สวัสดีครับ
ช่วงนี้ก็ใกล้จะถึงวันหยุดยาวหรือบางท่านกำลังจะเดินทางไกล
วันนี้ผมจะพามาดูการตรวจเช็ครถและบำรุงรักษาทั่วๆไป
เวลาผมจะเดินทางไกลสักครั้งนึง ผมจะตรวจเช็ครถเองครั้งสุดท้ายอย่างละเอียด
ต้องไม่มีคำว่าพลาด ถ้าหากพลาด... หมายถึงอาจจะกินข้าวลิงหรือนอนค้างในป่าเขาได้
รู้ๆอยู่ตามสไตล์การเดินทางของผมเป็นแบบไหน วันเดียวพันกว่าโลแทบจะทั้งนั้น
มาครับ ตามมารับชมกันได้เลย
นายแบบของเราในวันนี้
YAMAHA SPARK 135i
ระบบเบรค ล้อหน้าเป็นแบบดิสเบรค
จานดิสเบรคต้องไม่คด และไม่สึกเป็นคลื่น
หมุนวงล้อดู ต้องลื่นไหล ไม่ฝืด
ความหนาของผ้าเบรค
ต้องสึกหรอไม่ถึงร่องของผ้าเบรค เมื่อสึกหรอจนร่องผ้าเบรคหายไป
หากต้องเดินทางไกล ให้เปลี่ยนใหม่
ระดับน้ำมันเบรค ไม่ต่ำกว่าระดับ LOWER
ล้อหลังเป็นแบบดรัมเบรค
ตรวจเช็คความหนาของผ้าดรัมเบรค
กดแป้นเบรคลงไปจนสุด ศรชี้ต้องไม่เลยขีดบอกพิกัดความสึก
หากเลยขีดบอกพิกัด ให้เปลี่ยนผ้าดรัมเบรคใหม่
ยาง
แรงดันลมยาง ล้อหน้า 29 , ล้อหลัง 33
เนื้อยางไม่แข็งกระด้าง แตกลาย แก้มยางไม่ฉีกขาด
หากสึกหรอจนถึงสะพานยาง ให้เปลี่ยนใหม่พร้อมยางใน
ตำแหน่งนี้มองไล่เข้าไป จะเห็นจุดมาร์คสะพานยาง
วันผลิตของยาง
สองตัวหน้า เป็นสัปดาห์ที่ผลิต
สองตัวหลัง เป็นปีที่ผลิต
โซ่-สเตอร์
หมุนวงล้อดู โซ่ต้องตึงหย่อนอย่างสม่ำเสมอ
ข้อต่อไม่แข็งตาย
ฟันสเตอร์ไม่แหลม
ปรับตั้งโซ่ให้มีระยะฟรี 25-35 มม.
และหล่อลื่นด้วยน้ำมัน SAE 140
ช็อคอัพ หน้าหลัง
ต้องไม่รั่วซึม
ระบบไฟต่างๆต้องใช้งานได้หมด
ไฟหน้า หากตัวหลอดเริ่มคล้ำดำ ให้เปลี่ยนใหม่
ไฟท้ายและไฟเบรก ติดครบสมบูรณ์
เมื่อตัวหลอดเริ่มคล้ำดำ ให้เปลี่ยนใหม่
ไฟแสดงต่างบนหน้าปัทม์มิเตอร์ ต้องติดครบทุกดวง
สวิทช์ต่างๆ สัญญาณไฟเลี้ยว แตร ไฟสูง ต้องใช้งานได้ครบครัน
หม้อน้ำ ไม่รั่วซึม
ครีบระบายความร้อน ไม่สกปรกอุดตัน และครีบล้มพับ
ระดับน้ำในหม้อพัก ไม่ควรต่ำกว่าระดับ LOWER
หากพร่องจนถึงระดับต่ำ ให้เติมเข้าไปใหม่ ใช้ของ YAMAHA เท่านั้น
การบำรุงรักษาทั่วๆไป
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง+ไส้กรองน้ำมัน , หัวเทียน และ ไส้กรองอากาศ
น้ำมันเครื่อง ให้ใช้เบอร์ 40 เป็นอย่างต่ำ ใช้ได้ดีจนถึงเบอร์ 50
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเบอร์ 30
เวลาเดินทางไกล มันจะพร่องหายไวมาก
ก่อนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง
ให้ล้างทำความสะอาดใต้แคร๊งเครื่องยนต์และภาชนะที่รอง
เวลาถ่ายน้ำมันออกมา จะสังเกตุเห็นได้ หากมีสิ่งแปลกปลอมที่หลุดลอดออกมา
สภาพของไส้กรองน้ำมัน เก่า-ใหม่
เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 8,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องที่ถ่ายออกมา เหลืออยู่ 700 กว่าซีซี
