ถือว่าเป็นคำถามยอดฮิต ที่ถูกถามกันเข้ามาบ่อยมากเลยทีเดียว จึงขอถือโอกาสนี้อธิบายถึงสาเหตุที่พอเป็นไปได้ ที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแม้ว่าการทำเด็กหลอดแก้วนั้นจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้วก็ตาม แต่อัตราความสำเร็จก็อยู่ที่ประมาณ 35-50 %เท่านั้น ไม่ใช่ 100 % อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งโอกาสสำเร็จจะมาก-น้อยขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้างนั้น…เรามาติดตามกันเลยนะครับ
1.ปัจจัยด้านตัวอ่อน
จำนวนตัวอ่อน : มีจำนวนตัวอ่อนมาก >> โอกาสสำเร็จก็มากตามไปด้วย
คุณภาพตัวอ่อน : คุณภาพตัวอ่อนที่ดี เกรดดี โครโมโซมปกติ >> โอกาสสำเร็จก็มากตามไปด้วย
ปัจจัยทั้ง 2 ส่วนนี้สำคัญมาก แต่การจะได้มาซึ่งตัวอ่อนจำนวนมาก และคุณภาพดี นั้นต้องขึ้นกับปัจจัยดังนี้
1. อายุฝ่ายหญิง : อายุมากขึ้น รังไข่เสื่อมการทำงานลง >> ผลิตไข่ได้ปริมาณน้อยลง >> ได้จำนวนตัวอ่อนน้อย
อายุมากขึ้น รังไข่ตอบสนองต่อยาได้ลดลง >> ต้องใช้ปริมาณยาที่กระตุ้นรังไข่มากขึ้น
อายุมากขึ้น รังไข่เสื่อมคุณภาพ >> ผลิตไข่ที่ด้อยคุณภาพ >> ได้ตัวอ่อนคุณภาพไม่ดี
2. ปริมาณเนื้อรังไข่ : ปริมาณเนื้อรังไข่เหลือน้อย เช่น เคยผ่าตัดรังไข่ มีซีสต์ที่รังไข่ หรือเหลือรังไข่ข้างเดียว
>> ผลิตไข่ได้ปริมาณน้อยลง จึงอาจจำเป็นต้องใช้ปริมาณยาที่กระตุ้นรังไข่มากขึ้น
3.คุณภาพน้ำเชื้อ : ถ้าน้ำเชื้อด้อยคุณภาพ เช่น มีปริมาณตัวอสุจิน้อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว รูปร่างผิดปกติ
>> มีโอกาสที่อสุจิจะผสมกับไข่ลดลง >> ได้จำนวนตัวอ่อนน้อย และ คุณภาพไม่ดี
4. ความสมบูรณ์ของตัวอ่อนด้านโครโมโซม : บ่อยครั้งที่ย้ายตัวอ่อนที่เจริญเติบโตดี และเกรดดี แต่กลับไม่ท้อง สาเหตุหนึ่งนั่นเพราะ ตัวอ่อนอาจมีความผิดปกติทางด้านโครโมโซมแอบแฝงอยู่ถึง 60% ในกรณีที่ผู้หญิงมีอายุ ตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป และอาจพบความผิดปกติได้สูงถึง 80 % ในกรณีที่อายุมากกว่า 42 ปี โดยหากมีประวัติดังต่อไป นี้จะมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะมีความผิดปกติได้สูงขึ้น ได้แก่
ฝ่ายหญิงอายุมากว่า 35 ปี
คู่สมรสที่ทราบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมอยู่ก่อนแล้ว
มีประวัติคลอดทารกที่ผิดปกติมาก่อน
มีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งเป็นต้นไป
มีประวัติการทำเด็กหลอดแก้วหลายครั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์
ปัญหาการมีบุตรยากเกิดจากปัญหาฝ่ายชายมีคุณภาพน้ำเชื้ออ่อนมาก
2.ปัจจัยด้านมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูก
เพราะโพรงมดลูกเปรียบเสมือนบ้านของตัวอ่อน ถ้ามีปัจจัยที่ทำให้โพรงมดลูกมีปัญหา อาจทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือถ้าฝังตัวได้ก็อาจไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้แท้งหรือหยุดการเจริญเติบโตได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น
– เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ที่กดเบียดโพรงมดลูก ให้ผิดรูป
– เนื้องอก- ติ่งเนื้อ-พังผืดภายในโพรงมดลูก
– เยื่อบุโพรงมดลูกบางน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร
3.ปัจจัยด้านสุขภาพ-ร่างกายของฝ่ายหญิง
มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ยกตัวอย่างเช่น
– โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ โรคฮอร์โมนโปรแลคตินสูง
– ระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในรอบกระตุ้นรังไข่ จะสูงมาก >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ไม่ดี
– ภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่ รุนแรงเกินไป >> ท้องอืด แน่นท้อง หายใจลำบาก >> สุขภาพไม่พร้อมที่ จะย้ายตัวอ่อน
4. ปัจจัยด้านการใช้ยาฮอร์โมนภายหลังการย้ายตัวอ่อน
>> หากใช้ยาไม่สม่ำเสมอ หรือใช้ยาไม่ถูกวิธี อาจมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนไม่คงที่และไม่เพียงพอต่อการช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวได้อย่างสมบูรณ์
5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมหลังย้ายตัวอ่อน
>>โดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซีสต์ (วันที่ 5) หรือ 5-7 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังจะฟักออกจากเปลือก และเริ่มแปะติดกับผนังเยื่อบุโพรงมดลูก ก่อนจะค่อยๆฝังตัวลงไป >> หากไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เดินเยอะ เดินทางไกล ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ยกของหนัก ท้องผูกเบ่งถ่าย ท้องเสียปวดท้อง กลั้นปัสสาวะนานๆ มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ >> อาจส่งผลทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ หรือฝังตัวได้ไม่ดี
6. ปัจจัยด้านอื่นๆ : เช่น
– การย้ายตัวอ่อนยาก ใช้เวลานาน หรือ หลอดย้ายตัวอ่อนมีความแข็งมากเกินไป >> อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ไม่ดี
– ย้ายตัวอ่อนในตำแหน่งไม่เหมาะสม >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
คำถามคาใจ…เพราะเหตุใด ทำเด็กหลอดแก้ว แล้วยังไม่ท้อง ???
ถือว่าเป็นคำถามยอดฮิต ที่ถูกถามกันเข้ามาบ่อยมากเลยทีเดียว จึงขอถือโอกาสนี้อธิบายถึงสาเหตุที่พอเป็นไปได้ ที่ทำให้การทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแม้ว่าการทำเด็กหลอดแก้วนั้นจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้วก็ตาม แต่อัตราความสำเร็จก็อยู่ที่ประมาณ 35-50 %เท่านั้น ไม่ใช่ 100 % อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งโอกาสสำเร็จจะมาก-น้อยขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้างนั้น…เรามาติดตามกันเลยนะครับ
1.ปัจจัยด้านตัวอ่อน
จำนวนตัวอ่อน : มีจำนวนตัวอ่อนมาก >> โอกาสสำเร็จก็มากตามไปด้วย
คุณภาพตัวอ่อน : คุณภาพตัวอ่อนที่ดี เกรดดี โครโมโซมปกติ >> โอกาสสำเร็จก็มากตามไปด้วย
ปัจจัยทั้ง 2 ส่วนนี้สำคัญมาก แต่การจะได้มาซึ่งตัวอ่อนจำนวนมาก และคุณภาพดี นั้นต้องขึ้นกับปัจจัยดังนี้
1. อายุฝ่ายหญิง : อายุมากขึ้น รังไข่เสื่อมการทำงานลง >> ผลิตไข่ได้ปริมาณน้อยลง >> ได้จำนวนตัวอ่อนน้อย
อายุมากขึ้น รังไข่ตอบสนองต่อยาได้ลดลง >> ต้องใช้ปริมาณยาที่กระตุ้นรังไข่มากขึ้น
อายุมากขึ้น รังไข่เสื่อมคุณภาพ >> ผลิตไข่ที่ด้อยคุณภาพ >> ได้ตัวอ่อนคุณภาพไม่ดี
2. ปริมาณเนื้อรังไข่ : ปริมาณเนื้อรังไข่เหลือน้อย เช่น เคยผ่าตัดรังไข่ มีซีสต์ที่รังไข่ หรือเหลือรังไข่ข้างเดียว
>> ผลิตไข่ได้ปริมาณน้อยลง จึงอาจจำเป็นต้องใช้ปริมาณยาที่กระตุ้นรังไข่มากขึ้น
3.คุณภาพน้ำเชื้อ : ถ้าน้ำเชื้อด้อยคุณภาพ เช่น มีปริมาณตัวอสุจิน้อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว รูปร่างผิดปกติ
>> มีโอกาสที่อสุจิจะผสมกับไข่ลดลง >> ได้จำนวนตัวอ่อนน้อย และ คุณภาพไม่ดี
