นับจาก Sputnik 1** ดาวเทียมดวงแรกของโลก ที่ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 57 ปีที่แล้ว
ความตื่นตัวในการสำรวจอวกาศก็ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ และนับเป็นวาระระดับโลกกันเลยในเวลานั้น
หลายประเทศมีการอนุมัติงบประมาณมหาศาล ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสำรวจอวกาศ โดยเป้าหมายสำคัญหนึ่งในนั้นคือ
การส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลก
ในเวลานั้น การที่จะส่งดาวเทียมหนึ่งดวงขึ้นสู่วงโคจรนั้น จัดเป็นวาระยิ่งใหญ่ระดับชาติกันเลย ตั้งแต่ระดับงานวิจัย งานสร้างดาวเทียม
และหาจรวดเพื่อขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ทั้งหมดล้วนต้องใช้เวลาและทรัพยากรทั้งด้านบุคคล และงบประมาณอย่างมาก
โดยที่ทั้งหมดมันอาจจะสูญเปล่าได้ตลอดเวลา แค่ปัญหา หรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถเปลี่ยนทุกๆอย่างที่ทำมาให้เหลือเพียงเศษกระดาษ
จากการเดินทางผ่านความผิดพลาดมากมายในอดีต มนุษย์เราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างในการสร้างดาวเทียม การสร้างจรวดเพื่อส่งดาวเทียม
การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถทนต่อรังสีอันเข้มข้นในอวกาศ สร้างระบบทำความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม
สร้างแหล่งพลังงานเพื่อให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำงานได้ สร้างจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
การออกแบบที่มีความแม่นยำมาขึ้น และบทเรียนจากอดีตทำให้เราสามารถลดอัตราการสูญเสียลงได้อย่างมาก
ประสบการณ์การสูญเสียจากในอดีต และความพยายามในการพัฒนา ทำให้เราเริ่มกำหนดระบบ และกระบวนการ ที่เป็นมาตราฐานมากขึ้น
และในปี 1999 ประมาณ 42ปี หลังจากดาวเทียมดวงแรกถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
ศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari จากมหาวิทยาลัย California Polytechnic State และศาตราจารย์ Bob Twiggs จากมหาวิทยาลัย Stanford University
ได้ร่วมกันออกแบบตัวอย่าง "ดาวเทียมขนาดเล็ก - CubeSat" ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ ให้นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้าง ทดสอบ
และส่งดาวเทียมขนาดเล็กนี้ขึ้นไปทำงานบนอวกาศได้ โดยมีความสามารถเทียบเท่ากับดาวเทียม Sputnik 1**
โดยในช่วงแรกของการเริ่มต้นพัฒนา หลายๆอย่างของดาวเทียม CubeSat นั้นยังไม่ถูกกำหนดเป็นมาตราฐาน
แต่ในเวลาต่อมาด้วยเงื่อนไขด้านความปลอดภัย ทำให้มีการกำหนดมาตราฐานขึ้นมา
โดยอ้างอิงจากแบบตัวอย่างในตอนต้น ของศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari และ ศาตราจารย์ Bob Twiggs
ดาวเทียม CubeSat ดวงแรกนั้นถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร ในเดือน มิถุนายน 2003 โดยไปกับจรวด Eurockot ของบริษัทเอกชนสัญชาติรัสเซีย
และในปี 2012 มี ดาวเทียม CubeSat มากถึง 75 ดวง ที่ถูกส่งขึ้นไปในปีนั้น
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการดาวเทียมขนาดเล็กนั้น เริ่มขึ้นเมื่อในปี 1995
