ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเพียงเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ ชาวแมนจูถือโอกาสรวบรวมกำลังพล โดยผู้นำตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว และเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน
ก่อตั้งรัฐแมนจู
รัฐแมนจูสถาปนาโดย นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มแรก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นขุนนางของราชวงศ์หมิง ครองที่ดินทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมณฑลแมนจูเรียในปัจจุบัน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อตั้งตนเป็น จักรพรรดิไท่จู่ และตั้งรัฐแมนจูขึ้นใน พ.ศ. 2152 พระองค์เร่งสร้างเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยีของรัฐ โดยการจับชาวจีนที่อาศัยในแมนจูเรียมาเป็นทาส พ.ศ. 2168 จักรพรรดิไท่จู่ สถาปนาเมืองเสิ่นหยาง (沈阳/瀋陽 Shěnyáng) แต่ในปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บจากการรบกับแม่ทัพหมิง และสวรรคตในปีเดียวกัน ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วนๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง
ผู้สืบบัลลังก์จากจักรพรรดิไท่จู่ คือ หวงไท่จี๋ หรือจักรพรรดิไท่จง พระองค์ได้ทรงตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น และได้มีการนำระบบธรรมเนียมการปกครองแบบราชวงศ์หมิงมาปรับใช้บางส่วน แต่ก็ยังให้สิทธิพิเศษกับหน่วยปกครองของแมนจูเองโดยระบบโควตา เมื่อลิงตันข่าน มหาข่านองค์สุดท้ายของมองโกลสิ้นพระชนม์ลงระหว่างเดินทางไปทิเบตในพ.ศ. 2177 บุตรของเขานาม เอเจยข่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพแมนจูและมอบตราประจำพระองค์ของอดีตจักรพรรดิหยวนให้จักรพรรดิไท่จง ใน พ.ศ. 2179 จักรพรรดิไท่จงเปลี่ยนชื่อรัฐแมนจูเป็น อาณาจักรต้าชิง (แปลว่า บริสุทธิ์) โดยหมายที่จะขยายอาณาเขตไปนอกแมนจูเรีย พระองค์ทรงชนะมองโกเลียใน เกาหลี และครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอาร์มู หรือมณฑลเฮหลงเจียงในปัจจุบัน
การยึดครองประเทศจีน
ในสมัยพระเจ้าหมิงซือจง (明思宗) แห่งราชวงศ์หมิง เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง ได้แก่ การผนวกที่ดิน การเก็บภาษีเบ็ดเตล็ด ความไม่พอใจของทหาร และภัยแล้งครั้งใหญ่ ทั้งหมดทำให้ประชาชนและทหารไม่พอใจราชวงศ์หมิงอย่างมาก และรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยก่อจลาจลในหลายพื้นที่ กินเวลาหลายปี ในที่สุดก็รวมตัวกันก่อจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิง (李自成: Lǐ Zìchéng) เข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
หลังจากที่ยึดครองกรุงปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิงได้นำกำลังพล 60,000 นาย บุกเผชิญหน้ากับอู๋ซานกุ้ย (吳三桂: Wú Sānguì) นายพลหมิงที่คุมกองกำลังกว่า 100,000 นาย ที่ประจำอยู่ในป้อมซานไฮ่กวาน (山海关/山海關: Shānhǎi Guān) ป้อมซานไฮ่กวานเป็นประตูของกำแพงเมืองจีนผ่านไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ป้อมซานไฮ่กวานถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่คอยกั้นพวกแมนจูอยู่ที่อ่าวไม่ให้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนทางใต้ได้ นายพลอู๋จนมุมศัตรูทั้ง 2 ทาง ทั้งกลุ่มกบฏและกองทัพแมนจู จึงตัดสินใจที่จะสวามิภักดิ์ต่อองค์ชายทอร์กุน ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิซุ่นจื่อ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสของจักรพรรดิไท่จงที่สวรรคตไปหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ในขณะนั้นจักรพรรดิซุ่นจื่อมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2187 