ช่วงนี้นักลงทุนส่วนบุคคลแทบทุกกลุ่ม รวมถึง VI รายย่อยและรายใหญ่ “ระดับเซียน” ต่างก็ “เจ็บ” กันหนัก บางคนก็แทบจะเป็น “หายนะ” การที่พอร์ต “ขาดทุน 50%” หรือมากกว่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่ “ผิดปกติ” อีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ตกลงมารุนแรงมากในระดับวิกฤติ และก็ไม่ได้ตกลงมาอย่างรวดเร็วเพราะมีเหตุการณ์ร้ายแรงบางอย่างเกิดขึ้น
ว่าที่จริงตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเร็ว ๆ นี้ “เงียบเหงามาก” ปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นต่อวันลดลงมาเหลือเพียงวันละประมาณ 4-50,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ย และดัชนีหุ้นก็ผันผวนน้อย-แต่หนักทางลดลงเรื่อย ๆ แบบช้า ๆ ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนบอกว่าเป็น อาการ “ต้มกบ” คือ ดัชนีหุ้นลดลงแบบช้า ๆ จนคนไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็สายเสียแล้ว
นักลงทุนที่เจ็บหนักมากในรอบนี้ดังที่กล่าวนั้น เป็นเพราะพวกเขาเล่นหุ้นหรือลงทุนในบริษัทขนาดเล็กและกลางที่ก่อนหน้านั้นมีผลงานที่ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นขึ้นไปแรงและสูงมากอย่างไม่น่าเชื่ออานิสงค์จากการที่หุ้น “ถูกคอร์เนอร์” เพราะเม็ดเงินของคนที่ซื้อนั้นมีปริมาณมากกว่าปกติมาก และก็มักจะมาจากนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในหุ้นที่มีสตอรี่และกำลังมีผลประกอบการที่โดดเด่น แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยชี้ขาดและจำเป็นก็คือ เจ้าของและผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้น เข้ามาร่วม “เล่นหุ้น” ของตนเองด้วย
ถึงวันนี้ คอร์เนอร์หุ้นจำนวนมาก น่าจะ “แตก” แล้ว ราคาหุ้นที่เคยขึ้นไปสูงมากเป็นหลาย ๆ เท่าในเวลาอาจจะหลายปี ตกลงมาเรื่อย ๆ บางตัวตกลงมาถึง 7-80% ทั้ง ๆ ที่หุ้นบางตัวไม่ได้มีเหตุการณ์ทางธุรกิจที่เสียหายรุนแรง อาจจะยกเว้นเรื่องหนึ่งก็คือ ผู้บริหารและเจ้าของขายหุ้นหรือถูกบังคับให้ขายหุ้นโดยการ “ฟอร์ซเซล” จำนวนมาก ในขณะที่คนซื้อมีน้อยมาก
บทเรียนสำคัญที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ก็คือ หุ้นที่ “เจ๊ง” หรือล่มสลายในช่วงนี้มักจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ เป็นหุ้นที่เจ้าของและผู้บริหาร “เล่นหุ้น” ของตนเอง นั่นก็คือ อาจจะเข้าไปซื้อขายโดยตรง ชักชวนคนเข้าไปเล่นหุ้นของตนโดยการให้ข้อมูลข่าวสารในทางที่ดีเกินความเป็นจริง แต่งและปรับตัวเลขผลประกอบการที่ออกมารายไตรมาศ ทำโครงการและ/หรือซื้อธุรกิจอื่นทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มประมาณการการเติบโตของบริษัท
และที่มักจะขาดไม่ได้ก็คือ ดึง “เซียนหุ้นรายใหญ่” เข้ามาซื้อและถือหุ้นของตนในจำนวนมาก เพื่อที่จะยืนยันกับนักลงทุนอื่น ๆ ว่าหุ้นของตนนั้น “ดีจริง” ลองมาดูรายละเอียดทีละเรื่อง
