เฉยไม่เอาเรื่องหรือคือปฏิบัติธรรม
“เดี๋ยวนี้ชาวพุทธจำนวนมากมีความรู้สึกทำนองว่า เมื่อมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นถ้าใครเฉยๆ ก็เป็นคนหมดกิเลส
ความรู้สึกคลุมเครืออย่างนี้เป็นอันตรายมาก จะต้องมาทำความเข้าใจกันแม้แต่คำว่า “เฉย” ก่อน
คำว่า เฉย นี้ เรามักจะเอาไปโยงกับคำว่า อุเบกขา....
อุเบกขา แปลว่า วางเฉย ทางพระท่านว่าวางเฉยมี ๒ แบบ
เฉยแบบที่ ๑ คือ วางเฉยแบบที่เป็นอกุศลเป็นบาป ควรกำจัด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เรียกว่า อัญญาณุเบกขา
มาจากคำว่า อัญญาณ ญาณ แปลว่า ความรู้ อัญญาณ ก็คือ ความไม่รู้ แล้วไปบวกกับ อุเบกขา ที่แปลว่า ความวางเฉย
ก็แปลว่า วางเฉยโดยไม่รู้ เรียกตามภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ... เฉยโง่ เฉยเขลา เฉยไม่รู้เรื่อง
คนจำนวนมากเฉยเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว เมื่อไม่รู้ก็เลยเฉย...
เฉยแบบที่ ๒ เป็นกุศลธรรม เป็นสภาพจิตที่ดีงาม คือ เฉยด้วยความรู้ โดยวางใจเป็นกลางในสิ่งต่างๆ
ทั้งวางใจเป็นกลางต่อบุคคล วางใจเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อม และวางใจเป็นกลางต่อธรรม แม้ธรรมต่างๆ ก็ต้องมีการวางใจเป็นกลาง...
เราไปเข้าใจเป็นว่า ถ้าเป็นผู้สำเร็จแล้ว ก็วางเฉยไม่เอาเรื่องเอาราว เห็นเป็นคนไม่มีกิเลสไป
แต่ที่จริงนั้น คนที่หมดกิเลสแล้วเป็นคนหมดเหตุที่จะต้องทำอะไรเพื่อตนเอง
เพราะฉะนั้น ท่านก็จะทำให้ผู้อื่นได้เต็มที่ ทำสิ่งที่ควรทำตามเหตุตามผล และทำในสิ่งที่เห็นว่าเป็นคุณประโยชน์อย่างแท้จริง
โดยพร้อมที่จะทำได้ทันทีตลอดเวลา เพราะไม่มีกิเลสมาเหนี่ยวรั้ง ให้คอยเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเอง แม้แต่ความขี้เกียจ”
หนังสือปฏิบัติธรรม...ให้ถูกทาง หน้า ๓๕ - ๓๙
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระคุณเจ้าพระพรหมคุณาภรณ์
ที่อนุญาตให้เผยแผ่ธรรมะโอวาทและรูปภาพครับ....หน้าคติธรรมนำชีวิต
https://www.facebook.com/pages/คติธรรมนำชีวิต/134842136544360?ref=stream
เฉยไม่เอาเรื่องหรือคือปฏิบัติธรรม
“เดี๋ยวนี้ชาวพุทธจำนวนมากมีความรู้สึกทำนองว่า เมื่อมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นถ้าใครเฉยๆ ก็เป็นคนหมดกิเลส
ความรู้สึกคลุมเครืออย่างนี้เป็นอันตรายมาก จะต้องมาทำความเข้าใจกันแม้แต่คำว่า “เฉย” ก่อน
คำว่า เฉย นี้ เรามักจะเอาไปโยงกับคำว่า อุเบกขา....
อุเบกขา แปลว่า วางเฉย ทางพระท่านว่าวางเฉยมี ๒ แบบ
เฉยแบบที่ ๑ คือ วางเฉยแบบที่เป็นอกุศลเป็นบาป ควรกำจัด เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เรียกว่า อัญญาณุเบกขา
มาจากคำว่า อัญญาณ ญาณ แปลว่า ความรู้ อัญญาณ ก็คือ ความไม่รู้ แล้วไปบวกกับ อุเบกขา ที่แปลว่า ความวางเฉย
ก็แปลว่า วางเฉยโดยไม่รู้ เรียกตามภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ... เฉยโง่ เฉยเขลา เฉยไม่รู้เรื่อง
คนจำนวนมากเฉยเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว เมื่อไม่รู้ก็เลยเฉย...
เฉยแบบที่ ๒ เป็นกุศลธรรม เป็นสภาพจิตที่ดีงาม คือ เฉยด้วยความรู้ โดยวางใจเป็นกลางในสิ่งต่างๆ
ทั้งวางใจเป็นกลางต่อบุคคล วางใจเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อม และวางใจเป็นกลางต่อธรรม แม้ธรรมต่างๆ ก็ต้องมีการวางใจเป็นกลาง...
เราไปเข้าใจเป็นว่า ถ้าเป็นผู้สำเร็จแล้ว ก็วางเฉยไม่เอาเรื่องเอาราว เห็นเป็นคนไม่มีกิเลสไป
แต่ที่จริงนั้น คนที่หมดกิเลสแล้วเป็นคนหมดเหตุที่จะต้องทำอะไรเพื่อตนเอง
เพราะฉะนั้น ท่านก็จะทำให้ผู้อื่นได้เต็มที่ ทำสิ่งที่ควรทำตามเหตุตามผล และทำในสิ่งที่เห็นว่าเป็นคุณประโยชน์อย่างแท้จริง
โดยพร้อมที่จะทำได้ทันทีตลอดเวลา เพราะไม่มีกิเลสมาเหนี่ยวรั้ง ให้คอยเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเอง แม้แต่ความขี้เกียจ”
หนังสือปฏิบัติธรรม...ให้ถูกทาง หน้า ๓๕ - ๓๙
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระคุณเจ้าพระพรหมคุณาภรณ์
ที่อนุญาตให้เผยแผ่ธรรมะโอวาทและรูปภาพครับ....หน้าคติธรรมนำชีวิต
https://www.facebook.com/pages/คติธรรมนำชีวิต/134842136544360?ref=stream