ทั้งกองทัพของนายพลอู๋และกองทัพแมนจูเข้าล้อมกลุ่มกบฏไว้ กลุ่มกบฏมีกำลังไม่เพียงพอจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงต้องตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่อื่น ฝ่ายกองทัพนายพลอู๋ก็ปล่อยให้กลุ่มกบฏตีฝ่าไปได้เพราะอ่อนแรงหลังจากต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจูก่อนจะสวามิภักดิ์ กองทัพแมนจูได้เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้ในวันที่ 6 มิถุนายน ในปีเดียวกัน อย่างไรก็ดี กองทัพแมนจูยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 17 ปีเพื่อปรามปราบกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง ผู้แสร้งทำภักดีต่อชิง และกลุ่มกบฏทั้งหลาย ผู้แสร้งภักดีต่อชิงคนสุดท้ายคือ องค์ชายกุย (桂王) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์หมิง และหลบหนีอยู่ในพม่า นายพลอู๋ได้เดินทางไปนำตัวขึ้นมาและประหารชีวิตที่มณฑลยูนนานใน พ.ศ. 2205
สิ่งที่เราน่าจะรู้จักกันดีคือ ผมเปียของชาวแมนจู จักรพรรดิชิงทรงออกกฎบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้
สมัยต้นราชวงศ์ชิง
ปราบกบฏหมิงใต้ ปราบ กบฏสามเจ้าศักดินา
เนื่องจากต้นราชวงศ์มีกบฏเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้ราชวงศ์ชิงต้องร่วมมือกับขุนนางราชวงศ์หมิงที่ทรยศชาติปราบกบฏหมิงใต้ หลังจากกบฏหมิงใต้สิ้นสุดเมื่อปี 1662 ปี 1673 เกิดกบฏสามเจ้าศักดินา ราชวงศ์ชิงใช้เวลาปราบกบฏทางใต้ 8 ปี 1673-1681
การปกครองสมัยต้นราชวงศ์ชิง
พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี, จักรพรรดิหย่งเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ
ในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏว่ามีชนกลุ่มน้อยขึ้นตั้งราชวงศ์ปกครองแผ่นดินจีน 2 ราชวงศ์ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกล และราชวงศ์ชิงของเผ่าแมนจู ราชวงศ์หยวนถึงแม้จะเก่งกาจ มีกำลังทหารและอาวุธที่น่าเกรงขาม แต่ไม่มีความรู้ด้านการปกครอง จึงปกครองแผ่นดินจีนได้เพียงแค่ 90 ปีเศษก็ล่มสลายไป ส่วนราชวงศ์ชิงใช้นโยบายประนีประนอมและแข็งกร้าวได้อย่างแยบยล จึงประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถปกครองแผ่นดินจีนได้นานถึง 260 ปี
นโยบายประนีประนอม
นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญๆ มีดังนี้
-จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
-ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรุษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
-ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง
-จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค (四庫全書 ซื่อคู่เฉวีนซู) มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
-ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่างๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง
นโยบายแข็งกร้าว
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้
-สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่างๆ อย่างโหดเหี้ยม
-ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
-บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
-นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน
ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ประชาชนเริ่มรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน พ.ศ. 2451 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ถูกปลดออจากตำแหน่งทางทหาร ในกลางปี พ.ศ. 2454 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลายซึ่งรวมทั้งจางจื่อตง ด้วย
ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัดเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวน ซื่อไข่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ยหยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย หลังจากที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่
หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวน ซื่อไข่และนายพลจากกองทัพเป่ยหยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัดเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากใประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัดเซ็นอยากให้ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากหลงหยูไทเฮาแล้ว นายพลหยวนก็ได้เปิดการเจรจากับซุนยัดเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2455 หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิผู่อี๋ผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี
*ถ้าข้อมูลผิดพลาดหรืออยากเสนอข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกได้นะค่ะ
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน
ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเพียงเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ ชาวแมนจูถือโอกาสรวบรวมกำลังพล โดยผู้นำตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว และเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน
ก่อตั้งรัฐแมนจู
รัฐแมนจูสถาปนาโดย นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเริ่มแรก นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นขุนนางของราชวงศ์หมิง ครองที่ดินทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมณฑลแมนจูเรียในปัจจุบัน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อตั้งตนเป็น จักรพรรดิไท่จู่ และตั้งรัฐแมนจูขึ้นใน พ.ศ. 2152 พระองค์เร่งสร้างเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยีของรัฐ โดยการจับชาวจีนที่อาศัยในแมนจูเรียมาเป็นทาส พ.ศ. 2168 จักรพรรดิไท่จู่ สถาปนาเมืองเสิ่นหยาง (沈阳/瀋陽 Shěnyáng) แต่ในปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บจากการรบกับแม่ทัพหมิง และสวรรคตในปีเดียวกัน ความสำเร็จที่สำคัญสิ่งหนึ่งของพระองค์คือการตั้งระบบกองธง ซึ่งเป็นระบบในการแบ่งสายการปกครองออกเป็นส่วนๆ มีประโยชน์ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร โดยแรกเริ่มนั้นมี 8 กองธง
ผู้สืบบัลลังก์จากจักรพรรดิไท่จู่ คือ หวงไท่จี๋ หรือจักรพรรดิไท่จง พระองค์ได้ทรงตั้งกองธงแรกที่เป็นชาวฮั่นขึ้น และได้มีการนำระบบธรรมเนียมการปกครองแบบราชวงศ์หมิงมาปรับใช้บางส่วน แต่ก็ยังให้สิทธิพิเศษกับหน่วยปกครองของแมนจูเองโดยระบบโควตา เมื่อลิงตันข่าน มหาข่านองค์สุดท้ายของมองโกลสิ้นพระชนม์ลงระหว่างเดินทางไปทิเบตในพ.ศ. 2177 บุตรของเขานาม เอเจยข่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพแมนจูและมอบตราประจำพระองค์ของอดีตจักรพรรดิหยวนให้จักรพรรดิไท่จง ใน พ.ศ. 2179 จักรพรรดิไท่จงเปลี่ยนชื่อรัฐแมนจูเป็น อาณาจักรต้าชิง (แปลว่า บริสุทธิ์) โดยหมายที่จะขยายอาณาเขตไปนอกแมนจูเรีย พระองค์ทรงชนะมองโกเลียใน เกาหลี และครอบครองพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอาร์มู หรือมณฑลเฮหลงเจียงในปัจจุบัน
การยึดครองประเทศจีน
