กระบวนการสร้างไข่ และที่มาของประจำเดือน
http://drchawtoo.com/2014/07/30/menstruation_01/
ถามกันเข้ามามากมายเหลือเกินว่า “ทำไมผู้หญิงถึงต้องมีประจำเดือน ประจำเดือนมันคืออะไร ทำไมต้องปวดท้อง ทำไมบางคนต้องเหวี่ยง” วันนี้เลยขอถือโอกาสอธิบายจริงๆจังๆกันหน่อยละกันนะครับ เผื่อจะเข้าใจกันมากขึ้น อาจฟังดูละเอียดไปบ้าง ถ้าหากมีข้อสงสัยก็สอบถามกันเข้ามาทีหลังแล้วกันนะครับ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รังไข่ของผู้หญิงนั้นมีอยู่ 2 ข้าง ภายในรังไข่แต่ละข้างจะมีเซลล์ไข่สะสมอยู่ภายในเป็นแสนเป็นล้านใบมาตั้งแต่เกิด เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น รังไข่ที่เคยหลับใหลไม่ทำงาน ก็เริ่มตื่นขึ้นมาทำหน้าที่สำคัญ 2 อย่างนั่นก็คือ
1.สร้างเซลล์ไข่ เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธ์เพศหญิง
2.สร้างฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อให้ร่างกายมีการพัฒนาเป็นสาว
เคยรู้มาก่อนหรือไม่ว่า ผู้หญิงมีฟองไข่นับเป็นล้านๆใบ แต่ที่ตกไข่ออกมาจริงๆมีไม่ถึง 500 ฟองก่อนถึงวัยทอง แล้วไข่ที่เหลือหายไปไหนล่ะ???
เซลล์ไข่ที่สะสมอยู่นับเป็นล้านใบเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เซลล์ไข่จะค่อยๆทยอยกันโตและผลิตออกมาใช้เป็นรอบๆ โดยในแต่ละรอบจะมีฟองไข่ เรียกว่า Follicle ที่มีเซลล์ไข่อ่อนเจริญเติบโตอยู่ รอบเดือนละ 10-12 ใบ ( ยิ่งถ้าหากอายุน้อยก็มีจำนวน Follicle ในแต่ละรอบเดือนมากกว่าผู้หญิงที่อายุมาก และแทบไม่เหลือ Follicle เลยเมื่อเข้าสู่วัยทอง)โดยเซลล์ไข่ที่อยู่ใน Follicle จะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่ช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ และจะสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆตามขนาดของ Follicle ที่ค่อยๆโตขึ้นตามระยะเวลา จนพร้อมที่จะตกไข่ได้ ราวๆวันที่ 14 ของการเป็นประจำเดือน (ในกรณีที่รอบห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ 28-29 วัน)
แต่ถึงแม้ว่าในแต่ละรอบเดือนจะมี Follicle จำนวนมากทยอยกันโตขึ้นเพื่อเตรียมแข่งขันกันที่จะตกไข่ สุดท้ายแล้วก็จะมีเพียง Follicle เดียวเท่านั้นที่แข็งแรงและพร้อมที่สุดที่สามารถโตต่อจนได้ไข่ที่สมบูรณ์ตกออกมาได้ โดยที่ Follicle ใบอื่นๆในรอบนั้นๆจะฝ่อสลายหายไป เรียกได้ว่ามีการแข่งขันและคัดสรรกันจนได้ผู้ชนะแค่ใบเดียวนั่นคือคำตอบว่าไข่คุณผู้หญิงไม่ได้หายไปไหน แต่ทยอยกันเสื่อมสลายไปเพราะแพ้การแข่งขันในแต่ละรอบเดือนยังไงล่ะครับ
แล้วเซลล์ไข่โตขึ้นมาได้อย่างไร ใครรู้บ้าง???
การเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ภายใน Follicle นั้นเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนกระตุ้นฟองไข่ ที่ชื่อว่า Follicular Stimulating Hormone (FSH)ซึ่งถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง โดยจะเริ่มกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ตั้งแต่ช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ ทำให้ Follicle ค่อยๆโตขึ้นและเซลล์ไข่ที่อยู่ภายในก็จะสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดของของ Follicle นอกจากนี้ Follicle ที่ค่อยๆโตขึ้นเหล่านี้ยังมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ที่ชื่อว่า Estrogen ออกมา โดยที่ Estrogen นี้เองที่ส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ยิ่งถ้า Follicle มีขนาดใหญ่ หรือมี Follicle จำนวนมาก ระดับ Estrogen ในร่างกายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเซลล์ไข่โตเต็มที่พร้อมจะตกไข่แล้ว???
วิธีง่ายๆคือถ้าหากอัลตร้าซาวน์ดูรังไข่แล้วพบว่า Follicle มีขนาดตั้งแต่ 16-17 มิลลิเมตรเป็นต้นไป จะถือว่าเซลล์ไข่ที่อยู่ภายใน Follicle เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่พร้อมที่จะตกแล้ว ระดับฮอร์โมน Estrogen นะช่วงนี้จะสูงที่สุด ซึ่งจะมีผลไปกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) จากต่อมใต้สมองออกมา ซึ่งมีฮอร์โมน LH นี้เองที่มีหน้าที่ชักนำให้เซลล์ไข่ที่อยู่ภายใน Follicle ตกออกมาจาก Follicle หรืออาศัยการคาดคะเนวันตกไข่จากระยะห่างของรอบประจำเดือน ราวๆวันที่ 14 ของการเป็นประจำเดือน (ในกรณีที่รอบห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ 28-29 วัน) สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความ จดหมายถึงคุณกะรัต : คาดคะเนวันไข่ตก ฉบับหมอเช้าตรู่
http://drchawtoo.com/2014/03/22/karat/
หลังจากนั้น Follicle ที่เซลล์ไข่ตกออกไปแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เรียกว่า คอร์ปัส ลูเตียม (Corpus luteum) ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยฮอร์โมน Estrogen ในการรักษาสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อนต่อไป
ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกออกมาไม่ได้รับการผสม ประจำเดือนก็มักจะมาในอีกราวๆ 14-16 วัน เพราะอะไรหน่ะเหรอ???
ถ้าหากเซลล์ไข่ที่ตกออกมานั้นไม่ได้รับการผสม Corpus luteum ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone ที่ช่วยคงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้ยังคงหนาตัว ก็จะเสื่อมการทำงานลงภายในระยะเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์ ทำให้ระดับฮอร์โมน Progesterone ค่อยๆลดต่ำลง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวขึ้นและมีเส้นเลือดมาเลี้ยงก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือนในที่สุด ในระยะเวลาราวๆ 14-16 วันภายหลังจากที่มีการตกไข่เกิดขึ้นนั่นเองยังไงล่ะครับ หลังจากเลือดประจำเดือนหยุด เยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ
แต่ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกออกมานั้นได้รับการผสมกลายเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกได้สำเร็จ จะมีฮอร์โมนที่สร้างขึ้จากรกตามมาชื่อ Human chorionic gonadotropin (hCG) โดยที่สร้างฮอร์โมน hCG จะประคับประคองให้ Corpus luteum ยังอยู่และสร้างฮอร์โมน Progesterone ต่อไปได้ก่อน จนกว่าที่รกจะทำงานได้เต็มที่ ซึ่งราวๆ อายุครรภ์ได้ 7-9 สัปดาห์ Corpus luteum ก็จะฝ่อหายไปดังนั้นช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นการเจริญเติบโตของ Follicle ในรอบเดือนใหม่ แต่เป็นการสิ้นสุดกระบวนการขั้นตอนการเจริญเติบโตของ Follicle ของรอบเดือนที่แล้วนะครับ
