2 ล้านๆบาท ใช้วิธีกู้พิเศษ ทำให้เกิดดอกเบี้ย 3 ล้านๆ
3 ล้านๆเป็นเงินลงทุน ใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นรายนจ่ายประจำปี
"ประยุทธ์" แจงแผนพัฒนายุทธศาสตร์ 3 ล้านล้าน ต่างกับ 2 ล้านล้าน เพราะไม่กู้ล่วงหน้า
ที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414492091
ที่คนออกมาต้าน สองล้านๆเพราะ
1. เพราะเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท
จะไม่ถูกใช้จ่ายผ่านระบบงบประมาณตามหลักปฏิบัติปกติ ให้เม็ดเงินก้อนนี้อยู่นอกระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยจัดสรรผ่านวิธีพิเศษ
ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“มาตรา 28 หากโครงการใด จะต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินหรืองบประมาณของหน่วยงานเจ้าของโครงการ หรือจะต้องมีการก่อหนี้โดยการกู้หรือการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการแล้ว ให้เสนอโครงการนั้นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่าย หรือวงเงินที่จะใช้ในการก่อหนี้ของโครงการนั้น ทั้งนี้ ให้ถือว่าการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเป็นการอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี"
รศ.คมสันกล่าวว่า คณะกรรมการ PPP ดูเหมือนว่าดี ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมด้วย 7 คน และมีฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำรวม 10 คน ซึ่งฝ่ายการเมืองกับข้าราชการรวมแล้ว มีจำนวนมากกว่า ครอบงำกรรมการชุดนี้ได้ ปัญหาคือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แม้จะห้ามถือหุ้นในบริษัทเอกชน หลังออกจากการเป็นคณะกรรมการ PPP แต่ไม่ได้ห้ามการเป็นผู้ถือหุ้นระหว่างยังเป็นคณะกรรมการ PPP อยู่ด้วย และไม่ได้ห้ามลูก เมีย หรือญาติของผู้ถือหุ้นเข้าเป็นกรรมการ PPP
นอกจากนี้ในมาตรา 14 วรรคท้ายของพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ฉบับใหม่ ระบุว่า “กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่มีการพิจารณาจะเข้าร่วมประชุม หรือออกเสียงลงคะแนนในเรื่องดังกล่าวมิได้” ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนกฎหมายที่ซ่อนเงื่อนปมเอาไว้ หมายความว่า คนที่มีส่วนได้เสียแม้จะออกเสียงลงคะแนนไม่ได้ แต่ก็สามารถเป็นคณะกรรมการ กฎหมายฉบับนี้เหมือนปูทางให้โครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านเดินทางได้สะดวก
อีกอย่าง มีการตัดบัญชีแนบท้ายโครงการออกจากร่าง พรบ ทำให้ไม่มีรายระเอียดโครงการ
และบอกว่าไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายรัฐสภา ทำได้เพียบแจ้งเพื่อทราบ
TDRI ได้ชี้แจงข้อกังวล และข้อเสนอแนะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. การเสนอเป็นเงินกู้นอกระบบงบประมาณ เป็นการให้อำนาจตัดสินใจใช้เงินแผ่นดินจำนวนมากกับฝ่ายบริหาร ผ่านการปรับเปลี่ยนรายละเอียด ในเอกสารประกอบการพิจารณา ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีโอกาสให้ความเห็นชอบตาม พ.ร.บ.และบัญชีแนบท้ายเพียงครั้งเดียว ในระยะเวลา 7 ปีเศษ ในขณะที่เม็ดเงินลงทุนเฉลี่ยต่อปี มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของงบลงทุนตามงบประมาณปกติ ที่รัฐสภามีสิทธิ์กลั่นกรองทุกปี
2. โครงการจำนวนมากยังไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน เศรษฐกิจ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยพบว่ามีโครงการจำนวนหนึ่ง ที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ หรือยังศึกษาไม่แล้วเสร็จ ซึ่งมีงบประมาณสูงกว่า 9 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และทางการเงินอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการลงทุนรถไฟรางคู่ ที่ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ และสร้างความสามารถในการแข่งขันระยาวของประเทศไทยดีกว่า ทั้งนี้ยังเห็นด้วยว่า หากโครงการดำเนินการไม่ได้หรือล่าช้า ความต่อเนื่องที่ตั้งใจให้เกิดจะไม่เกิดขึ้นจริง หรืออาจมีการเร่งรีบสรุปผลการศึกษาในทางให้เกิดโครงการทัน 7 ปี ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุน หรือจัดประเภทการลงทุนให้เป็นการให้บริการทางสังคม (Social service) อย่างไม่เหมาะสม เช่น กรณีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีฐานะปานกลางถึงสูงมากกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป
3. ความไม่ชัดเจนในด้านการบริหารโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูปหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการ การกำหนดว่าโครงการใดเป็นการให้บริการสังคม โครงการใดต้องเลี้ยงตัวเองได้ เป็นต้น
4. ผลต่อความเสี่ยงด้านการคลัง ที่ขึ้นกับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน (ในการสร้างรายได้ประชาชาติ) ซึ่งยังไม่แน่นอนและเสี่ยต่อการประเมินในด้านดีเกินควร ทั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจน เรื่องแผนการลงทุนทั้งหมดของรัฐบาล (โครงการเส้นเลือดหลัก เส้นเลือดฝอย ว่ามีวงเงินรวมเท่าใด ลงทุนเมื่อไร ในงบประมาณเท่าใด หรือจะมีวงเงินนอกงบประมาณอีกหรือไม่) และรัฐบาลเองก็ไม่ได้นำเสนอแผนการสร้างรายได้อื่น นอกเหนือจากที่ระบุว่าการลงทุนตามร่างพ.ร.บ.จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น
5. ผลกระทบต่อรายจ่ายภาครัฐในอนาคตในเรื่องที่สำคัญอื่น โดยเฉพาะรายจ่ายด้านสังคม การพัฒนาคน และนวัตกรรม ทั้งนี้เห็นว่าอาจจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในเรื่องคุณภาพ กำลังคนและแรงงาน ขณะเดียวกันรัฐบาล ไม่ชัดเจนเรื่องผลต่อความเหลื่อมล้ำในประเทศ ว่ามากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร
##########################################################################
แนะ 9 ข้อแก้ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ฯเพื่อความคุ้มค่า-สอดคล้องหลักประชาธิปไตย
นอกจากนี้นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ยังมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศดังกล่าว 9 ข้อคือ
1. เพิ่มรายละเอียดระดับโครงการในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ เพื่อให้รัฐสภาได้กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบในรายละเอียดที่เหมาะสม