สิ่งที่บอกว่าผู้บริหาร “เล่นหุ้น” ตนเองนั้นก็คือ ผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดอยู่แล้วนั้น ซื้อหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้นไปอีก และเงินที่ใช้ซื้อนั้นก็มาจากการกู้โดยเอาหุ้นไปจำนำ หรือวางเป็นหลักประกันในบัญชีซื้อ-ขายหุ้นด้วยมาร์จิน
นี่เป็นอะไรที่ไม่ธรรมดา เพราะถ้าคิดว่าบริษัทดีเติบโตเร็วและหุ้นราคาถูก อนาคตความมั่งคั่งของตนเองก็ต้องสูงมากอยู่แล้ว ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการลงทุนอีก 5-10% มีน้อยมาก ดังนั้น สิ่งที่อาจจะเป็นจริงมากกว่าก็คือ ผู้บริหารกู้เงินไปดันราคาหรือเข้าไปร่วมคอร์เนอร์หุ้นมากกว่า
การดันราคาหุ้นของผู้บริหารนั้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มแรงซื้อให้กับหุ้นโดยตรงแล้ว การที่ผู้บริหารซื้อและต้องเปิดเผยให้กับสาธารณะชนทันที ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจและซื้อตาม ยิ่งซื้อมากและซื้ออย่างต่อเนื่องก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจเพิ่ม ทำให้ความต้องการหุ้นในตลาดสูงกว่าปริมาณคนที่อยากจะขาย
เมื่อถึงจุดหนึ่ง หุ้นก็ถูกคอร์เนอร์ ราคาหุ้นขึ้นไปสุดโต่งและสูงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นมาก ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าของกลายเป็นเศรษฐีหุ้นพันหรือหมื่นหรือแสนล้านบาท และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาหนึ่ง
แต่เมื่อคอร์เนอร์ “แตก” ก่อนที่ผู้บริหารและเจ้าของจะ “ออกของ” ทัน และถูกฟอร์ซเซล หายนะก็เกิดขึ้น และก็แน่นอน ไม่ใช่แค่เจ้าของ นักลงทุนทุกคนที่เข้าไปร่วมในการเล่นหรือลงทุนในหุ้นต่างก็ถูกกระทบไปทั่วหน้า พอร์ตหุ้นเสียหายหนักอย่างไม่คาดคิด ผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวที่เคยดีหรือดีมาก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หลายคนอาจจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดด้วยซ้ำ
หุ้นที่มีโอกาส “เจ๊ง” เรื่องต่อมาก็คือ ผู้บริหารมักจะออกมาพูดเรื่องราวทำนองโอ้อวดความสามารถของบริษัท การเจริญเติบโตของกิจการทั้งของเดิมและธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะทำหรือที่มากกว่าก็คือการซื้อหุ้นและ/หรือกิจการบริษัทอื่น พูดง่าย ๆ เป็นเจ้าแห่ง “โปรเจ็ค” โดยที่เหตุผลของการทำแต่ละดีลนั้นฟังดูดีเยี่ยมและจะทำให้ผลประกอบการในอนาคตเติบโตขึ้นไปอีกมาก และก็มักจะช่วยให้ราคาหุ้นของบริษัทวิ่งขึ้นไปตาม
แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่า แทบไม่มีกิจกรรมหรือบริษัทไหนที่ดีตามที่เคยคาดไว้เลย นั่นก็อาจจะเพราะว่า ผู้บริหารทำเรื่องทั้งหมดเพื่อที่จะสร้างภาพของการเติบโตให้บริษัทเพื่อที่ราคาหุ้นจะได้วิ่งขึ้น เป็นคล้าย ๆ กับการ “บริหารหุ้น” หรือ “เล่นหุ้น” มากกว่า
ประเด็นต่อมาก็คือ หุ้นที่ตกหนักมากรอบนี้ มักมีการใช้ “วิศวกรรมการเงิน” กันค่อนข้างมาก ตัวอย่างก็เช่น เรื่องของการเพิ่มทุนให้บุคคลอื่นแบบ PP การขายหุ้นบางส่วนที่มีนัยสำคัญจากเจ้าของให้กับหุ้นส่วนทางกลยุทธ์หรือ Strategic Partner หรือนักลงทุนรายใหญ่ การออกตราสารอนุพันธ์เช่นวอแร้นต์ให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมาก เป็นต้น
