ต้นตอที่เหตุใดเมืองไทยถึงได้ชื่อว่าสวรรค์ของนักดื่ม ที่สามารถจะหาซื้อเหล้า เบียร์ หรือยาสูบได้ง่ายยิ่งกว่าหาซื้อ “ปลาทูเข่ง” หรือนมตราหมีให้ลูกน้อยเสียอีก!!
ทั้งนี้ล้วนเป็นผลมาจาก ใบอนุญาตแห่งฆาตกรรมอำมหิต หรือ License to Kill ถูกกว่าน้ำเปล่า!!!
หากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณารายได้จัดเก็บภาษีบาปเหล้า-เบียร์ ของกรมสรรพสามิต ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวในการ สกัดกั้นการเข้าถึงสินค้าบาปของประชาชนคนไทยนั้น จะเห็นว่าในแต่ละปีกรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีจากสินค้าบาปได้เพิ่มมากขึ้นทุก
โดยในปี 55 จัดเก็บภาษีสุราได้ 53,499 ล้านบาท และเบียร์ 61,998 ล้านบาท หรือรวมแล้วกว่า 117,000 ล้านบาท ปี 2556 ยังคงมียอดจัดเก็บภาษีเหล้า-เบียร์เพิ่มขึ้นไป 121,757 ล้านบาท แยกเป็นภาษีเหล้า 52,640 ล้านบาท และเบียร์ 69,119 ล้านบาท ปี 2557 ยอดจัดเก็บยังคงเพิ่มขึ้น เป็น 141,213 ล้านบาท แยกเป็นภาษีสุรา 64,654 ล้านบาท และภาษีเบียร์ 69,119 ล้านบาท
และหากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณาตลาดของผู้ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเมืองไทย และจะเห็นต้นตอที่ทำให้เมืองไทยกลายเป็น “สวรรค์ของนักดื่ม” ก็เพราะจำนวน “ผู้ค้า” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเมืองไทยนั้น ตัวเลขที่เคยมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในปี 2550 มีผู้ได้รับใบอนุญาตขายเหล้าทั่วประเทศ 530,000 ร้าน เทียบกับประชากรไทย 65 ล้านคนหรือเฉลี่ย 1 ร้านค้าต่อประชากร 120 คน และคาดว่าตัวเลขผู้ได้รับใบอนุญาตขายเหล้าเบียร์อาจสูงกว่านี้อีกหลายเท่า เพราะตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เก็บสถิติไว้ตั้งแต่ปี 2550 หรือเมื่อกว่า 7 ปีมาแล้ว
ตัวเลขดังกล่าว ยังไม่รวมร้านขายเหล้าประเภทหาบเร่ แผงลอย เพิงหมาแหงนที่ตั้งอยู่ตามตรอกซอกซอย ย่านชุมชนต่างๆ อีกเรือนหมื่นเรือนแสนรายที่ไม่มีใบอนุญาตปูเสื่อ ตั้งโต๊ะขายลาบ น้ำตก ซกเล็กส้มตำกันตามพรึดไปหมด ซึ่งแน่นอนว่าทุกร้านต้องมีบริการเหล้าเบียร์เป็นของแถม
“ในต่างประเทศนั้นไม่เพียงแต่ห้ามจำหน่ายและดื่มเหล้าเบียร์ในที่ทางสาธารณะแล้ว แม้แต่ร้านค้าที่จำหน่ายยังถูกกำหนดเอาไว้เข้มงวด ไม่ใช่นึกจะตั้งที่ไหนก็ตั้ง คนที่เข้าไปดื่มก็ใช่จะสั่งได้ตามอำเภอใจ เขาจำกัดการดื่มเอาไว้ค่อนข้างเข้มงวด หากเห็นว่าเมาแล้วเขาจะไม่ขายเหล้าเพิ่มให้ แม้แต่หน้าบ้านก็ใช่ว่าจะตั้งโต๊ะเปิดปาร์ตี้ดื่มเหล้านี้กันตามอำเภอใจได้”
ล่าสุด! เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจำหน่ายเหล้า-เบียร์ และยาสูบกระทรวงการคลังยังแจกของขวัญปีใหม่ ด้วยการเพิ่มการอำนวยความสะดวกในการให้บริการต่อใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ (ต่ออายุ) โดยสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการขอใบอนุญาตดังกล่าวล่วงหน้าผ่านทางไปรษณีย์อยู่แล้ว
ไม่แปลกใจเหตุใดเมืองไทยถึงได้ชื่อว่า “สวรรค์ของนักดื่ม” ทำอะไรก็ได้คือไทยแท้ ไม่เพียงแต่เราจะสามารถหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า-เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ได้ง่ายดายเสียยิ่งกว่าหาซื้อ “นมกระป๋อง” หรือปลาทูเข่ง