2. ให้โครงการลงทุนทุกโครงการต้องผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ โดยหน่วยงานที่เป็นกลาง และมีผู้ตรวจสอบอิสระ (Independent Peer Review) ตรวจสอบผลการศึกษาอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัดกุมขึ้น ทั้งในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการ เช่น ราคา ความถี่ของการให้บริการ รวมถึงรายละเอียดตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น อัตราคิดลด (Discount rate) เป็นต้น
3. กำหนดให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถเพิ่มโครงการใหม่ ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.แทนโครงการที่ไม่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้
4. หากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โครงการใดมีเงินกู้ที่เหลือจ่าย ให้กระทรวงการคลังนำเงินเหลือจ่ายไปชำระคืนเงินกู้เท่านั้นไม่ให้นำส่งเป็น รายได้แผ่นดิน
5. การลงทุนในอนาคตควรอยู่ในรูปเงินในงบประมาณเท่านั้น ทั้งนี้ควรมีการจัดทำแผนแม่บทการคมนาคมขนส่งที่ศึกษาอย่างรอบคอบ และเป็นระบบ ในกรณีที่ติดปัญหาเพดานการกู้เงินในงบประมาณ อาจออกเป็นพ.ร.บ.ยกระดับเพดานการกู้เงินเป็นการชั่วคราว โดยระบุว่าเพดานส่วนเกินต้องนำมาใช้ในโครงการลงทุนที่ระบุในพ.ร.บ.เท่านั้น
6. ให้มีบทเฉพาะกาลกำหนดให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง (medium-term/multi-year budgeting) เสนอต่อรัฐสภาและประชาชนทุกปี เพื่อให้รัฐสภา สาธารณชนรับรู้ประมาณการรายได้ในระยะปานกลาง แผนการหารายได้ของรัฐบาลเพิ่มเติม สมมุติฐานที่รัฐบาลใช้ในการประเมินความเสี่ยงทางการคลัง รวมทั้งต้นทุนค่าเสียโอกาสของโครงการลงทุน ว่าไปเบียดบังการใช้จ่ายภาครัฐในส่วนอื่นอย่างไร
7. จัดแบ่งกลุ่มโครงการตามลักษณะการเป็นบริการสาธารณะ และกิจการเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดคำจำกัดความของการบริการสาธารณะอย่างชัดเจน เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อย ไม่ควรถือเป็นบริการสาธารณะ ที่ยอมปล่อยให้ขาดทุนในระยะยาว จนไปเบียดบังรายจ่ายภาครัฐในเรื่องที่สำคัญอื่น ๆ เช่น รายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม รายจ่ายเพื่อพัฒนาคนและทรัพยากรมนุษย์ และควรแยกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอุดหนุนบริการ สำหรับผู้มีรายได้น้อยออกจากกันอย่างชัดเจน
8. ในด้านการบริหาร รัฐต้องมีความชัดเจนของหนี้สะสม และหนี้จากการลงทุนระบบรางใหม่ ว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร ที่สำคัญต้องมีการปฏิรูปองค์กรและการกำหนดตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพอย่าง ชัดเจน
9. ให้มีการประเมินผลหลังการดำเนินโครงการอย่างเป็นประบบ (Ex-post Evaluation)
ที่เขาค้านกันแต่แรก คือทำไม 2 ล้านๆ ต้องกู้นอกระบบต้องเสียดอกเบี้ย 3 ล้านๆ ไม่ใช้เงินในงบประมาณแผ่นดิน เหมือน 3 ล้านๆทำตอนนี้ ที่ใช้เงินในงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ต้องกู้ล่วงหน้าแบ่งเป็นแผนการลงทุนแต่ละปี และที่สำคัญ การออก พรบ สองล้านๆ ออกเป้นกฏหมายพิเศษ จงใจเลี่ยงการตรวจสอบ และตรวจสอบไม่ได้ อำนาจทั้งหมดไปอยู่กับ รัฐบาล ดั่ง TDRI ทักท้วง ทั้งที่ไม่ใช่โครงการเร่งด่วน สามารถใช้เงินงบประมาณประจำปีได้ คนเขาเลยประท้วงเพราะทำให้เป็นหนี้ ตรวจสอบไม่ได้อีกตากหาก และไปดูรายละเอียดโครงการ
