นับถอยหลังใน พ.ศ. 2558 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ก็จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อการเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสู่ประชาคมอาเซียน เราคนคนไทยที่เป็นหนึ่งในประชาชนประชาคมอาเซียน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ และรู้จักกับประเทศสมาชิก ทั้งภาษา ประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและง่ายในการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่ง วันนี้กระปุกดอทคอม ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับเมืองหลวงของ 10 ประเทศสมาชิกมาให้รู้จักกัน ว่าแล้วก็ตามไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
ไทย
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย มีเนื้อที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร มีอายุมาแล้วกว่า 230 ปี ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) มีสถานที่สำคัญอย่างวัดพระแก้ว สนามหลวงเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นพระบรมมหาราชวังของกษัตริย์ในต้นราชวงศ์จักรีมาก่อน มีสยามสแควร์ ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นสัญลักษณ์ของการช็อปปิ้ง และมีอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทาง
เวียดนาม
ฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม มีพื้นที่ 3,344 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจาก โฮจิมินห์ ซิตี้ ถือว่าเป็นเมืองที่แปลกมาก เพราะโดยทั่วไปปกติเมืองหลวงมักเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุด (ไม่นับเนปิดอว์ เพราะเป็นเมืองที่สร้างใหม่)
กรุงฮานอย ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1010 (พ.ศ. 1553) และเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไต้เวียด ก่อนที่จะใช้เมืองเว้ในช่วงราชวงศ์เหงียน และกลับมาใช้ฮานอยเป็นเมืองหลวงอีกครั้งในยุคที่เป็นอาณานิคมฝรั่งเศส หลัง ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้จึงนับได้ว่า ฮานอยเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเมืองหลวงเวียดนามเกือบพันปีเลยทีเดียว
ลาว
กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย มีเนื้อที่ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 แสนคน นับว่ามากที่สุดในประเทศ
เดิมนั้นลาวมีเมืองหลวงคือ หลวงพระบาง ทว่าในช่วง ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106) เป็นต้นมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้ตั้งเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงแทน เพื่อหลีกหนีการรุกรานของพระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรหงสาวดี
สำหรับสถานที่สำคัญของกรุงเวียงจันทน์ มีอยู่ 2 สถานที่ด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองด้วย ได้แก่ หอพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่ในการเก็บพระแก้วของลาว กับวัดพระธาตุหลวง เป็นวัดที่เป็นสัญลักษณ์ของลาว และสร้างพระธาตุหลวงด้วยทองคำ
เมียนมาร์
กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า ซึ่งย้ายมาจากกรุงย่างกุ้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ประมาณ 7,024 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 9 แสนคน และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ในปีนี้ (พ.ศ. 2555) เอง
สำหรับการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเนปิดอว์ ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่เท่าที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ อาจจะเป็นเพราะต้องการตั้งเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ต่างจากย่างกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเลมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องการฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิม เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ก็ต้องย้ายเมืองหลวง
เนปิดอว์ แม้ว่าจะเป็นเมืองที่สร้างใหม่ แต่ก็มีสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิ อนุเสาวรีย์ 3 กษัตริย์พม่าได้แก่ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งชเวโบ กลางเมืองเนปิดอว์ นอกจากนี้ ยังจำลองเจดีย์ชเวดากองในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า มหาเจดีย์อุปปตศานติ
สิงคโปร์
สิงคโปร์ เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว มีประชากรราว 5 ล้านคน ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 2 (พุทธศตวรรษที่ 7)
สำหรับสัญลักษณ์ที่สำคัญของสิงคโปร์ ย่อมหนีไม่พ้นเมอร์ไลอ้อน (สิงโตทะเล) ที่ตั้งอยู่ในเมือง มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยูบนยอดคลื่น สามารถพ้นน้ำออกมาได้
อินโดนีเซีย
จาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย
สำหรับกรุงจาการ์ตา ก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 397 (พ.ศ. 940) และเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย (โมนาส) ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำ ในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้
บรูไน
