,ณัฐกฤตา แย้มศิริ
เรื่องนี้เป็นเกร็ดความรู้ที่อยากจะเขียนนานแล้ว แต่กลัวว่าเขียนไปจะเฉลยตอบจบของละครพิษสวาท
อย่างที่ทราบกันดีว่า เรื่องพิษสวาท ในภาคของอดีตนั้นเกิดขึ้นในสมัยของ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
หรือที่รู้จักกันดีว่า พระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301 -พ.ศ. 2310
พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมารดาคือ กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)
ซึ่งมีเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ( เชื้อสายทางยายของพระเจ้าเอกทัศน์ สันนิษฐานว่า พราหมณ์ที่นี่สืบตระกูลมาจากอินเดียตอนกลาง)
ก่อนที่ัพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จะสวรรคตนั้น พระองค์โปรดให้เจ้าฟ้าดอกเดื่อ หรือเจ้าฟ้าอุทุมพร พระอนุชาร่วมมารดาเดียวกัน เป็นรัชทายาท
แต่พอพระองค์สวรรคตแล้ว แม้ว่าพระเจ้าอุทุมพร จะเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อีกสองเดือนถัดมา ก็ยกพระราชสมบัติให้ พระเจ้าเอกทัศน์ปกครอง
พงศาวดารหลายเล่ม ระบุว่า พระเจ้าเอกทัศน์เสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
จนทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น พระเจ้าอุทุมพรทรงยอมสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวชที่วัดประดู่ทรงธรรม
ครองราชญ์ได้สองปี ทัพของพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่ายกทัพมา พระเจ้าอุทุมพร ก็ลาผนวชออกมาช่วย สงครามสงบก็กลับไปผนวชใหม่
กระทั่งมาถึง สงครามในคราวเสียกรุง ๒๓๑๐ เจ้าฟ้าอุทุมพร ไม่ลาผนวชมาช่วย
และกรุงศรีฯ ถูกตีแตก พม่าเข้าเมือง กวาดต้อนผู้คน กรุงศรีฯ ถูกเผาพินาศสิ้น
เมื่อสงครามพ่ายแพ้ เราก็แสงหาแพะรับบาป ก่อนหน้านี้ พระเจ้าเอกทัศน์ รับไปเต็มๆ
ว่าเป็นคนทำให้กรุงศรีอยุธยาล่ม แต่เมื่อมีการศึกษารอบด้าน มีการตีความกันใหม่ จากเอกสารหลายๆ ฉบับ
สาเหตุของกรุงศรีฯ แตก หาใช่เพียงความอ่อนแอ ไม่เอาไหนของพระเจ้าเอกทัศน์เพียงอย่างเดียว
แต่มีปัจจัยการสูญเสียมีหลายสาเหตุ ทั้งกำลังทหารที่ขาดการฝึกฝน ไม่พร้อมรบ ทั้งขุนนางที่ไม่สามัคคี
ตั้งอยู่ในความประมาท ทั้งข้าศึกเรียนรู้ภูมิประเทศของอยุธยามาอย่างดี ทุกอย่างล้วนปกระกอบกัน
ในบทประพันธ์ "พิษสวาท" ไม่ได้ระบุถึง พระเจ้าเอกทัศน์ในบั้นปลายของชีวิต
แต่ใน บทละคร ได้ขยายเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ ตัวละครขับเคลื่อนไปได้
บั้นปลายของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น ในพงศาวดารหลายเล่ม ทั้งขุนหลวงหาวัด คำให้การชาวกรุงเก่า
จะบันทึกสอดคล้องกันว่าพระองค์ทรงหนีไป กว่า ๑๐ วัน มีเล่มหนึง่ระบุว่า หนีไปทางป่าบ้านจิก
ต่อมาถูกพม่าจับกุมตัวมาไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น
ก่อนจะเสด็จสวรรคต ทหารพม่าได้ฝังพระบรมศพไว้ที่โคกพระเมรุ ( พระเจ้ากรุงธนบุรี มาขุดแล้วอัญเชิญไปถวายพระเพลิงตามประเพณี)
