สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
น่าเห็นใจครับ
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจด้วย
ตอนแรกอ่านช่วงแรกๆยังคิดว่าทำไม่รพ.ไม่ให้ใช้สิทธิฉุกเฉินวิกฤติซึ่งทำเรื่องเบิกได้
แต่พออ่านๆไป...
พูดถึงเรื่องจรรยาบรรณ มนุษยธรรม
ผมว่าบุคคลากรทางการแพทย์เขาก็ได้ทำการช่วยเหลือแล้ว
ตอนนั้นเองคนที่ช่วยคงไม่ได้มานั่งสนใจว่าจะมีเงินจ่ายหรือไม่ก็คงต้องช่วยไปก่อน
แพทย์ พยาบาลที่ช่วยเหลือ ไม่ได้มีหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินนะครับ
พยาบาลอาจจะ key ข้อมูลตามจริงว่าได้ใช้อะไรไปบ้างในการ CPR
การเรียกเก็บเงินก็เป็นหน้าที่ของการเงินในรพ.
ส่วนกรณีนี้พอมาอ่านดู
ที่แพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตก่อนมาถึงรพ.
น่าจะเป็นเพราะตอนมาถึงคงไม่มีสัญญาณชีพอะไรเหลืออยู่แล้ว
ต่างกับบางรายที่แย่มากไม่รู้สีกตัวยังพอมีสัญญาณชีพบางอย่างอันนั้นก็บอกได้ว่าตอนมาถึงรพ.ยังไม่เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม แพทย์พยาบาลที่อยู่ก็ต้องให้โอกาสกับผป.คือยังไงก็ต้องทำการกู้ชีพไปก่อน
เผื่อเป็นกรณีที่เพิ่งหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจระหว่างที่เดินทางมาเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานบางรายอาจพอช่วยได้(แต่การพยากรณ์โรคมักจะยังแย่)
กรณีไม่มีสัญญาณชีพเลยและไม่ตอบสนองต่อการกู้ชีพเลยแม้แต่น้อยโดยมีประวัติก่อนมารพ.ราว 20 นาที
จึงทำให้สุดท้ายแพทย์ผู้ทำการกู้ชีพจึงสรุปว่าเสียชีวิตมาก่อนมาถึงรพ.
กรณีเสียชีวิตมาก่อนถึงรพ.มันอาจจะมีความต่างในการเบิกค่ารักษาได้หรือไม่กับการช่วยกรณียังไม่เสียชีวิต
ตรงนี้ไม่แน่ใจแล้วว่าจะสามารถทำเรื่องเบิกค่าใช้จ่ายเหมือนในคนไข้ฉุกเฉินวิกฤติได้หรือไม่
เพราะถือว่าเสียชีวิตไปก่อนแล้ว
ถ้าเป็นฉุกเฉินวิกฤติแบบผป.ยังไม่เสียชีวิตคงเบิกได้
อันนี้คงต้องถามสปสช.อีกทีว่าถ้าเป็นเสียชีวิตมาก่อนหน้า เบิกได้หรือไม่นะครับ
ขออีกทีว่าอย่าได้ต่อว่าแพทย์พยาบาลที่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือเลยครับ
เขาไม่มีสิทธิเกี่ยวกับการเก็บเงินหรือยกเว้นค่ารักษาเลย
เป็นเรื่องของการเงินกับนโยบายรพ.ล้วนๆเลยนะครับ
และก็ต้องไปถามสปสช.กับกรณีอย่างว่าด้วยว่า
ถ้าเสียชีวิตก่อนมาถึงรพ. ยังจะเบิกได้หรือไม่ครับ
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจด้วย
ตอนแรกอ่านช่วงแรกๆยังคิดว่าทำไม่รพ.ไม่ให้ใช้สิทธิฉุกเฉินวิกฤติซึ่งทำเรื่องเบิกได้
แต่พออ่านๆไป...
