คนตั้งกฎแกรมม่าเค้าคิดอะไรของเค้าครับ?

จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ผมว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยคงคิดเหมือนผม
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ให้ความสำคัญกับพหูพจน์จนเกินเหตุ
ถึงขนาดต้องแสดงความแตกต่างระหว่าง ของชิ้นเดียว กับสองชิ้นขึ้นไปเสมอ
จำเป็นหรือเปล่าภาษานี้ไม่สน
เอาเป็นว่า ขอบอกก่อนละกัน ว่ามีอันเดียว หรือหลายอัน
นึกดูสิครับ แทบทุกประโยคที่พูดหรือเขียนออกมา
แกรมม่ามันบังคับให้แสดงจำนวนเสมอทุกครั้ง
โดยหลักๆจะสนแค่ว่า คำนามที่เอ่ยถึง มีอันเดียว หรือมากกว่า 1 อัน

ผมพยายามนึกหาเหตุผล แต่ก็นึกไม่ออก
ว่าทำไมภาษาอังกฤษต้องบอกอีกฝ่ายทุกครั้งด้วย
ว่าสิ่งที่พูดถึง มีอันเดียว 2 อัน หรือจะกี่อันก็ตาม  
เพราะถ้าสำคัญจริง ก็บอกไปชัดๆซิ ว่ามีกี่อัน
โลกเราทุกวันนี้มีปัญหามากมาย
ถ้ามันไม่สำคัญขนาดนั้น
ก็ไม่เห็นต้องบังคับ(ด้วยแกรมม่า)ให้บอกทุกประโยคเลย จิงมะ

ดูภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ สิครับ
ไม่เห็นบังคับการแบ่งพจน์ แต่ก็อยู่กันได้
และไม่ได้เสียเปรียบทางการสื่อสารแต่อย่างใด

มีใครพอเดาเหรือให้ความเห็นได้มั้ยครับ
ว่าคนวางกฎแกรมม่าเค้าคิดอะไรของเค้า
ในอดีต มันมีประโยชน์อะไรทางประวัติศาสตร์เหรอครับ?
สถานการณ์แบบไหนกัน ที่บังคับให้พวกเค้าต้องเปิดเผยเกี่ยวกับคำนามที่พูดถึง
ว่ามีอันเดียว หรือมีหลายอัน
ถ้ามีเหตุผลดีก็น่าสนับสนุน แต่ผมละนึกไม่ออกจริงๆว่าทำไม

คนทั้งโลกที่เรียนภาษาอังกฤษ เสียเวลาเป็นเดือน บางคนเป็นปี
กว่าจะฝึกเอกพจน์ พหูพจน์ได้คล่อง
ถ้าภาษาอังกฤษไม่มีตรงนี้ซะแต่แรก
พวกเราจะประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเรียนหลักไวยากรณ์นี้ได้ขนาดไหน
แค่ประเทศไทย ผมว่าปีนึงๆ หลายร้อยล้านบาทอะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่