ขณะเดียวกัน ในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในระหว่างการหลับหนี พระองค์ทรงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
และมีเอกสารที่เพิ่งได้รับการเผยแรพ่เป็นวงกว้าง เมื่อไม่นานมานี้ (คือในสมับเรียนจุอ่านไม่เจอ)
เป็นเอกสารคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ซึ่งเขาบอกว่าเป็นหัวหน้าฝรั่งในสยาม
เขาบอกว่า ระว่างที่ถูกกวาดต้อน กษัตริย์สูงวัย (พระเจ้าเอกทัศน์) ประชวร
ถูกลอบปลงพระชนม์โดยคนไทยด้วยกันเอง และมีพระคลังกินยาตาย (ลองเสิร์ชหา แอนโทนี โกยาตัน) จะมีเรื่องราวคำบอกเล่าของเขาอยู่)
มีนักวิชาการวิเคราะห์กันว่า พระองค์อาจจะอยู่จนวาระสุดท้ายของกรุงแตก
ไม่หนีไปไหน นั่นแสดงว่า ไม่ได้ขี้ขลาด และรักแผ่นดินไม่ด้อยไปกว่ากษัตริย์พระองค์ใด
เราถือพงศาวดารเป็นหลัก ดำเนินเรื่องตามพงศาวดารส่วนใหญ่ ว่าพระองค์ทรงหนีไปในวาระสุดท้ายของการเสียกรุงฯ
และเป็นเหตุผลที่ทำให้ พระอรรคฯ ต้องนำกำลังเข้าไปอารักขา แบ่งกำลังพาหนี และล่อให้ พม่าตามไปอีกทาง
บทละครเราใช้ช่องว่างทางประวัติศาสตร์ เข้ามาวางซีทให้สมจริงที่สุด ดังนั้น ประตูด้านใต้ จึงมีพระเจ้าเอกทัศน์ (ตัวปลอม) สวรรคตอยู่ที่นั่น
สุดท้ายนี้ จุขอบคุณทุกๆ คนที่ตามอ่านเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ น้อยๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่อง พิษสวาท
ไม่ว่าละคร หรือ นิยาย บริบทของมันคือเหตุการณ์จำลอง มันไม่ใช่งานวิชาการ
จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ แต่ที่จุคาดหวังกับละครเรื่องนี้ นี้ จะสามารถทำให้หลายๆ คน หันกลับมาสนใจประวัติศาสตร์
สิ่งที่จุรู้ อาจไม่ถูกต้อง อาจมีสิ่งบกพร่อง อาจไม่ครบถ้วน จุอยากให้คุณเอะใจ อยากรู้ต่อ แล้วคุณค้นหาข้อมูลเพิ่ม แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน
นั่นคือสิ่งที่จุอยากได้ และรู้สึกว่า จุประสบความสำเร็จแล้ว
และอย่างหนึ่งที่จุอยากบอกคือ ประวัติศาสตร์มันเป็นเรื่องราวของหลักฐาน ไม่ใช่เลขคณิต
มันจึงไม่มีคำตอบตายตัว มีแต่ข้อสันนิษฐานตามหลักฐานที่มีอยู่ เวลาผ่านไป ข้อสันนิษฐานมันสามารถเปลี่ยนไปได้
ตามหลักฐานใหม่ ดังนั้นเราต้องตีความตามบริบทของมัน ประวัติศาสตร์ มันสนุกตรงนี้ค่ะ
ขอบคุณทุกๆ ท่านนะคะที่ติดตาม ขอบุญกุศลทั้งหลาย ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง ยินดีที่ได้รู้จักกันค่ะ
จุติมา
ภาพ: จากกองละคร เป็นภาพที่จุชอบมาก มันเหมือนภาพเขียนสมัยโบราณ ขอบคุณทีมงานพิษสวาท ด้วยค่ะ
เคดิตจากคุณJu Nkt
เราชอบอ่านมากประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกในละครเรื่องนี้ มันเป็นความรู้ที่ไม่ได้มีแค่ในตำราเรียน
เลยเอามาแบ่งปันให้แฟนพิษสวาทได้อ่านกันด้วยค่ะ
เกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ผ่านวรรณกรรม "พิษสวาท" #บทจบ
