โดย....ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในช่วงที่ตลาดมีการเก็งกำไรในหุ้น โดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กอย่างหนักนั้น นักเล่นหุ้นจำนวนมากนั้น ชอบดู “ขาใหญ่” ว่ากำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า? เพราะเขาเชื่อว่า ราคาหุ้นจะปรับตัวแรงมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ มีนักเล่นหุ้นรายใหญ่เข้าไปซื้อ ซึ่งจะทำให้หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้อาจจะหลายเท่าในเวลาอันสั้น ความคิดแบบนี้ผมคิดว่ามีอยู่มากในบรรดานักเล่นรายวันจำนวนมาก
ดังนั้น นักเล่นหุ้นรายใหญ่จึงมักจะพยายามส่งข้อมูล หรือสัญญาณว่าตนเองได้เข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นจำนวนมาก เพราะเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ดีราคาถูกและจะปรับตัวขึ้นไปอีกมาก อาจจะหลายเท่า ผลก็คือราคาหุ้นก็มักจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยแรงซื้อของนักลงทุนและคนเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมาก แต่หุ้นลักษณะแบบนี้นั้นก็มักจะมีอันตรายสูง ที่จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ถ้ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งเนื่องจากราคาอาจจะสูงเกินพื้นฐานไปมาก
พูดถึงเรื่อง “ขาใหญ่” แล้ว ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยในยามนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เหตุผลก็เพราะตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงมายาวนาน และนักลงทุนที่ “กล้าได้กล้าเสีย” สามารถทำกำไรมโหฬารจนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก ผลก็คือ หุ้นตัวเล็กที่ “วิ่งกันระเบิด” นั้น แทบทุกตัวก็จะต้องมี “ขาใหญ่” บางคนหรือบางกลุ่มเข้าไปเล่นทั้งสิ้น
การดูผู้บริหารหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับตัวหุ้นนั้น ยังต้องดูแรงจูงใจของพวกเขาด้วย ผู้บริหารบางคนนั้น ชอบ “ดูแลหุ้น” ตัวเองมาก เขาจะพยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะทำให้หุ้นมีราคาดีมีปริมาณการซื้อขายสูง การพูดโปรโมทหุ้นนั้น จะทำอยู่ตลอดเวลาถ้าทำได้
นอกจากนั้น หลายคนยังเข้าไปซื้อขายหุ้นของตนเอง โดยอาจจะผ่านนอมินีหรือส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาช่วย “ทำราคา” ด้วย เจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทบางคนโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมโตช้าหรือตะวันตกดินนั้น ตรงกันข้าม ไม่ดูแลหุ้นของตนเองเลย พวกเขาไม่สนใจที่จะพบนักลงทุนหรือให้ข่าวข้อมูลของกิจการแก่นักลงทุนถ้าไม่จำเป็น ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาไม่สนใจ ในกรณีแบบนี้ บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาไม่ต้องการจะจ่ายปันผลที่งดงามให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย
ดูเหมือนว่าพวกเขาอยากจะบริหารบริษัทคล้ายๆ กับบริษัทส่วนตัวมากกว่า ในทั้งสองกรณีคือ ดูแลหุ้นตัวเองมากเกินไปและไม่ดูแลหุ้นเลยนั้น ผมไม่ชอบทั้งคู่ โดยที่ไม่ชอบมากกว่าก็คือการไม่ดูแลหุ้นเลย
หุ้นที่ดีนั้นคิดว่า ควรจะเป็นหุ้นที่ผู้บริหารและเจ้าของควร “ดูแล” พอประมาณในด้านของการให้ข้อมูล และการจ่ายปันผลรวมถึงการปรับในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการเข้ามาซื้อขายหุ้นเอง การดูแลหุ้นมากเกินไปนั้น คิดว่ามันทำให้หุ้นอาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ราคาอาจจะเกินมูลค่าที่แท้จริง ในขณะที่หุ้นที่เจ้าของไม่ดูแลเลยนั้น ผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทนตามพื้นฐานที่ควรเป็นและผมมักจะหลีกเลี่ยง
ประวัติหรือพฤติกรรมของผู้บริหาร หรือเจ้าของหุ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมอง ถ้าเจ้าของมีประวัติเป็น “นักเล่นหุ้น” เคยซื้อขายหุ้นในฐานะ “ขาใหญ่” ผมจะไม่ชอบ ข้อแรกก็คือ ผมไม่แน่ใจในเรื่องทักษะหรือความสามารถในการบริหารธุรกิจที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ข้อสองก็คือ ผมคิดว่าเขามักจะเน้นไปที่การทำหรือดูแลราคาหุ้นมากเกินไป ซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงกว่าพื้นฐาน ผู้บริหารที่ดีนั้น ควรเป็นคนที่คลุกคลีและสร้างธุรกิจด้วยตนเองหรือสืบทอดธุรกิจต่อมาอย่างประสบความสำเร็จ