นักศึกษาจากห้องวิจัยและพัฒนาระบบที่ใช้ในอวกาศของ มหาวิทยาลัย Stanford University (Stanford University's Space System Development Laboratory-SSDL) ได้เริ่มพัฒนาระบบปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กอัตโนมัติสู่วงโคจร (Orbiting Picosatellite Automatic Launcher - OPAL)
ซึ่งภาระกิจของ OPAL นั้นคือการทำศึกษาความเป็นไปได้ในการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก 6 ดวง ออกจากยานแม่ (ดาวเทียมดวงที่ใหญ่กว่า)
ยานแม่ ในโครงการ OPAL
ยานลูกที่ถูกปล่อยออกจากยานแม่ในโครงการ OPAL
จากแรงบันดาลใจ และประสบการณ์การทำงานจากโครงการ OPAL
ทำให้ศาสตราจารย์ Bob Twiggs เริ่มมองขนาดที่เหมาะสมสำหรับดาวเทียมขนาดเล็ก ที่สามารถติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ใว้ทุกด้านบนตัวยานได้
จนมาลงตัวที่ขนาด 10x10x10 cm หรือ 4"x4"x4" (1U) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวคิดมาตราฐานสำหรับดาวเทียม CubeSat
และการปล่อยดาวเทียม CubeSat เข้าสู่วงโคจรนั้น ก็พัฒนาเพิ่มเติมจาก วิธีที่ใช้ในการส่งดาวเทียมขนาดเล็ก จากยานแม่ ในโครงการ OPAL
ในฤดูร้อนของปี 1999 ศาสตราจารย์ Bob Twiggs ก็ได้เสนอแนวความคิดนี้กับ ศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari
และงานประชุมวิชาการ JUSTSAP (Japan-U.S. Science,Technology, and Space Applications Program) ในเดือนพฤศจิกายนปี 1999
ในการส่งดาวเทียม CubeSat ครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2003 ที่ฐานปล่อยจรวด Plesetsk
และใช้บริการจรวดเอกชนของบริษัท Eurockot Launch Services สัญชาติรัสเซีย
โดยประกอบไปด้วยดาวเทียม CubeSat จาก 4 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 6 ลำดังนี้
AAU CubeSat จากมหาวิทยาลัย Aalborg University และ DTUsat จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งชาติ - ประเทศเดนมาร์ค
CubeSat XI-IV จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และ CUTE-1 จากสถาบันเทคโนโลยีโตเกียว - ประเทศญี่ปุ่น
Can X-1 จากสถาบันศึกษาด้านอวกาศ มหาวิทยาลัยโตรอนโต้ - ประเทศแคนนาดา
QuakeSat จากมหาวิทยาลัย Stanford University - ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดาวเทียม CubeSat ขนาด 1U หรือประมาณ 10*10*10 cm , 4"*4"*4"
โดยในจำนวนทั้งหมดนั้น มีเพียงดาวเทียม CubeSat จากประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำงานได้
และในเวลาต่อมา หลายๆมหาวิทยาลัยก็สามารถส่งดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ และมีอีกหลายมหาวิทยาลัยกำลังทำโครงการเพื่อส่งดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นสู่วงโคจรเช่นกัน เนื่องด้วยการที่มีมหาวิทยาลัยให้ความสนใจในการพัฒนามากมาย ในโครงการ CubeSat ทำให้หลายบริษัทเริ่มเปิดสายผลิตสินค้าของตนเพื่อรองรับกับตลาดงานวิจัยด้านนี้ เช่นบริษัท Atmel ก็มีไมโครคอนโทรเลอร์สำหรับใช้งานบนอวกาศออกมาบ้างแล้ว
