คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
เท่าที่เป็นและเห็นมา คือ อาการเหวี่ยง ลูกคนเดียวนี่จะเหวี่ยงกับคนสนิทมากๆๆๆ สมัยก่อนเรียกว่า งอน คือพอไม่ได้ดั่งใจนิดนึงเอาแล้ว เงียบ มึนตึง ประชด เหวี่ยงๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องดีดดิ้น โวยวายแบบนางอิจฉาในละครนะ แต่มันจะแบบสงครามจิต เงียบๆ มาคุ ประมาณนั้น
ต่อมาคือ แชร์ไม่เป็น ลูกคนเดียวที่เกิดมาและถูกเลี้ยงแบบเด็กคนเดียวในบ้านจะไม่เคยต้องแบ่งของกิน ของเล่น เสื้อผ้า หรือความรักกับใคร เค้าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด (เท่าที่พ่อแม่จะหาให้ได้ตามฐานะ) ก็จะไม่เคยหัดแบ่งของกับใคร พอมาอยู่สังคมใหญ่จะประดักประเดิด เคอะเขินนิดนึง เช่น เวลาที่กินอะไรรวมกัน จะทำตัวไม่ถูกว่าจะตักอะไรดี ไม่ตักอะไรดี ตักอย่างนี้เขาจะว่าเราเอาเปรียบไหมแต่อยากได้อันนี้ จะยังไงดี คือไม่ได้หมายความว่าลูกคนเดียวจะกลายเป็นคนงก เห็นแก่ตัวหรืออะไรอย่างนั้นนะ แต่เพียงแค่เค้าจะวางตัวไม่ถูกเนื่องจากไม่เคยต้องแบ่ง ไม่เคยต้องเสียสละ เพราะพ่อแม่คอยเตรียมส่วนที่ดีที่สุดไว้ให้เขาอยู่เสมอ แม้เขาไม่ต้องทำอะไรก็จะได้มันแน่ๆ
อีกอย่างหนึ่งคือ หวง อย่างที่บอกลูกคนเดียวไม่เคยแบ่งของกินของเล่นกับใครเพราะอย่างนั้นเค้าจะรู้สึกหวงของ รู้สึกว่าเป็นเจ้าของแล้วต้องเป็นตลอด
จะมองว่าเรื่องพวกนี้เป็นข้อเสียก็ไม่เชิงนะ มันแค่เป็นบุคลิกที่ติดมาจากการเลี้ยงดูแบบลูกคนเดียวเท่านั้น ไม่ได้แย่หรือเลวร้ายอะไรหรอกค่ะ เพราะส่วนใหญ่ลูกคนเดียวจะเก็บอารมณ์เก่ง สุขุม (แต่จะเหวี่ยงง่ายๆกับคนสนิทใกล้ชิดเท่านั้นแหละ) เรามองว่าพ่อแม่ต้องไม่พาลูกคนเดียวไปในสังคมที่ส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจ เข้าสังคมไม่ได้อย่างนั้นค่ะ คือเด็กถูกตามใจฟูมฟักมาแล้วจากบ้านด้วยธรรมชาติที่พ่อแม่มีลูกคนเดียวก็ควรถูกสอนเรื่องการเข้าสังคม การแบ่งปัน การเรียนรู้อยู่กับผู้อื่นเมื่อเข้าโรงเรียน ประมาณนั้น
ส่วนข้อเสียที่เราคิดว่าเป็นข้อเสียสุดๆคือ เมื่อพ่อแม่แก่ชรา ลูกคนเดียวนี้แหละที่จะเริ่มกดดันว่าเค้าต้องเป็นเสาหลัก ต้องดูแลรับผิดชอบครอบครัว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเค้าจะรังเกียจรังงอนภาระอะไรนะ แต่มันหมายถึงความกดดันว่าเค้าจะ "เจ็บป่วยล้มตาย" ไม่ได้ ถึงตอนนี้ลูกคนเดียวจะเริ่มอยากมีพี่น้องค่ะ อุ่นใจกว่าว่าเราลาโลกแล้วก็ยังมีคนดูแลคนข้างหลังต่อจากเรา
ในความเห็นเรา มันก็มีทั้งดีและเสียค่ะ ซึ่งในสังคมก็มีทั้งลูกคนโต ลูกคนกลาง ลูกคนเล็กและลูกคนเดียว เมื่อไปอยู่รวมกันก็จะแสดงพฤติกรรมตามบุคลิกการเลี้ยงดูนั้นๆ ก็อยู่ร่วมกันได้ไปเองค่ะ เพื่อนสนิทเราหลายคนเป็นพี่คนโตกันก็จะรับอาการเหวี่ยงนิดๆของเราได้นะ ก็ทรีทเราเหมือนน้องพวกเขาล่ะ ส่วนเพื่อนที่เป็นลูกคนเล็กที่ดันเหวี่ยงเก่งกว่า เราก็โอเคนะ เข้าใจเขาก็ปรับตัวกันไปได้ ไม่มีปัญหา