ในสมัยพระเจ้าหมิงซือจง (明思宗) แห่งราชวงศ์หมิง เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง ได้แก่ การผนวกที่ดิน การเก็บภาษีเบ็ดเตล็ด ความไม่พอใจของทหาร และภัยแล้งครั้งใหญ่ ทั้งหมดทำให้ประชาชนและทหารไม่พอใจราชวงศ์หมิงอย่างมาก และรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยก่อจลาจลในหลายพื้นที่ กินเวลาหลายปี ในที่สุดก็รวมตัวกันก่อจลาจลครั้งใหญ่ ซึ่งนำโดย หลี่จื้อเฉิง (李自成: Lǐ Zìchéng) เข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง ราชธานีของราชวงศ์หมิง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2187 จนพระเจ้าหมิงซือจงต้องผูกพระศอปลงพระชนม์ตัวเองที่ต้นไม้บนเนินเขาที่มองเห็นพระราชวังต้องห้ามได้ชัด ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์หมิง
หลังจากที่ยึดครองกรุงปักกิ่งแล้ว หลี่จื้อเฉิงได้นำกำลังพล 60,000 นาย บุกเผชิญหน้ากับอู๋ซานกุ้ย (吳三桂: Wú Sānguì) นายพลหมิงที่คุมกองกำลังกว่า 100,000 นาย ที่ประจำอยู่ในป้อมซานไฮ่กวาน (山海关/山海關: Shānhǎi Guān) ป้อมซานไฮ่กวานเป็นประตูของกำแพงเมืองจีนผ่านไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ป้อมซานไฮ่กวานถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่คอยกั้นพวกแมนจูอยู่ที่อ่าวไม่ให้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนทางใต้ได้ นายพลอู๋จนมุมศัตรูทั้ง 2 ทาง ทั้งกลุ่มกบฏและกองทัพแมนจู จึงตัดสินใจที่จะสวามิภักดิ์ต่อองค์ชายทอร์กุน ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิซุ่นจื่อ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสของจักรพรรดิไท่จงที่สวรรคตไปหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ในขณะนั้นจักรพรรดิซุ่นจื่อมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2187 ทั้งกองทัพของนายพลอู๋และกองทัพแมนจูเข้าล้อมกลุ่มกบฏไว้ กลุ่มกบฏมีกำลังไม่เพียงพอจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงต้องตีฝ่าวงล้อมออกไปตั้งมั่นที่อื่น ฝ่ายกองทัพนายพลอู๋ก็ปล่อยให้กลุ่มกบฏตีฝ่าไปได้เพราะอ่อนแรงหลังจากต้องต่อสู้กับกองทัพแมนจูก่อนจะสวามิภักดิ์ กองทัพแมนจูได้เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้ในวันที่ 6 มิถุนายน ในปีเดียวกัน อย่างไรก็ดี กองทัพแมนจูยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 17 ปีเพื่อปรามปราบกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง ผู้แสร้งทำภักดีต่อชิง และกลุ่มกบฏทั้งหลาย ผู้แสร้งภักดีต่อชิงคนสุดท้ายคือ องค์ชายกุย (桂王) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์หมิง และหลบหนีอยู่ในพม่า นายพลอู๋ได้เดินทางไปนำตัวขึ้นมาและประหารชีวิตที่มณฑลยูนนานใน พ.ศ. 2205
สิ่งที่เราน่าจะรู้จักกันดีคือ ผมเปียของชาวแมนจู จักรพรรดิชิงทรงออกกฎบังคับให้ชาวฮั่นทุกคนต้องไว้ผมเปียและสวมเสื้อผ้าอย่างชาวแมนจู เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและภักดีต่อราชวงศ์ชิง ชายชาวฮั่นทุกคนต้องโกนผมครึ่งศีรษะและหนวดเครา และผูกผมด้านท้ายเป็นหางเปียยาว กฎนี้ขัดแย้งกับประเพณีปฏิบัติเดิมของชาวฮั่นที่ห้ามตัดผม ชาวจีนทั่วประเทศต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางเลือก มิฉะนั้นจะถูกตัดหัว กว่า 258 ปีที่ราชวงศ์ชิงครองประเทศ ชาวจีนได้ก่อกบฏขึ้นหลายครั้งเนื่องจากกฎดังกล่าวนี้
สมัยต้นราชวงศ์ชิง
ปราบกบฏหมิงใต้ ปราบ กบฏสามเจ้าศักดินา
