รู้สึกขัดตาในส่วนของคอสตูมตามยุคสมัยค่ะ
ยุคตามท้องเรื่องคือยุคพระเจ้าท้ายสระ ที่จะตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหย่งเจิ้งราชวงศ์ชิง ยุคกลาง ๆ
ถ้ายึดว่าเป็นขุนนางที่ยังติดต่อกับจักวรรดิจีนมันควรจะแต่งชุดแบบราชวงศ์ชิงเลยไหมนะคะ เพราะถ้าจะติดต่อเชิงการทูตหรือการค้ากับจีนเป็นหลัก นำขุนนางราชวงศ์เก่า ขนบเก่าลี้ภัยมาใช้งานไม่น่าจะได้
ตามจริงชุดขุนนาง - สามัญชนแต่มีเงินหน่อยมันควรจะเป็นชุดฉีจวง 旗裝 ( หม่านฝู 滿服 ) หรือพวก ชางเป่า มากกว่า
ถ้าว่าจะบิดให้ ชาวจีนที่มาค้าขายในสยามเป็นราชวงศ์เก่าก่อนหน้า ( หมิง ) ลี้ภัยมา ชุดบุรุษราชวงศ์หมิงก็ไม่ถูกอยู่ดี ( สารภาพว่า ตอนเห็นชุดผู้ชายแรก ๆ เหมือนแต่งคอสเพลย์มู่หลานดิสนี่ย์ที่ก็ ตัดไม่สวย คอกระดกเพราะตอนตัดลืมพับคอทาบตัว ชุดจีนเถาเป่า ยังคัตติ้งเนี๊ยบกว่าในราคาชุดละ 8 - 900 ค่ะ )
คอเสื้อกระดกที่ว่า เกิดจากการตัดผ้าแถบยาวไปเย็บติดส่วนคอเลย เวลาพาดทบมันจะเกิดเนื้อผ้าเกิดทำให้ย่นไปด้านหลังค่ะ
ตามจริง เวลาจีน - ญี่ปุ่น - เกาหลี ตัดชุดมีสาปคอแบบนี้ เขาจะเอาไปพับเข้ารูปสามเหลี่ยมทาบคอให้พอดีหมายไว้ก่อน พอเย็บติดทีหลังมันจะพอดีกับทรงดค้งของคอไม่ย้วยกระดกแบบนี้ค่ะ
ชุดหมิงยังเป็นสไตล์ฮั่นที่รื้อฟื้นฮั่นฝูมาใช้แต่ผนวกลวดลายบางอย่างของมองโกลราชวงศ์หยวน เช่น 質孫
พวก everyday wear รวมถึงชุดในราชสำนักส่วนมาก แต่งกันแบบเกาหลีโซซอนเกือบเป้ะ ( ถึงมีดราม่ากันช่วงหนึ่งตอนซีรี่ย์จีนเรื่องหัตถานางใน (尚食) ออกอากาศ เกาหลีเคลม จีนเคลมกลับวุ่นวายทีเดียว ) ชุดสตรีช่วงปลายหมิงที่ถูกต้อง ชุด 比甲 เจ้าจอมกินรีปลอมตัว ที่พิงกี้แสดงในลายกินรี ถูกยุคมากกว่าค่ะ
ส่วนตัวมองว่า แฟชั่นชาวจีนในช่วงนี้คือ ปลายหมิง - ต้นชิง ถึงจะไม่ขัดต่อยุคตามเรื่อง
ส่วนชุดสตรี แม่หญิงแพรจีนในเรื่อง แว้บแรก ถึงกับงง ... ย้อนแฟชั่นไปไกลเกิ้นแม่คุณทั้งแม่ทั้งลูก
นางสวมชุด 齐胸襦裙 แบบคาดต่ำ ที่นิยมแต่งในราชวงศ์สุ่ย ( มาช่วงกลางถังถึงจะเริ่มรั้งไปคาดอกแทน )
แฟชั่นดังกล่าว มาราชวงซ์ซ่งก็เริ่มไม่แต่งกันแล้วค่ะ แฟชั่นมันเปลี่ยนตามราชวงศ์ เหมือนเขามองว่าแต่งกายแบบถังมันฟู่ฟ่าเกินงาม เลยลดทอนลงมา แต่ในวังก็ยังพอสวยอลังการณ์อยู่ แต่ผ้าไม่บางพริ้วแบบถัง แฟชั่นจะถูกมองโกลเบรคขนบช่วงราชวงศ์หยวนเข้ามายึดครองที่ใช้แบบอย่างมองโกล
