คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
(บางส่วน)
[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย
ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น
มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย
และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่
โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ
ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ
แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ
ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘. หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๙.
คลิกเพื่อเปิดฟัง
เฉพาะ IE เท่านั้น
CLICK TO LISTEN
IE ONLY http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
++++++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/32278286/comment5
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
(บางส่วน)
[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย
ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น
มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย
และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่
โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ
ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ
แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ
ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘. หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๙.
คลิกเพื่อเปิดฟัง
เฉพาะ IE เท่านั้น
CLICK TO LISTEN
IE ONLY http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
++++++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า
ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น
ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน
เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย
มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง
มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย
มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก
ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา
บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ
ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง
ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย
อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก
อำนาจกรรม
http://ppantip.com/topic/32278286/comment5
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
แสดงความคิดเห็น
สูง ต่ำ ดำ ขาว สวย ขี้เหร่ จากกรรมเก่าหรือปล่าวคะ..?