สำหรับผู้ที่สนใจเปิดตลาดฮาลาลในจีนอาจจะตกใจ หากทราบว่ามีเอสเอ็มอีราว ๆ 500 ราย เข้าไปสำรวจตลาดจีน และทำตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมี 3 มณฑลที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่คิดจะส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังจีน
คุณทรงฤทธิ์ อมรวิกัยกุล อุปนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกรังนกบรรจุขวดน้ำเห็ดและน้ำสมุนไพร ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดจีนมา 5 ปีแล้ว ปัจจุบันมียอดจำหน่ายปีละกว่าล้านขวด หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 7 เท่าตัวทีเดียว
คุณทรงฤทธิ์แนะนำผู้ประกอบการที่จะเข้าไปเปิดตลาดจีนด้วยว่า ผู้ที่สนใจจะนำสินค้าฮาลาลไปเปิดตลาดจีน ควรไปเจาะตลาดจีนตะวันตกใน 3 มณฑล ที่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก คือ ยูนนาน ซินเจียง เสฉวน
โดยกลยุทธ์หลัก ๆ คือต้องศึกษาตลาดและปรับโปรดักต์สินค้าให้เหมาะสม เนื่องจากแต่ละมณฑลจะนิยมรับประทานรสชาติแตกต่างกัน และสุดท้ายคือมองหาพันธมิตรตัวจริง โดยเริ่มจากการหาตัวแทนจำหน่ายก่อน
"โดยส่วนตัวเปิดตลาดมาใน 5 ปี พบผู้ประกอบการตัวจริงเสียงจริง 2 ราย ที่ช่วยกระจายสินค้า ตรงนี้ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว เพราะหวังแค่มีคนรู้จักแบรนด์สัก 5 ล้าน จาก 300 ล้านของคนจีน 3 มณฑลที่นับถือศาสนาอิสลาม"
ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนที่จะซื้อข้อมูลเพื่อเช็กแบล็กลิสต์ ความน่าเชื่อถือ ของพันธมิตรที่จะเจรจาการค้าด้วย เพราะบางรายสั่งออร์เดอร์เพียงแค่สอง-สามครั้ง พอสั่งครั้งที่สี่แล้วหนีไปเลยก็มี
เรื่องการรับออร์เดอร์และบริหารจัดการการผลิต คุณทรงฤทธิ์แนะนำว่า กรณีที่มีการจ้างโรงงานในจีนผลิต กระบวนการขั้นตอนที่เป็นความลับทางบริษัทจะต้องทำเอง ส่วนกระบวนการที่สามารถเปิดเผยได้ให้ส่งไปผลิตที่จีน
อย่างไรก็ดี ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นแนะนำเรื่องนี้ว่า การให้จีนผลิตให้และมีตัวเลขการผลิตที่แสดงว่าแต่ละเดือนนั้นผลิตไปจำนวนเท่าไหร่ ทำให้เกิดการประมาณยอดขายและมีโอกาสที่จะถูกก๊อบปี้ได้ง่ายอีกด้วย อีกวิธีคือการคลัสเตอร์กับกลุ่มผู้ผลิตทั้งในประเทศและในอาเซียน
"ถ้าเรามาทำตามรูปแบบเดิม จาก A-Z ไม่ทัน ต้องนำระบบของคลัสเตอร์มาใช้ ภาคการผลิตอย่างที่ทราบ โรงงานในไทยมี 2 แบบ คือ OEM รับจ้างผลิต และ ODM ดีไซน์และจ้างผลิต ทั้ง 2 แบบมีจุดอ่อน คือโรงงานไม่ได้มีออร์เดอร์ตลอดเวลา ให้เช็กว่าโรงงานต่าง ๆ มีกำลังการผลิตเหลือเท่าไหร่ แล้วเราเจรจาขอเช่าพื้นที่ แรงงานคน เครื่องจักร ขอเช่าภายใต้สัญญาเช่า เราส่งคิวซี ส่วนวัตถุดิบเป็นภาระของเขา เราเป็นผู้ผลิตเพียงแต่ไม่ใช่เจ้าของโรงงาน ตรงนี้ใช้ได้ผล พอมีออร์เดอร์มาก เราก็สวิตช์ไปโรงงานที่หนึ่ง สอง สาม สี่ได้เลย"
ส่วนอุปสรรคที่สำคัญก็คือเรื่องของภาษีที่ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้เป็นภาระที่เราจะต้องศึกษากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม แม้ว่าเอฟทีเอไทย-จีน ภาษีเป็น 0% แล้วก็ตาม