พอเริ่มพอเริ่มเข้ายุคหมิงก็ปรับแฟชั่นอีกกลับไปเป็นฮั่นฝูแต่ลดทอนบางอย่างแทนซึ่งมีการผนวกแฟชั่นของซิลลาเก่าเข้ามาด้วยเลยดูกึ่งเกาหลีกึ่งจีน ( อันนี้เห็นเกาหลี เถียงกับจีนมานะคะ เรื่องจริงยังไง ไม่ได้ค้นละเอียดล่ะ )
พอมายุคแมนจูครอง ขนบเครื่องแต่งกายจะเป็นแมนจูเรี่ยน ( เดิม หนีจื่อ) ใครแต่งกายแบบราชวงศ์เก่า ผู้ชายไม่ยอมโกนหัวถือว่าขัดขืน ไม่น่าจะรอด บางส่วนก็ลี้ภัยไปที่ต่าง ๆ แต่มันควรจะแต่งอย่างปลายหมิงมากกว่าที่จะย้อนแฟชั่นไปไกลหลายร้อยปีถึงราชวงศ์ก่อนหน้าหยวนค่ะ ( เพราะเอาจริง ๆ แฟชั่นสมัยใหม่ที่อยากแต่งยุคไหนก็แต่งมันเกิดจากการพ้นพบหลักฐานการศึกษาประวัติศาสตร์แล้วรื้อฟื้น ซึ่งก็ไม่น่าจะถังร้อยปีนี่เอง คนยุคก่อนในยุคหนึ่งเขาจะมีความเข้าใจเพียงขนบและบริบทสังคมในช่วงราชวงศ์นั้น ๆ แค่นั้น )
*กันดราม่า - ส่วนตัวชอบละครค่ะ สนุกดี แต่อยากให้เกิดการวิพากษ์ความถูกต้องในมุมประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่มันเป็นเสมือน trademark ของยุคสมัยนั้น ๆ
อันไหนหยวนพอมองผ่านได้ ดิฉันก็มองผ่านค่ะ ละครก็คือละคร แต่อันไหนมันผิดเพี้ยนเกิน ควรจะมีการแสดงความถูกต้องให้ทราบเพื่อเป็นประโยชน์
ไม่ได้ตั้งใจมาดิสเครดิตละครนะคะ
ขอติชุดจีนในพรหมลิขิต
ยุคตามท้องเรื่องคือยุคพระเจ้าท้ายสระ ที่จะตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหย่งเจิ้งราชวงศ์ชิง ยุคกลาง ๆ
ถ้ายึดว่าเป็นขุนนางที่ยังติดต่อกับจักวรรดิจีนมันควรจะแต่งชุดแบบราชวงศ์ชิงเลยไหมนะคะ เพราะถ้าจะติดต่อเชิงการทูตหรือการค้ากับจีนเป็นหลัก นำขุนนางราชวงศ์เก่า ขนบเก่าลี้ภัยมาใช้งานไม่น่าจะได้
ตามจริงชุดขุนนาง - สามัญชนแต่มีเงินหน่อยมันควรจะเป็นชุดฉีจวง 旗裝 ( หม่านฝู 滿服 ) หรือพวก ชางเป่า มากกว่า
ถ้าว่าจะบิดให้ ชาวจีนที่มาค้าขายในสยามเป็นราชวงศ์เก่าก่อนหน้า ( หมิง ) ลี้ภัยมา ชุดบุรุษราชวงศ์หมิงก็ไม่ถูกอยู่ดี ( สารภาพว่า ตอนเห็นชุดผู้ชายแรก ๆ เหมือนแต่งคอสเพลย์มู่หลานดิสนี่ย์ที่ก็ ตัดไม่สวย คอกระดกเพราะตอนตัดลืมพับคอทาบตัว ชุดจีนเถาเป่า ยังคัตติ้งเนี๊ยบกว่าในราคาชุดละ 8 - 900 ค่ะ )
คอเสื้อกระดกที่ว่า เกิดจากการตัดผ้าแถบยาวไปเย็บติดส่วนคอเลย เวลาพาดทบมันจะเกิดเนื้อผ้าเกิดทำให้ย่นไปด้านหลังค่ะ
ตามจริง เวลาจีน - ญี่ปุ่น - เกาหลี ตัดชุดมีสาปคอแบบนี้ เขาจะเอาไปพับเข้ารูปสามเหลี่ยมทาบคอให้พอดีหมายไว้ก่อน พอเย็บติดทีหลังมันจะพอดีกับทรงดค้งของคอไม่ย้วยกระดกแบบนี้ค่ะ