เนื่องจากต้นราชวงศ์มีกบฏเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้ราชวงศ์ชิงต้องร่วมมือกับขุนนางราชวงศ์หมิงที่ทรยศชาติปราบกบฏหมิงใต้ หลังจากกบฏหมิงใต้สิ้นสุดเมื่อปี 1662 ปี 1673 เกิดกบฏสามเจ้าศักดินา ราชวงศ์ชิงใช้เวลาปราบกบฏทางใต้ 8 ปี 1673-1681
การปกครองสมัยต้นราชวงศ์ชิง
พุทธศตวรรษที่ 23 ในต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นยุคที่ทางราชวงศ์ต้องผจญกับขบวนการกู้หมิงต้านชิง ของชาวฮั่นทั้งหลายที่โกรธแค้นที่ชนต่างเชื้อสายมาเป็นใหญ่ประเทศจีน ดังนั้นในสมัยของ จักรพรรดิคังซี, จักรพรรดิหย่งเจิ้ง และจักรพรรดิเฉียนหลง จึงต้องใช้ทั้งนโยบายประนีประนอมเพื่อให้อยู่กับชาวฮั่นได้อย่างเป็นสุข และนโยบายแข็งกร้าวเพื่อควบคุมชาวฮั่นไว้ไม่ให้คิดต่อต้าน ซึ่งนโยบายเหล่านี้กลายเป็นแนวปฏิบัติของจักรพรรดิองค์ต่อๆ มา เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอำนาจรัฐ
ในประวัติศาสตร์จีนได้ปรากฏว่ามีชนกลุ่มน้อยขึ้นตั้งราชวงศ์ปกครองแผ่นดินจีน 2 ราชวงศ์ นั่นคือ ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกล และราชวงศ์ชิงของเผ่าแมนจู ราชวงศ์หยวนถึงแม้จะเก่งกาจ มีกำลังทหารและอาวุธที่น่าเกรงขาม แต่ไม่มีความรู้ด้านการปกครอง จึงปกครองแผ่นดินจีนได้เพียงแค่ 90 ปีเศษก็ล่มสลายไป ส่วนราชวงศ์ชิงใช้นโยบายประนีประนอมและแข็งกร้าวได้อย่างแยบยล จึงประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม จนสามารถปกครองแผ่นดินจีนได้นานถึง 260 ปี
นโยบายประนีประนอม
นโยบายประนีประนอมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผูกมิตรเอาอกเอาใจชาวฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ชิงเข้าปกครองแผ่นดินจีนใหม่ๆ เพื่อสร้างบารมีให้กับราชวงศ์ชิง และขจัดความคิดต่อต้านแมนจู โดยนโยบายสำคัญๆ มีดังนี้
-จัดพระราชพิธีปลงพระศพของพระเจ้าหมิงซือจง จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิงและพระมเหสี และสร้างสุสานถวายให้อย่างสมพระเกียรติ
-ยกย่องขุนนางราชวงศ์หมิงที่สละชีพเพื่อปกป้องเยี่ยงวีรบุรุษ และเกลี้ยกล่อมขุนนางหมิงให้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ชิงและดูแลเป็นพิเศษ
-ยังคงใช้วิธีคัดเลือกข้าราชการโดยวิธีการสอบจอหงวนตามแบบของราชวงศ์หมิง
-จักรพรรดิคังซี ทรงจัดทำ พจนานุกรมคังซี ซึ่งรวบรวมตัวอักษรจีนได้ครบถ้วนที่สุดสมัยนั้น และในสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง ได้มีการรวบรวมงานวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ทั่วประเทศจีนมาเป็น ประมวลสาส์นสี่ภาค (四庫全書 ซื่อคู่เฉวีนซู) มีการส่งเสริมบัณฑิตที่มีผลงานทางวิชาการให้ได้รับบำเหน็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะรวบรวมผลงานทางวิชาการ หนังสือหลายเล่มถูกทำลายเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
-ยกเลิกหรือลดอัตราภาษีที่ขูดรีดในท้องที่ต่างๆ และล้มแนวการปกครองที่โหดร้ายของราชวงศ์หมิง
นโยบายแข็งกร้าว
ในขณะเดียวกัน ราชวงศ์ชิงก็ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพื่อสยบชาวฮั่นที่คิดจะต่อต้านไว้ด้วย โดยนโยบายสำคัญมีดังนี้
-สังหารประชาชนที่รวมตัวก่อจลาจลต่อต้านราชสำนักตามท้องที่ต่างๆ อย่างโหดเหี้ยม
-ห้ามการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสมาคมอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการรวมพลังมวลชน
-บังคับให้ชายชาวฮั่นทั่วประเทศต้องไว้ผมแบบชาวแมนจู คือ ไว้หางเปียยาวด้านหลัง และโกนผมครึ่งศีรษะ อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจากภาพยนตร์ ใครฝ่าฝืนจะต้องโทษประหารชีวิต
