เวทีการประชุมวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556 เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา” โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ ซึ่งที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวง ไอซีที) ตั้ง “ศูนย์รับบริจาคคอมพิวเตอร์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยงานภาครัฐที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแล้วเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปมอบให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ที่ขาดแคลน ในอันที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลกลุ่มดังกล่าวให้สูงขึ้น
เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12.30 -16.30 น. ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ได้จัดการประชุมทางวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556 เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา” ICT for All Symposium 2013 on “180 Years (1833-2013) of Thai-U.S. Relations; ICT: Lessons Learned from the U.S.” ณ ห้องประชุม 401 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานผู้บริหาร (CEO) สถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต (Srisakdi Charmonman Institute of eLearning) อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย และ ดร.ฐกฤต ปานขลิบ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และอุปนายกสมาคมคอมพิวเตอร์ เอซีเอ็ม แห่งประเทศไทย ได้ให้เกียรติปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ประสบการณ์ ICT ในสหรัฐอเมริกา จากอดีตสู่ปัจจุบัน และก้าวต่อไปในอนาคต" ซึ่งพบว่า สหรัฐอเมริกาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำไอซีทีของโลกว่ามีตลาดไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และว่าเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากไอซีทีมากมาย สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยจากรัฐ และอุตสาหกรรมมากมาย จึงทำให้เป็นประเทศผู้นำด้านไอซีทีสหรัฐฯ มีบริษัทไอซีทีตั้งใหม่เรื่อยๆ และมีเอกชนเข้าร่วมลงทุนมากมาย จึงทำให้พัฒนาได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ สหรัฐฯ มีหลักสูตรการศึกษาทางด้านไอซีทีครบถ้วนมากมายกว่าประเทศอื่นๆ
นายทศพนธ์ นรทัศน์ ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ได้กล่าวว่า จากดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index: IDI) ซึ่งเผยแพร่โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (United Nations International Telecommunication Union: ITU) ซึ่งดัชนีดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการชี้วัดความเป็นสังคมสารสนเทศ (Information Society) ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับรัฐบาล ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนา นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ในการวัดและเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2554 ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก คะแนน 7.48 (จาก 10) ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92 คะแนน 3.41 และจากสถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรโลก (Internet World Stats) พบว่า สหรัฐอเมริกามีประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 245,203,319 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 78.1ของประชากร (313,847,465 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555) ในขณะที่ประเทศไทย มีประชาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 20,100,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 30.0 ของประชากร (67,091,089 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555)
จากตัวเลขทางสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรไทยยังสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ไม่มากนัก แม้กระทรวงไอซีที จะได้ดำเนินการโครงการไอซีทีชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน การจัดตั้งศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีการขยายขอบเขตการดำเนินงานออกไปทุกปี แต่จากการอภิปรายของผู้เข้าร่วมการประชุม และข้อเท็จจริง พบว่า ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสที่มีใช้บริการ มักจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนนั้นๆ ในขณะที่ผู้ที่เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ก็ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งาน ทำให้ขาดการนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์จริง
ที่ประชุมจึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรเสนอให้กระทรวงไอซีที ตั้ง “ศูนย์รับบริจาคคอมพิวเตอร์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยงานภาครัฐที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แบบพกพา แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่ใช้งานแล้ว เพื่อนำไปมอบให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ที่ขาดแคลน โดยอาจจะต้องมีการออกกฎหมายอนุญาตให้นำครุภัณฑ์เหล่านี้ไปมอบให้กับบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลกลุ่มดังกล่าวให้สูงขึ้น โดยการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์จริง และต่อยอดในการประกอบอาชีพต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงไอซีที ควรมีการติดตามและสนับสนุนให้ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ให้มีการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ โดยมีการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การดูแลสุขภาพ การประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ควบคู่กันไปด้วย เฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558
