"นพดล" ติงคนนอกนั่งนายกฯ อาจทำให้การตรวจสอบอ่อนด้อย อัดแนวคิดส่งรายชื่อรมต.ให้ส.ว.ตรวจ ... ข่าวมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม นายนพดล ปัทมะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.)
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง ว่า
เป็นการนำข้อยกเว้นมาเป็นหลักทั่วไป โดยอ้างว่าทำเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นเผื่อบ้านเมืองมีวิกฤต
ความจริงเราควรนำหลักทั่วไปที่บ้านเมืองไม่มีวิกฤตหรือการบริหารงานในภาวะปกติเป็นหลักการก่อน
ถ้าบ้านเมืองมีวิกฤตโดยปกตินายกฯ ก็ยุบสภาฯให้มีการเลือกตั้งใหม่ มีทางออกในระบอบประชาธิปไตย
อยู่แล้ว และการเปิดให้คนนอกเป็นนายกฯ อาจจะทำให้การตรวจสอบทางการเมืองอ่อนด้อยลง และ
ความรับผิดชอบของนายกฯ ที่ไม่ได้เป็นทั้งส.ส.และสมาชิกพรรคการเมืองจะมีความรับผิดชอบต่อ
พรรคการเมือง สภาผู้แทนฯ และประเทศน้อยลง เพราะเขามาคนเดียว จะทำให้กระบวนการ
ประชาธิปไตยไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลเท่าที่ควร
นายนพดล กล่าวถึงข้อเสนอที่ต้องส่งรายชื่อรัฐมนตรีให้ส.ว.ดูคุณสมบัติก่อนเป็นรัฐมนตรี ว่า แทบไม่มี
ประเทศใดที่นายกฯ จะเสนอชื่อรัฐมนตรีให้ส.ว.ตรวจสอบก่อน เพราะนายกฯและครม.เป็นตำแหน่งที่
ได้รับการโปรดเกล้าฯ ทั้งนี้มองว่าไม่เหมาะนักที่จะให้วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรี แต่ถ้าเป็น
การอภิปรายถึงความเหมาะสมแต่ไม่มีอำนาจอนุมัติก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ส่วนกรณีที่กรรมาธิการฯ มีมติ
เห็นชอบลดจำนวนส.ส.เขตลงนั้น มองว่าการลดจำนวนส.ส.เขตลงทำให้ส.ส.ดูแลพี่น้องประชาชนไม่
ทั่วถึง และจะทำให้ส.ส.ใช้เงินในการสร้างความนิยมหรืออาจจะใช้เงินในระหว่างการเลือกตั้ง ทำให้
นักการเมืองที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนหรือนักการเมืองดีแต่จนอาจสู้นักการเมืองที่ร่ำรวยไม่ได้ และที่
กังวลคือไม่ทราบว่าจะใช้เขตละคน หรือเขตใหญ่เรียงเบอร์ แต่มองว่าหากใช้เขตใหญ่ความเชื่อมโยง
ระหว่างประชาชนและส.ส. จะเบาบาง จนทำให้ประชาธิปไตยไม่เติบโต ไม่มั่นคงเท่าที่ควรจะเป็น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1419595161
กระทู้ส่งท้าย .... นายกฯคนนอก ... แก้ปัญหา หรือ สร้างปัญหา ..../sao..เหลือ..noi
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม นายนพดล ปัทมะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.)
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง ว่า
เป็นการนำข้อยกเว้นมาเป็นหลักทั่วไป โดยอ้างว่าทำเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นเผื่อบ้านเมืองมีวิกฤต
ความจริงเราควรนำหลักทั่วไปที่บ้านเมืองไม่มีวิกฤตหรือการบริหารงานในภาวะปกติเป็นหลักการก่อน
ถ้าบ้านเมืองมีวิกฤตโดยปกตินายกฯ ก็ยุบสภาฯให้มีการเลือกตั้งใหม่ มีทางออกในระบอบประชาธิปไตย
อยู่แล้ว และการเปิดให้คนนอกเป็นนายกฯ อาจจะทำให้การตรวจสอบทางการเมืองอ่อนด้อยลง และ
ความรับผิดชอบของนายกฯ ที่ไม่ได้เป็นทั้งส.ส.และสมาชิกพรรคการเมืองจะมีความรับผิดชอบต่อ
พรรคการเมือง สภาผู้แทนฯ และประเทศน้อยลง เพราะเขามาคนเดียว จะทำให้กระบวนการ
ประชาธิปไตยไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลเท่าที่ควร
นายนพดล กล่าวถึงข้อเสนอที่ต้องส่งรายชื่อรัฐมนตรีให้ส.ว.ดูคุณสมบัติก่อนเป็นรัฐมนตรี ว่า แทบไม่มี
ประเทศใดที่นายกฯ จะเสนอชื่อรัฐมนตรีให้ส.ว.ตรวจสอบก่อน เพราะนายกฯและครม.เป็นตำแหน่งที่
ได้รับการโปรดเกล้าฯ ทั้งนี้มองว่าไม่เหมาะนักที่จะให้วุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรี แต่ถ้าเป็น
การอภิปรายถึงความเหมาะสมแต่ไม่มีอำนาจอนุมัติก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ส่วนกรณีที่กรรมาธิการฯ มีมติ
เห็นชอบลดจำนวนส.ส.เขตลงนั้น มองว่าการลดจำนวนส.ส.เขตลงทำให้ส.ส.ดูแลพี่น้องประชาชนไม่
ทั่วถึง และจะทำให้ส.ส.ใช้เงินในการสร้างความนิยมหรืออาจจะใช้เงินในระหว่างการเลือกตั้ง ทำให้
นักการเมืองที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนหรือนักการเมืองดีแต่จนอาจสู้นักการเมืองที่ร่ำรวยไม่ได้ และที่
กังวลคือไม่ทราบว่าจะใช้เขตละคน หรือเขตใหญ่เรียงเบอร์ แต่มองว่าหากใช้เขตใหญ่ความเชื่อมโยง
ระหว่างประชาชนและส.ส. จะเบาบาง จนทำให้ประชาธิปไตยไม่เติบโต ไม่มั่นคงเท่าที่ควรจะเป็น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1419595161