บริษัทที่ทำแบบนี้บ่อย ๆ โดยที่ไม่มีเหตุผลที่ดีอย่างชัดเจนนั้น จริง ๆ แล้วอาจจะเป็น “กลยุทธ์การเล่นหุ้น” คือทำเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าของหุ้นให้ตนเอง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะพบว่าหุ้น “พัง” เพราะคนที่ซื้อหุ้น PP มักจะไม่ใช่หุ้นส่วน แต่เป็นนักเล่นหุ้นที่หวังกำไรอย่างรวดเร็ว เข้าไปลากหุ้นขึ้นและเทขายอย่างรวดเร็วมากกว่า
หุ้นที่ตกหนักมากรอบนี้ จำนวนมากเคยหรืออาจจะยังเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีหรือดีมากมาก่อน เพียงแต่ในช่วงที่หุ้นขึ้นไปนั้นมีราคาเกินพื้นฐานไปมาก อานิสงค์สำคัญมาจากการที่หุ้นถูกคอร์เนอร์ขึ้นไปมาก ค่า PE สูงลิ่ว บางตัวราคาสูงถึง 40-50 เท่าขึ้นไปจาก “กำไรปกติ” ซึ่งค่า PE ระดับนั้นน่าจะเหมาะกับ “บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก” มากกว่าบริษัทธรรมดา ๆ ของไทย ที่บังเอิญดีในช่วงเวลาที่เอื้ออำนวยกับอุตสาหกรรม
หุ้น “ดี” ที่ตกหนักมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ จึงต้องมี “ยี่ห้อ” หรือมีการ “รับรอง” โดย “เซียนหุ้น” ที่ได้รับการยอมรับในตลาดหุ้น ซึ่งมีผลงานการลงทุนมายาวนาน ดังนั้น จึงพบว่า นอกจากผู้บริหารและเจ้าของหุ้นที่เข้ามาซื้อ-ขายหุ้นลงทุนในบริษัทของตนเองแล้ว บริษัทมักจะมี “เซียนหุ้น” มาเป็น “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” คือถือหุ้นใหญ่เป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของบริษัท หรือในช่วงนี้ก็ถือหุ้นอย่างน้อย 0.5% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท
เป็นไปได้ว่า “เซียน” เข้าไปลงทุนตามพื้นฐานและตามหลักการแบบ “VI” จริง ๆ และก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือรู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้บริหาร แต่ในหลายกรณีก็ดูเหมือนว่าเซียนก็สนิทสนมกับผู้บริหารและมีกิจกรรมร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง และแน่นอนว่าอาจจะเป็นคนที่ดึงให้เซียนเข้ามา “เล่นหุ้น” ของตนเองด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ในที่สุดหุ้นก็ “พัง” ทำให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่เล่นหุ้นหรือลงทุนตามเซียน “เจ็บหนัก” ไปด้วย
การตกลงมาของหุ้นที่เคยเป็น “หุ้นนางฟ้า” ของนักลงทุนส่วนบุคคลทั้งรายใหญ่และรายย่อย ทั้งที่เป็นนักเก็งกำไรและที่เป็น “VI” ในรอบนี้ สำหรับหลาย ๆ คน ถือว่ามีความรุนแรงมากน่าจะเท่า ๆ หรือหนักกว่าการตกในช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงินเช่นวิกฤติซับไพร์มในปี 2551 เพราะอัตราของความเสียหายนั้นสูงในระดับ 40-50% ของพอร์ตเหมือนกัน