บันดาร์ เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของประเทศบรูไน ก่อตั้งเมื่อคริสตศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำบรูไน มีพื้นที่ 1,395 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.4 แสนคน โดยมีชาวบรูไนกับมาเลย์เป็นประชากรหลัก และมีชาวจีนอาศัยเป็นชนกลุ่มน้อย
ด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน มีมากมายหลายแนว แยกเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาก็ต้องไปที่ มัสยิดสุลต่าน โอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ซึ่งเป็นมัสยิดทองคำสไตล์อิตาลี หรือถ้าหากต้องการชมวิถีชีวิตคนที่นี่ ก็ต้องไปที่ หมู่บ้านริมน้ำ Kampong Ayer ติดแม่น้ำบรูไน ยาวกว่า 8 กิโลเมตร ที่แห่งนี้นับว่าถูกบรรจุเป็นมรดกโลก มีผู้อาศัยกว่า 3 หมื่นครัวเรือน และอายุมากกว่า 1 พันปีแล้ว
มาเลเซีย
กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ก่อตั้งประมาณ ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) มีเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศ เมื่อมองทางด้านเชื้อชาติของผู้อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่า เป็นชาวมาเลย์และชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวอินเดียมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับสัญลักษณ์ยุคใหม่ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก คงหนีไม่พ้นตึกแฝดเปโตรนาสอย่างแน่นอน
กัมพูชา
พนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,250,000 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในกัมพูชา และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย
สำหรับประวัติกรุงพนมเปญ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1372 (พ.ศ. 1915) และเป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ก่อนที่จะย้ายเมืองไปย้ายเมืองมา เนื่องจากถูกรุกรานจากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและเวียดนามสลับกันโจมตี กระทั่งกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้ ค.ศ. 1865(พ.ศ. 2408) ในยุคของพระเจ้านโรดมที่ 1 กรุงพนมเปญจึงถูกตั้งเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง
ฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1574 (พ.ศ. 2117) ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ริมอ่าวมะนิลา มีเนื้อที่ประมาณ 38.55 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเล็กมาก มีประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน
สำหรับสัญลักษณ์ของกรุงมะนิลา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ไรซอล ที่สวนสาธารณะลูเนต้า ซึ่งอนุเสาวรีย์ดังกล่าว เป็นอนุเสาวรีย์ของโฆเซ่ ไรซอล บุคคลสำคัญที่ปลุกระดมให้ชาวฟิลิปปินส์สู้เพื่อปลดแอกจากสเปนได้ อย่างไรก็ตาม ไรซอลกลับถูกนำไปประหารเสียก่อน ก่อนที่จะเห็นความสำเร็จตัวเองในภายหลัง
มารู้จัก 10 เมืองหลวงของอาเซียนกัน
ไทย
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย มีเนื้อที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร มีอายุมาแล้วกว่า 230 ปี ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) มีสถานที่สำคัญอย่างวัดพระแก้ว สนามหลวงเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นพระบรมมหาราชวังของกษัตริย์ในต้นราชวงศ์จักรีมาก่อน มีสยามสแควร์ ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นสัญลักษณ์ของการช็อปปิ้ง และมีอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทาง
เวียดนาม
ฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม มีพื้นที่ 3,344 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจาก โฮจิมินห์ ซิตี้ ถือว่าเป็นเมืองที่แปลกมาก เพราะโดยทั่วไปปกติเมืองหลวงมักเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุด (ไม่นับเนปิดอว์ เพราะเป็นเมืองที่สร้างใหม่)
กรุงฮานอย ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1010 (พ.ศ. 1553) และเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไต้เวียด ก่อนที่จะใช้เมืองเว้ในช่วงราชวงศ์เหงียน และกลับมาใช้ฮานอยเป็นเมืองหลวงอีกครั้งในยุคที่เป็นอาณานิคมฝรั่งเศส หลัง ค.ศ. 1887 (พ.ศ. 2430) เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้จึงนับได้ว่า ฮานอยเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเมืองหลวงเวียดนามเกือบพันปีเลยทีเดียว
ลาว
กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย มีเนื้อที่ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 แสนคน นับว่ามากที่สุดในประเทศ
เดิมนั้นลาวมีเมืองหลวงคือ หลวงพระบาง ทว่าในช่วง ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106) เป็นต้นมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้ตั้งเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงแทน เพื่อหลีกหนีการรุกรานของพระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรหงสาวดี
สำหรับสถานที่สำคัญของกรุงเวียงจันทน์ มีอยู่ 2 สถานที่ด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองด้วย ได้แก่ หอพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่ในการเก็บพระแก้วของลาว กับวัดพระธาตุหลวง เป็นวัดที่เป็นสัญลักษณ์ของลาว และสร้างพระธาตุหลวงด้วยทองคำ
เมียนมาร์
กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า ซึ่งย้ายมาจากกรุงย่างกุ้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเนื้อที่ประมาณ 7,024 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 9 แสนคน และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ในปีนี้ (พ.ศ. 2555) เอง
สำหรับการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเนปิดอว์ ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่เท่าที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ อาจจะเป็นเพราะต้องการตั้งเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ต่างจากย่างกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเลมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องการฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิม เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ก็ต้องย้ายเมืองหลวง
เนปิดอว์ แม้ว่าจะเป็นเมืองที่สร้างใหม่ แต่ก็มีสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิ อนุเสาวรีย์ 3 กษัตริย์พม่าได้แก่ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งชเวโบ กลางเมืองเนปิดอว์ นอกจากนี้ ยังจำลองเจดีย์ชเวดากองในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า มหาเจดีย์อุปปตศานติ
สิงคโปร์
สิงคโปร์ เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว มีประชากรราว 5 ล้านคน ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 2 (พุทธศตวรรษที่ 7)
สำหรับสัญลักษณ์ที่สำคัญของสิงคโปร์ ย่อมหนีไม่พ้นเมอร์ไลอ้อน (สิงโตทะเล) ที่ตั้งอยู่ในเมือง มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยูบนยอดคลื่น สามารถพ้นน้ำออกมาได้
อินโดนีเซีย
จาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย
สำหรับกรุงจาการ์ตา ก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 397 (พ.ศ. 940) และเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย (โมนาส) ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำ ในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โน ผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้
บรูไน
บันดาร์ เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของประเทศบรูไน ก่อตั้งเมื่อคริสตศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำบรูไน มีพื้นที่ 1,395 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.4 แสนคน โดยมีชาวบรูไนกับมาเลย์เป็นประชากรหลัก และมีชาวจีนอาศัยเป็นชนกลุ่มน้อย
ด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน มีมากมายหลายแนว แยกเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาก็ต้องไปที่ มัสยิดสุลต่าน โอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ซึ่งเป็นมัสยิดทองคำสไตล์อิตาลี หรือถ้าหากต้องการชมวิถีชีวิตคนที่นี่ ก็ต้องไปที่ หมู่บ้านริมน้ำ Kampong Ayer ติดแม่น้ำบรูไน ยาวกว่า 8 กิโลเมตร ที่แห่งนี้นับว่าถูกบรรจุเป็นมรดกโลก มีผู้อาศัยกว่า 3 หมื่นครัวเรือน และอายุมากกว่า 1 พันปีแล้ว
มาเลเซีย
กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ก่อตั้งประมาณ ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) มีเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศ เมื่อมองทางด้านเชื้อชาติของผู้อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่า เป็นชาวมาเลย์และชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวอินเดียมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับสัญลักษณ์ยุคใหม่ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก คงหนีไม่พ้นตึกแฝดเปโตรนาสอย่างแน่นอน
กัมพูชา
พนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,250,000 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในกัมพูชา และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย
สำหรับประวัติกรุงพนมเปญ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1372 (พ.ศ. 1915) และเป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ก่อนที่จะย้ายเมืองไปย้ายเมืองมา เนื่องจากถูกรุกรานจากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและเวียดนามสลับกันโจมตี กระทั่งกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้ ค.ศ. 1865(พ.ศ. 2408) ในยุคของพระเจ้านโรดมที่ 1 กรุงพนมเปญจึงถูกตั้งเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง
ฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1574 (พ.ศ. 2117) ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ริมอ่าวมะนิลา มีเนื้อที่ประมาณ 38.55 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเล็กมาก มีประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน
สำหรับสัญลักษณ์ของกรุงมะนิลา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ไรซอล ที่สวนสาธารณะลูเนต้า ซึ่งอนุเสาวรีย์ดังกล่าว เป็นอนุเสาวรีย์ของโฆเซ่ ไรซอล บุคคลสำคัญที่ปลุกระดมให้ชาวฟิลิปปินส์สู้เพื่อปลดแอกจากสเปนได้ อย่างไรก็ตาม ไรซอลกลับถูกนำไปประหารเสียก่อน ก่อนที่จะเห็นความสำเร็จตัวเองในภายหลัง