เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายอิซามุ อาคาซากิ และนายฮิโรชิ อามาโนะ 2 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น และนายชูจิ นากามูระ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น ร่วมกันคว้ารางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากผลงานการประดิษฐ์คิดค้นหลอดไฟแอลอีดีสีฟ้า ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานแสงสว่างชนิดใหม่ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายอาคาซากิ วัย 85 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเมย์โจและเป็นศาสตราจารย์พิศิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยนาโกย่า ส่วนนายอามาโนะ วัย 54 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนาโกย่า ขณะที่นายนากามูระวัย 60 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา
ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณารางวัลระบุว่า แม้ว่าสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้เพิ่งจะมีอายุเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น แต่ก็มีส่วนช่วยในการสร้างแสงสว่างสีขาวในรูปแบบใหม่ที่มีประโยชน์กับพวกเราทุกคน ผู้ได้รับรางวัลทั้ง 3 คนจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแสงส่องสว่าง เมื่อพวกเขาสร้างแสงสว่างสีฟ้าจากสารกึ่งตัวนำในช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามมาหลายทศวรรษ
คณะกรรมการระบุว่า การใช้แสงสีฟ้าทำให้สามารถสร้างหลอดไฟแอลอีดีสีขาวได้โดยใช้วิธีการใหม่ และจากที่การใช้ไฟฟ้าราว 1 ใน 4 ของโลกเป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการให้แสงสว่าง หลอดไฟแอลอีดีมีส่วนช่วยโลกในการประหยัดทรัพยากรมากขึ้น
อนึ่ง รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์นี้ เป็นรางวัลโนเบลสาขาที่ 2 ประจำปีต่อจากสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ที่มีการประกาศไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้ได้รับรางวัลจะได้เงินรางวัล 8 ล้านสวีดิชโครเนอร์ หรือราว 38.4 ล้านบาท หลังจากนี้จะมีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมี วรรณกรรม สันติภาพ และสุดท้ายคือสาขาเศรษฐศาสตร์ที่จะประกาศผลในวันที่ 13 ตุลาคม
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412680117
ยินดีด้วยนะครับ ว่าแต่เขาใช้วิธีไหนทำให้มันเปล่งแสงได้นี่
3 นักวิทย์ญี่ปุ่น-มะกันคว้าโนเบลฟิสิกส์ จากผลงานคิดค้นหลอดแอลอีดีสีฟ้า
นายอาคาซากิ วัย 85 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเมย์โจและเป็นศาสตราจารย์พิศิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยนาโกย่า ส่วนนายอามาโนะ วัย 54 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนาโกย่า ขณะที่นายนากามูระวัย 60 ปี เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา
ทั้งนี้ ราชบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณารางวัลระบุว่า แม้ว่าสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้เพิ่งจะมีอายุเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น แต่ก็มีส่วนช่วยในการสร้างแสงสว่างสีขาวในรูปแบบใหม่ที่มีประโยชน์กับพวกเราทุกคน ผู้ได้รับรางวัลทั้ง 3 คนจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแสงส่องสว่าง เมื่อพวกเขาสร้างแสงสว่างสีฟ้าจากสารกึ่งตัวนำในช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามมาหลายทศวรรษ
คณะกรรมการระบุว่า การใช้แสงสีฟ้าทำให้สามารถสร้างหลอดไฟแอลอีดีสีขาวได้โดยใช้วิธีการใหม่ และจากที่การใช้ไฟฟ้าราว 1 ใน 4 ของโลกเป็นไปเพื่อจุดประสงค์ในการให้แสงสว่าง หลอดไฟแอลอีดีมีส่วนช่วยโลกในการประหยัดทรัพยากรมากขึ้น
อนึ่ง รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์นี้ เป็นรางวัลโนเบลสาขาที่ 2 ประจำปีต่อจากสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ที่มีการประกาศไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้ได้รับรางวัลจะได้เงินรางวัล 8 ล้านสวีดิชโครเนอร์ หรือราว 38.4 ล้านบาท หลังจากนี้จะมีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมี วรรณกรรม สันติภาพ และสุดท้ายคือสาขาเศรษฐศาสตร์ที่จะประกาศผลในวันที่ 13 ตุลาคม
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412680117
ยินดีด้วยนะครับ ว่าแต่เขาใช้วิธีไหนทำให้มันเปล่งแสงได้นี่