การบังคับใช้กฎหมายในเมืองไทยยังล้าหลังและไร้กฎเกณฑ์ประเภททำอะไรก็ได้คือไทยแท้เสียอีก แม้แต่มาตรการล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พยายามตีปี๊บจะเป็น “ยาหม้อ” สกัดกั้นปัญหาการลุกลามและเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างได้ผลก็เช่นกัน
กับมาตรการห้ามจำหน่ายเหล้า-เบียร์บนทางเท้าที่ทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดีว่า ร้านข้าวต้ม เพิงหมาแหงน ร้านค้าริมทางที่ขายอาหารตามสั่ง ลาบ น้ำตก ส้มตำทั้งหลายแหล่ที่ล้วนยึดทำเลทองริมทางเท้าเป็นจุดขายนั้น ด้วยกฎหมายที่เต็มไปด้วยความคลุมเครือ นิยามคำจำกัดความที่ยังคงสามารถตีออกความน้ำออกทะเลไปไหนต่อไหนได้ กฎหมายดังกล่าวจะสามารถสกัดกั้นนักดื่มทั้งหน้าเก่า-หน้าใหม่ได้หรือ
ในเมื่อผู้ที่จะบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้แทบจะไร้ตัวตน โดยเฉพาะสื่อที่ขึ้นชื่อในการนำเสนอข่าวในเชิงสืบสวนสอบสวนอย่างสำนักข่าวอิศราฯในยุคนี้ที่มี "ประสงค์ รัตนวิสถทธิ์" เป็นผู้อำนวยการหรือในยุคที่ผ่านๆ มา ไม่ปรากฏว่าได้มีการขุดคุ้ยข้อมูลเหล่านี้ออกมา "ตีแผ่" ให้สาธารณชนรับทราบเหมือนประเด็นร้อนๆ ทางสังคมต่างๆ
ทั้งนี้ หากเจาะลึกลงไปจึงถึงบางอ้อว่า ทำไม“สำนักข่าวอิศรา” จึงไม่คุ้ยเขี่ยของเหม็นในกองทุน สสส.เพราะตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา "มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย" ต้นสังกัดของ "สถาบันอิศรา" และ "สำนักข่าวอิศรา" ยื่นโครงการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุน สสส.มากถึง 14 โครงการ รวมแล้วคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 96 ล้านบาท ซึ่งจึงเกิดคำถามตามมาว่า "กองทุน สสส.ได้กลายเป็นห่านทองคำ" ของสำนักข่าวอิศราไปแล้ว...ใครละจะกล้าทุบหม้อข้าวทองคำตัวเอง!
แฉเงินภาษีบาปก้อนโต...ปมสำนักข่าวอิศราฯเลี่ยงขุดคุ้ยกองทุน สสส.ละเลงเงินเหมือนสามล้อถูกหวย (ตอนที่ 2)
ทั้งนี้ล้วนเป็นผลมาจาก ใบอนุญาตแห่งฆาตกรรมอำมหิต หรือ License to Kill ถูกกว่าน้ำเปล่า!!!
หากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณารายได้จัดเก็บภาษีบาปเหล้า-เบียร์ ของกรมสรรพสามิต ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวในการ สกัดกั้นการเข้าถึงสินค้าบาปของประชาชนคนไทยนั้น จะเห็นว่าในแต่ละปีกรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีจากสินค้าบาปได้เพิ่มมากขึ้นทุก
โดยในปี 55 จัดเก็บภาษีสุราได้ 53,499 ล้านบาท และเบียร์ 61,998 ล้านบาท หรือรวมแล้วกว่า 117,000 ล้านบาท ปี 2556 ยังคงมียอดจัดเก็บภาษีเหล้า-เบียร์เพิ่มขึ้นไป 121,757 ล้านบาท แยกเป็นภาษีเหล้า 52,640 ล้านบาท และเบียร์ 69,119 ล้านบาท ปี 2557 ยอดจัดเก็บยังคงเพิ่มขึ้น เป็น 141,213 ล้านบาท แยกเป็นภาษีสุรา 64,654 ล้านบาท และภาษีเบียร์ 69,119 ล้านบาท
และหากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณาตลาดของผู้ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเมืองไทย และจะเห็นต้นตอที่ทำให้เมืองไทยกลายเป็น “สวรรค์ของนักดื่ม” ก็เพราะจำนวน “ผู้ค้า” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเมืองไทยนั้น ตัวเลขที่เคยมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในปี 2550 มีผู้ได้รับใบอนุญาตขายเหล้าทั่วประเทศ 530,000 ร้าน เทียบกับประชากรไทย 65 ล้านคนหรือเฉลี่ย 1 ร้านค้าต่อประชากร 120 คน และคาดว่าตัวเลขผู้ได้รับใบอนุญาตขายเหล้าเบียร์อาจสูงกว่านี้อีกหลายเท่า เพราะตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เก็บสถิติไว้ตั้งแต่ปี 2550 หรือเมื่อกว่า 7 ปีมาแล้ว