แต่สิ่งที่เจ็บหนักกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็คือ นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าตนเองถูก “หลอก” ให้เข้าไปเล่น หรือถูก “โกง” โดยคนที่ “วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น” และในกรณีของนักลงทุนแนว “VI” หรือคนที่วิเคราะห์หุ้นแบบพื้นฐานที่ต้องเสียหายอย่างหนักนั้น ความเจ็บปวดของแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่มานานและ “เคย” ประสบความสำเร็จจากการลงทุนสูง น่าจะสูญเสียความมั่นใจกับการลงทุนไปมาก และก็คงจดจำบทเรียนที่สำคัญที่สุดบทหนึ่งที่ว่า
ในระยะสั้น ซึ่งบางทีอาจจะยาวถึง 10 ปีนั้น คุณอาจจะสร้างผลงานการลงทุนได้ยอดเยี่ยมหลายสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบทบต้น เหนือกว่าแม้แต่วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่ในระยะยาวเป็น 20 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนทบต้นก็จะวิ่งเข้าหา “ข้อจำกัด” ที่ไม่อาจฝืนได้ เช่น “หายนะ” ที่เข้ามาทำลายผลตอบแทนที่เคยยอดเยี่ยมนั้นให้กลับไปสู่ความเป็นจริง ที่ประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น บวกลบเล็กน้อยถ้าคุณโชคดีอยู่ในตลาดหุ้นที่เติบโตยาวนาน ผลตอบแทนที่ดีเลิศต่อเนื่องยาวนานนั้น มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่คุณ “นึกไม่ถึง” และก็จะเกิดขึ้นวันใดวันหนึ่ง
สำหรับผมแล้ว การพยายามหลีกเลี่ยง “หายนะ” เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนระยะยาว พยายามคิดหรือศึกษาให้รู้ว่าเราจะ “ตายที่ไหน?” เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่ไปที่นั่น นั่นคือคำคมคลาสสิคของชาลี มังเกอร์ เซียนหุ้นที่มีชีวิตยืนยาวมาก และ “ที่ตาย” ที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผมคิดก็คือ การกู้เงินซื้อหุ้นด้วยมาร์จินจำนวนมากที่เราไม่ควรไปเลยไม่ว่าเราจะคิดว่าหุ้นดีแค่ไหน
22 มิ.ย 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง
https://www.blockdit.com/posts/66768f04452176e071ca49f5
พังเพราะผู้บริหารเล่นหุ้น : โลกในมุมมองของ Value Investor โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ว่าที่จริงตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเร็ว ๆ นี้ “เงียบเหงามาก” ปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นต่อวันลดลงมาเหลือเพียงวันละประมาณ 4-50,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ย และดัชนีหุ้นก็ผันผวนน้อย-แต่หนักทางลดลงเรื่อย ๆ แบบช้า ๆ ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนบอกว่าเป็น อาการ “ต้มกบ” คือ ดัชนีหุ้นลดลงแบบช้า ๆ จนคนไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็สายเสียแล้ว
นักลงทุนที่เจ็บหนักมากในรอบนี้ดังที่กล่าวนั้น เป็นเพราะพวกเขาเล่นหุ้นหรือลงทุนในบริษัทขนาดเล็กและกลางที่ก่อนหน้านั้นมีผลงานที่ยอดเยี่ยม ราคาหุ้นขึ้นไปแรงและสูงมากอย่างไม่น่าเชื่ออานิสงค์จากการที่หุ้น “ถูกคอร์เนอร์” เพราะเม็ดเงินของคนที่ซื้อนั้นมีปริมาณมากกว่าปกติมาก และก็มักจะมาจากนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในหุ้นที่มีสตอรี่และกำลังมีผลประกอบการที่โดดเด่น แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยชี้ขาดและจำเป็นก็คือ เจ้าของและผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้น เข้ามาร่วม “เล่นหุ้น” ของตนเองด้วย
