คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 29
ส่วนมากที่เจอๆ กัน
- น้องได้นั่นนี่ แต่พี่ไม่ได้
- เมื่อทะเลาะกัน แม้น้องจะผิด แต่พี่โดนจะลงโทษ ถ้าโดนกันหมดพี่ก็จะโดนหนักสุด,
- พ่อแม่ญาติพี่น้อง ต้องโอ๋และให้ความสำคัญกับน้อง มากกว่าสนใจพี่ๆ เช่นพูดคุยถามไถ่ ของขวัญของฝาก,
- ถ้ามีงานบ้านพี่ต้องทำมากกว่าและหนักกว่า ส่วนน้องได้งานเบาๆ,
- พ่อแม่ชอบเปรียบเทียบ เช่นพี่ทำอะไรดี ทำไมน้องทำไม่ได้ หรือน้องทำได้ แต่ทำไมพี่ทำไม่ได้,
- การส่งลูกๆ เรียนโรงเรียน และมหาลัย ต่างกัน,
- อิสระในการใช้ชีวิตต่างกัน คนนึงปล่อยปละละเลย คนนึงประคบประหงม
ผมว่าอยู่ที่การเลี้ยงดูมากกว่า ลูกๆ จะค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องความยุติธรรมเป็นหลัก ในความคิดเด็กๆ จะเห็นสิ่งที่พี่น้องแต่ละคนได้รับเด่นชัดมาก และมักเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ บางเรื่องที่ว่าเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ใหญ่ แต่ก็ใหญ่สำหรับเด็ก ๆ ถ้าเลี้ยงลูกด้วยความเท่าเทียม ดูแลทั่วถึง พูดให้เค้าเข้าใจ หัดให้พี่น้องช่วยเหลือกัน มีกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ ปัญหาก็จะน้อยลง
- น้องได้นั่นนี่ แต่พี่ไม่ได้
- เมื่อทะเลาะกัน แม้น้องจะผิด แต่พี่โดนจะลงโทษ ถ้าโดนกันหมดพี่ก็จะโดนหนักสุด,
- พ่อแม่ญาติพี่น้อง ต้องโอ๋และให้ความสำคัญกับน้อง มากกว่าสนใจพี่ๆ เช่นพูดคุยถามไถ่ ของขวัญของฝาก,
- ถ้ามีงานบ้านพี่ต้องทำมากกว่าและหนักกว่า ส่วนน้องได้งานเบาๆ,
- พ่อแม่ชอบเปรียบเทียบ เช่นพี่ทำอะไรดี ทำไมน้องทำไม่ได้ หรือน้องทำได้ แต่ทำไมพี่ทำไม่ได้,
- การส่งลูกๆ เรียนโรงเรียน และมหาลัย ต่างกัน,
- อิสระในการใช้ชีวิตต่างกัน คนนึงปล่อยปละละเลย คนนึงประคบประหงม
ผมว่าอยู่ที่การเลี้ยงดูมากกว่า ลูกๆ จะค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องความยุติธรรมเป็นหลัก ในความคิดเด็กๆ จะเห็นสิ่งที่พี่น้องแต่ละคนได้รับเด่นชัดมาก และมักเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ บางเรื่องที่ว่าเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ใหญ่ แต่ก็ใหญ่สำหรับเด็ก ๆ ถ้าเลี้ยงลูกด้วยความเท่าเทียม ดูแลทั่วถึง พูดให้เค้าเข้าใจ หัดให้พี่น้องช่วยเหลือกัน มีกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ ปัญหาก็จะน้อยลง
แสดงความคิดเห็น
หลักจิตวิทยาลูกคนโต, ลูกคนกลาง (wednesday's child) , ลูกคนสุดท้อง .... ตรงมั้ยๆ ?
คุณเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ของครอบครัว?
และเคยทราบหรือสังเกตกันมาก่อนหรือไม่ว่า
"ลำดับการเกิดของคนในครอบครัว" ทำให้บุคลิกภาพของบุคคลแตกต่างกัน !
ดังเช่น Alfred Adler (นักจิตวิทยาผู้คิดค้นทฤษฎีปัจเจกบุคคล) เคยเสนอแนวคิดไว้ว่า …
1. ลูกคนโต: มักจะมีบุคลิกภาพ เป็นคนเอาจริงเอาจังต่อชีวิต มีความรับผิดชอบ มักเป็นผู้นำ ผู้ไว้อำนาจแต่ถ้าแก้ความก้าวร้าวไม่ได้ ลูกคนโตมักมีบุคลิกภาพก้าวร้าว เคร่งเครียด และอิจฉาริษยา
2. ลูกคนรอง: มักมีบุคลิกภาพ เป็นคนไม่เคร่งเครียด ไม่เอาจริงเอาจังเท่าไรนัก มีนิสัยรักสนุก ไม่ค่อยสนใจที่จะเป็นผู้นำหรือรับผิดชอบสักเท่าไร แต่เมื่อลูกคนรองมีน้อง ความรู้สึกการแข่งขันจะเกิดขึ้นทันที ถ้าในครอบครัวมีสัมพันธภาพไม่ดีอาจทำให้ลูกคนรองที่กลายมาเป็นคนกลางอาจมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง และเกิดปัญหาในที่สุด
3. ลูกคนเล็ก: มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง ช่างประจบ ชอบให้คนอื่น ช่วยเหลือ ได้รับความรักจากพ่อแม่พี่ๆ ค่อนข้างมาก ถ้าเลี้ยงดีก็จะดีมาก แต่ถ้าเลี้ยงตามใจมากเด็กอาจเสียในที่สุด
4. ลูกโทน: มักจะมีบุคลิกภาพที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง มักถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้าครอบครัวสอนให้รู้เหตุรู้ผลลูกโทนจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการอะไรก็มักจะได้โดยง่ายจึงไม่รู้ค่าของสิ่งที่มี เนื่องจากเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว จึงได้รับความรักจากพ่อแม่ไปเต็มๆ (ไม่มีข้อเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นๆ) การเลี้ยงดูจากครอบครัวมักเป็นแบบประคบประหงม ดูแลอย่างดี ไปไหนก็พาไปด้วย ซื้อของอะไรมาก็ได้รับอยู่คนเดียวเลย ไม่ต้องไปแบ่งปันให้กับใคร อย่างไรก็ตามเด็กจะได้รับการเลี้ยงดูมาด้วยความคาดหวังจากคนเป็นพ่อแม่ ว่าถ้าลูกคนนี้เป็นอะไรไปหรือตายจากไป ทุกอย่างที่ทำมาก็เหมือนไร้ความหมาย ... ดังนั้น ลูกเพียงคนเดียวคนนี้จึงสำคัญที่สุด แนวการเลี้ยงลูกเช่นนี้ จะทำให้พ่อแม่แทบจะประเคน และตามใจเด็กอย่างมาก .... ส่งผลให้ลูกคนเดียว มีนิสัยเอาแต่ใจตัวเอง ขี้เบื่อ ไม่ชอบการผูกมัด รักอิสระสูง
ข้อมูลอ้างอิง : via Birth Order
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้