ประชาสัมพันธ์งานสานเสวนา "สร้างดาวเทียมโดยคนไทย ไม่ไกลเกินฝัน"

ทำไมประเทศไทยจึงต้องมีดาวเทียม
และเพราะเหตุใดเราจึงต้องสร้างดาวเทียมเอง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดงานสานเสวนา “สร้างดาวเทียมโดยคนไทย ไม่ไกลเกินฝัน” วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2558 เวลา 08:00-12:10 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมี กลุ่มวิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน
โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานดังนี้
•    เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศในประเทศไทย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศ
•    เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนที่สนใจการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมด้านบุคคลากร ในอุตสาหกรรมดาวเทียมและอวกาศในระยะยาว
•    เพื่อรวบรวมข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในด้านการวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ รวมทั้งการจัดหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศในประเทศไทย
•    เพื่อสร้างเครือข่ายที่สามารถรวบรวมเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวกับการสร้างดาวเทียมจากหน่วยงานต่างๆในประเทศไว้ด้วยกัน
•    เพื่อกำหนดแนวทางการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศของประเทศอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้อย่างรอบด้าน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตามเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ ไปสู่ผู้ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมขั้นสูง

งานสานเสวนา แบ่งงานออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย
1. บรรยายพิเศษเรื่อง “Micro/Nano-Satellites for a New Paradigm of Space Development and Utilizations” โดย Prof. Shinichi Nakasuka จาก Graduate school of Engineering, The University of Tokyo
บรรยายเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างดาวเทียมขนาดเล็กในระดับ Microsatellite หรือดาวเทียม ที่มีขนาด 20-100kg ภายในประเทศเพื่อภารกิจสารวจโลก โดยเชิญ Professor Shinichi Nakasuka จาก The University of Tokyo ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาดาวเทียมขนาด Micro/Nano-Satellite ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้คำแนะนำและร่วมเสวนากับหน่วยงาน/องค์กรของรัฐและผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศของประเทศอย่างยั่งยืน
2. ทัศนะมุมมองความก้าวพัฒนาดาวเทียมของไทย แสดงวิสัยทัศน์มุมการการทำงานและการพัฒนาด้านดาวเทียมของไทย ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย
•    รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว
คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ผู้ประสานงาน สำนักงานประสานงาน ชุดโครงการอุตสาหกรรม การบิน-อวกาศและความมั่นคง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
•    ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์    
อธิการ สถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
•    รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา    
หัวหน้าโครงการ KNACKSAT โครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3. สานเสวนา “เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรวงโคจรต่ำ : ดาวเทียมสร้างโดยคนไทย ไม่ไกลตัวอย่างที่คิด” เสวนาจากตัวแทนหน่วยงาน ที่เป็นตัวแทนผู้พัฒนา กำหนดนโยบายและผู้ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ รวบรวมข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในด้านการวิจัยและพัฒนา กำหนดแนวทางการวิจัยและพัฒนา สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้อย่างรอบด้าน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามเป้าหมาย การยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่ผู้ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมขั้นสูง อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศของประเทศอย่างยั่งยืน

การเช้าร่วมงาน    
ผู้สนใจร่วมงานเสวนาและมีส่วนร่วมในการประชุมรับฟังความคิดเห็น สามารถทำการดาวน์โหลดรายละเอียดของงาน ดังนี้
1. รายละเอียด งานสานเสวนา “สร้างดาวเทียมโดยคนไทย ไม่ไกลเกินฝัน”
ที่นี่ >>> File.pdf งานสานเสวนา “สร้างดาวเทียมโดยคนไทย ไม่ไกลเกินฝัน”
https://www.dropbox.com/s/ep70mnp97i3wjj8/Main%20PRSS%20REV02_150730.pdf?dl=0

2. ใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนา เพื่อลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง
ที่นี่ >>> File.docx ใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนา
https://www.dropbox.com/s/pxczcgycpe8ky7n/Regis%20FORM%20REV02_150730.docx?dl=0

ที่นี่ >>> File.pdf ใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนา
https://www.dropbox.com/s/z1c5beeqqpd2bho/Regis%20FORM%20REV02_150730.pdf?dl=0

การลงทะเบียน
ผ่านช่องทางดังนี้
1. ลงทะเบียนผ่านทาง E-mail
ส่งใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนาได้ที่ อีเมล์: casme.register@gmail.com
2. ลงทะเบียนผ่านทางโทรสาร
ส่งใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนาได้ที่ โทรสารหมายเลข 02 585 6149
3. ลงทะเบียนโดยตรงที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ลงทะเบียนส่งใบตอบรับเข้าร่วมงานสานเสวนาโดยตรงที่ คุณพรพิมล เรืองปราชญ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ
กรุงเทพมหานคร 10800

ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
เนื่องจากมีจำนวนที่นั่งจำกัดและมีค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ผู้จัดงานฯไม่คิดค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วมงานจากผู้สนใจเข้าร่วมงาน ขอความร่วมมือในการสำรองที่นั่งสำหรับผู้ที่สนใจ กรณีท่านลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วไม่สามารถเข้าร่วมได้ กรุณาแจ้งผู้จัดงานฯ ผ่านทางช่องทางลงทะเบียนที่ท่านสะดวก

ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพรพิมล เรืองปราชญ์ โทรศัพท์ 02 555 2000 ต่อ 8124
อีเมล์: pornpimon.r@eng.kmutnb.ac.th
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่