และอีกหลายบริษัท ก็นำอุปกรณ์ของตนเข้าสู่มาตราฐาน Commercial Off-The-Shelf - COTS (อุปกรณ์ที่อยู่ในมาตราฐานนี้ จะต้องได้รับการอนุญาติจาก Federal Acquisition Regulation (FAR) เสียก่อน) เพื่อให้สามารถจำหน่ายให้ลูกค้าในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น แม้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้น จะได้รับการทดสอบตามมาตราฐานทางทหาร หรือด้านการบินและอวกาศมาแล้วก็ตาม
ซึ่งในปัจจุบันนั้น มีหลายบริษัทที่นำเอาแนวความคิดนี้ มาสร้างเป็นชุดทดลองสำหรับผู้ที่สนใจ
และอยากจะศึกษาหรือสร้างดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นมา
ถึงแม้ว่า จะมีหลายโครงการที่พยายามส่ง ดาวเทียม CubeSat ขึ้นสู่อวกาศ แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลว แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่ทำสำเร็จ
และขยายไปจนสามารถทำการทดลอง สำรวจ หรือแม้แต่ถ่ายภาพ แล้วส่งกลับมายังโลกได้ ถ้านับเฉพาะมหาวิทยาลัยโตเกียวเพียงแห่งเดียว
ก็ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม CubeSat ขึ้นสู่วงโคจรไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ดวง และในปัจจุบัน ก็มีดาวเทียม CubeSat โคจรอยู่รอบโลก
หลายร้อยดวง นับจากปี 2003 ที่มีการส่งขึ้นไปครั้งแรก
ภาพดาวเทียม CubeSat ขนาดมากกว่า 1U จาก ESA
"เทคโนโลยี ทำให้อวกาศ อยู่ใกล้เรามากขึ้นจริงๆ"
**ดาวเทียม Sputnik 1 สร้างโดยอดีตสหภาพโซเวียต ส่งในวนที่ 4 ตุลาคม 1957
โดยตัวมันมีขนาดประมาณ 58 cm. และมีเสาส่งสัญญาณวิทยุภายนอก จำนวน 4 เสา ซึ่งจะถูกส่งออกมาเป็นระยะๆ
ความถี่สัญญาณวิทยุที่ใช้นั้นคือ 20.005MHz และ 40.002MHz ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นในเวลานั้นสามารถรับสัญญาณนี้ได้ทั่วไป
รวมไปถึงนักฟิสิกส์อเมริกัน 2 คน นายWilliam Guier และGeorge Weiffenbach (ชื่ออเมริกันมากๆ) จากห้องวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์
ที่สถาบัน Johns Hopkins ซึ่งเฝ้าติดตามสัญญาณจาก Sputnik 1 อยู่เกือบ 1 ชั่วโมง
จนพวกเขาสามารถคำนวนหาตำแหน่งของดาวเทียม Sputnik 1 ได้จากปรากฏการณ์ดอปพ์เลอร์
หลังจากนั้น หัวหน้าห้องวิจัยได้ยอมให้พวกเขาใช้ เครื่อง UNIVAC หากต้องการการคำนวนที่หนักมาก
และในฤดูร้อนถัดมา รองผู้อำนวนการห้องวิจัย ได้ขอให้พวกเขาช่วยประเมิณว่า
จะสามารถเปลี่ยนจากการคำนวนหาตำแหน่งของดาวเทียม จากตำแหน่งที่ทราบบนพื้นโลก
เป็นการคำนวนหาตำแหน่งที่อยู่บนพื้นโลก จากการทราบตำแหน่งของดาวเทียมได้หรือไม่
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ เทคโนโลยี GPS ในปัจจุบัน
อ้างอิง
CubeSat Project
http://en.wikipedia.org/wiki/CubeSat
http://www.esa.int/Education/CubeSats
http://www.nasa.gov/directorates/heo/home/CubeSats_initiative.html
ในประเทศไทย
https://www.facebook.com/Thasacontest
http://thasa.gistda.or.th/
List of CubeSat
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_CubeSats
OPAL Project
https://directory.eoportal.org/web/eoportal/satellite-missions/o/opal
ขายและพัฒนา ดาวเทียม CubeSat
http://www.diyspaceexploration.com/what-can-you-do-with-a-cubesat/
http://www.clyde-space.com/cubesat_shop
http://cubesatkit.com/
