จงหายใจเข้า หายใจออก อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น ใครจะยืนเอาก้นขึ้นฟ้าก็ช่าง อย่าไปเอาใจใส่
อยู่แต่กับลมหายใจเข้าออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ทำอยู่อย่างนี้แหละ
ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น…ให้รู้จักแต่ลมเข้า…ลมออก…
ลมเข้า…ลมออก…พุท…เข้า…โธ…ออก… อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ
เอาอันนี้เป็นอารมณ์
ให้ทำอยู่อย่างนี้ จนกระทั่งลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอยู่อย่างนั้น
จนจิตสงบ หมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น ให้มีแต่ลมออกลมเข้า ลมออกลมเข้าอยู่อย่างนั้น
ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไรหรอก
นี่แหละ เบื้องแรกของการปฏิบัติ
.....................................................................................................
การเดินจงกรม
เมื่อจะเดินจงกรม ก็ให้มีทางเดินสักทางหนึ่ง จากต้นไม้ต้นนี้ไปสู่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้ ให้ระยะทางมันยาวสัก ๗-๘ วา
เ
ดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า
“บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า”
การกำหนดก็แล้วแต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อนก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง
แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดีๆ ให้นึก “พุทโธ…พุทโธ…”
ตามการก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย
ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็รู้จัก รู้จักหมด
ต้นทางกลางทาง ปลายทาง ทำความรู้นี้ให้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ
กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมก็คือ เดินกลับไปกลับมา เดินจงกรมไม่ใช่ของง่ายนะ
บางคนเห็นเดินกลับไปกลับมาเหมือนคนบ้า แต่หารู้ไม่ว่าการเดินจงกรมนี่ทำให้เกิดปัญญานักละ
เดินกลับไปกลับมา
ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย
เมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเอง
การยืน การเดิน การนั่ง การนอนมันเปลี่ยน คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้นอนอย่างเดียวก็ไม่ได้
มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบถทั้งสี่ให้มีประโยชน์ ให้มีความรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้
นี่คือการทำ ทำไป ทำไป มันไม่ใช่ของง่ายๆหรอก
.....................................................................................................
ไม่ใช่เดินยอกแยก ๆ คิดโน่นคิดนี่เที่ยวเดียวก็เลิก ขึ้นกุฏิมองดูพื้นกระดาน ...เออ มันน่านอน ก็ลงนอนกรนครอกๆ
อย่างนี้ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น
ทำไปจนขี้เกียจทำ ขี้เกียจมันจะไปสิ้นสุดที่ไหน หามันให้เห็นที่สุดของขี้เกียจมันจะอยู่ตรงไหน
มันจะเหนื่อยตรงไหน มันจะเป็นอย่างไรก็ให้ถึงที่สุดของมันจึงจะได้
ไม่ใช่จะมาพูดบอกตัวเองว่า สงบ สงบ สงบ แล้วพอนั่งปุ๊บก็จะให้มันสงบเลย ครั้นมันไม่สงบอย่างคิดก็เลิก ขี้เกียจ
ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีวันได้สงบ
.....................................................................................................
เนื้อหาบางส่วนจาก
ปฏิบัติกันเถิด - หลวงปู่ชา สุภัทโท
http://anuchah.com/lets-practice-dhamma/
ปฏิบัติกันเถิดและสัมมาทิฏฐิฯ
http://www.youtube.com/watch?v=RszGQjpdwss
ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น…ให้รู้จักแต่ลมเข้า…ลมออก…ลมเข้า…ลมออก
อยู่แต่กับลมหายใจเข้าออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ทำอยู่อย่างนี้แหละ
ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น…ให้รู้จักแต่ลมเข้า…ลมออก…
ลมเข้า…ลมออก…พุท…เข้า…โธ…ออก… อยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์
ให้ทำอยู่อย่างนี้ จนกระทั่งลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอยู่อย่างนั้น
จนจิตสงบ หมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น ให้มีแต่ลมออกลมเข้า ลมออกลมเข้าอยู่อย่างนั้น
ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไรหรอก นี่แหละ เบื้องแรกของการปฏิบัติ
การเดินจงกรม
เมื่อจะเดินจงกรม ก็ให้มีทางเดินสักทางหนึ่ง จากต้นไม้ต้นนี้ไปสู่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้ ให้ระยะทางมันยาวสัก ๗-๘ วา
เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า
“บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า”
การกำหนดก็แล้วแต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อนก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง
แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดีๆ ให้นึก “พุทโธ…พุทโธ…” ตามการก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย
ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็รู้จัก รู้จักหมด
ต้นทางกลางทาง ปลายทาง ทำความรู้นี้ให้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ
กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมก็คือ เดินกลับไปกลับมา เดินจงกรมไม่ใช่ของง่ายนะ
บางคนเห็นเดินกลับไปกลับมาเหมือนคนบ้า แต่หารู้ไม่ว่าการเดินจงกรมนี่ทำให้เกิดปัญญานักละ
เดินกลับไปกลับมา ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย
เมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเอง
การยืน การเดิน การนั่ง การนอนมันเปลี่ยน คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้นอนอย่างเดียวก็ไม่ได้
มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบถทั้งสี่ให้มีประโยชน์ ให้มีความรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้
นี่คือการทำ ทำไป ทำไป มันไม่ใช่ของง่ายๆหรอก
ไม่ใช่เดินยอกแยก ๆ คิดโน่นคิดนี่เที่ยวเดียวก็เลิก ขึ้นกุฏิมองดูพื้นกระดาน ...เออ มันน่านอน ก็ลงนอนกรนครอกๆ
อย่างนี้ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น ทำไปจนขี้เกียจทำ ขี้เกียจมันจะไปสิ้นสุดที่ไหน หามันให้เห็นที่สุดของขี้เกียจมันจะอยู่ตรงไหน
มันจะเหนื่อยตรงไหน มันจะเป็นอย่างไรก็ให้ถึงที่สุดของมันจึงจะได้
ไม่ใช่จะมาพูดบอกตัวเองว่า สงบ สงบ สงบ แล้วพอนั่งปุ๊บก็จะให้มันสงบเลย ครั้นมันไม่สงบอย่างคิดก็เลิก ขี้เกียจ
ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีวันได้สงบ
.....................................................................................................
เนื้อหาบางส่วนจาก
ปฏิบัติกันเถิด - หลวงปู่ชา สุภัทโท
http://anuchah.com/lets-practice-dhamma/
ปฏิบัติกันเถิดและสัมมาทิฏฐิฯ
http://www.youtube.com/watch?v=RszGQjpdwss