พูดถึงเรื่องจรรยาบรรณ มนุษยธรรม
ผมว่าบุคคลากรทางการแพทย์เขาก็ได้ทำการช่วยเหลือแล้ว
ตอนนั้นเองคนที่ช่วยคงไม่ได้มานั่งสนใจว่าจะมีเงินจ่ายหรือไม่ก็คงต้องช่วยไปก่อน
แพทย์ พยาบาลที่ช่วยเหลือ ไม่ได้มีหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินนะครับ
พยาบาลอาจจะ key ข้อมูลตามจริงว่าได้ใช้อะไรไปบ้างในการ CPR
การเรียกเก็บเงินก็เป็นหน้าที่ของการเงินในรพ.
ส่วนกรณีนี้พอมาอ่านดู
ที่แพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตก่อนมาถึงรพ.
น่าจะเป็นเพราะตอนมาถึงคงไม่มีสัญญาณชีพอะไรเหลืออยู่แล้ว
ต่างกับบางรายที่แย่มากไม่รู้สีกตัวยังพอมีสัญญาณชีพบางอย่างอันนั้นก็บอกได้ว่าตอนมาถึงรพ.ยังไม่เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม แพทย์พยาบาลที่อยู่ก็ต้องให้โอกาสกับผป.คือยังไงก็ต้องทำการกู้ชีพไปก่อน
เผื่อเป็นกรณีที่เพิ่งหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจระหว่างที่เดินทางมาเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานบางรายอาจพอช่วยได้(แต่การพยากรณ์โรคมักจะยังแย่)
กรณีไม่มีสัญญาณชีพเลยและไม่ตอบสนองต่อการกู้ชีพเลยแม้แต่น้อยโดยมีประวัติก่อนมารพ.ราว 20 นาที
จึงทำให้สุดท้ายแพทย์ผู้ทำการกู้ชีพจึงสรุปว่าเสียชีวิตมาก่อนมาถึงรพ.
กรณีเสียชีวิตมาก่อนถึงรพ.มันอาจจะมีความต่างในการเบิกค่ารักษาได้หรือไม่กับการช่วยกรณียังไม่เสียชีวิต
ตรงนี้ไม่แน่ใจแล้วว่าจะสามารถทำเรื่องเบิกค่าใช้จ่ายเหมือนในคนไข้ฉุกเฉินวิกฤติได้หรือไม่
เพราะถือว่าเสียชีวิตไปก่อนแล้ว
ถ้าเป็นฉุกเฉินวิกฤติแบบผป.ยังไม่เสียชีวิตคงเบิกได้
อันนี้คงต้องถามสปสช.อีกทีว่าถ้าเป็นเสียชีวิตมาก่อนหน้า เบิกได้หรือไม่นะครับ
ขออีกทีว่าอย่าได้ต่อว่าแพทย์พยาบาลที่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือเลยครับ
เขาไม่มีสิทธิเกี่ยวกับการเก็บเงินหรือยกเว้นค่ารักษาเลย
เป็นเรื่องของการเงินกับนโยบายรพ.ล้วนๆเลยนะครับ
และก็ต้องไปถามสปสช.กับกรณีอย่างว่าด้วยว่า
ถ้าเสียชีวิตก่อนมาถึงรพ. ยังจะเบิกได้หรือไม่ครับ
ความคิดเห็นที่ 23
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ
ความจริงอีกข้อคือ สปสช.มักรับปากกับคนไข้ว่าได้เสมอครับ หลักการเค้า say yes ตลอด เพื่อไม่ให้มีปัญหา drama กับทางญาติ ฟังดูดีเลย...
แต่ท้ายที่สุด สิ่งที่รพ.ได้ รับคือตัดหนี้สูญครับ เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว
แพทย์ พยาบาล และ รพ. รับหน้าเสื่อตลอดครับ จำเลยสังคมอยู่เรื่อยๆ
สปสช. ลอยลำตลอดครับ
อย่างนี้ ใครกับแน่ครับที่มีปัญหาทั้งด้านจรรยาบรรณและมนุษยธรรม
ถ้าไม่พอใจหรือยังไม่เข้าใจถ่องแท้ อย่าต่อว่าบุคคลากรทางการแพทย์อย่างนี้อีกเลยครับ ขอร้อง
ความจริงอีกข้อคือ สปสช.มักรับปากกับคนไข้ว่าได้เสมอครับ หลักการเค้า say yes ตลอด เพื่อไม่ให้มีปัญหา drama กับทางญาติ ฟังดูดีเลย...