ถึงวันนี้ คอร์เนอร์หุ้นจำนวนมาก น่าจะ “แตก” แล้ว ราคาหุ้นที่เคยขึ้นไปสูงมากเป็นหลาย ๆ เท่าในเวลาอาจจะหลายปี ตกลงมาเรื่อย ๆ บางตัวตกลงมาถึง 7-80% ทั้ง ๆ ที่หุ้นบางตัวไม่ได้มีเหตุการณ์ทางธุรกิจที่เสียหายรุนแรง อาจจะยกเว้นเรื่องหนึ่งก็คือ ผู้บริหารและเจ้าของขายหุ้นหรือถูกบังคับให้ขายหุ้นโดยการ “ฟอร์ซเซล” จำนวนมาก ในขณะที่คนซื้อมีน้อยมาก
บทเรียนสำคัญที่ผมจะพูดถึงในวันนี้ก็คือ หุ้นที่ “เจ๊ง” หรือล่มสลายในช่วงนี้มักจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ เป็นหุ้นที่เจ้าของและผู้บริหาร “เล่นหุ้น” ของตนเอง นั่นก็คือ อาจจะเข้าไปซื้อขายโดยตรง ชักชวนคนเข้าไปเล่นหุ้นของตนโดยการให้ข้อมูลข่าวสารในทางที่ดีเกินความเป็นจริง แต่งและปรับตัวเลขผลประกอบการที่ออกมารายไตรมาศ ทำโครงการและ/หรือซื้อธุรกิจอื่นทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มประมาณการการเติบโตของบริษัท
และที่มักจะขาดไม่ได้ก็คือ ดึง “เซียนหุ้นรายใหญ่” เข้ามาซื้อและถือหุ้นของตนในจำนวนมาก เพื่อที่จะยืนยันกับนักลงทุนอื่น ๆ ว่าหุ้นของตนนั้น “ดีจริง” ลองมาดูรายละเอียดทีละเรื่อง
สิ่งที่บอกว่าผู้บริหาร “เล่นหุ้น” ตนเองนั้นก็คือ ผู้บริหารที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดอยู่แล้วนั้น ซื้อหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้นไปอีก และเงินที่ใช้ซื้อนั้นก็มาจากการกู้โดยเอาหุ้นไปจำนำ หรือวางเป็นหลักประกันในบัญชีซื้อ-ขายหุ้นด้วยมาร์จิน
นี่เป็นอะไรที่ไม่ธรรมดา เพราะถ้าคิดว่าบริษัทดีเติบโตเร็วและหุ้นราคาถูก อนาคตความมั่งคั่งของตนเองก็ต้องสูงมากอยู่แล้ว ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการลงทุนอีก 5-10% มีน้อยมาก ดังนั้น สิ่งที่อาจจะเป็นจริงมากกว่าก็คือ ผู้บริหารกู้เงินไปดันราคาหรือเข้าไปร่วมคอร์เนอร์หุ้นมากกว่า
การดันราคาหุ้นของผู้บริหารนั้น นอกจากจะเป็นการเพิ่มแรงซื้อให้กับหุ้นโดยตรงแล้ว การที่ผู้บริหารซื้อและต้องเปิดเผยให้กับสาธารณะชนทันที ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจและซื้อตาม ยิ่งซื้อมากและซื้ออย่างต่อเนื่องก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจเพิ่ม ทำให้ความต้องการหุ้นในตลาดสูงกว่าปริมาณคนที่อยากจะขาย
เมื่อถึงจุดหนึ่ง หุ้นก็ถูกคอร์เนอร์ ราคาหุ้นขึ้นไปสุดโต่งและสูงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นมาก ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าของกลายเป็นเศรษฐีหุ้นพันหรือหมื่นหรือแสนล้านบาท และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาหนึ่ง
แต่เมื่อคอร์เนอร์ “แตก” ก่อนที่ผู้บริหารและเจ้าของจะ “ออกของ” ทัน และถูกฟอร์ซเซล หายนะก็เกิดขึ้น และก็แน่นอน ไม่ใช่แค่เจ้าของ นักลงทุนทุกคนที่เข้าไปร่วมในการเล่นหรือลงทุนในหุ้นต่างก็ถูกกระทบไปทั่วหน้า พอร์ตหุ้นเสียหายหนักอย่างไม่คาดคิด ผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวที่เคยดีหรือดีมาก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หลายคนอาจจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดด้วยซ้ำ