Sputnik1 และ GPS
http://en.wikipedia.org/wiki/Sputnik_1
http://en.wikipedia.org/wiki/Global_Positioning_System
[CubeSat] #1 "เมื่ออวกาศอยู่ใกล้เรามากกว่าในอดีต"
ความตื่นตัวในการสำรวจอวกาศก็ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ และนับเป็นวาระระดับโลกกันเลยในเวลานั้น
หลายประเทศมีการอนุมัติงบประมาณมหาศาล ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสำรวจอวกาศ โดยเป้าหมายสำคัญหนึ่งในนั้นคือ
การส่งดาวเทียมไปโคจรรอบโลก
ในเวลานั้น การที่จะส่งดาวเทียมหนึ่งดวงขึ้นสู่วงโคจรนั้น จัดเป็นวาระยิ่งใหญ่ระดับชาติกันเลย ตั้งแต่ระดับงานวิจัย งานสร้างดาวเทียม
และหาจรวดเพื่อขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ทั้งหมดล้วนต้องใช้เวลาและทรัพยากรทั้งด้านบุคคล และงบประมาณอย่างมาก
โดยที่ทั้งหมดมันอาจจะสูญเปล่าได้ตลอดเวลา แค่ปัญหา หรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถเปลี่ยนทุกๆอย่างที่ทำมาให้เหลือเพียงเศษกระดาษ
จากการเดินทางผ่านความผิดพลาดมากมายในอดีต มนุษย์เราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างในการสร้างดาวเทียม การสร้างจรวดเพื่อส่งดาวเทียม
การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถทนต่อรังสีอันเข้มข้นในอวกาศ สร้างระบบทำความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม
สร้างแหล่งพลังงานเพื่อให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำงานได้ สร้างจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
การออกแบบที่มีความแม่นยำมาขึ้น และบทเรียนจากอดีตทำให้เราสามารถลดอัตราการสูญเสียลงได้อย่างมาก
ประสบการณ์การสูญเสียจากในอดีต และความพยายามในการพัฒนา ทำให้เราเริ่มกำหนดระบบ และกระบวนการ ที่เป็นมาตราฐานมากขึ้น
และในปี 1999 ประมาณ 42ปี หลังจากดาวเทียมดวงแรกถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
ศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari จากมหาวิทยาลัย California Polytechnic State และศาตราจารย์ Bob Twiggs จากมหาวิทยาลัย Stanford University
ได้ร่วมกันออกแบบตัวอย่าง "ดาวเทียมขนาดเล็ก - CubeSat" ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ ให้นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้าง ทดสอบ
และส่งดาวเทียมขนาดเล็กนี้ขึ้นไปทำงานบนอวกาศได้ โดยมีความสามารถเทียบเท่ากับดาวเทียม Sputnik 1**
โดยในช่วงแรกของการเริ่มต้นพัฒนา หลายๆอย่างของดาวเทียม CubeSat นั้นยังไม่ถูกกำหนดเป็นมาตราฐาน
แต่ในเวลาต่อมาด้วยเงื่อนไขด้านความปลอดภัย ทำให้มีการกำหนดมาตราฐานขึ้นมา
โดยอ้างอิงจากแบบตัวอย่างในตอนต้น ของศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari และ ศาตราจารย์ Bob Twiggs
ดาวเทียม CubeSat ดวงแรกนั้นถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร ในเดือน มิถุนายน 2003 โดยไปกับจรวด Eurockot ของบริษัทเอกชนสัญชาติรัสเซีย
และในปี 2012 มี ดาวเทียม CubeSat มากถึง 75 ดวง ที่ถูกส่งขึ้นไปในปีนั้น
โดยจุดเริ่มต้นของโครงการดาวเทียมขนาดเล็กนั้น เริ่มขึ้นเมื่อในปี 1995