ในด้านของประวัติทางการเงินนั้น ผมชอบคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ ไม่เคยถูก “Blaklist” หรือถูก “ตราหน้า” ในสังคมของสถาบันการเงินว่าเป็นลูกหนี้ที่ “เบี้ยว” หนี้ทั้งที่ธุรกิจยังพอไปได้ เช่นเดียวกัน เขาก็ควรจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคมไม่มีประวัติที่ “น่ารังเกียจ” และสุดท้ายก็คือ เมื่อนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทมหาชนแล้ว เขาควรที่จะต้องคำนึงถึงนักลงทุนเสมอเวลาที่จะตัดสินใจทำอะไรโดยเฉพาะในสิ่งที่มี “ผลประโยชน์ขัดกัน” ระหว่างตนเองและบริษัทในฐานะที่เป็นของมหาชนที่เขาเป็นผู้บริหาร
สุดท้ายจะพูดถึงก็คือเรื่องของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นแต่ละตัวว่าพวกเขามีหลักการหรือกลยุทธ์การลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร เป็น VI หรือเป็นแนวเทคนิค พฤติกรรมของพวกเขาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเช่นลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว ต่างๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องค่อยๆเรียนรู้ และต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะมันไม่มีใครเขียนเป็นบันทึกให้อ่าน หรือบางทีเราอ่านพบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง
ถ้าจะถามว่าเราจะต้องรู้ไปทำไมว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ใครเป็นเจ้าของหรือใครเข้าไปเล่น คำตอบของผมก็คือ การที่รู้ว่าใครเข้าไปเล่นหุ้นตัวไหนนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกหรือเตือนเราว่า ราคาหุ้นที่เราเห็นนั้น อาจจะต่างจากมูลค่าพื้นฐานได้มากน้อยแค่ไหน หุ้นบางตัวนั้น ผมคิดว่าราคาอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานได้หลายเท่า กลายเป็นหุ้น “อภินิหาร” ได้ เพียงเพราะคนที่เข้าไปเล่นนั้นกล้าทำและทำได้ ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเล่นถ้าไม่ต้องการ “หายนะ”
ปล. แต่ผมแอบดู ดร.นะ ว่าจะขายตัวไหน เพราะ กลัว ดร.มากกว่า อิอิ
เล่นหุ้นต้องดู เจ้าของกิจการ
ในช่วงที่ตลาดมีการเก็งกำไรในหุ้น โดยเฉพาะที่เป็นหุ้นตัวเล็กอย่างหนักนั้น นักเล่นหุ้นจำนวนมากนั้น ชอบดู “ขาใหญ่” ว่ากำลังเข้ามาเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า? เพราะเขาเชื่อว่า ราคาหุ้นจะปรับตัวแรงมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ มีนักเล่นหุ้นรายใหญ่เข้าไปซื้อ ซึ่งจะทำให้หุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้อาจจะหลายเท่าในเวลาอันสั้น ความคิดแบบนี้ผมคิดว่ามีอยู่มากในบรรดานักเล่นรายวันจำนวนมาก
ดังนั้น นักเล่นหุ้นรายใหญ่จึงมักจะพยายามส่งข้อมูล หรือสัญญาณว่าตนเองได้เข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นจำนวนมาก เพราะเห็นว่ามันเป็นหุ้นที่ดีราคาถูกและจะปรับตัวขึ้นไปอีกมาก อาจจะหลายเท่า ผลก็คือราคาหุ้นก็มักจะมีการปรับตัวขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยแรงซื้อของนักลงทุนและคนเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมาก แต่หุ้นลักษณะแบบนี้นั้นก็มักจะมีอันตรายสูง ที่จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ถ้ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งเนื่องจากราคาอาจจะสูงเกินพื้นฐานไปมาก
พูดถึงเรื่อง “ขาใหญ่” แล้ว ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นไทยในยามนี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก เหตุผลก็เพราะตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงมายาวนาน และนักลงทุนที่ “กล้าได้กล้าเสีย” สามารถทำกำไรมโหฬารจนกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก ผลก็คือ หุ้นตัวเล็กที่ “วิ่งกันระเบิด” นั้น แทบทุกตัวก็จะต้องมี “ขาใหญ่” บางคนหรือบางกลุ่มเข้าไปเล่นทั้งสิ้น
การดูผู้บริหารหรือเจ้าของที่เกี่ยวกับตัวหุ้นนั้น ยังต้องดูแรงจูงใจของพวกเขาด้วย ผู้บริหารบางคนนั้น ชอบ “ดูแลหุ้น” ตัวเองมาก เขาจะพยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะทำให้หุ้นมีราคาดีมีปริมาณการซื้อขายสูง การพูดโปรโมทหุ้นนั้น จะทำอยู่ตลอดเวลาถ้าทำได้
