แปะต่ออย่างรวดเร็วกับคลิปรายการ Sci Find ตอนที่ 8 เรื่อง "เคล็ดลับของหมอดู"
เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมหมอดู ถึงดูดวงแม่น หมอดูแม่นจริงหรือเราคิดกันไปเอง ... รายการ SciFind ตอนนี้ อาจจะฟังดูไม่น่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แต่ ดร.ชิ้น Namchai Chewawiwat คู่หาไปกาลาปากอสกับผม จะมาไขข้อสงสัยให้กระจ่างกันเลยว่า จริงๆ แล้ว หมอดูเค้ามีเทคนิคทางจิตวิทยาอย่างไร จึงทำให้เราเชื่อได้ว่าเค้าดูดวงแม่นมากๆ .... น้องทิพย์ Tipzy turtle เป็นพิธีกร .... ติดตามชมได้เลยครับ
แล้วถ้าชอบ ฝากกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
-----------------------------------
เคล็ดลับหมอดู ทำไมดูดวงแม่น
ข้อมูลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Q – กลเม็ดความแม่นยำของการดูดวงเกิดจากอะไร
A - เกิดจากการลวงด้วยข้อความทั่ว ๆ ไปที่ทำให้รู้สึกไปเองว่าเป็นข้อความที่จำเพาะเจาะจง กับตัวเรา ในวงการจิตวิทยาเรียกว่าเป็น ปรากฏการณ์โฟเรอร์ (Forer Effect) หรือปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum Effect) ยิ่งคำทำนายนั้น “กำกวม” มากเท่าไหร่ คนอ่านก็ยิ่งรู้สึกเชื่อถือมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น อาจเป็นเพราะโยงเข้ากับตัวเองได้ง่ายดาย มากยิ่งขึ้นนั่นเอง สังเกตง่าย ๆ คำทำนายที่ใช้การได้ดีที่สุด มักใช้คำจำพวก “บางครั้ง” บ่อย ๆ
Q – คำทำนายในแง่บวกส่งผลต่อความเชื่อเรื่องความแม่นยำจริงไหม
A - จริง เพราะหนึ่งในเคล็ดลับจากงานวิจัย พบว่าคำทำนายจะได้ผลกับคนฟังมากกว่า หากทำนายไปในทางบวก มีการทดลองแสดงชัดเจนด้วยว่าหากคำทำนายมีเนื้อหาทางลบ ก็จะโดนประเมินว่าไม่ตรงเสียเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้อาจเป็นผลจากกลไกการเลือกฟัง หรือเลือกจำของคนฟัง เพราะคงไม่มีใครอยากจำคำทำนายร้ายๆ เกี่ยวกับตัวเอง หรือไม่ก็อาจเป็นผลจากกลไกการป้องกันตัวเองที่ทำให้ไม่อยากเชื่อคำทำนายร้ายๆ เหล่านั้น
Q – ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อความแม่นยำของการดูดวง
A - ปัจจัยที่พบบ่อย ๆ ในงานวิจัย อย่างเช่น เรื่องของเพศและความเชื่อก็มีผลต่อการประเมิน ความแม่นยำของคำทำนายเป็นอย่างมาก ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเชื่อคำทำนายที่ “กำกวม” มากกว่าผู้ชาย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ที่เชื่อเรื่องโหราศาสตร์อยู่แล้วมีแนวโน้มจะเชื่อคำทำนายพวกนี้ มากกว่าคนทั่วไป และมากกว่าคนที่ไม่เชื่อโหราศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด เคยมีการทดสอบใน ค.ศ. 2009 โดยใช้ตัวอย่างชาวตะวันตกเทียบกับชาวจีน ผลออกมาว่าไม่พบความแตกต่างกัน เรื่องของระดับความเชื่อ นั่นแสดงว่าคนชาติไหนก็อาจหลงใหลได้ปลื้ม หรือขัดใจคำทำนาย ในรูปแบบคล้ายๆ กันได้นั่นเอง