ชุดหมิงยังเป็นสไตล์ฮั่นที่รื้อฟื้นฮั่นฝูมาใช้แต่ผนวกลวดลายบางอย่างของมองโกลราชวงศ์หยวน เช่น 質孫
พวก everyday wear รวมถึงชุดในราชสำนักส่วนมาก แต่งกันแบบเกาหลีโซซอนเกือบเป้ะ ( ถึงมีดราม่ากันช่วงหนึ่งตอนซีรี่ย์จีนเรื่องหัตถานางใน (尚食) ออกอากาศ เกาหลีเคลม จีนเคลมกลับวุ่นวายทีเดียว ) ชุดสตรีช่วงปลายหมิงที่ถูกต้อง ชุด 比甲 เจ้าจอมกินรีปลอมตัว ที่พิงกี้แสดงในลายกินรี ถูกยุคมากกว่าค่ะ
ส่วนตัวมองว่า แฟชั่นชาวจีนในช่วงนี้คือ ปลายหมิง - ต้นชิง ถึงจะไม่ขัดต่อยุคตามเรื่อง
ส่วนชุดสตรี แม่หญิงแพรจีนในเรื่อง แว้บแรก ถึงกับงง ... ย้อนแฟชั่นไปไกลเกิ้นแม่คุณทั้งแม่ทั้งลูก
นางสวมชุด 齐胸襦裙 แบบคาดต่ำ ที่นิยมแต่งในราชวงศ์สุ่ย ( มาช่วงกลางถังถึงจะเริ่มรั้งไปคาดอกแทน )
แฟชั่นดังกล่าว มาราชวงซ์ซ่งก็เริ่มไม่แต่งกันแล้วค่ะ แฟชั่นมันเปลี่ยนตามราชวงศ์ เหมือนเขามองว่าแต่งกายแบบถังมันฟู่ฟ่าเกินงาม เลยลดทอนลงมา แต่ในวังก็ยังพอสวยอลังการณ์อยู่ แต่ผ้าไม่บางพริ้วแบบถัง แฟชั่นจะถูกมองโกลเบรคขนบช่วงราชวงศ์หยวนเข้ามายึดครองที่ใช้แบบอย่างมองโกล
พอเริ่มพอเริ่มเข้ายุคหมิงก็ปรับแฟชั่นอีกกลับไปเป็นฮั่นฝูแต่ลดทอนบางอย่างแทนซึ่งมีการผนวกแฟชั่นของซิลลาเก่าเข้ามาด้วยเลยดูกึ่งเกาหลีกึ่งจีน ( อันนี้เห็นเกาหลี เถียงกับจีนมานะคะ เรื่องจริงยังไง ไม่ได้ค้นละเอียดล่ะ )
พอมายุคแมนจูครอง ขนบเครื่องแต่งกายจะเป็นแมนจูเรี่ยน ( เดิม หนีจื่อ) ใครแต่งกายแบบราชวงศ์เก่า ผู้ชายไม่ยอมโกนหัวถือว่าขัดขืน ไม่น่าจะรอด บางส่วนก็ลี้ภัยไปที่ต่าง ๆ แต่มันควรจะแต่งอย่างปลายหมิงมากกว่าที่จะย้อนแฟชั่นไปไกลหลายร้อยปีถึงราชวงศ์ก่อนหน้าหยวนค่ะ ( เพราะเอาจริง ๆ แฟชั่นสมัยใหม่ที่อยากแต่งยุคไหนก็แต่งมันเกิดจากการพ้นพบหลักฐานการศึกษาประวัติศาสตร์แล้วรื้อฟื้น ซึ่งก็ไม่น่าจะถังร้อยปีนี่เอง คนยุคก่อนในยุคหนึ่งเขาจะมีความเข้าใจเพียงขนบและบริบทสังคมในช่วงราชวงศ์นั้น ๆ แค่นั้น )
*กันดราม่า - ส่วนตัวชอบละครค่ะ สนุกดี แต่อยากให้เกิดการวิพากษ์ความถูกต้องในมุมประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่มันเป็นเสมือน trademark ของยุคสมัยนั้น ๆ
อันไหนหยวนพอมองผ่านได้ ดิฉันก็มองผ่านค่ะ ละครก็คือละคร แต่อันไหนมันผิดเพี้ยนเกิน ควรจะมีการแสดงความถูกต้องให้ทราบเพื่อเป็นประโยชน์
ไม่ได้ตั้งใจมาดิสเครดิตละครนะคะ