4. ความสมบูรณ์ของตัวอ่อนด้านโครโมโซม : บ่อยครั้งที่ย้ายตัวอ่อนที่เจริญเติบโตดี และเกรดดี แต่กลับไม่ท้อง สาเหตุหนึ่งนั่นเพราะ ตัวอ่อนอาจมีความผิดปกติทางด้านโครโมโซมแอบแฝงอยู่ถึง 60% ในกรณีที่ผู้หญิงมีอายุ ตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป และอาจพบความผิดปกติได้สูงถึง 80 % ในกรณีที่อายุมากกว่า 42 ปี โดยหากมีประวัติดังต่อไป นี้จะมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะมีความผิดปกติได้สูงขึ้น ได้แก่
ฝ่ายหญิงอายุมากว่า 35 ปี
คู่สมรสที่ทราบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมอยู่ก่อนแล้ว
มีประวัติคลอดทารกที่ผิดปกติมาก่อน
มีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งเป็นต้นไป
มีประวัติการทำเด็กหลอดแก้วหลายครั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์
ปัญหาการมีบุตรยากเกิดจากปัญหาฝ่ายชายมีคุณภาพน้ำเชื้ออ่อนมาก
2.ปัจจัยด้านมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูก
เพราะโพรงมดลูกเปรียบเสมือนบ้านของตัวอ่อน ถ้ามีปัจจัยที่ทำให้โพรงมดลูกมีปัญหา อาจทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือถ้าฝังตัวได้ก็อาจไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้แท้งหรือหยุดการเจริญเติบโตได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น
– เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ที่กดเบียดโพรงมดลูก ให้ผิดรูป
– เนื้องอก- ติ่งเนื้อ-พังผืดภายในโพรงมดลูก
– เยื่อบุโพรงมดลูกบางน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร
3.ปัจจัยด้านสุขภาพ-ร่างกายของฝ่ายหญิง
มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ยกตัวอย่างเช่น
– โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ โรคฮอร์โมนโปรแลคตินสูง
– ระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในรอบกระตุ้นรังไข่ จะสูงมาก >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ไม่ดี
– ภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่ รุนแรงเกินไป >> ท้องอืด แน่นท้อง หายใจลำบาก >> สุขภาพไม่พร้อมที่ จะย้ายตัวอ่อน
4. ปัจจัยด้านการใช้ยาฮอร์โมนภายหลังการย้ายตัวอ่อน
>> หากใช้ยาไม่สม่ำเสมอ หรือใช้ยาไม่ถูกวิธี อาจมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนไม่คงที่และไม่เพียงพอต่อการช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวได้อย่างสมบูรณ์
5. ปัจจัยด้านพฤติกรรมหลังย้ายตัวอ่อน
>>โดยเฉพาะในช่วง 3-4 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซีสต์ (วันที่ 5) หรือ 5-7 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังจะฟักออกจากเปลือก และเริ่มแปะติดกับผนังเยื่อบุโพรงมดลูก ก่อนจะค่อยๆฝังตัวลงไป >> หากไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เดินเยอะ เดินทางไกล ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ยกของหนัก ท้องผูกเบ่งถ่าย ท้องเสียปวดท้อง กลั้นปัสสาวะนานๆ มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ >> อาจส่งผลทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ หรือฝังตัวได้ไม่ดี
6. ปัจจัยด้านอื่นๆ : เช่น
– การย้ายตัวอ่อนยาก ใช้เวลานาน หรือ หลอดย้ายตัวอ่อนมีความแข็งมากเกินไป >> อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ไม่ดี
– ย้ายตัวอ่อนในตำแหน่งไม่เหมาะสม >> อาจส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
http://drchawtoo.com/