บทประพันธ์ ทมยันตี
บทโทรทัศน์ พิมมาดา พัฒนอลงกรณ์,วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข,ณัฐกฤตา แย้มศิริ
เรื่องนี้เป็นเกร็ดความรู้ที่อยากจะเขียนนานแล้ว แต่กลัวว่าเขียนไปจะเฉลยตอบจบของละครพิษสวาท
อย่างที่ทราบกันดีว่า เรื่องพิษสวาท ในภาคของอดีตนั้นเกิดขึ้นในสมัยของ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
หรือที่รู้จักกันดีว่า พระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301 -พ.ศ. 2310
พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมารดาคือ กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)
ซึ่งมีเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ( เชื้อสายทางยายของพระเจ้าเอกทัศน์ สันนิษฐานว่า พราหมณ์ที่นี่สืบตระกูลมาจากอินเดียตอนกลาง)
ก่อนที่ัพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จะสวรรคตนั้น พระองค์โปรดให้เจ้าฟ้าดอกเดื่อ หรือเจ้าฟ้าอุทุมพร พระอนุชาร่วมมารดาเดียวกัน เป็นรัชทายาท
แต่พอพระองค์สวรรคตแล้ว แม้ว่าพระเจ้าอุทุมพร จะเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อีกสองเดือนถัดมา ก็ยกพระราชสมบัติให้ พระเจ้าเอกทัศน์ปกครอง
พงศาวดารหลายเล่ม ระบุว่า พระเจ้าเอกทัศน์เสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
จนทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น พระเจ้าอุทุมพรทรงยอมสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวชที่วัดประดู่ทรงธรรม
ครองราชญ์ได้สองปี ทัพของพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่ายกทัพมา พระเจ้าอุทุมพร ก็ลาผนวชออกมาช่วย สงครามสงบก็กลับไปผนวชใหม่
กระทั่งมาถึง สงครามในคราวเสียกรุง ๒๓๑๐ เจ้าฟ้าอุทุมพร ไม่ลาผนวชมาช่วย
และกรุงศรีฯ ถูกตีแตก พม่าเข้าเมือง กวาดต้อนผู้คน กรุงศรีฯ ถูกเผาพินาศสิ้น
เมื่อสงครามพ่ายแพ้ เราก็แสงหาแพะรับบาป ก่อนหน้านี้ พระเจ้าเอกทัศน์ รับไปเต็มๆ
ว่าเป็นคนทำให้กรุงศรีอยุธยาล่ม แต่เมื่อมีการศึกษารอบด้าน มีการตีความกันใหม่ จากเอกสารหลายๆ ฉบับ
สาเหตุของกรุงศรีฯ แตก หาใช่เพียงความอ่อนแอ ไม่เอาไหนของพระเจ้าเอกทัศน์เพียงอย่างเดียว
แต่มีปัจจัยการสูญเสียมีหลายสาเหตุ ทั้งกำลังทหารที่ขาดการฝึกฝน ไม่พร้อมรบ ทั้งขุนนางที่ไม่สามัคคี
ตั้งอยู่ในความประมาท ทั้งข้าศึกเรียนรู้ภูมิประเทศของอยุธยามาอย่างดี ทุกอย่างล้วนปกระกอบกัน
ในบทประพันธ์ "พิษสวาท" ไม่ได้ระบุถึง พระเจ้าเอกทัศน์ในบั้นปลายของชีวิต
แต่ใน บทละคร ได้ขยายเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ ตัวละครขับเคลื่อนไปได้
บั้นปลายของพระเจ้าเอกทัศน์นั้น ในพงศาวดารหลายเล่ม ทั้งขุนหลวงหาวัด คำให้การชาวกรุงเก่า
จะบันทึกสอดคล้องกันว่าพระองค์ทรงหนีไป กว่า ๑๐ วัน มีเล่มหนึง่ระบุว่า หนีไปทางป่าบ้านจิก
ต่อมาถูกพม่าจับกุมตัวมาไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น