บทความหน้าจะมาตอบคำถามที่ว่า "ทำไมรอบประจำเดือนแต่ละรอบสั้นยาวไม่เท่ากัน ปริมาณมาก-น้อยไม่เหมือนกัน แถมยังสีน้ำตาลบ้าง-แดงบ้าง" ติดตามอ่านกันนะครับ
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
กระบวนการสร้างไข่ และที่มาของประจำเดือน
http://drchawtoo.com/2014/07/30/menstruation_01/
ถามกันเข้ามามากมายเหลือเกินว่า “ทำไมผู้หญิงถึงต้องมีประจำเดือน ประจำเดือนมันคืออะไร ทำไมต้องปวดท้อง ทำไมบางคนต้องเหวี่ยง” วันนี้เลยขอถือโอกาสอธิบายจริงๆจังๆกันหน่อยละกันนะครับ เผื่อจะเข้าใจกันมากขึ้น อาจฟังดูละเอียดไปบ้าง ถ้าหากมีข้อสงสัยก็สอบถามกันเข้ามาทีหลังแล้วกันนะครับ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รังไข่ของผู้หญิงนั้นมีอยู่ 2 ข้าง ภายในรังไข่แต่ละข้างจะมีเซลล์ไข่สะสมอยู่ภายในเป็นแสนเป็นล้านใบมาตั้งแต่เกิด เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น รังไข่ที่เคยหลับใหลไม่ทำงาน ก็เริ่มตื่นขึ้นมาทำหน้าที่สำคัญ 2 อย่างนั่นก็คือ
1.สร้างเซลล์ไข่ เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธ์เพศหญิง
2.สร้างฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อให้ร่างกายมีการพัฒนาเป็นสาว
เคยรู้มาก่อนหรือไม่ว่า ผู้หญิงมีฟองไข่นับเป็นล้านๆใบ แต่ที่ตกไข่ออกมาจริงๆมีไม่ถึง 500 ฟองก่อนถึงวัยทอง แล้วไข่ที่เหลือหายไปไหนล่ะ???
เซลล์ไข่ที่สะสมอยู่นับเป็นล้านใบเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เซลล์ไข่จะค่อยๆทยอยกันโตและผลิตออกมาใช้เป็นรอบๆ โดยในแต่ละรอบจะมีฟองไข่ เรียกว่า Follicle ที่มีเซลล์ไข่อ่อนเจริญเติบโตอยู่ รอบเดือนละ 10-12 ใบ ( ยิ่งถ้าหากอายุน้อยก็มีจำนวน Follicle ในแต่ละรอบเดือนมากกว่าผู้หญิงที่อายุมาก และแทบไม่เหลือ Follicle เลยเมื่อเข้าสู่วัยทอง)โดยเซลล์ไข่ที่อยู่ใน Follicle จะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่ช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ และจะสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆตามขนาดของ Follicle ที่ค่อยๆโตขึ้นตามระยะเวลา จนพร้อมที่จะตกไข่ได้ ราวๆวันที่ 14 ของการเป็นประจำเดือน (ในกรณีที่รอบห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ 28-29 วัน)
แต่ถึงแม้ว่าในแต่ละรอบเดือนจะมี Follicle จำนวนมากทยอยกันโตขึ้นเพื่อเตรียมแข่งขันกันที่จะตกไข่ สุดท้ายแล้วก็จะมีเพียง Follicle เดียวเท่านั้นที่แข็งแรงและพร้อมที่สุดที่สามารถโตต่อจนได้ไข่ที่สมบูรณ์ตกออกมาได้ โดยที่ Follicle ใบอื่นๆในรอบนั้นๆจะฝ่อสลายหายไป เรียกได้ว่ามีการแข่งขันและคัดสรรกันจนได้ผู้ชนะแค่ใบเดียวนั่นคือคำตอบว่าไข่คุณผู้หญิงไม่ได้หายไปไหน แต่ทยอยกันเสื่อมสลายไปเพราะแพ้การแข่งขันในแต่ละรอบเดือนยังไงล่ะครับ
แล้วเซลล์ไข่โตขึ้นมาได้อย่างไร ใครรู้บ้าง???
การเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ภายใน Follicle นั้นเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนกระตุ้นฟองไข่ ที่ชื่อว่า Follicular Stimulating Hormone (FSH)ซึ่งถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง โดยจะเริ่มกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ตั้งแต่ช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ ทำให้ Follicle ค่อยๆโตขึ้นและเซลล์ไข่ที่อยู่ภายในก็จะสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดของของ Follicle นอกจากนี้ Follicle ที่ค่อยๆโตขึ้นเหล่านี้ยังมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ที่ชื่อว่า Estrogen ออกมา โดยที่ Estrogen นี้เองที่ส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ยิ่งถ้า Follicle มีขนาดใหญ่ หรือมี Follicle จำนวนมาก ระดับ Estrogen ในร่างกายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเซลล์ไข่โตเต็มที่พร้อมจะตกไข่แล้ว???