แต่ท้ายที่สุด สิ่งที่รพ.ได้ รับคือตัดหนี้สูญครับ เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว
แพทย์ พยาบาล และ รพ. รับหน้าเสื่อตลอดครับ จำเลยสังคมอยู่เรื่อยๆ
สปสช. ลอยลำตลอดครับ
อย่างนี้ ใครกับแน่ครับที่มีปัญหาทั้งด้านจรรยาบรรณและมนุษยธรรม
ถ้าไม่พอใจหรือยังไม่เข้าใจถ่องแท้ อย่าต่อว่าบุคคลากรทางการแพทย์อย่างนี้อีกเลยครับ ขอร้อง
ความคิดเห็นที่ 17
คิดว่าน่าจะมีปัญหาที่การวินิจฉัยนะครับ
ตามปกติแล้วถ้าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันทีจะใช้สิทธิ์ฉุกเฉินเข้าได้ทุก รพ ทั่วประเทศอยู่แล้ว
แต่กรณีนี้การวินิจฉัยคือ "เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล" ไม่รวมในการใช้สิทธิ์ฉุกเฉิน
จึงคิดเงินตามปกติ
พูดแบบแทงใจดำหน่อยก็คือ(ใครรับไม่ได้อย่าอ่านนะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในกรณีวินิจฉัยว่าเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ทีมแพทย์ควรถามความสมัครใจก่อนช่วยกู้ชีพ เพราะโอกาศกู้ชีพขึ้นมาต่ำมาก
แต่เชื่อเหอะ ไม่มีใครหมอคนไหนถามก่อนหรอก แค่ได้ยินว่าหัวใจหยุดเต้นก็โดดขึ้นปั้มหัวใจทันทีแล้ว
ตามปกติแล้วถ้าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันทีจะใช้สิทธิ์ฉุกเฉินเข้าได้ทุก รพ ทั่วประเทศอยู่แล้ว
แต่กรณีนี้การวินิจฉัยคือ "เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล" ไม่รวมในการใช้สิทธิ์ฉุกเฉิน
จึงคิดเงินตามปกติ
พูดแบบแทงใจดำหน่อยก็คือ(ใครรับไม่ได้อย่าอ่านนะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในกรณีวินิจฉัยว่าเสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ทีมแพทย์ควรถามความสมัครใจก่อนช่วยกู้ชีพ เพราะโอกาศกู้ชีพขึ้นมาต่ำมาก
แต่เชื่อเหอะ ไม่มีใครหมอคนไหนถามก่อนหรอก แค่ได้ยินว่าหัวใจหยุดเต้นก็โดดขึ้นปั้มหัวใจทันทีแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ความสูญเสียพร้อมกับ หนี้ก้อนโต จาก รพ สมิติเวช ศรีนครินทร์ จริง ๆ หรือ ???
ทุกครั้งที่คุณลุงว่างจากการรับจ้าง ก็จะนั่งรถโดยสารที่ลูกและเมียทำงานไปด้วยช่วง ศ.ส.อา. เป็นประจำ (รถบัสโดยสาร ไป-กลับ อรัญประเทศ-กทม) เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือน พย.57 นี้เอง หลังจากทานข้าวเย็นเสร็จเพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ ซึ่งก็เป็นเหมือนทุกครั้ง มาวันนี้คุณลุงเอ่ยปากหลังอาหารเย็น (มื้อสุดท้าย) ว่าวันนี้เพลีย ขึ้นรถจะหลับสักตื่น แกเลยขอตัวลงไปเอนหลังนอนที่นั่งโดยสารชั้นล่าง (รถบัสปรับอากาศ 2 ชั้น) กับเพื่อนร่วมทาง....
