สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ผมว่าใครที่บอกว่าธนาคารที่อเมริกาค่าธรรมเนียมแพง ผมว่าอาจจะหลงประเด็นหรือไม่เคยใช้แบบจริงจัง
ประเด็นหลักว่าทำไมสาขาธนาคารต่างๆนั้นโล่ง ก็ตามที่มีคนบอกไปแล้วว่าเขาทำธุรกรรมออนไลน์กันมากกว่า เพราะสะดวก ไม่มีค่าธรรมเนียม และธนาคารก็ปกป้องทรัพย์สินให้กับลูกค้าด้วยครับ
ธนาคารในอเมริกาเขามองว่าการทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะฉะนั้นธนาคารต่างๆในอเมริกาก็จะพยายาม"ผลัก"ให้ลูกค้าไปทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งส่งผลแง่บวกหลายๆอย่างกับธนาคาร คือนอกจากจะสะดวกลูกค้าแล้วไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์หรือการเข้ามาที่สาขา ยังเป็นการลดต้นทุนเพราะสามารถลดจำนวนคนที่ต้องมานั่งตรงเคาเตอร์ได้อีกด้วยครับ หลายๆที่จะมีบัญชีประเภทที่เรียกว่า e-Banking หรือ e-Account คือฟรีค่าธรรมเนียมทุกอย่างตราบใดก็ตามที่ทำธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด และจะมีค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อต้องเข้าไปทำธุรกรรมกับ teller หรือในบางที่ ก็จะมีการจำกัดจำนวนครั้ง เช่น ไม่เกิน 3 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่บางบัญชีที่ผมมีอยู่ ถ้าเงินเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า $1,500 ก็จะไม่มีค่าธรรมเนียมเช่นกันครับ
ในทางกลับกัน ธนาคารเมืองไทยไม่มีนโยบายแบบนี้ (ผมมักจะบอกมาตลอดว่าเมืองไทยเป็นตลาดผู้ขาย) ธนาคารมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องสร้างนโยบายแบบนั้น การที่ลูกค้าต้องมานั่งรอคิวเป็นชั่วโมงก็แทบจะถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ การทำธุรกรรมออนไลน์ถูกมองว่าเป็นบริการพิเศษที่สร้างความสะดวกให้กับลูกค้า จึงมีการคิดค่าธรรมเนียม ในขณะที่คนไทยโดยภาพรวมต้องการ"ความเป็นพิเศษ" ดังนั้นธนาคารจึงเอาตรงนี้มาดึงดูดคนมีเงินด้วยการทำพรีเมี่ยมเซอร์วิสสำหรับคนที่มียอดฝากสูง (คล้ายๆกับลูกค้าสายการบินที่บินชั้นหนึ่ง)
ในอเมริกา การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆทุกอย่างสะดวกมาก ไม่ว่าจะจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเคเบิ้ล ทุกอย่างฟรีหมดครับ แต่โดยส่วนใหญ่ผมจะจ่ายด้วยบัตรเครดิต (เพราะมักจะได้เงินคืนจากบัตรเครดิต 2-5%) แล้วค่อยจ่ายบัตรเครดิตเมื่อครบกำหนดจากธนาคารอีกครั้ง
ในขณะที่เมืองไทย การทำธุรกรรมต่างๆออนไลน์มักจะมีค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะจ่ายบัตรเครดิต ซึ่งถ้าเป็นที่อเมริกานั้นฟรีหมด ในขณะที่เมืองไทยนั้นขนาดว่าเป็นของธนาคารเดียวกันเอง อย่างเช่น บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ เข้า scbeasy.com จะจ่ายด้วยบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ยังมีค่าธรรมเนียมเลยครับ