ใช้งานไปได้ 2,000 กิโลเมตรเศษๆ (SHELL ADVANCE ULTRA)
มีเศษผ้าคลัทช์ออกมาเล็กน้อย ไม่มีสิ่งผิดปรกติ
หัวเทียน ใช้ให้ตรงรุ่น ตรงตามเบอร์ที่คู่มือแนะนำ
รุ่นนี้ใช้ NGK CPR9EA-9 , CPR8EA-9
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 8,000 กิโลเมตร
วิธีขันหัวเทียนที่ถูกต้อง ของหัวเทียน NGK
ใช้มือหมุนนำหัวเทียนเข้าไปก่อนจนสุดเกลียว
หัวเทียนใหม่ NGK
1. ขันอัดเข้าไปในครั้งแรก 1/2 รอบ
2. จากนั้นให้คลายหัวเทียนออก
3. ใช้มือหมุนหัวเทียนเข้าไปจนสุดเกลียว
4. ขันอัดเข้าไปใหม่เป็นครั้งที่สอง 1/8 รอบ
หัวเทียนใช้แล้ว NGK : ขันอัดเข้าไป 1/8 รอบ
***** หัวเทียนใหม่ ต้องทำสองขั้นตอน เพื่อป้องกันการคลาย
ไส้กรองอากาศ เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 12,000 กิโลเมตร
การตรวจเช็คและบำรุงรักษาทั่วๆไป
ในส่วนของผม จะทำอยู่ประมาณนี้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
และขอให้ทุกท่านที่กำลังจะเดินทางไกล เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ไปให้ถึง ขี่เที่ยวให้สนุก และกลับให้ได้อย่างปลอดภัยทุกๆคน
แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า
วัดสองแผ่นดิน ฟ้าเวียงอินทร์
@_^
ตรวจเช็ครถและบำรุงรักษา ก่อนออกเดินทางไกล
ช่วงนี้ก็ใกล้จะถึงวันหยุดยาวหรือบางท่านกำลังจะเดินทางไกล
วันนี้ผมจะพามาดูการตรวจเช็ครถและบำรุงรักษาทั่วๆไป
เวลาผมจะเดินทางไกลสักครั้งนึง ผมจะตรวจเช็ครถเองครั้งสุดท้ายอย่างละเอียด
ต้องไม่มีคำว่าพลาด ถ้าหากพลาด... หมายถึงอาจจะกินข้าวลิงหรือนอนค้างในป่าเขาได้
รู้ๆอยู่ตามสไตล์การเดินทางของผมเป็นแบบไหน วันเดียวพันกว่าโลแทบจะทั้งนั้น
มาครับ ตามมารับชมกันได้เลย
นายแบบของเราในวันนี้
YAMAHA SPARK 135i
ระบบเบรค ล้อหน้าเป็นแบบดิสเบรค
จานดิสเบรคต้องไม่คด และไม่สึกเป็นคลื่น
หมุนวงล้อดู ต้องลื่นไหล ไม่ฝืด
ความหนาของผ้าเบรค
ต้องสึกหรอไม่ถึงร่องของผ้าเบรค เมื่อสึกหรอจนร่องผ้าเบรคหายไป
หากต้องเดินทางไกล ให้เปลี่ยนใหม่
ระดับน้ำมันเบรค ไม่ต่ำกว่าระดับ LOWER
ล้อหลังเป็นแบบดรัมเบรค
ตรวจเช็คความหนาของผ้าดรัมเบรค
กดแป้นเบรคลงไปจนสุด ศรชี้ต้องไม่เลยขีดบอกพิกัดความสึก
หากเลยขีดบอกพิกัด ให้เปลี่ยนผ้าดรัมเบรคใหม่
ยาง
แรงดันลมยาง ล้อหน้า 29 , ล้อหลัง 33
เนื้อยางไม่แข็งกระด้าง แตกลาย แก้มยางไม่ฉีกขาด
หากสึกหรอจนถึงสะพานยาง ให้เปลี่ยนใหม่พร้อมยางใน
ตำแหน่งนี้มองไล่เข้าไป จะเห็นจุดมาร์คสะพานยาง
วันผลิตของยาง
สองตัวหน้า เป็นสัปดาห์ที่ผลิต
สองตัวหลัง เป็นปีที่ผลิต
โซ่-สเตอร์
หมุนวงล้อดู โซ่ต้องตึงหย่อนอย่างสม่ำเสมอ
ข้อต่อไม่แข็งตาย
ฟันสเตอร์ไม่แหลม
ปรับตั้งโซ่ให้มีระยะฟรี 25-35 มม.