วิธีง่ายๆคือถ้าหากอัลตร้าซาวน์ดูรังไข่แล้วพบว่า Follicle มีขนาดตั้งแต่ 16-17 มิลลิเมตรเป็นต้นไป จะถือว่าเซลล์ไข่ที่อยู่ภายใน Follicle เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่พร้อมที่จะตกแล้ว ระดับฮอร์โมน Estrogen นะช่วงนี้จะสูงที่สุด ซึ่งจะมีผลไปกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) จากต่อมใต้สมองออกมา ซึ่งมีฮอร์โมน LH นี้เองที่มีหน้าที่ชักนำให้เซลล์ไข่ที่อยู่ภายใน Follicle ตกออกมาจาก Follicle หรืออาศัยการคาดคะเนวันตกไข่จากระยะห่างของรอบประจำเดือน ราวๆวันที่ 14 ของการเป็นประจำเดือน (ในกรณีที่รอบห่างของประจำเดือนแต่ละรอบ 28-29 วัน) สามารถอ่านเพิ่มเติมจากบทความ จดหมายถึงคุณกะรัต : คาดคะเนวันไข่ตก ฉบับหมอเช้าตรู่ http://drchawtoo.com/2014/03/22/karat/
หลังจากนั้น Follicle ที่เซลล์ไข่ตกออกไปแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เรียกว่า คอร์ปัส ลูเตียม (Corpus luteum) ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone เพื่อช่วยฮอร์โมน Estrogen ในการรักษาสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อนต่อไป
ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกออกมาไม่ได้รับการผสม ประจำเดือนก็มักจะมาในอีกราวๆ 14-16 วัน เพราะอะไรหน่ะเหรอ???
ถ้าหากเซลล์ไข่ที่ตกออกมานั้นไม่ได้รับการผสม Corpus luteum ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน Progesterone ที่ช่วยคงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้ยังคงหนาตัว ก็จะเสื่อมการทำงานลงภายในระยะเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์ ทำให้ระดับฮอร์โมน Progesterone ค่อยๆลดต่ำลง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวขึ้นและมีเส้นเลือดมาเลี้ยงก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือนในที่สุด ในระยะเวลาราวๆ 14-16 วันภายหลังจากที่มีการตกไข่เกิดขึ้นนั่นเองยังไงล่ะครับ หลังจากเลือดประจำเดือนหยุด เยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ
แต่ถ้าเซลล์ไข่ที่ตกออกมานั้นได้รับการผสมกลายเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกได้สำเร็จ จะมีฮอร์โมนที่สร้างขึ้จากรกตามมาชื่อ Human chorionic gonadotropin (hCG) โดยที่สร้างฮอร์โมน hCG จะประคับประคองให้ Corpus luteum ยังอยู่และสร้างฮอร์โมน Progesterone ต่อไปได้ก่อน จนกว่าที่รกจะทำงานได้เต็มที่ ซึ่งราวๆ อายุครรภ์ได้ 7-9 สัปดาห์ Corpus luteum ก็จะฝ่อหายไปดังนั้นช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือนอยู่ จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นการเจริญเติบโตของ Follicle ในรอบเดือนใหม่ แต่เป็นการสิ้นสุดกระบวนการขั้นตอนการเจริญเติบโตของ Follicle ของรอบเดือนที่แล้วนะครับ
บทความหน้าจะมาตอบคำถามที่ว่า "ทำไมรอบประจำเดือนแต่ละรอบสั้นยาวไม่เท่ากัน ปริมาณมาก-น้อยไม่เหมือนกัน แถมยังสีน้ำตาลบ้าง-แดงบ้าง" ติดตามอ่านกันนะครับ
นพ.ปัญญา ศักดิ์สง่าวงษ์
สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
http://drchawtoo.com/