ก่อนจะเสด็จสวรรคต ทหารพม่าได้ฝังพระบรมศพไว้ที่โคกพระเมรุ ( พระเจ้ากรุงธนบุรี มาขุดแล้วอัญเชิญไปถวายพระเพลิงตามประเพณี)
ขณะเดียวกัน ในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในระหว่างการหลับหนี พระองค์ทรงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
และมีเอกสารที่เพิ่งได้รับการเผยแรพ่เป็นวงกว้าง เมื่อไม่นานมานี้ (คือในสมับเรียนจุอ่านไม่เจอ)
เป็นเอกสารคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ซึ่งเขาบอกว่าเป็นหัวหน้าฝรั่งในสยาม
เขาบอกว่า ระว่างที่ถูกกวาดต้อน กษัตริย์สูงวัย (พระเจ้าเอกทัศน์) ประชวร
ถูกลอบปลงพระชนม์โดยคนไทยด้วยกันเอง และมีพระคลังกินยาตาย (ลองเสิร์ชหา แอนโทนี โกยาตัน) จะมีเรื่องราวคำบอกเล่าของเขาอยู่)
มีนักวิชาการวิเคราะห์กันว่า พระองค์อาจจะอยู่จนวาระสุดท้ายของกรุงแตก
ไม่หนีไปไหน นั่นแสดงว่า ไม่ได้ขี้ขลาด และรักแผ่นดินไม่ด้อยไปกว่ากษัตริย์พระองค์ใด
เราถือพงศาวดารเป็นหลัก ดำเนินเรื่องตามพงศาวดารส่วนใหญ่ ว่าพระองค์ทรงหนีไปในวาระสุดท้ายของการเสียกรุงฯ
และเป็นเหตุผลที่ทำให้ พระอรรคฯ ต้องนำกำลังเข้าไปอารักขา แบ่งกำลังพาหนี และล่อให้ พม่าตามไปอีกทาง
บทละครเราใช้ช่องว่างทางประวัติศาสตร์ เข้ามาวางซีทให้สมจริงที่สุด ดังนั้น ประตูด้านใต้ จึงมีพระเจ้าเอกทัศน์ (ตัวปลอม) สวรรคตอยู่ที่นั่น
สุดท้ายนี้ จุขอบคุณทุกๆ คนที่ตามอ่านเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ น้อยๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่อง พิษสวาท
ไม่ว่าละคร หรือ นิยาย บริบทของมันคือเหตุการณ์จำลอง มันไม่ใช่งานวิชาการ
จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ แต่ที่จุคาดหวังกับละครเรื่องนี้ นี้ จะสามารถทำให้หลายๆ คน หันกลับมาสนใจประวัติศาสตร์
สิ่งที่จุรู้ อาจไม่ถูกต้อง อาจมีสิ่งบกพร่อง อาจไม่ครบถ้วน จุอยากให้คุณเอะใจ อยากรู้ต่อ แล้วคุณค้นหาข้อมูลเพิ่ม แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน
นั่นคือสิ่งที่จุอยากได้ และรู้สึกว่า จุประสบความสำเร็จแล้ว
และอย่างหนึ่งที่จุอยากบอกคือ ประวัติศาสตร์มันเป็นเรื่องราวของหลักฐาน ไม่ใช่เลขคณิต
มันจึงไม่มีคำตอบตายตัว มีแต่ข้อสันนิษฐานตามหลักฐานที่มีอยู่ เวลาผ่านไป ข้อสันนิษฐานมันสามารถเปลี่ยนไปได้
ตามหลักฐานใหม่ ดังนั้นเราต้องตีความตามบริบทของมัน ประวัติศาสตร์ มันสนุกตรงนี้ค่ะ
ขอบคุณทุกๆ ท่านนะคะที่ติดตาม ขอบุญกุศลทั้งหลาย ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง ยินดีที่ได้รู้จักกันค่ะ
จุติมา
ภาพ: จากกองละคร เป็นภาพที่จุชอบมาก มันเหมือนภาพเขียนสมัยโบราณ ขอบคุณทีมงานพิษสวาท ด้วยค่ะ
เคดิตจากคุณJu Nkt
เราชอบอ่านมากประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกในละครเรื่องนี้ มันเป็นความรู้ที่ไม่ได้มีแค่ในตำราเรียน
เลยเอามาแบ่งปันให้แฟนพิษสวาทได้อ่านกันด้วยค่ะ