คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากการสั่นตัวของประจุ ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กและคลื่นไฟฟ้าที่ตั้งฉากกัน "พลังงาน"ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบที่ง่ายที่สุดเคลื่อนที่ในทิศทางตั้งฉากกับทิศpolarizationของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าตามกฎมือขวา(หรือซ้าย?) ที่เน้นว่าเป็น"พลังงาน"เพราะว่าถ้าเรามองในฐานะobserver เราจะเห็นคลื่นเคลื่อนที่เป็นรูปsine wave เหมือนกับการทดลองที่เอาเชือกผูกกับเสา แล้วเราแกว่งเชือกขึ้นลง เราจะเห็นว่าเวลาเราแกว่งมันเราไม่ได้แกว่งมันไปข้างหน้า เราแกว่งมันขึ้นลง ไม่ก็ซ้ายขวา แต่เมื่อเราขยับเส้นเชือกที่ปลายหนึ่ง พลังงานจะถูกถ่ายทอดไปข้างหน้าตามลำดับ ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้เป็นการสั่นเส้นเชือก(หรือประจุ)ในทิศทางเดียว แต่ในความจริงประจุมีการสั่นในทุกทิศทางดังนั้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจริงก็จะขึ้นอยู่กับทิศทางการสั่นของประจุ
.
.
.
พักแป๊บ ขอตอบทีละข้อ ฮา
.
.
.
พักแป๊บ ขอตอบทีละข้อ ฮา
แสดงความคิดเห็น
จริงๆแล้วคลื่นต่างๆ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มันเคลื่อนที่เป็นรูปคลื่นหรือไม่ครับ
ส่วนวัตถุดำมันมีหลักการทำงานอย่างไรทำไมมันสามาถดูดกลืนคลื่นได้ แล้ววัตถุดำมันจะแผ่รังสีออกมาเมื่อใด แล้วก็ทำไมรังสีแคโทดจึงปล่อยออกมาแต่อิเล็กตรอน มันจะมีวิธีการฉีกเอาอิเล็กตรอนออกจะอะตอม แล้วปล่อยออกมาแค่เฉพาะอิเล็กตรอนได้อย่างไร แล้วทำไมรังสีถึงต้องออกมาจากขั้วแคโทดด้วยครับ ทำไมไม่ออกมาจากแอโนดบ้าง แล้วทำไมต้องออกมาเป็นรังสีด้วยครับ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณครับ