นับเป็น พ.ศ. นะครับ อาจจะมีแบบเก่าและแบบใหม่ปะปนกัน
2187 ราชวงศ์ชิงเข้ายึดกรุงปักกิ่ง ตรงกับปีที่ 14 ของพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองอยุธยาสงบหลังเกิดรัฐประหารบ่อยครั้ง
2199 พระเจ้าปราสาทสวรรคต เกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง ตรงกับยุคจักรพรรดิซุ่นจื้อ บ้านเมืองมีพระเจ้าแผ่นดิน 4 องค์ในปีเดียวกัน
2204 จักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชย์ ตรงกับปีที่ 5 ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยากำลังรุ่งเรือง ขณะที่ปักกิ่งตกอยู่ในอิทธิพลของเอ้าป้าย
2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต ตรงกับปีที่ 27 แห่งคังซี เกิดการเปลี่ยนราชวงศ์
2265 จักรพรรดิคังซีเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอิ้นเจิ้นกับอิ้นถีแย่งราชสมบัติกัน ขณะที่พระเจ้าท้ายสระกับกรมพระราชวังบวรฯ(พระเจ้าบรมโกศ)รักใคร่กันดี
2275 ปีที่ 10 รัชกาลยงเจิ้ง พระเจ้าท้ายสระสวรรคต พระเจ้าบรมโกศปราบดาภิเษก
2278 ปีที่ 3 รัชกาลพระเจ้าบรมโกศ จักรพรรดิยงเจิ้งเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเฉียนหลงทรงขึ้นครองราชย์ ทั้ง 2 อาณาจักรต่างสงบสุขดี
2301 พระเจ้าบรมโกศสวรรคต ตรงกับปีที่ 23 ศักราชเฉียนหลง พระเจ้าอุทุมพรขึ้นครองราชย์ แต่ถูกเจ้าฟ้าเอกทัศไล่ในเวลาไม่นาน
2310 ปีที่ 32 เฉียนหลง กรุงศรีอยุธยาเสียให้กับพม่า พระเจ้าตากสินทรงปราบดาภิเษก ทรงส่งพระราชสาส์นและบรรณาการแก่จักรพรรดิเฉียนหลง
2325 ปีที่ 47 เฉียนหลง รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และทรงส่งพระราชสาส์นและบรรณาการแก่จักรพรรดิเฉียนหลงเหมือนเคย
2338 ปีที่ 13 ของรัชกาลที่ 1 จักรพรรดิเฉียนหลงทรงสละราชสมบัติให้เจ้าฟ้าหย่งเยี่ยนเป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง แต่ทรงพระราชอำนาจไว้อยู่เต็มเปี่ยม
2342 ปีที่ 17 ของรัชกาลที่ 1 จักรพรรดิเฉียนหลงทรงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจียชิ่งได้พระราชอำนาจเต็ม และสั่งประหารเหอเซินผู้ทำลายระบบขุนนาง
2352 ปีที่ 14 เจียชิ่ง รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 2 ทรงขึ้นครองราชย์
2363 ปีที่ 11 รัชกาลที่ 2 จักรพรรดิเจียชิ่งเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเต้ากวงทรงขึ้นครองราชย์ ทิ้งปัญหาเศรษฐกิจรุ่งริ่งให้แก้ไขต่อ
2367 ปีที่ 4 เต้ากวง รัชกาลที่ 2 ทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 3 ทรงขึ้นครองราชย์
2382 สงครามฝิ่นปะทุ ตรงกับปีที่ 19 เต้ากวง และ ปีที่ 15 ของรัชกาลที่ 3
2393 ปีที่ 26 ของรัชกาลที่ 3 จักรพรรดิเต้ากวงทรงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเสียนเฟิงทรงขึ้นครองราชย์ต่อ ท่ามกลางความเริ่มเบื่อหน่ายราชสำนัก
2394 ปีที่ 2 เสียนเฟิง รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์
2404 ปีที่ 10 รัชกาลที่ 4 จักรพรรดิเสียนเฟิงเสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา จักรพรรดิถงจื้อขึ้นครองราชย์ต่อมา มีพระนางซูสีไทเฮาและซูอันไทเฮาทรงสำเร็จราชการหลังม่าน
2411 ปีที่ 7 ถงจื้อ รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 5 ทรงขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา ด้วยพระชนมายุเพียง 15 พรรษา และทรงปราศจากพระชนกและพระชนนีดูแลข้างเคียง
2418 ปีที่ 7 รัชกาลที่ 5 จักรพรรดิถงจื้อทรงเสด็จสวรรคต ทรงมีพระชนมายุที่ไล่เลี่ยกันกับรัชกาลที่ 5 ในเวลานั้น ตามด้วยจักรพรรดิกวงสี
2441 ปีที่ 30 รัชสมัยที่ 5 จักรพรรดิกวงสีทรงปฏิรูปร้อยวันแต่ถูกขัดขวางในเวลาต่อมา ขณะที่อาณาจักรสยามกำลังปฏิรูประบบเทศาภิบาลและกระทรวง
2451 ปีที่ 33 กวงสี และ ปีที่ 41 รัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนครั้งสุดท้ายให้กับอังกฤษ ขณะที่ยังเป็นปีที่จักรพรรดิกวงสีเสด็จสวรรคตด้วย ยังนำมาซึ่งการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิเซวียนถ่ง (ผู่อี๋) ราชวงศ์ชิงอยู่ในภาวะใกล้ล่มสลาย
2453 ปีที่ 2 เซวียนถ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 6 ทรงครองราชย์สืบมา
2454-2455 ปีที่ 2-3 รัชกาลที่ 6 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ขึ้น และนำมาซึ่งการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเซวียนถ่ง เปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐจีน
2467 ปีที่ 14 รัชกาลที่ 6 อดีตจักรพรรดิผู่อี๋ถูกขับออกจากวัง เป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์ชิงอย่างเป็นทางการ
ราชวงศ์ชิงกับอาณาจักรสยาม เมื่อร่วมสมัย
2187 ราชวงศ์ชิงเข้ายึดกรุงปักกิ่ง ตรงกับปีที่ 14 ของพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองอยุธยาสงบหลังเกิดรัฐประหารบ่อยครั้ง
2199 พระเจ้าปราสาทสวรรคต เกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง ตรงกับยุคจักรพรรดิซุ่นจื้อ บ้านเมืองมีพระเจ้าแผ่นดิน 4 องค์ในปีเดียวกัน
2204 จักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชย์ ตรงกับปีที่ 5 ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยากำลังรุ่งเรือง ขณะที่ปักกิ่งตกอยู่ในอิทธิพลของเอ้าป้าย
2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต ตรงกับปีที่ 27 แห่งคังซี เกิดการเปลี่ยนราชวงศ์
2265 จักรพรรดิคังซีเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอิ้นเจิ้นกับอิ้นถีแย่งราชสมบัติกัน ขณะที่พระเจ้าท้ายสระกับกรมพระราชวังบวรฯ(พระเจ้าบรมโกศ)รักใคร่กันดี
2275 ปีที่ 10 รัชกาลยงเจิ้ง พระเจ้าท้ายสระสวรรคต พระเจ้าบรมโกศปราบดาภิเษก
2278 ปีที่ 3 รัชกาลพระเจ้าบรมโกศ จักรพรรดิยงเจิ้งเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเฉียนหลงทรงขึ้นครองราชย์ ทั้ง 2 อาณาจักรต่างสงบสุขดี
2301 พระเจ้าบรมโกศสวรรคต ตรงกับปีที่ 23 ศักราชเฉียนหลง พระเจ้าอุทุมพรขึ้นครองราชย์ แต่ถูกเจ้าฟ้าเอกทัศไล่ในเวลาไม่นาน
2310 ปีที่ 32 เฉียนหลง กรุงศรีอยุธยาเสียให้กับพม่า พระเจ้าตากสินทรงปราบดาภิเษก ทรงส่งพระราชสาส์นและบรรณาการแก่จักรพรรดิเฉียนหลง
2325 ปีที่ 47 เฉียนหลง รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และทรงส่งพระราชสาส์นและบรรณาการแก่จักรพรรดิเฉียนหลงเหมือนเคย
2338 ปีที่ 13 ของรัชกาลที่ 1 จักรพรรดิเฉียนหลงทรงสละราชสมบัติให้เจ้าฟ้าหย่งเยี่ยนเป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง แต่ทรงพระราชอำนาจไว้อยู่เต็มเปี่ยม
2342 ปีที่ 17 ของรัชกาลที่ 1 จักรพรรดิเฉียนหลงทรงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจียชิ่งได้พระราชอำนาจเต็ม และสั่งประหารเหอเซินผู้ทำลายระบบขุนนาง
2352 ปีที่ 14 เจียชิ่ง รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 2 ทรงขึ้นครองราชย์
2363 ปีที่ 11 รัชกาลที่ 2 จักรพรรดิเจียชิ่งเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเต้ากวงทรงขึ้นครองราชย์ ทิ้งปัญหาเศรษฐกิจรุ่งริ่งให้แก้ไขต่อ
2367 ปีที่ 4 เต้ากวง รัชกาลที่ 2 ทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 3 ทรงขึ้นครองราชย์
2382 สงครามฝิ่นปะทุ ตรงกับปีที่ 19 เต้ากวง และ ปีที่ 15 ของรัชกาลที่ 3
2393 ปีที่ 26 ของรัชกาลที่ 3 จักรพรรดิเต้ากวงทรงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเสียนเฟิงทรงขึ้นครองราชย์ต่อ ท่ามกลางความเริ่มเบื่อหน่ายราชสำนัก
2394 ปีที่ 2 เสียนเฟิง รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์
2404 ปีที่ 10 รัชกาลที่ 4 จักรพรรดิเสียนเฟิงเสด็จสวรรคตด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา จักรพรรดิถงจื้อขึ้นครองราชย์ต่อมา มีพระนางซูสีไทเฮาและซูอันไทเฮาทรงสำเร็จราชการหลังม่าน
2411 ปีที่ 7 ถงจื้อ รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 5 ทรงขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา ด้วยพระชนมายุเพียง 15 พรรษา และทรงปราศจากพระชนกและพระชนนีดูแลข้างเคียง
2418 ปีที่ 7 รัชกาลที่ 5 จักรพรรดิถงจื้อทรงเสด็จสวรรคต ทรงมีพระชนมายุที่ไล่เลี่ยกันกับรัชกาลที่ 5 ในเวลานั้น ตามด้วยจักรพรรดิกวงสี
2441 ปีที่ 30 รัชสมัยที่ 5 จักรพรรดิกวงสีทรงปฏิรูปร้อยวันแต่ถูกขัดขวางในเวลาต่อมา ขณะที่อาณาจักรสยามกำลังปฏิรูประบบเทศาภิบาลและกระทรวง
2451 ปีที่ 33 กวงสี และ ปีที่ 41 รัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนครั้งสุดท้ายให้กับอังกฤษ ขณะที่ยังเป็นปีที่จักรพรรดิกวงสีเสด็จสวรรคตด้วย ยังนำมาซึ่งการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิเซวียนถ่ง (ผู่อี๋) ราชวงศ์ชิงอยู่ในภาวะใกล้ล่มสลาย
2453 ปีที่ 2 เซวียนถ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 6 ทรงครองราชย์สืบมา
2454-2455 ปีที่ 2-3 รัชกาลที่ 6 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ขึ้น และนำมาซึ่งการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเซวียนถ่ง เปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐจีน
2467 ปีที่ 14 รัชกาลที่ 6 อดีตจักรพรรดิผู่อี๋ถูกขับออกจากวัง เป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์ชิงอย่างเป็นทางการ