ตัวเลขดังกล่าว ยังไม่รวมร้านขายเหล้าประเภทหาบเร่ แผงลอย เพิงหมาแหงนที่ตั้งอยู่ตามตรอกซอกซอย ย่านชุมชนต่างๆ อีกเรือนหมื่นเรือนแสนรายที่ไม่มีใบอนุญาตปูเสื่อ ตั้งโต๊ะขายลาบ น้ำตก ซกเล็กส้มตำกันตามพรึดไปหมด ซึ่งแน่นอนว่าทุกร้านต้องมีบริการเหล้าเบียร์เป็นของแถม
“ในต่างประเทศนั้นไม่เพียงแต่ห้ามจำหน่ายและดื่มเหล้าเบียร์ในที่ทางสาธารณะแล้ว แม้แต่ร้านค้าที่จำหน่ายยังถูกกำหนดเอาไว้เข้มงวด ไม่ใช่นึกจะตั้งที่ไหนก็ตั้ง คนที่เข้าไปดื่มก็ใช่จะสั่งได้ตามอำเภอใจ เขาจำกัดการดื่มเอาไว้ค่อนข้างเข้มงวด หากเห็นว่าเมาแล้วเขาจะไม่ขายเหล้าเพิ่มให้ แม้แต่หน้าบ้านก็ใช่ว่าจะตั้งโต๊ะเปิดปาร์ตี้ดื่มเหล้านี้กันตามอำเภอใจได้”
ล่าสุด! เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการจำหน่ายเหล้า-เบียร์ และยาสูบกระทรวงการคลังยังแจกของขวัญปีใหม่ ด้วยการเพิ่มการอำนวยความสะดวกในการให้บริการต่อใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ (ต่ออายุ) โดยสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการขอใบอนุญาตดังกล่าวล่วงหน้าผ่านทางไปรษณีย์อยู่แล้ว
ไม่แปลกใจเหตุใดเมืองไทยถึงได้ชื่อว่า “สวรรค์ของนักดื่ม” ทำอะไรก็ได้คือไทยแท้ ไม่เพียงแต่เราจะสามารถหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า-เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ได้ง่ายดายเสียยิ่งกว่าหาซื้อ “นมกระป๋อง” หรือปลาทูเข่ง
การบังคับใช้กฎหมายในเมืองไทยยังล้าหลังและไร้กฎเกณฑ์ประเภททำอะไรก็ได้คือไทยแท้เสียอีก แม้แต่มาตรการล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พยายามตีปี๊บจะเป็น “ยาหม้อ” สกัดกั้นปัญหาการลุกลามและเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างได้ผลก็เช่นกัน
กับมาตรการห้ามจำหน่ายเหล้า-เบียร์บนทางเท้าที่ทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดีว่า ร้านข้าวต้ม เพิงหมาแหงน ร้านค้าริมทางที่ขายอาหารตามสั่ง ลาบ น้ำตก ส้มตำทั้งหลายแหล่ที่ล้วนยึดทำเลทองริมทางเท้าเป็นจุดขายนั้น ด้วยกฎหมายที่เต็มไปด้วยความคลุมเครือ นิยามคำจำกัดความที่ยังคงสามารถตีออกความน้ำออกทะเลไปไหนต่อไหนได้ กฎหมายดังกล่าวจะสามารถสกัดกั้นนักดื่มทั้งหน้าเก่า-หน้าใหม่ได้หรือ
ในเมื่อผู้ที่จะบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้แทบจะไร้ตัวตน โดยเฉพาะสื่อที่ขึ้นชื่อในการนำเสนอข่าวในเชิงสืบสวนสอบสวนอย่างสำนักข่าวอิศราฯในยุคนี้ที่มี "ประสงค์ รัตนวิสถทธิ์" เป็นผู้อำนวยการหรือในยุคที่ผ่านๆ มา ไม่ปรากฏว่าได้มีการขุดคุ้ยข้อมูลเหล่านี้ออกมา "ตีแผ่" ให้สาธารณชนรับทราบเหมือนประเด็นร้อนๆ ทางสังคมต่างๆ
ทั้งนี้ หากเจาะลึกลงไปจึงถึงบางอ้อว่า ทำไม“สำนักข่าวอิศรา” จึงไม่คุ้ยเขี่ยของเหม็นในกองทุน สสส.เพราะตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา "มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย" ต้นสังกัดของ "สถาบันอิศรา" และ "สำนักข่าวอิศรา" ยื่นโครงการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุน สสส.มากถึง 14 โครงการ รวมแล้วคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 96 ล้านบาท ซึ่งจึงเกิดคำถามตามมาว่า "กองทุน สสส.ได้กลายเป็นห่านทองคำ" ของสำนักข่าวอิศราไปแล้ว...ใครละจะกล้าทุบหม้อข้าวทองคำตัวเอง!