คุณทรงฤทธิ์ยังแนะนำในท้ายที่สุดว่า "สำหรับธุรกิจที่สนใจจะไปเปิดตลาดฮาลาล นอกจากอาหารแล้ว เสื้อผ้าแฟชั่น ผลิตภัณฑ์สปา ก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจอีกด้วย"
ฮาลาลไทยไปจีน อาหาร-แฟชั่นเสื้อผ้า-สปา ไปโลด
คุณทรงฤทธิ์ อมรวิกัยกุล อุปนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกรังนกบรรจุขวดน้ำเห็ดและน้ำสมุนไพร ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดจีนมา 5 ปีแล้ว ปัจจุบันมียอดจำหน่ายปีละกว่าล้านขวด หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 7 เท่าตัวทีเดียว
คุณทรงฤทธิ์แนะนำผู้ประกอบการที่จะเข้าไปเปิดตลาดจีนด้วยว่า ผู้ที่สนใจจะนำสินค้าฮาลาลไปเปิดตลาดจีน ควรไปเจาะตลาดจีนตะวันตกใน 3 มณฑล ที่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก คือ ยูนนาน ซินเจียง เสฉวน
โดยกลยุทธ์หลัก ๆ คือต้องศึกษาตลาดและปรับโปรดักต์สินค้าให้เหมาะสม เนื่องจากแต่ละมณฑลจะนิยมรับประทานรสชาติแตกต่างกัน และสุดท้ายคือมองหาพันธมิตรตัวจริง โดยเริ่มจากการหาตัวแทนจำหน่ายก่อน
"โดยส่วนตัวเปิดตลาดมาใน 5 ปี พบผู้ประกอบการตัวจริงเสียงจริง 2 ราย ที่ช่วยกระจายสินค้า ตรงนี้ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว เพราะหวังแค่มีคนรู้จักแบรนด์สัก 5 ล้าน จาก 300 ล้านของคนจีน 3 มณฑลที่นับถือศาสนาอิสลาม"
ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนที่จะซื้อข้อมูลเพื่อเช็กแบล็กลิสต์ ความน่าเชื่อถือ ของพันธมิตรที่จะเจรจาการค้าด้วย เพราะบางรายสั่งออร์เดอร์เพียงแค่สอง-สามครั้ง พอสั่งครั้งที่สี่แล้วหนีไปเลยก็มี
เรื่องการรับออร์เดอร์และบริหารจัดการการผลิต คุณทรงฤทธิ์แนะนำว่า กรณีที่มีการจ้างโรงงานในจีนผลิต กระบวนการขั้นตอนที่เป็นความลับทางบริษัทจะต้องทำเอง ส่วนกระบวนการที่สามารถเปิดเผยได้ให้ส่งไปผลิตที่จีน
อย่างไรก็ดี ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นแนะนำเรื่องนี้ว่า การให้จีนผลิตให้และมีตัวเลขการผลิตที่แสดงว่าแต่ละเดือนนั้นผลิตไปจำนวนเท่าไหร่ ทำให้เกิดการประมาณยอดขายและมีโอกาสที่จะถูกก๊อบปี้ได้ง่ายอีกด้วย อีกวิธีคือการคลัสเตอร์กับกลุ่มผู้ผลิตทั้งในประเทศและในอาเซียน
"ถ้าเรามาทำตามรูปแบบเดิม จาก A-Z ไม่ทัน ต้องนำระบบของคลัสเตอร์มาใช้ ภาคการผลิตอย่างที่ทราบ โรงงานในไทยมี 2 แบบ คือ OEM รับจ้างผลิต และ ODM ดีไซน์และจ้างผลิต ทั้ง 2 แบบมีจุดอ่อน คือโรงงานไม่ได้มีออร์เดอร์ตลอดเวลา ให้เช็กว่าโรงงานต่าง ๆ มีกำลังการผลิตเหลือเท่าไหร่ แล้วเราเจรจาขอเช่าพื้นที่ แรงงานคน เครื่องจักร ขอเช่าภายใต้สัญญาเช่า เราส่งคิวซี ส่วนวัตถุดิบเป็นภาระของเขา เราเป็นผู้ผลิตเพียงแต่ไม่ใช่เจ้าของโรงงาน ตรงนี้ใช้ได้ผล พอมีออร์เดอร์มาก เราก็สวิตช์ไปโรงงานที่หนึ่ง สอง สาม สี่ได้เลย"
ส่วนอุปสรรคที่สำคัญก็คือเรื่องของภาษีที่ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้เป็นภาระที่เราจะต้องศึกษากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม แม้ว่าเอฟทีเอไทย-จีน ภาษีเป็น 0% แล้วก็ตาม
คุณทรงฤทธิ์ยังแนะนำในท้ายที่สุดว่า "สำหรับธุรกิจที่สนใจจะไปเปิดตลาดฮาลาล นอกจากอาหารแล้ว เสื้อผ้าแฟชั่น ผลิตภัณฑ์สปา ก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจอีกด้วย"