และหล่อลื่นด้วยน้ำมัน SAE 140
ช็อคอัพ หน้าหลัง
ต้องไม่รั่วซึม
ระบบไฟต่างๆต้องใช้งานได้หมด
ไฟหน้า หากตัวหลอดเริ่มคล้ำดำ ให้เปลี่ยนใหม่
ไฟท้ายและไฟเบรก ติดครบสมบูรณ์
เมื่อตัวหลอดเริ่มคล้ำดำ ให้เปลี่ยนใหม่
ไฟแสดงต่างบนหน้าปัทม์มิเตอร์ ต้องติดครบทุกดวง
สวิทช์ต่างๆ สัญญาณไฟเลี้ยว แตร ไฟสูง ต้องใช้งานได้ครบครัน
หม้อน้ำ ไม่รั่วซึม
ครีบระบายความร้อน ไม่สกปรกอุดตัน และครีบล้มพับ
ระดับน้ำในหม้อพัก ไม่ควรต่ำกว่าระดับ LOWER
หากพร่องจนถึงระดับต่ำ ให้เติมเข้าไปใหม่ ใช้ของ YAMAHA เท่านั้น
การบำรุงรักษาทั่วๆไป
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง+ไส้กรองน้ำมัน , หัวเทียน และ ไส้กรองอากาศ
น้ำมันเครื่อง ให้ใช้เบอร์ 40 เป็นอย่างต่ำ ใช้ได้ดีจนถึงเบอร์ 50
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเบอร์ 30
เวลาเดินทางไกล มันจะพร่องหายไวมาก
ก่อนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง
ให้ล้างทำความสะอาดใต้แคร๊งเครื่องยนต์และภาชนะที่รอง
เวลาถ่ายน้ำมันออกมา จะสังเกตุเห็นได้ หากมีสิ่งแปลกปลอมที่หลุดลอดออกมา
สภาพของไส้กรองน้ำมัน เก่า-ใหม่
เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 8,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องที่ถ่ายออกมา เหลืออยู่ 700 กว่าซีซี
ใช้งานไปได้ 2,000 กิโลเมตรเศษๆ (SHELL ADVANCE ULTRA)
มีเศษผ้าคลัทช์ออกมาเล็กน้อย ไม่มีสิ่งผิดปรกติ
หัวเทียน ใช้ให้ตรงรุ่น ตรงตามเบอร์ที่คู่มือแนะนำ
รุ่นนี้ใช้ NGK CPR9EA-9 , CPR8EA-9
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 8,000 กิโลเมตร
วิธีขันหัวเทียนที่ถูกต้อง ของหัวเทียน NGK
ใช้มือหมุนนำหัวเทียนเข้าไปก่อนจนสุดเกลียว
หัวเทียนใหม่ NGK
1. ขันอัดเข้าไปในครั้งแรก 1/2 รอบ
2. จากนั้นให้คลายหัวเทียนออก
3. ใช้มือหมุนหัวเทียนเข้าไปจนสุดเกลียว
4. ขันอัดเข้าไปใหม่เป็นครั้งที่สอง 1/8 รอบ
หัวเทียนใช้แล้ว NGK : ขันอัดเข้าไป 1/8 รอบ
***** หัวเทียนใหม่ ต้องทำสองขั้นตอน เพื่อป้องกันการคลาย
ไส้กรองอากาศ เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 12,000 กิโลเมตร
การตรวจเช็คและบำรุงรักษาทั่วๆไป
ในส่วนของผม จะทำอยู่ประมาณนี้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย
และขอให้ทุกท่านที่กำลังจะเดินทางไกล เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ไปให้ถึง ขี่เที่ยวให้สนุก และกลับให้ได้อย่างปลอดภัยทุกๆคน
แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า
วัดสองแผ่นดิน ฟ้าเวียงอินทร์
@_^