(สำนักงาน กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีสานเสวนา (Dialogue) การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี --- ผู้เข้าร่วมสานเสวนาเสนอแนะวางแผนยุทธศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) รวมถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับต่อไป เน้นความสำคัญของการก้าวไปสู่สังคมแห่งเทคโนโลยี ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อการเรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอินเทอร์เน็ต แต่ก็ต้องรู้เท่าทัน ระมัดระวังป้องกันภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่จะมาพร้อมกับยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (Internet of Things) ด้วย
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเวทีสานเสวนา (Dialogue) การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมกัลปพฤกษ์ 2 โรงแรม ที.เค. พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร การสานเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่ (1) การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส (2) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ของแต่ละท่านในการทำงานในหน่วยงาน หรือจากประสบการณ์ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส และ (3) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นมาตรการ ยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี
ผู้เข้าร่วมสานเสวนาในครั้งนี้ มีจำนวนประมาณ 37 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งปฏิบัติงานในระดับนโยบาย หรือให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานผู้บริหาร (CEO) สถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต (Srisakdi Charmonman Institute of eLearning) อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย ได้เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำการสานเสวนาในครั้งนี้ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และ นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา. กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ นายประเสริฐ ศรีมนารัตนกุลผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คุณธิดา ศรีไพวรรณ เลขาธิการสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายอนันต์ วรธิติพงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ นางกอบแก้ว อัครคุปต์ อดีตหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยนางสาวพรรณราย ขันธกิจ และ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัยหลักโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี
ผู้เข้าร่วมการสานเสวนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในเชิงการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางในการจัดบริการโทรคมนาคมที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการนำนโยบายให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งประเทศมาใช้ เช่นกรณีของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่หากใครต้องการใช้ความเร็วสูงกว่าความเร็วที่จัดบริการให้จ่ายค่าบริการเพิ่ม เป็นต้น
2. ด้านเครือข่าย จะต้องนิยามคำจำกัดความใหม่ เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดมาตรการให้การกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการสังคม (Universal Service Obligation: USO) พิจารณาเครือข่ายพื้นฐานซึ่งหมายถึงโครงข่ายแบบมีสาย และบรอดแบนด์ 2 เมกกะบิต ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากการลงทุนมีมูลค่าสูง แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการวิดีโอคอล (Video Call) ซึ่งต้องใช้ความเร็วพื้นฐานมากกว่าที่กำหนดไว้ ควรมีการกำหนดมาตรฐานความเร็วใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พัฒนากลไกในการคุ้มครองและให้ความรู้แก่ผู้ใช้งานที่ต้องรู้เท่าทันในการใช้งานเทคโนโลยี ไม่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงต่างๆ
3. ควรให้กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่าย 3G ได้ในราคาที่ต่ำ ตามความจำเป็นในการใช้งาน โดยอาจจัดเป็นแพ็คเกตที่มีระดับความเร็ว (Speed) และแบนด์วิธทีสามารถใช้งาน สำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท เช่น คนตาบอดใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการนำทาง อ่านหนังสือ จะต้องมีแบนด์วิธทีสามารถใช้งานได้ไม่สะดุด คนหูหนวก ต้องการโทรศัพท์ ต้องซิม ต้องการอินเทอร์เน็ตไม่จำกัด คุณภาพการอัพโหลด/ดาว์นโหลดวิดีโอไม่ให้กระตุก เป็นต้น
4. ขยายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมพื้นที่บริการให้ได้มากที่สุด ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ จะต้องพิจารณาเสนอแนะว่าพื้นที่ หรือลักษณะอย่างไรบ้างที่ยังไม่ทั่วถึงครอบคลุม เพราะหากว่าพื้นที่บริการไม่ทั่วถึงการเรียนรู้ก็จะทำไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับความจริงประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีทุกอย่างมีข้อจำกัด ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกจุดจะต้องได้บริการที่เท่าเทียม จะมีบางพื้นที่ที่เป็นข้อจำกัดจริงๆ แม้ในต่างประเทศก็จะมีพื้นที่เหล่านี้อยู่ และเงินกองทุน กทปส. ก็เป็นเงินสนับสนุนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องให้บริการทั่ว จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดของกลุ่มเป้าหมายได้
5. ผลักดันการเปลี่ยนผ่านจาก IP Address จาก IPv4 ไปเป็น IPv6 ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อรองรับ Internet of Things อย่างมีประสิทธิภาพ