ต่อมาคือ แชร์ไม่เป็น ลูกคนเดียวที่เกิดมาและถูกเลี้ยงแบบเด็กคนเดียวในบ้านจะไม่เคยต้องแบ่งของกิน ของเล่น เสื้อผ้า หรือความรักกับใคร เค้าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด (เท่าที่พ่อแม่จะหาให้ได้ตามฐานะ) ก็จะไม่เคยหัดแบ่งของกับใคร พอมาอยู่สังคมใหญ่จะประดักประเดิด เคอะเขินนิดนึง เช่น เวลาที่กินอะไรรวมกัน จะทำตัวไม่ถูกว่าจะตักอะไรดี ไม่ตักอะไรดี ตักอย่างนี้เขาจะว่าเราเอาเปรียบไหมแต่อยากได้อันนี้ จะยังไงดี คือไม่ได้หมายความว่าลูกคนเดียวจะกลายเป็นคนงก เห็นแก่ตัวหรืออะไรอย่างนั้นนะ แต่เพียงแค่เค้าจะวางตัวไม่ถูกเนื่องจากไม่เคยต้องแบ่ง ไม่เคยต้องเสียสละ เพราะพ่อแม่คอยเตรียมส่วนที่ดีที่สุดไว้ให้เขาอยู่เสมอ แม้เขาไม่ต้องทำอะไรก็จะได้มันแน่ๆ
อีกอย่างหนึ่งคือ หวง อย่างที่บอกลูกคนเดียวไม่เคยแบ่งของกินของเล่นกับใครเพราะอย่างนั้นเค้าจะรู้สึกหวงของ รู้สึกว่าเป็นเจ้าของแล้วต้องเป็นตลอด
จะมองว่าเรื่องพวกนี้เป็นข้อเสียก็ไม่เชิงนะ มันแค่เป็นบุคลิกที่ติดมาจากการเลี้ยงดูแบบลูกคนเดียวเท่านั้น ไม่ได้แย่หรือเลวร้ายอะไรหรอกค่ะ เพราะส่วนใหญ่ลูกคนเดียวจะเก็บอารมณ์เก่ง สุขุม (แต่จะเหวี่ยงง่ายๆกับคนสนิทใกล้ชิดเท่านั้นแหละ) เรามองว่าพ่อแม่ต้องไม่พาลูกคนเดียวไปในสังคมที่ส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจ เข้าสังคมไม่ได้อย่างนั้นค่ะ คือเด็กถูกตามใจฟูมฟักมาแล้วจากบ้านด้วยธรรมชาติที่พ่อแม่มีลูกคนเดียวก็ควรถูกสอนเรื่องการเข้าสังคม การแบ่งปัน การเรียนรู้อยู่กับผู้อื่นเมื่อเข้าโรงเรียน ประมาณนั้น
ส่วนข้อเสียที่เราคิดว่าเป็นข้อเสียสุดๆคือ เมื่อพ่อแม่แก่ชรา ลูกคนเดียวนี้แหละที่จะเริ่มกดดันว่าเค้าต้องเป็นเสาหลัก ต้องดูแลรับผิดชอบครอบครัว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเค้าจะรังเกียจรังงอนภาระอะไรนะ แต่มันหมายถึงความกดดันว่าเค้าจะ "เจ็บป่วยล้มตาย" ไม่ได้ ถึงตอนนี้ลูกคนเดียวจะเริ่มอยากมีพี่น้องค่ะ อุ่นใจกว่าว่าเราลาโลกแล้วก็ยังมีคนดูแลคนข้างหลังต่อจากเรา
ในความเห็นเรา มันก็มีทั้งดีและเสียค่ะ ซึ่งในสังคมก็มีทั้งลูกคนโต ลูกคนกลาง ลูกคนเล็กและลูกคนเดียว เมื่อไปอยู่รวมกันก็จะแสดงพฤติกรรมตามบุคลิกการเลี้ยงดูนั้นๆ ก็อยู่ร่วมกันได้ไปเองค่ะ เพื่อนสนิทเราหลายคนเป็นพี่คนโตกันก็จะรับอาการเหวี่ยงนิดๆของเราได้นะ ก็ทรีทเราเหมือนน้องพวกเขาล่ะ ส่วนเพื่อนที่เป็นลูกคนเล็กที่ดันเหวี่ยงเก่งกว่า เราก็โอเคนะ เข้าใจเขาก็ปรับตัวกันไปได้ ไม่มีปัญหา
แสดงความคิดเห็น
จริงหรือไม่กับประโยคที่ว่า "ลูกคนเดียวมักเก็บความรู้สึกจนเก็บกด"
งานวิจัยของเขาพบว่า "ลูกคนเดียวมักเก็บความรู้สึกจนเก็บกด"
อันนี้เป็นข้อสรุปงานวิจัยหนึ่ง (เพื่อรักษาทรัพย์สินทางปัญญา ผมขอไม่เปิดเผยชื่องานวิจัย)
เพื่อนๆ ที่เป็นวัยรุ่นคิดว่าไงครับกับประโยคนี้ ใครมีประสบการณ์อะไรมา Share กันบ้าง
ป.ล. งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ไม่ใช่งานวิชาการแต่คือการตีแผ่ความจริง (ยังไงสถาบันวิจัยไหนก็ไม่ยอมรับอะข้อสรุปนี่ อันนี้ความเห็นส่วนตัว)