นักศึกษาจากห้องวิจัยและพัฒนาระบบที่ใช้ในอวกาศของ มหาวิทยาลัย Stanford University (Stanford University's Space System Development Laboratory-SSDL) ได้เริ่มพัฒนาระบบปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กอัตโนมัติสู่วงโคจร (Orbiting Picosatellite Automatic Launcher - OPAL)
ซึ่งภาระกิจของ OPAL นั้นคือการทำศึกษาความเป็นไปได้ในการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก 6 ดวง ออกจากยานแม่ (ดาวเทียมดวงที่ใหญ่กว่า)
ยานแม่ ในโครงการ OPAL
ยานลูกที่ถูกปล่อยออกจากยานแม่ในโครงการ OPAL
จากแรงบันดาลใจ และประสบการณ์การทำงานจากโครงการ OPAL
ทำให้ศาสตราจารย์ Bob Twiggs เริ่มมองขนาดที่เหมาะสมสำหรับดาวเทียมขนาดเล็ก ที่สามารถติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ใว้ทุกด้านบนตัวยานได้
จนมาลงตัวที่ขนาด 10x10x10 cm หรือ 4"x4"x4" (1U) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวคิดมาตราฐานสำหรับดาวเทียม CubeSat
และการปล่อยดาวเทียม CubeSat เข้าสู่วงโคจรนั้น ก็พัฒนาเพิ่มเติมจาก วิธีที่ใช้ในการส่งดาวเทียมขนาดเล็ก จากยานแม่ ในโครงการ OPAL
ในฤดูร้อนของปี 1999 ศาสตราจารย์ Bob Twiggs ก็ได้เสนอแนวความคิดนี้กับ ศาตราจารย์ Jordi Puig-Suari
และงานประชุมวิชาการ JUSTSAP (Japan-U.S. Science,Technology, and Space Applications Program) ในเดือนพฤศจิกายนปี 1999
ในการส่งดาวเทียม CubeSat ครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2003 ที่ฐานปล่อยจรวด Plesetsk
และใช้บริการจรวดเอกชนของบริษัท Eurockot Launch Services สัญชาติรัสเซีย
โดยประกอบไปด้วยดาวเทียม CubeSat จาก 4 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 6 ลำดังนี้
AAU CubeSat จากมหาวิทยาลัย Aalborg University และ DTUsat จากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งชาติ - ประเทศเดนมาร์ค
CubeSat XI-IV จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และ CUTE-1 จากสถาบันเทคโนโลยีโตเกียว - ประเทศญี่ปุ่น
Can X-1 จากสถาบันศึกษาด้านอวกาศ มหาวิทยาลัยโตรอนโต้ - ประเทศแคนนาดา
QuakeSat จากมหาวิทยาลัย Stanford University - ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดาวเทียม CubeSat ขนาด 1U หรือประมาณ 10*10*10 cm , 4"*4"*4"
โดยในจำนวนทั้งหมดนั้น มีเพียงดาวเทียม CubeSat จากประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำงานได้
และในเวลาต่อมา หลายๆมหาวิทยาลัยก็สามารถส่งดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ และมีอีกหลายมหาวิทยาลัยกำลังทำโครงการเพื่อส่งดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นสู่วงโคจรเช่นกัน เนื่องด้วยการที่มีมหาวิทยาลัยให้ความสนใจในการพัฒนามากมาย ในโครงการ CubeSat ทำให้หลายบริษัทเริ่มเปิดสายผลิตสินค้าของตนเพื่อรองรับกับตลาดงานวิจัยด้านนี้ เช่นบริษัท Atmel ก็มีไมโครคอนโทรเลอร์สำหรับใช้งานบนอวกาศออกมาบ้างแล้ว
