รายการ SciFind ตอนสุดท้าย มาแล้วครับ
รายการ SciFind ที่ผมได้รับงบประมาณมาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ และได้พี่ๆน้องๆ ดร. นักเรียนทุน พสวท. มาช่วยอธิบายตอบปัญหาเรื่องราวข้อสงสัยต่างๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ได้เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์นี้แล้วครับ ... สาธุ .... ขอให้ได้งบถ่ายทำปีหน้าด้วยเถอะ ไม่รู้จะโดนตัดเพราะตอนบั้งไฟพญานาคหรือเปล่า ฮะฮะฮะ (แต่ยอดวิว ตั้ง 6 แสนกว่านะ)
ตอนที่ 12 นี้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนคงสงสัยกันอยู่ ว่าการโฆษณาขายสินค้าที่มีการอ้างอิงถึงจำนวนผู้ใช้หรือกลุ่มตัวอย่างนั้น หรือแม้แต่การทำโพลสำรวจเรื่องต่างๆ ในสังคม ตัวเลขที่อ้างนั้น จะเป็นตัวเลขที่เชื่อถือได้หรือไม่ .... การจะตอบคำถามนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ ซึ่งผู้ที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องนี้ คือ ดร.ธิดาพร ศุภภากร ภาควิชาสถิติ ม.เกษตรฯ พร้อมพิธีกรช่างสงสัยน้อง ติณณา ลีลาพฤทธิ์ ครับ
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
--------------------------------------------
ลวงขายสินค้า ด้วยสถิติเกินจริง
ข้อมูลโดย ดร.ธิดาพร ศุภกากร
ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Q – การโฆษณาที่โฆษณาว่ามีผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้จริง หรือผู้ร่วมทดลอง เชื่อถือได้หรือไม่
A - ไม่แน่ ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่ที่ว่าผู้วิจัยต้องเลือกใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่าง และกำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ความแม่นยำของข้อมูลที่ได้จาก การสุ่มตัวอย่างนั้น อยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มากพอ และกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มขึ้นมานั้น มีความคล้ายคลึงหรือเหมือนกับประชากรทั้งหมด หากขาดข้อกำหนดดังกล่าวไป จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่แม่นยำ ซึ่งการนำเสนอข้อมูล ที่ไม่แม่นยำนั้น เปรียบเสมือนการให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือเรียกได้ว่าเป็นการให้ข้อมูล ที่หลอกลวงโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือโดยเจตนาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
Q – ถ้าสินค้านั้นมีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม แสดงว่าสามารถเชื่อถือได้จริงไหม
A - ไม่จริง เพราะบางครั้งนักวิจัยอาจจะเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างครบทุกช่วงอายุ แต่นำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะต้องการนำเสนอข้อมูลเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง ที่ให้คำตอบตรงตามความต้องการของสื่อโฆษณา โดยละเว้นการนำเสนอเฉพาะบางข้อมูล นี่ก็เป็นการให้ข้อมูลที่ถือว่าหลอกลวงโดยเจตนา ดังนั้นในฐานะของผู้บริโภคควรไตร่ตรองสักนิดว่า ผลสรุปของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาจากกลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุม หรือสะท้อนถึงประชากร หรือผู้บริโภคทั้งหมดแล้วหรือไม่
Q – การตั้งคำถามของโพลหรือแบบสำรวจความคิดเห็น ทำให้ผลของโพลเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไร
A - การทำโพลให้น่าเชื่อถือนั้นจะต้องเริ่มจากการตั้งคำถาม ซึ่งลักษณะของคำถามที่ดีนั้น ควรเป็นประโยคที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีความหมายเดียว ตรงประเด็น เป็นกลาง ถูกต้อง และเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตอบคำถาม เป็นประโยคที่ไม่มีการชี้นำไปสู่การสรุปใด ๆ
คำถามที่มีการใช้ภาษาในประโยคที่แตกต่างกัน ย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยา ชื่อ Amos Tversky และ Daniel Kahneman ได้ศึกษาอิทธิพลของภาษา ในประโยคคำถามที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ โดยตั้งคำถามว่าจะเลือกใช้วิธีรักษาโรคใด โดยวิธีที่หนึ่ง รักษาได้ 33.33 % แต่วิธีที่สอง ทำให้เสียชีวิต 66.66 % มีผู้ตอบคำถาม 72% ที่เลือกใช้วิธีที่หนึ่ง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่ต่างกัน สาเหตุเพียงเพราะภาษาที่ใช้สำหรับวิธีที่หนึ่งมีแนวโน้มเป็นบวก
รายการ Sci Find ตอนที่ 12 "ลวงขายสินค้า ด้วยสถิติเกินจริง"