นอกจากนั้น หลายคนยังเข้าไปซื้อขายหุ้นของตนเอง โดยอาจจะผ่านนอมินีหรือส่งเสริมให้คนอื่นเข้ามาช่วย “ทำราคา” ด้วย เจ้าของหรือผู้บริหารบริษัทบางคนโดยเฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมโตช้าหรือตะวันตกดินนั้น ตรงกันข้าม ไม่ดูแลหุ้นของตนเองเลย พวกเขาไม่สนใจที่จะพบนักลงทุนหรือให้ข่าวข้อมูลของกิจการแก่นักลงทุนถ้าไม่จำเป็น ราคาหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาไม่สนใจ ในกรณีแบบนี้ บ่อยครั้งก็พบว่าพวกเขาไม่ต้องการจะจ่ายปันผลที่งดงามให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย
ดูเหมือนว่าพวกเขาอยากจะบริหารบริษัทคล้ายๆ กับบริษัทส่วนตัวมากกว่า ในทั้งสองกรณีคือ ดูแลหุ้นตัวเองมากเกินไปและไม่ดูแลหุ้นเลยนั้น ผมไม่ชอบทั้งคู่ โดยที่ไม่ชอบมากกว่าก็คือการไม่ดูแลหุ้นเลย
หุ้นที่ดีนั้นคิดว่า ควรจะเป็นหุ้นที่ผู้บริหารและเจ้าของควร “ดูแล” พอประมาณในด้านของการให้ข้อมูล และการจ่ายปันผลรวมถึงการปรับในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการเข้ามาซื้อขายหุ้นเอง การดูแลหุ้นมากเกินไปนั้น คิดว่ามันทำให้หุ้นอาจจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ราคาอาจจะเกินมูลค่าที่แท้จริง ในขณะที่หุ้นที่เจ้าของไม่ดูแลเลยนั้น ผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทนตามพื้นฐานที่ควรเป็นและผมมักจะหลีกเลี่ยง
ประวัติหรือพฤติกรรมของผู้บริหาร หรือเจ้าของหุ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมมอง ถ้าเจ้าของมีประวัติเป็น “นักเล่นหุ้น” เคยซื้อขายหุ้นในฐานะ “ขาใหญ่” ผมจะไม่ชอบ ข้อแรกก็คือ ผมไม่แน่ใจในเรื่องทักษะหรือความสามารถในการบริหารธุรกิจที่จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ข้อสองก็คือ ผมคิดว่าเขามักจะเน้นไปที่การทำหรือดูแลราคาหุ้นมากเกินไป ซึ่งนี่อาจจะนำไปสู่ราคาหุ้นที่สูงกว่าพื้นฐาน ผู้บริหารที่ดีนั้น ควรเป็นคนที่คลุกคลีและสร้างธุรกิจด้วยตนเองหรือสืบทอดธุรกิจต่อมาอย่างประสบความสำเร็จ
ในด้านของประวัติทางการเงินนั้น ผมชอบคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ ไม่เคยถูก “Blaklist” หรือถูก “ตราหน้า” ในสังคมของสถาบันการเงินว่าเป็นลูกหนี้ที่ “เบี้ยว” หนี้ทั้งที่ธุรกิจยังพอไปได้ เช่นเดียวกัน เขาก็ควรจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคมไม่มีประวัติที่ “น่ารังเกียจ” และสุดท้ายก็คือ เมื่อนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นและเป็นบริษัทมหาชนแล้ว เขาควรที่จะต้องคำนึงถึงนักลงทุนเสมอเวลาที่จะตัดสินใจทำอะไรโดยเฉพาะในสิ่งที่มี “ผลประโยชน์ขัดกัน” ระหว่างตนเองและบริษัทในฐานะที่เป็นของมหาชนที่เขาเป็นผู้บริหาร
สุดท้ายจะพูดถึงก็คือเรื่องของคนที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นแต่ละตัวว่าพวกเขามีหลักการหรือกลยุทธ์การลงทุนหรือเล่นหุ้นอย่างไร เป็น VI หรือเป็นแนวเทคนิค พฤติกรรมของพวกเขาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรเช่นลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว ต่างๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องค่อยๆเรียนรู้ และต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะมันไม่มีใครเขียนเป็นบันทึกให้อ่าน หรือบางทีเราอ่านพบก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง
ถ้าจะถามว่าเราจะต้องรู้ไปทำไมว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ใครเป็นเจ้าของหรือใครเข้าไปเล่น คำตอบของผมก็คือ การที่รู้ว่าใครเข้าไปเล่นหุ้นตัวไหนนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยบอกหรือเตือนเราว่า ราคาหุ้นที่เราเห็นนั้น อาจจะต่างจากมูลค่าพื้นฐานได้มากน้อยแค่ไหน หุ้นบางตัวนั้น ผมคิดว่าราคาอาจจะสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานได้หลายเท่า กลายเป็นหุ้น “อภินิหาร” ได้ เพียงเพราะคนที่เข้าไปเล่นนั้นกล้าทำและทำได้ ในกรณีแบบนี้เราอาจจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเล่นถ้าไม่ต้องการ “หายนะ”
ปล. แต่ผมแอบดู ดร.นะ ว่าจะขายตัวไหน เพราะ กลัว ดร.มากกว่า อิอิ