การลอยขึ้นสู่อากาศของพระพุทธเจ้า

[๑๒๑๒] สมัยใดตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุข-สัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง (อโยคุฬสูตร) 31/172/3

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 171


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า   เราทราบอยู่   อานนท์   ว่าเราเข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์    พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
อา.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่หรือว่า
พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์    พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วย
มหาภูตรูป ๔ นี้.
พ.   เราทราบอยู่   อานนท์   ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์    พร้อม
ทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.
[๑๒๐๙]   อา.   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบว่า    พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์     พร้อมทั้งพระกายอัน
สำเร็จด้วยใจ    และทรงทราบว่า    พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์
พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้   เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์   ทั้งไม่
เคยมีมาแล้ว.
พ.  ดูก่อนอานนท์  พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์  และประกอบ
ด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์   เป็นผู้ไม่เคยมีมา   และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคย
มีมา
[๑๒๑๐]  ดูก่อนอานนท์  สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต   หรือตั้งจิต
ลงไว้ที่กาย     ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่    สมัยนั้น    กายของ
ตถาคตย่อมเบากว่าปกติ      อ่อนกว่าปกติ      ควรแก่การงานกว่าปกติ     และ
ผุดผ่องกว่าปกติ.
[๑๒๑๑]  ดูก่อนอานนท์  เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ
ย่อมเบากว่าปกติ     อ่อนกว่าปกติ     ควรแก่การงานกว่าปกติ      และผุดผ่อง
กว่าปกติ    ฉันใด    สมัยใด   ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต    หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย
ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่    สมัยนั้น      กายของตถาคตย่อมเบา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

กว่าปกติ    อ่อนกว่าปกติ     ควรแก่การงานกว่าปกติ      และผุดผ่องกว่าปกติ
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๒๑๒]  ดูก่อนอานนท์   สมัยใด   ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต   หรือ
ตั้งจิตลงไว้ที่กาย  ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่  สมัยนั้น    กายของ
ตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย   ตถาคตนั้นย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง    คือ    คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้     หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ฯลฯ  ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๑๓]  ดูก่อนอานนท์   เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย  ซึ่งเป็น
เชื้อธาตุที่เบา     ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย     ฉันใด
สมัยใด  ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต    หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย    ก้าวลงสู่สุขสัญญา
และลหุสัญญาอยู่   สมัยนั้น    กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้
โดยไม่ยากเลย  ฉันนั้นเหมือนกัน  ฯลฯ
[๑๒๑๔]  ดูก่อนอานนท์     สมัยนั้น     กายของตถาคตย่อมลอยจาก
แผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย     ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้     หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้  ฯลฯ     ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
จบอโยคุฬสูตรที่  ๒

พระไตรปิฏก ฉบับ 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.tripitaka91.com/91book/book31/151_200.htm#172
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่