รายการ Sci Find ตอนที่ 8 เรื่อง "เคล็ดลับของหมอดู"
เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมหมอดู ถึงดูดวงแม่น หมอดูแม่นจริงหรือเราคิดกันไปเอง ... รายการ SciFind ตอนนี้ อาจจะฟังดูไม่น่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แต่ ดร.ชิ้น Namchai Chewawiwat คู่หาไปกาลาปากอสกับผม จะมาไขข้อสงสัยให้กระจ่างกันเลยว่า จริงๆ แล้ว หมอดูเค้ามีเทคนิคทางจิตวิทยาอย่างไร จึงทำให้เราเชื่อได้ว่าเค้าดูดวงแม่นมากๆ .... น้องทิพย์ Tipzy turtle เป็นพิธีกร .... ติดตามชมได้เลยครับ
แล้วถ้าชอบ ฝากกดไลค์ในยูทูปด้วยนะครับ
-----------------------------------
เคล็ดลับหมอดู ทำไมดูดวงแม่น
ข้อมูลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
Q – กลเม็ดความแม่นยำของการดูดวงเกิดจากอะไร
A - เกิดจากการลวงด้วยข้อความทั่ว ๆ ไปที่ทำให้รู้สึกไปเองว่าเป็นข้อความที่จำเพาะเจาะจง กับตัวเรา ในวงการจิตวิทยาเรียกว่าเป็น ปรากฏการณ์โฟเรอร์ (Forer Effect) หรือปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum Effect) ยิ่งคำทำนายนั้น “กำกวม” มากเท่าไหร่ คนอ่านก็ยิ่งรู้สึกเชื่อถือมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น อาจเป็นเพราะโยงเข้ากับตัวเองได้ง่ายดาย มากยิ่งขึ้นนั่นเอง สังเกตง่าย ๆ คำทำนายที่ใช้การได้ดีที่สุด มักใช้คำจำพวก “บางครั้ง” บ่อย ๆ
Q – คำทำนายในแง่บวกส่งผลต่อความเชื่อเรื่องความแม่นยำจริงไหม
A - จริง เพราะหนึ่งในเคล็ดลับจากงานวิจัย พบว่าคำทำนายจะได้ผลกับคนฟังมากกว่า หากทำนายไปในทางบวก มีการทดลองแสดงชัดเจนด้วยว่าหากคำทำนายมีเนื้อหาทางลบ ก็จะโดนประเมินว่าไม่ตรงเสียเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้อาจเป็นผลจากกลไกการเลือกฟัง หรือเลือกจำของคนฟัง เพราะคงไม่มีใครอยากจำคำทำนายร้ายๆ เกี่ยวกับตัวเอง หรือไม่ก็อาจเป็นผลจากกลไกการป้องกันตัวเองที่ทำให้ไม่อยากเชื่อคำทำนายร้ายๆ เหล่านั้น
Q – ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อความแม่นยำของการดูดวง
A - ปัจจัยที่พบบ่อย ๆ ในงานวิจัย อย่างเช่น เรื่องของเพศและความเชื่อก็มีผลต่อการประเมิน ความแม่นยำของคำทำนายเป็นอย่างมาก ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเชื่อคำทำนายที่ “กำกวม” มากกว่าผู้ชาย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ที่เชื่อเรื่องโหราศาสตร์อยู่แล้วมีแนวโน้มจะเชื่อคำทำนายพวกนี้ มากกว่าคนทั่วไป และมากกว่าคนที่ไม่เชื่อโหราศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด เคยมีการทดสอบใน ค.ศ. 2009 โดยใช้ตัวอย่างชาวตะวันตกเทียบกับชาวจีน ผลออกมาว่าไม่พบความแตกต่างกัน เรื่องของระดับความเชื่อ นั่นแสดงว่าคนชาติไหนก็อาจหลงใหลได้ปลื้ม หรือขัดใจคำทำนาย ในรูปแบบคล้ายๆ กันได้นั่นเอง