ทศพนธ์ นรทัศน์
thossaphol@ictforall.org
ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club)
www.ictforall.org
Facebook.com/ICTforAll.org
หนุน กระทรวงไอซีที ตั้ง “ศูนย์รับบริจาคคอมพิวเตอร์” เพื่อผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12.30 -16.30 น. ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ได้จัดการประชุมทางวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556 เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา” ICT for All Symposium 2013 on “180 Years (1833-2013) of Thai-U.S. Relations; ICT: Lessons Learned from the U.S.” ณ ห้องประชุม 401 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานผู้บริหาร (CEO) สถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต (Srisakdi Charmonman Institute of eLearning) อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย และ ดร.ฐกฤต ปานขลิบ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และอุปนายกสมาคมคอมพิวเตอร์ เอซีเอ็ม แห่งประเทศไทย ได้ให้เกียรติปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ประสบการณ์ ICT ในสหรัฐอเมริกา จากอดีตสู่ปัจจุบัน และก้าวต่อไปในอนาคต" ซึ่งพบว่า สหรัฐอเมริกาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำไอซีทีของโลกว่ามีตลาดไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และว่าเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากไอซีทีมากมาย สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยจากรัฐ และอุตสาหกรรมมากมาย จึงทำให้เป็นประเทศผู้นำด้านไอซีทีสหรัฐฯ มีบริษัทไอซีทีตั้งใหม่เรื่อยๆ และมีเอกชนเข้าร่วมลงทุนมากมาย จึงทำให้พัฒนาได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ สหรัฐฯ มีหลักสูตรการศึกษาทางด้านไอซีทีครบถ้วนมากมายกว่าประเทศอื่นๆ
นายทศพนธ์ นรทัศน์ ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ได้กล่าวว่า จากดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index: IDI) ซึ่งเผยแพร่โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (United Nations International Telecommunication Union: ITU) ซึ่งดัชนีดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการชี้วัดความเป็นสังคมสารสนเทศ (Information Society) ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับรัฐบาล ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนา นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ในการวัดและเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2554 ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก คะแนน 7.48 (จาก 10) ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92 คะแนน 3.41 และจากสถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรโลก (Internet World Stats) พบว่า สหรัฐอเมริกามีประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 245,203,319 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 78.1ของประชากร (313,847,465 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555) ในขณะที่ประเทศไทย มีประชาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 20,100,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 30.0 ของประชากร (67,091,089 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555)
จากตัวเลขทางสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประชากรไทยยังสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ไม่มากนัก แม้กระทรวงไอซีที จะได้ดำเนินการโครงการไอซีทีชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน การจัดตั้งศูนย์ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีการขยายขอบเขตการดำเนินงานออกไปทุกปี แต่จากการอภิปรายของผู้เข้าร่วมการประชุม และข้อเท็จจริง พบว่า ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสที่มีใช้บริการ มักจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนนั้นๆ ในขณะที่ผู้ที่เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ก็ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้งาน ทำให้ขาดการนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์จริง
ที่ประชุมจึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรเสนอให้กระทรวงไอซีที ตั้ง “ศูนย์รับบริจาคคอมพิวเตอร์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยงานภาครัฐที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แบบพกพา แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่ใช้งานแล้ว เพื่อนำไปมอบให้กับผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ที่ขาดแคลน โดยอาจจะต้องมีการออกกฎหมายอนุญาตให้นำครุภัณฑ์เหล่านี้ไปมอบให้กับบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลกลุ่มดังกล่าวให้สูงขึ้น โดยการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์จริง และต่อยอดในการประกอบอาชีพต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงไอซีที ควรมีการติดตามและสนับสนุนให้ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ให้มีการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ โดยมีการพัฒนาเนื้อหา (Contents) ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การดูแลสุขภาพ การประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ควบคู่กันไปด้วย เฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558
ทศพนธ์ นรทัศน์
thossaphol@ictforall.org
ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club)
www.ictforall.org
Facebook.com/ICTforAll.org