นี้อาจเป็นเพียงข้อเสนอแนะบางส่วนจากเวทีสานเสวนาฯ สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็น "การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี" สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้www.convergencebtfpfund.net
สานเสวนาวางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเวทีสานเสวนา (Dialogue) การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมกัลปพฤกษ์ 2 โรงแรม ที.เค. พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร การสานเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่ (1) การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส (2) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ของแต่ละท่านในการทำงานในหน่วยงาน หรือจากประสบการณ์ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส และ (3) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นมาตรการ ยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี
ผู้เข้าร่วมสานเสวนาในครั้งนี้ มีจำนวนประมาณ 37 คน ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อมวลชน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งปฏิบัติงานในระดับนโยบาย หรือให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานผู้บริหาร (CEO) สถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต (Srisakdi Charmonman Institute of eLearning) อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย ได้เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำการสานเสวนาในครั้งนี้ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และ นายแพทย์ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา. กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ นายประเสริฐ ศรีมนารัตนกุลผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คุณธิดา ศรีไพวรรณ เลขาธิการสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายอนันต์ วรธิติพงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ นางกอบแก้ว อัครคุปต์ อดีตหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยนางสาวพรรณราย ขันธกิจ และ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัยหลักโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี
ผู้เข้าร่วมการสานเสวนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในเชิงการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางในการจัดบริการโทรคมนาคมที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการนำนโยบายให้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งประเทศมาใช้ เช่นกรณีของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่หากใครต้องการใช้ความเร็วสูงกว่าความเร็วที่จัดบริการให้จ่ายค่าบริการเพิ่ม เป็นต้น
2. ด้านเครือข่าย จะต้องนิยามคำจำกัดความใหม่ เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดมาตรการให้การกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการสังคม (Universal Service Obligation: USO) พิจารณาเครือข่ายพื้นฐานซึ่งหมายถึงโครงข่ายแบบมีสาย และบรอดแบนด์ 2 เมกกะบิต ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากการลงทุนมีมูลค่าสูง แต่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการวิดีโอคอล (Video Call) ซึ่งต้องใช้ความเร็วพื้นฐานมากกว่าที่กำหนดไว้ ควรมีการกำหนดมาตรฐานความเร็วใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พัฒนากลไกในการคุ้มครองและให้ความรู้แก่ผู้ใช้งานที่ต้องรู้เท่าทันในการใช้งานเทคโนโลยี ไม่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงต่างๆ
3. ควรให้กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่าย 3G ได้ในราคาที่ต่ำ ตามความจำเป็นในการใช้งาน โดยอาจจัดเป็นแพ็คเกตที่มีระดับความเร็ว (Speed) และแบนด์วิธทีสามารถใช้งาน สำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท เช่น คนตาบอดใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการนำทาง อ่านหนังสือ จะต้องมีแบนด์วิธทีสามารถใช้งานได้ไม่สะดุด คนหูหนวก ต้องการโทรศัพท์ ต้องซิม ต้องการอินเทอร์เน็ตไม่จำกัด คุณภาพการอัพโหลด/ดาว์นโหลดวิดีโอไม่ให้กระตุก เป็นต้น
4. ขยายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมพื้นที่บริการให้ได้มากที่สุด ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ จะต้องพิจารณาเสนอแนะว่าพื้นที่ หรือลักษณะอย่างไรบ้างที่ยังไม่ทั่วถึงครอบคลุม เพราะหากว่าพื้นที่บริการไม่ทั่วถึงการเรียนรู้ก็จะทำไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับความจริงประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีทุกอย่างมีข้อจำกัด ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกจุดจะต้องได้บริการที่เท่าเทียม จะมีบางพื้นที่ที่เป็นข้อจำกัดจริงๆ แม้ในต่างประเทศก็จะมีพื้นที่เหล่านี้อยู่ และเงินกองทุน กทปส. ก็เป็นเงินสนับสนุนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องให้บริการทั่ว จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดของกลุ่มเป้าหมายได้
5. ผลักดันการเปลี่ยนผ่านจาก IP Address จาก IPv4 ไปเป็น IPv6 ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อรองรับ Internet of Things อย่างมีประสิทธิภาพ
นี้อาจเป็นเพียงข้อเสนอแนะบางส่วนจากเวทีสานเสวนาฯ สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็น "การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี" สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้www.convergencebtfpfund.net