รายการ SciFind ที่ผมได้รับงบประมาณมาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ และได้พี่ๆน้องๆ ดร. นักเรียนทุน พสวท. มาช่วยอธิบายตอบปัญหาเรื่องราวข้อสงสัยต่างๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ได้เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์นี้แล้วครับ ... สาธุ .... ขอให้ได้งบถ่ายทำปีหน้าด้วยเถอะ ไม่รู้จะโดนตัดเพราะตอนบั้งไฟพญานาคหรือเปล่า ฮะฮะฮะ (แต่ยอดวิว ตั้ง 6 แสนกว่านะ)
ตอนที่ 12 นี้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนคงสงสัยกันอยู่ ว่าการโฆษณาขายสินค้าที่มีการอ้างอิงถึงจำนวนผู้ใช้หรือกลุ่มตัวอย่างนั้น หรือแม้แต่การทำโพลสำรวจเรื่องต่างๆ ในสังคม ตัวเลขที่อ้างนั้น จะเป็นตัวเลขที่เชื่อถือได้หรือไม่ .... การจะตอบคำถามนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ ซึ่งผู้ที่จะมาให้ความรู้ในเรื่องนี้ คือ ดร.ธิดาพร ศุภภากร ภาควิชาสถิติ ม.เกษตรฯ พร้อมพิธีกรช่างสงสัยน้อง ติณณา ลีลาพฤทธิ์ ครับ
ถ้าชอบช่วยกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
--------------------------------------------
ลวงขายสินค้า ด้วยสถิติเกินจริง
ข้อมูลโดย ดร.ธิดาพร ศุภกากร
ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Q – การโฆษณาที่โฆษณาว่ามีผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้จริง หรือผู้ร่วมทดลอง เชื่อถือได้หรือไม่
A - ไม่แน่ ความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่ที่ว่าผู้วิจัยต้องเลือกใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่าง และกำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ความแม่นยำของข้อมูลที่ได้จาก การสุ่มตัวอย่างนั้น อยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ว่า ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่มากพอ และกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มขึ้นมานั้น มีความคล้ายคลึงหรือเหมือนกับประชากรทั้งหมด หากขาดข้อกำหนดดังกล่าวไป จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่แม่นยำ ซึ่งการนำเสนอข้อมูล ที่ไม่แม่นยำนั้น เปรียบเสมือนการให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ หรือเรียกได้ว่าเป็นการให้ข้อมูล ที่หลอกลวงโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือโดยเจตนาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
Q – ถ้าสินค้านั้นมีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม แสดงว่าสามารถเชื่อถือได้จริงไหม
A - ไม่จริง เพราะบางครั้งนักวิจัยอาจจะเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างครบทุกช่วงอายุ แต่นำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะต้องการนำเสนอข้อมูลเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง ที่ให้คำตอบตรงตามความต้องการของสื่อโฆษณา โดยละเว้นการนำเสนอเฉพาะบางข้อมูล นี่ก็เป็นการให้ข้อมูลที่ถือว่าหลอกลวงโดยเจตนา ดังนั้นในฐานะของผู้บริโภคควรไตร่ตรองสักนิดว่า ผลสรุปของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาจากกลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุม หรือสะท้อนถึงประชากร หรือผู้บริโภคทั้งหมดแล้วหรือไม่
Q – การตั้งคำถามของโพลหรือแบบสำรวจความคิดเห็น ทำให้ผลของโพลเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไร
A - การทำโพลให้น่าเชื่อถือนั้นจะต้องเริ่มจากการตั้งคำถาม ซึ่งลักษณะของคำถามที่ดีนั้น ควรเป็นประโยคที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีความหมายเดียว ตรงประเด็น เป็นกลาง ถูกต้อง และเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตอบคำถาม เป็นประโยคที่ไม่มีการชี้นำไปสู่การสรุปใด ๆ
คำถามที่มีการใช้ภาษาในประโยคที่แตกต่างกัน ย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยา ชื่อ Amos Tversky และ Daniel Kahneman ได้ศึกษาอิทธิพลของภาษา ในประโยคคำถามที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ โดยตั้งคำถามว่าจะเลือกใช้วิธีรักษาโรคใด โดยวิธีที่หนึ่ง รักษาได้ 33.33 % แต่วิธีที่สอง ทำให้เสียชีวิต 66.66 % มีผู้ตอบคำถาม 72% ที่เลือกใช้วิธีที่หนึ่ง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่ต่างกัน สาเหตุเพียงเพราะภาษาที่ใช้สำหรับวิธีที่หนึ่งมีแนวโน้มเป็นบวก