หุ้นที่มีโอกาส “เจ๊ง” เรื่องต่อมาก็คือ ผู้บริหารมักจะออกมาพูดเรื่องราวทำนองโอ้อวดความสามารถของบริษัท การเจริญเติบโตของกิจการทั้งของเดิมและธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะทำหรือที่มากกว่าก็คือการซื้อหุ้นและ/หรือกิจการบริษัทอื่น พูดง่าย ๆ เป็นเจ้าแห่ง “โปรเจ็ค” โดยที่เหตุผลของการทำแต่ละดีลนั้นฟังดูดีเยี่ยมและจะทำให้ผลประกอบการในอนาคตเติบโตขึ้นไปอีกมาก และก็มักจะช่วยให้ราคาหุ้นของบริษัทวิ่งขึ้นไปตาม
แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่า แทบไม่มีกิจกรรมหรือบริษัทไหนที่ดีตามที่เคยคาดไว้เลย นั่นก็อาจจะเพราะว่า ผู้บริหารทำเรื่องทั้งหมดเพื่อที่จะสร้างภาพของการเติบโตให้บริษัทเพื่อที่ราคาหุ้นจะได้วิ่งขึ้น เป็นคล้าย ๆ กับการ “บริหารหุ้น” หรือ “เล่นหุ้น” มากกว่า
ประเด็นต่อมาก็คือ หุ้นที่ตกหนักมากรอบนี้ มักมีการใช้ “วิศวกรรมการเงิน” กันค่อนข้างมาก ตัวอย่างก็เช่น เรื่องของการเพิ่มทุนให้บุคคลอื่นแบบ PP การขายหุ้นบางส่วนที่มีนัยสำคัญจากเจ้าของให้กับหุ้นส่วนทางกลยุทธ์หรือ Strategic Partner หรือนักลงทุนรายใหญ่ การออกตราสารอนุพันธ์เช่นวอแร้นต์ให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมาก เป็นต้น
บริษัทที่ทำแบบนี้บ่อย ๆ โดยที่ไม่มีเหตุผลที่ดีอย่างชัดเจนนั้น จริง ๆ แล้วอาจจะเป็น “กลยุทธ์การเล่นหุ้น” คือทำเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าของหุ้นให้ตนเอง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะพบว่าหุ้น “พัง” เพราะคนที่ซื้อหุ้น PP มักจะไม่ใช่หุ้นส่วน แต่เป็นนักเล่นหุ้นที่หวังกำไรอย่างรวดเร็ว เข้าไปลากหุ้นขึ้นและเทขายอย่างรวดเร็วมากกว่า
หุ้นที่ตกหนักมากรอบนี้ จำนวนมากเคยหรืออาจจะยังเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีหรือดีมากมาก่อน เพียงแต่ในช่วงที่หุ้นขึ้นไปนั้นมีราคาเกินพื้นฐานไปมาก อานิสงค์สำคัญมาจากการที่หุ้นถูกคอร์เนอร์ขึ้นไปมาก ค่า PE สูงลิ่ว บางตัวราคาสูงถึง 40-50 เท่าขึ้นไปจาก “กำไรปกติ” ซึ่งค่า PE ระดับนั้นน่าจะเหมาะกับ “บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก” มากกว่าบริษัทธรรมดา ๆ ของไทย ที่บังเอิญดีในช่วงเวลาที่เอื้ออำนวยกับอุตสาหกรรม
หุ้น “ดี” ที่ตกหนักมากในช่วงเร็ว ๆ นี้ จึงต้องมี “ยี่ห้อ” หรือมีการ “รับรอง” โดย “เซียนหุ้น” ที่ได้รับการยอมรับในตลาดหุ้น ซึ่งมีผลงานการลงทุนมายาวนาน ดังนั้น จึงพบว่า นอกจากผู้บริหารและเจ้าของหุ้นที่เข้ามาซื้อ-ขายหุ้นลงทุนในบริษัทของตนเองแล้ว บริษัทมักจะมี “เซียนหุ้น” มาเป็น “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” คือถือหุ้นใหญ่เป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของบริษัท หรือในช่วงนี้ก็ถือหุ้นอย่างน้อย 0.5% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท
เป็นไปได้ว่า “เซียน” เข้าไปลงทุนตามพื้นฐานและตามหลักการแบบ “VI” จริง ๆ และก็ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือรู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้บริหาร แต่ในหลายกรณีก็ดูเหมือนว่าเซียนก็สนิทสนมกับผู้บริหารและมีกิจกรรมร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง และแน่นอนว่าอาจจะเป็นคนที่ดึงให้เซียนเข้ามา “เล่นหุ้น” ของตนเองด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ในที่สุดหุ้นก็ “พัง” ทำให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่เล่นหุ้นหรือลงทุนตามเซียน “เจ็บหนัก” ไปด้วย
การตกลงมาของหุ้นที่เคยเป็น “หุ้นนางฟ้า” ของนักลงทุนส่วนบุคคลทั้งรายใหญ่และรายย่อย ทั้งที่เป็นนักเก็งกำไรและที่เป็น “VI” ในรอบนี้ สำหรับหลาย ๆ คน ถือว่ามีความรุนแรงมากน่าจะเท่า ๆ หรือหนักกว่าการตกในช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงินเช่นวิกฤติซับไพร์มในปี 2551 เพราะอัตราของความเสียหายนั้นสูงในระดับ 40-50% ของพอร์ตเหมือนกัน
แต่สิ่งที่เจ็บหนักกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็คือ นักลงทุนจำนวนมากคิดว่าตนเองถูก “หลอก” ให้เข้าไปเล่น หรือถูก “โกง” โดยคนที่ “วางแผนไว้ตั้งแต่ต้น” และในกรณีของนักลงทุนแนว “VI” หรือคนที่วิเคราะห์หุ้นแบบพื้นฐานที่ต้องเสียหายอย่างหนักนั้น ความเจ็บปวดของแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่มานานและ “เคย” ประสบความสำเร็จจากการลงทุนสูง น่าจะสูญเสียความมั่นใจกับการลงทุนไปมาก และก็คงจดจำบทเรียนที่สำคัญที่สุดบทหนึ่งที่ว่า
ในระยะสั้น ซึ่งบางทีอาจจะยาวถึง 10 ปีนั้น คุณอาจจะสร้างผลงานการลงทุนได้ยอดเยี่ยมหลายสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปีแบบทบต้น เหนือกว่าแม้แต่วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่ในระยะยาวเป็น 20 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนทบต้นก็จะวิ่งเข้าหา “ข้อจำกัด” ที่ไม่อาจฝืนได้ เช่น “หายนะ” ที่เข้ามาทำลายผลตอบแทนที่เคยยอดเยี่ยมนั้นให้กลับไปสู่ความเป็นจริง ที่ประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น บวกลบเล็กน้อยถ้าคุณโชคดีอยู่ในตลาดหุ้นที่เติบโตยาวนาน ผลตอบแทนที่ดีเลิศต่อเนื่องยาวนานนั้น มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่คุณ “นึกไม่ถึง” และก็จะเกิดขึ้นวันใดวันหนึ่ง
สำหรับผมแล้ว การพยายามหลีกเลี่ยง “หายนะ” เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนระยะยาว พยายามคิดหรือศึกษาให้รู้ว่าเราจะ “ตายที่ไหน?” เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่ไปที่นั่น นั่นคือคำคมคลาสสิคของชาลี มังเกอร์ เซียนหุ้นที่มีชีวิตยืนยาวมาก และ “ที่ตาย” ที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผมคิดก็คือ การกู้เงินซื้อหุ้นด้วยมาร์จินจำนวนมากที่เราไม่ควรไปเลยไม่ว่าเราจะคิดว่าหุ้นดีแค่ไหน
22 มิ.ย 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/66768f04452176e071ca49f5