ระหว่างที่รถบัสกำลังแล่นกลับจาก ตจว เข้าสู่เขต กทม. (ทางด่วน-บางนา) บอล(ลูกชาย) ก็เปิดไฟเพื่อเตรียมตัวเก็บและทำความสะอาดรถ ก่อนที่รถจะเข้าสู่ชานชลา พอไฟเปิด เสียงเอะอะโวยวายจากห้องโดยสารชั้นล่างก็ดังขึ้น "เห้ยยย ไอ้บอล ลงมาดูพ่อสิ แกเป็นอะไรไม่รู้ ปลุกไม่ตื่น" บอล รีบวิ่งลงไปดู สภาพที่เห็นคือ พ่อนั่งเอียง เหมือนคนพิงไหล่เพื่อนหลับ คราบอาเจียนเลอะปากไหลมาเสื้อผ้า ปัสสาวะ-อุจจาระ ราดกางเกง ทุกคนเห็นอย่างนั้นก็รีบช่วยกันปฐมพยาบาลเบื้องต้น จับแกนอนราบ ปลดเสื้อผ้า ผายปอด ปั้มหัวใจ คือทำทุกอย่าง ระหว่างที่รถคนขับรถประสานงานไปยัง รถร่วมกตัญญู
จากเหตุการณ์ดังกล่าวใช้เวลาร่วม ๆ 20 นาทีกว่ารถร่วมจะเดินทางมารับคุณลุงส่ง รพ. (บนทางด่วนบางนา) จากจุดเกิดเหตุ รพ ที่ใกล้ที่สุดคือ รพ สมิติเวช ศรีนคริทร์ ด้วยจรรยาบรรณของเค้า จึงต้องส่งไป ซึ่งก่อนนี้เราแจ้งกับรถร่วมไปแล้ว ว่าเรามีสิทธิ์บัตรทองที่ รพ รัฐบาลแห่งหนึ่ง แต่มันไกลไปจากจุดนี้
ระหว่างการเดินทางโดยรถร่วมกตัญญู (ใช้เวลา 15-20 นาที) คุณลุงก็ยังคงไม่รู้สึกตัว นอนนิ่งอยุ่บนรถ เหตุการณ์ตรงนั้น เมื่อเข้าห้องฉุกเฉิน คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปฎิเสธการรับการรักษาพยาบาลจาก รพ สมิติเวช ได้เลย ร่างคุณลุงหายเข้าไปในห้องฉุกเฉินราว ๆ 30 นาทีประตูห้องเปิด พร้อมคำถามที่ว่า จะให้ปั้มต่อมั้ยค่ะ ตอนนี้ปั้มหัวใจมาสักพักแล้ว ไม่ขึ้นเลยค่ะ พวกเราช่วยกันตัดสินใจ ปล่อยให้แกไปอย่างสงบและสบาย
ปัญหาที่ตามมาตอนนี้คือ ค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล (ร่วม ๆ 40 นาทีในห้องฉุกเฉิน) พวกเราลมแทบจับค่ะ ใบเสร็จตีราคา 58,xxx บาท ซึ่งเราทำทุกวิถีทาง ในการขอร้อง การขอลดหย่อน การขอใช้สิทธิ์ฉุกเฉิน ตาม พรบ กำหนด ทาง รพ ตอบมาคำเดียวสั้น ๆ ว่า ไม่รู้จักค่ะ ไม่เคยได้ยิน และไม่มีใครเคยมาขอใช้สิทธิ์นี้จากทาง รพ ซึ่งถ้าคุณยืนยันจะใช้สิทธิ์ที่ว่า ก็ต้องชำระเงินมาก่อนนะค่ะ แล้วค่อยมาทำเรื่องเบิกจ่ายไปทาง สปสช หรือกองทุนที่ทาง พรบ กำหนด วันนี้ถ้าคุณไม่มีเงินชำระเป็นก้อน ทาง รพ ขอค่ามัดจำก่อนค่ะ คุณถึงนำร่างคุณลุงไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ ทาง รพ มีทางออกให้ดีที่สุดคือ ผ่อนชำระจากยอดที่เหลือค่ะ โดยคุณเซ็นหนังสือรับรองชำระหนี้เอาไว้ ทาง รพ สมิติเวช ทิ้งท้ายไว้ว่า ไอ้กองทุนที่ว่า เบิกจ่ายอย่างมากก็ได้แค่ 10-20% จากยอด คชจ ทั้งหมด อย่างไรคุณก็ต้องรับผิดชอบส่วนที่เหลืออยู่ดีค่ะ