และอีกหลายบริษัท ก็นำอุปกรณ์ของตนเข้าสู่มาตราฐาน Commercial Off-The-Shelf - COTS (อุปกรณ์ที่อยู่ในมาตราฐานนี้ จะต้องได้รับการอนุญาติจาก Federal Acquisition Regulation (FAR) เสียก่อน) เพื่อให้สามารถจำหน่ายให้ลูกค้าในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น แม้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้น จะได้รับการทดสอบตามมาตราฐานทางทหาร หรือด้านการบินและอวกาศมาแล้วก็ตาม
ซึ่งในปัจจุบันนั้น มีหลายบริษัทที่นำเอาแนวความคิดนี้ มาสร้างเป็นชุดทดลองสำหรับผู้ที่สนใจ
และอยากจะศึกษาหรือสร้างดาวเทียม CubeSat ของตนขึ้นมา
ถึงแม้ว่า จะมีหลายโครงการที่พยายามส่ง ดาวเทียม CubeSat ขึ้นสู่อวกาศ แต่ก็ต้องพบกับความล้มเหลว แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่ทำสำเร็จ
และขยายไปจนสามารถทำการทดลอง สำรวจ หรือแม้แต่ถ่ายภาพ แล้วส่งกลับมายังโลกได้ ถ้านับเฉพาะมหาวิทยาลัยโตเกียวเพียงแห่งเดียว
ก็ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม CubeSat ขึ้นสู่วงโคจรไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ดวง และในปัจจุบัน ก็มีดาวเทียม CubeSat โคจรอยู่รอบโลก
หลายร้อยดวง นับจากปี 2003 ที่มีการส่งขึ้นไปครั้งแรก
ภาพดาวเทียม CubeSat ขนาดมากกว่า 1U จาก ESA
"เทคโนโลยี ทำให้อวกาศ อยู่ใกล้เรามากขึ้นจริงๆ"
**ดาวเทียม Sputnik 1 สร้างโดยอดีตสหภาพโซเวียต ส่งในวนที่ 4 ตุลาคม 1957
โดยตัวมันมีขนาดประมาณ 58 cm. และมีเสาส่งสัญญาณวิทยุภายนอก จำนวน 4 เสา ซึ่งจะถูกส่งออกมาเป็นระยะๆ
ความถี่สัญญาณวิทยุที่ใช้นั้นคือ 20.005MHz และ 40.002MHz ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นในเวลานั้นสามารถรับสัญญาณนี้ได้ทั่วไป
รวมไปถึงนักฟิสิกส์อเมริกัน 2 คน นายWilliam Guier และGeorge Weiffenbach (ชื่ออเมริกันมากๆ) จากห้องวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์
ที่สถาบัน Johns Hopkins ซึ่งเฝ้าติดตามสัญญาณจาก Sputnik 1 อยู่เกือบ 1 ชั่วโมง
จนพวกเขาสามารถคำนวนหาตำแหน่งของดาวเทียม Sputnik 1 ได้จากปรากฏการณ์ดอปพ์เลอร์
หลังจากนั้น หัวหน้าห้องวิจัยได้ยอมให้พวกเขาใช้ เครื่อง UNIVAC หากต้องการการคำนวนที่หนักมาก
และในฤดูร้อนถัดมา รองผู้อำนวนการห้องวิจัย ได้ขอให้พวกเขาช่วยประเมิณว่า
จะสามารถเปลี่ยนจากการคำนวนหาตำแหน่งของดาวเทียม จากตำแหน่งที่ทราบบนพื้นโลก
เป็นการคำนวนหาตำแหน่งที่อยู่บนพื้นโลก จากการทราบตำแหน่งของดาวเทียมได้หรือไม่
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ เทคโนโลยี GPS ในปัจจุบัน
อ้างอิง
CubeSat Project
http://en.wikipedia.org/wiki/CubeSat
http://www.esa.int/Education/CubeSats
http://www.nasa.gov/directorates/heo/home/CubeSats_initiative.html
ในประเทศไทย
https://www.facebook.com/Thasacontest
http://thasa.gistda.or.th/
List of CubeSat
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_CubeSats
OPAL Project
https://directory.eoportal.org/web/eoportal/satellite-missions/o/opal
ขายและพัฒนา ดาวเทียม CubeSat
http://www.diyspaceexploration.com/what-can-you-do-with-a-cubesat/
http://www.clyde-space.com/cubesat_shop
http://cubesatkit.com/
Sputnik1 และ GPS
http://en.wikipedia.org/wiki/Sputnik_1
http://en.wikipedia.org/wiki/Global_Positioning_System