(((((((((( ทำไมเจ้าของผลงาน LED สีน้ำเงิน จึงได้รางวัลโนเบล??? ))))))))))

เกณฑ์การพิจารณาผู้ที่สมควรจะได้รับรางวัลโนเบล คือ นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นแล้ว ผลงานนั้นจะต้องมี "คุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ" ด้วย

รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2557 (ประกาศเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557) พิจารณามอบให้แก่นักวิจัยเชื้อชาติญี่ปุ่น 3 ท่าน ได้แก่...

1. ศาสตราจารย์อิซามุ อากาซากิ (Isamu Akasaki)
Meijo University, Nagoya, Japan และ Nagoya University, Japan

2. ศาสตราจารย์ฮิโรชิ อามาโนะ (Hiroshi Amano)
Nagoya University, Japan

3. ศาสตราจารย์ชูจิ นากามูระ (Shuji Nakamura)
University of California, Santa Barbara, CA, USA

ในฐานะที่เป็นผู้ประดิษฐ์ไดโอดเปล่งแสงสีน้ำเงินที่ "มีประสิทธิภาพ(สูง)" ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในแหล่งกำเนิดแสงขาวที่ "สว่าง(มาก)" และ "ประหยัดพลังงาน" ได้

("for the invention of efficient blue light-emitting diodes which has enabled bright and energy-saving white light sources")

- - -

แหล่งกำเนิดแสงขาวที่ทำจากไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี (LED) จะต้องใช้แสงจากแอลอีดี 3 สี คือ แดง เขียว และ น้ำเงิน มาผสมกัน แล้วได้เป็นแสงขาว

ปัญหาอยู่ตรง "แหล่งกำเนิดแสงสีน้ำเงิน"...แอลอีดีสีน้ำเงินที่ประดิษฐ์ได้ก่อนหน้านี้มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ กินไฟมาก แต่ให้แสงสว่างน้อย จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบในแหล่งกำเนิดแสงสว่างเพื่อใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป

แต่แอลอีดีสีน้ำเงินที่เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาของท่านทั้งสามข้างต้น มีประสิทธิภาพสูง (กินไฟน้อย ให้ความสว่างมาก) สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในหลอดไฟให้ความสว่างตามบ้านเรือนได้

- - -

เนื่องจาก 1 ใน 4 ของปริมาณการใช้พลังงานทั่วโลกในขณะนี้ ใช้เพื่อการส่องสว่าง ดังนั้น ถ้าหากผู้คนทั่วโลกหันมาใช้ "หลอดไฟแอลอีดี" ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า(กินไฟน้อยกว่า)หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่กำลังใช้กันแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ ก็จะมีผลช่วยให้โลกของเราประหยัดการใช้พลังงานโดยรวม(ทั้งโลก)ได้มหาศาล!!!

จึงถือได้ว่าท่านทั้งสามมีส่วนสร้าง "คุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ"

เช่นนี้แล...จึงเป็นผู้สมควรแก่รางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ...ในปีนี้

จาก https://www.facebook.com/arismike999/posts/279785375566115
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่