ดีแทค ควงผู้เชี่ยวชาญโทรคมนาคมทั้งจากสมาคมจีเอสเอ็ม ไอทียู ,หัวเหว่ย และอีริคสัน ร่วมหนุนประเทศไทย 4.0 ผ่านงานเสวนา “ผ่าทางตัน 5G คลื่นความถี่นำไทยสู่ 4.0 อย่างยั่งยืน”
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ชี้ว่าเป็น 5G คือความท้าทายของประเทศไทย ที่จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้เกิดประโยชน์กับคุณภาพชีวิตมากที่สุดผ่านเทคโนโลยี IoT
“วิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ได้มุ่งส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด ซึ่งดีแทคก็ขอร่วมสรรหาแผนงานที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำสังคมดิจิทัลมาสู่ประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2563″
ที่ผ่านมา ดีแทค ได้มีการทำ Smart Farmer ทดลองนำโซลูชั่น IoT มาใช้กับเกษตรกรไทย ซึ่งปัจจุบันมีโครงการนำร่องอยู่ 2 โครงการคือ ฟาร์มแตะขอบฟ้า ปลูกมะเขือเทศ เชอร์รี่ และโคโค่ เมล่อน ปลูกเมล่อน ที่ จ.สุพรรณบุรี
“อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะเป็นจริงได้ต่อเมื่อทุกสิ่งในโลกดิจิทัลถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ซึ่งจะต้องมียุทธศาสตร์การจัดสรรคลื่นความถีที่ชัดเจนในระยะยาว โดยเชื่อว่าอนาคต 5G ในไทยจะสดใสเนื่องจากมีปริมาณความต้องการใช้งานจำนวนมากรออยู่”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นว่า 5G มีคุณสมบัติสำคัญคือการเป็น Machine Type Communications (MTC) ซึ่งตามมาตรฐานที่มีการร่างมาระบุว่า 5G ะจต้องรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 1 ล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร และอีกคุณสมบัติคือ Critical Machine Communication ที่ทำได้ดีกว่า 3G/4G
“การที่เรารู้อนาคตของ 5G จะทำให้เราสามารถเตรียมการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเราก็ต้องเตรียมทั้งตัว ทรัพยากร ซึ่งก็คือคลื่นความถี่ ตามด้วยแผนที่จะรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากนั้นก็เป็นเรื่องของกฏกติกาซึ่งจะมีโจทย์มากมายที่เราไม่เคยเจอ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค”
ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ทางออกของไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล” โดยชี้เป็นโอกาสที่ดีของประเทศที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าจากความร่วมมือของทุกหน่วยงาน
” รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล, สร้างสังคมที่เท่าเทียมด้วยเทคโนโลยี, ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, พัฒนากำลังคนให้พร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น”
ทั้งนี้การที่จะมี 5G เข้ามา ผู้ประกอบการและประชาชนจะต้องถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีดังกล่าวได้มากแค่ไหน ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
Cr.
https://www.mxphone.net/290317-dtac-sees-5g-enhancing-governments-readiness-towards-thailand-4-0/
ดีแทคร่วมตอกย้ำ 5G หัวใจสำคัญของไทยแลนด์ 4.0
ดีแทค ควงผู้เชี่ยวชาญโทรคมนาคมทั้งจากสมาคมจีเอสเอ็ม ไอทียู ,หัวเหว่ย และอีริคสัน ร่วมหนุนประเทศไทย 4.0 ผ่านงานเสวนา “ผ่าทางตัน 5G คลื่นความถี่นำไทยสู่ 4.0 อย่างยั่งยืน”
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ชี้ว่าเป็น 5G คือความท้าทายของประเทศไทย ที่จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้เกิดประโยชน์กับคุณภาพชีวิตมากที่สุดผ่านเทคโนโลยี IoT
“วิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ได้มุ่งส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด ซึ่งดีแทคก็ขอร่วมสรรหาแผนงานที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำสังคมดิจิทัลมาสู่ประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2563″
ที่ผ่านมา ดีแทค ได้มีการทำ Smart Farmer ทดลองนำโซลูชั่น IoT มาใช้กับเกษตรกรไทย ซึ่งปัจจุบันมีโครงการนำร่องอยู่ 2 โครงการคือ ฟาร์มแตะขอบฟ้า ปลูกมะเขือเทศ เชอร์รี่ และโคโค่ เมล่อน ปลูกเมล่อน ที่ จ.สุพรรณบุรี
“อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะเป็นจริงได้ต่อเมื่อทุกสิ่งในโลกดิจิทัลถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ซึ่งจะต้องมียุทธศาสตร์การจัดสรรคลื่นความถีที่ชัดเจนในระยะยาว โดยเชื่อว่าอนาคต 5G ในไทยจะสดใสเนื่องจากมีปริมาณความต้องการใช้งานจำนวนมากรออยู่”
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นว่า 5G มีคุณสมบัติสำคัญคือการเป็น Machine Type Communications (MTC) ซึ่งตามมาตรฐานที่มีการร่างมาระบุว่า 5G ะจต้องรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 1 ล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร และอีกคุณสมบัติคือ Critical Machine Communication ที่ทำได้ดีกว่า 3G/4G
“การที่เรารู้อนาคตของ 5G จะทำให้เราสามารถเตรียมการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเราก็ต้องเตรียมทั้งตัว ทรัพยากร ซึ่งก็คือคลื่นความถี่ ตามด้วยแผนที่จะรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากนั้นก็เป็นเรื่องของกฏกติกาซึ่งจะมีโจทย์มากมายที่เราไม่เคยเจอ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค”
ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ทางออกของไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล” โดยชี้เป็นโอกาสที่ดีของประเทศที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าจากความร่วมมือของทุกหน่วยงาน
” รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล, สร้างสังคมที่เท่าเทียมด้วยเทคโนโลยี, ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล, พัฒนากำลังคนให้พร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นต้น”
ทั้งนี้การที่จะมี 5G เข้ามา ผู้ประกอบการและประชาชนจะต้องถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีดังกล่าวได้มากแค่ไหน ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
Cr. https://www.mxphone.net/290317-dtac-sees-5g-enhancing-governments-readiness-towards-thailand-4-0/