พรบ สองล้านๆ
สายเหนือ วิ่งไปถึงเชีงใหม่
สายใต้ วิ่งไปถึง หัวหิน (มันบอกตอนโรดโชว์ 2020 ไปถึง ปาดัง)
สายอีกสาน ถึงโคราช (มันบอกตอนโรดโชว์ 2020 ไปถึง หนองคาย)
สายตะวันออก ถึง ชลบุรี
มันใช้งบประมาณทั้งหมด บวกเงิบกู้ทำแค่นี้
#########################################################################
แล้วพวกบัฟฟา เอามาจากไหน หนี้ 75 ปี เพราะเป็นเงินในแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แต่สองล้านๆ กู้นอกระบบ ดอกเบี้ย 3 ล้านล้าน ตรวจสอบไม่ได้ ใช้วิธีพิเศษ ไม่มีบัญชีแนบท้าย ไม่ใช่เงินในงบประมาณ แจ้งให้ทราบรอบเดียว
บัฟฟาเข้าใจยังว่าทำไมคนถึงต้าน สองล้านๆ
ปล อ่านไม่เกินสามบรรทัดอย่ามาตอบ
2 ล้านๆ กับ 3 ล้านๆ ความแตกต่าง เรื่องข้อมูล และความขึ้ลืมของคนบางพวก By Identity Idea
3 ล้านๆเป็นเงินลงทุน ใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นรายนจ่ายประจำปี
"ประยุทธ์" แจงแผนพัฒนายุทธศาสตร์ 3 ล้านล้าน ต่างกับ 2 ล้านล้าน เพราะไม่กู้ล่วงหน้า
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414492091
ที่คนออกมาต้าน สองล้านๆเพราะ
1. เพราะเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท จะไม่ถูกใช้จ่ายผ่านระบบงบประมาณตามหลักปฏิบัติปกติ ให้เม็ดเงินก้อนนี้อยู่นอกระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยจัดสรรผ่านวิธีพิเศษ ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อีกอย่าง มีการตัดบัญชีแนบท้ายโครงการออกจากร่าง พรบ ทำให้ไม่มีรายระเอียดโครงการ และบอกว่าไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายรัฐสภา ทำได้เพียบแจ้งเพื่อทราบ
TDRI ได้ชี้แจงข้อกังวล และข้อเสนอแนะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่เขาค้านกันแต่แรก คือทำไม 2 ล้านๆ ต้องกู้นอกระบบต้องเสียดอกเบี้ย 3 ล้านๆ ไม่ใช้เงินในงบประมาณแผ่นดิน เหมือน 3 ล้านๆทำตอนนี้ ที่ใช้เงินในงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ต้องกู้ล่วงหน้าแบ่งเป็นแผนการลงทุนแต่ละปี และที่สำคัญ การออก พรบ สองล้านๆ ออกเป้นกฏหมายพิเศษ จงใจเลี่ยงการตรวจสอบ และตรวจสอบไม่ได้ อำนาจทั้งหมดไปอยู่กับ รัฐบาล ดั่ง TDRI ทักท้วง ทั้งที่ไม่ใช่โครงการเร่งด่วน สามารถใช้เงินงบประมาณประจำปีได้ คนเขาเลยประท้วงเพราะทำให้เป็นหนี้ ตรวจสอบไม่ได้อีกตากหาก และไปดูรายละเอียดโครงการ
พรบ สองล้านๆ
สายเหนือ วิ่งไปถึงเชีงใหม่
สายใต้ วิ่งไปถึง หัวหิน (มันบอกตอนโรดโชว์ 2020 ไปถึง ปาดัง)
สายอีกสาน ถึงโคราช (มันบอกตอนโรดโชว์ 2020 ไปถึง หนองคาย)
สายตะวันออก ถึง ชลบุรี
มันใช้งบประมาณทั้งหมด บวกเงิบกู้ทำแค่นี้
#########################################################################
แล้วพวกบัฟฟา เอามาจากไหน หนี้ 75 ปี เพราะเป็นเงินในแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แต่สองล้านๆ กู้นอกระบบ ดอกเบี้ย 3 ล้านล้าน ตรวจสอบไม่ได้ ใช้วิธีพิเศษ ไม่มีบัญชีแนบท้าย ไม่ใช่เงินในงบประมาณ แจ้งให้ทราบรอบเดียว
บัฟฟาเข้าใจยังว่าทำไมคนถึงต้าน สองล้านๆ
ปล อ่านไม่เกินสามบรรทัดอย่ามาตอบ