ณ เหตุการณ์ตอนนี้ลูกสาวแกจึงต้องยอมทำตามที่ รพ เรียกร้องแต่โดยดี ด้วยความที่ครอบครัวแกไม่เคยมีปัญหา ไม่เคยเป็นหนี้เป็นสินใคร และไม่อยากยืดเยื้อต่อกลอนใด ๆ อยากนำร่างคุณลุงไปทำพิธี จึงต้องตกเป็นลูกหนี้ทาง รพ ไปโดยปริยาย
หลังจากที่ดิฉันและเพื่อน ๆ มาศึกษาข้อมูล "สิทธิ์ฉุกเฉิน" ตามที่ พรบ กำหนด ดิฉันสามารถยื่นจำนงค์ใช้สิทธิ์ตรงนี้ได้ค่ะ ทาง สปสช จะมีกองทุนตรงนี้ช่วยเหลือ เหมือน ๆ กับ รพ เอกชนอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ขึ้น ทาง รพ จะไม่เรียกเก็บเงินจากครอบครัวผู้ตายสักบาทค่ะ ทาง รพ จะทำเรื่องไปยัง รพ ต้นสังกัด(บัตรทอง) ของผู้ตายในเรื่อง คชจ ตรงนี้เอง หากมี คชจ ส่วนเกินต่าง ๆ ทาง รพ จะตั้งขึ้นเป็นหนี้สูญ เองค่ะ หาก รพ สมิติเวช ปฏิบัติตามนี้สักนิด กระทู้นี้คงไม่เกิดขึ้น
ดิฉันเข้าใจว่าพวกคุณปฎิบัติตามหน้าที่และจรรยาบรรณในการช่วยเหลือคนไข้ ผู้ป่วย แต่หลักมนุษยธรรมบนพื้นฐานของความเป็นจริง ยังคงมีอยู่หรือไม่ เคสนี้ดิฉันประสบเองกับคนใกล้ตัว และเกิดคำถามขึ้นมากมาย หลังจากทีดิฉันได้เห็นในใบรับรองแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยหมดสติ และเสียชีวิตก่อนมาถึง รพ. 20 นาที
ใครผิด ใครถูก ใครเลือกมา รพ ใครบังคับมา จำใจมา โดนส่งมา เลยต้องมา คือ แทนที่ครอบครัวคุณลุงจะนำเงินค่ารักษาก้อนดังกล่าว มาไว้ใช้จ่ายในการประกอบพิธีทางศาสนา แต่เปล่าเลย กลับต้องมานั่งรับผิดชอบ มันสมควรแล้วจริง ๆ หรอค่ะ ????
ปล.จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนพยาบาลสาว จาก รพ รัฐบาล คนหนึ่งของดิฉัน ผู้ที่มีจรรยาบรรณและมนุษยธรรม ทนไม่ได้ค่ะ จึงทำหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับหน่วยงาน สปสช ให้จนถึงทุกวันนี้ เมื่อวานทาง สปสช โทรมาแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ทำไมทาง รพ สมิติเวช ยังไม่เห็นทำหนังสือส่งเรื่องมาให้ทางเราเลย เพราะกว่าเราจะรับเรื่องและอนุมัติต้องใช้เวลาร่วม 30 วันในการตัดสินใจ เห้ออออออออออ คุณจะรออะไรค่ะ สมิติเวช ????