-นำกฎหมายอาชญาทางภาษา (เหวินจื้ออวี้) มาใช้หลายครั้ง เพื่อควบคุมความคิดของชาวฮั่นให้อยู่ในกรอบ ในสมัยจักรพรรดิคังซี หย่งเจิ้ง และเฉียนหลง มีปรากฏว่ามีมากถึง 70-80 คดี แต่ละคดีจะมีผู้รับเคราะห์ 10 คน จนถึงหมื่นคนก็มี ตัวอย่างคดีที่สำคัญ เช่น คดีหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิงสื่อ) ในสมัยคังซี ที่จวนถิงหลง จัดพิมพ์ไปกล่าวกระทบประวัติศาสตร์แมนจู ราชวงศ์ชิงถึงกับขุดศพจวนถิงหลงมาแยกร่าง ผู้เขียน ตรวจอักษร ขายหนังสือ และแม้แต่ผู้มีหนังสือในครอบครองถูกประหาร 72 คน และถูกขับไล่ให้เป็นทหารแถบชายแดนอีกนับร้อยคน
ราชวงศ์ชิงล่มสลาย
ในช่วงต้นของพุทธศตวรรษที่ 25 ประชาชนเริ่มรวมกลุ่มกันประท้วงมากขึ้นและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวางสูสวรรคตใน พ.ศ. 2451 ทิ้งให้สมาชิกราชวงศ์ที่ไร้บารมีและสถานภาพทางการเมืองไม่แน่นอนยังอยู่ในพระราชวังต้องห้าม ผู่อี๋ โอรสขององค์ชายชุนที่ 2 ได้รับการอภิเษกให้เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปตั้งแต่พระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยให้พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ต่อมา นายพลหยวน ซื่อไข่ถูกปลดออจากตำแหน่งทางทหาร ในกลางปี พ.ศ. 2454 องค์ชายชุนที่ 2 ทรงตั้งคณะรัฐมนตรีหลวง โดยสมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นพระญาติสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหน้าที่บริหารประเทศจีนในเรื่องทั่วไป การตั้งคณะรัฐมนตรีหลวงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับข้าราชการชั้นสูงทั้งหลายซึ่งรวมทั้งจางจื่อตง ด้วย
ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ได้เกิดจลาจลอู่จางขึ้น และต่อมา นายพลซุน ยัดเซ็น ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นใหม่ ในนามสาธารณรัฐจีน ที่เมืองนานกิง หัวเมืองหลายแห่งเริ่มตีตัวแยกจากรัฐบาลราชวงศ์ชิง เมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจเช่นนี้ รัฐบาลราชวงศ์ชิงจึงเรียกตัวนายพลหยวน ซื่อไข่รู้สึกไม่พอใจราชวงศ์อยู่แล้วกลับเข้ามาควบคุมกองทัพเป่ยหยาง เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้แข็งข้อทั้งหลาย หลังจากที่ได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลของตนแล้ว นายพลหยวนก็ได้เรียกร้องให้องค์ชายชุนลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ โดยการเรียกร้องครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่
หลังจากองค์ชายชุนออกจากตำแหน่งแล้ว หยวน ซื่อไข่และนายพลจากกองทัพเป่ยหยางก็ครอบงำราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ประเทศจีนในครั้งนั้นก็มี รัฐบาล 2 ฝ่าย รัฐบาลหยวน ซื่อไข่ปฏิเสธการทำสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัดเซ็น โดยให้เหตุผลว่าเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีเหตุผล คำเรียกร้องของราชวงศ์ชิงคืออยากใประเทศจีนปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และซุนยัดเซ็นอยากให้ประเทศปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตจากหลงหยูไทเฮาแล้ว นายพลหยวนก็ได้เปิดการเจรจากับซุนยัดเซ็น โดยที่ซุนยัดเซ็นมีเป้าหมายว่าถ้าก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จแล้ว อาจจะให้นายพลหยวนขึ้นเป็นประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2455 หลังจากการเจรจา หลงหยูไทเฮาก็ได้ออกพระราชเสาวนีย์ประกาศให้จักรพรรดิผู่อี๋ผู้เป็นพระโอรสบุญธรรมสละราชบัลลังก์
การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี
*ถ้าข้อมูลผิดพลาดหรืออยากเสนอข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกได้นะค่ะ