โอนเงินไปให้คนอื่นที่เมืองไทยยังไงก็เสียค่าธรรมเนียม ในขณะที่อเมริกาตอนนี้ผมส่งเงินใช้ PopMoney (เป็นบริการของธนาคารหนึ่งที่ผมใช้อยู่) ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ หรือผมจะย้ายเงินไปมาระหว่างธนาคารอื่นๆมาที่ "Capital One 360" ซึ่งเป็นอีกธนาคารหนึ่งของผม ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ
เอทีเอ็ม ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีครับ บัตรเก่าเสียจะขอบัตรใหม่ก็ไม่มีค่าธรรมเนียม ถ้าผมบอกว่าผมต้องรีบใช้ ดีไม่ดีจะมีการส่งแบบข้ามคืนมาให้เลยครับ แถมมีการขอโทษขอโพยกับปัญหานี้เสียอีกต่างหาก ในขณะที่เมืองไทยนอกจากมีค่าธรรมเนียมรายปีแล้ว ถ้าบัตรเสีย โดนยึด ลูกค้าต้องจ่ายเองใหม่หมด
เวลาเอาบัตรเอทีเอ็มไปกดต่างประเทศ ธนาคารในอเมริกาที่ผมใช้ไม่มีค่าธรรมเนียม"ค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน" ปกติค่าธรรมเนียมนี้ผมไม่ค่อยแปลกใจสำหรับบัครเครดิตสักเท่าไหร่ เพราะธุรกรรมของบัตรเครดิตบางทีกว่าจะเสร็จสิ้นอาจจะเป็นสัปดาห์ได้ หรือในกรณีที่มีการคืนเงิน (ขนาดบัตรเครดิตบางเจ้าของอเมริกายังไม่มีค่าธรรมเนียมนี้เลยครับ) แต่การกดเงินสดจากบัญชีด้วยบัตรเอทีเอ็มผมมองว่าไม่ควรมีครับ แต่ธนาคารที่เมืองไทยมีการคิด 2.5% ครับ
เรื่องการขึ้นเช็ค ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมในอเมริกาครับ เพราะการใช้เช็คเป็นเรื่องปกติมากของอเมริกา ยิ่งเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ทำธุรกรรมออนไลน์กันนี่ใช้เช็คกันเป็นเรื่องปกติเลยครับ ของเมืองไทยขนาดทำเป็น"เช็คเงินสด" ในหลายๆกรณียังต้องมีค่าธรรมเนียมการขึ้นเงินเลยครับ ถ้าไปขึ้นต่างจังหวัดเสียเพิ่มเป็นเปอร์เซ็นต์อีกต่างหาก
เรื่องดอกเบี้ย ผมก็คิดว่าผมได้ที่อเมริกามากกว่านะครับ อย่างบัญชีออมทรัพย์ผมนี่ได้ที่ 0.75% ในขณะที่เมืองไทยได้ 0.50% (เพิ่งเช็คเมื่อกี้สดๆเลยครับ) ส่วนฝากประจำนี่ผมก็ว่าผมหาได้ไม่ต่ำกว่าเมืองไทยแน่ๆครับ แถมดีไม่ดีจะมีแถมอีกต่างหากครับ อย่างเช่นครั้งล่าสุดที่ผมย้ายเกินก้อนนึงไปฝาก"ประจำ"ซึ่งที่อเมริกาจะเป็นที่เรียกว่า CD (Certificate of Deposit) นอกเหนือว่าผมได้อัตราสูงแล้ว (ถ้าจำไม่ผิดคือได้ 3.5% 9 เดือน) ผมยังได้เงินแถมมา $100 ซึ่งเป็นโปรโมชั่นล่อใจลูกค้า (ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผมทำแบบนี้กับธนาคารและบัตรเครดิตที่เป็นโปรโมชั่นลูกค้าใหม่ ได้เงินรวมๆแล้วเกือบ $13,000 ครับ)
พอพูดถึงเรื่องโปรโมชั่นเปิดบัตรเครดิต ปกติในอเมริกาจะดึงดูดลูกค้าด้วยการให้เงินหรือของมูลค่า $100-$500 (บางใบอาจมีได้ถึง $1,000) ในขณะที่เมืองไทย ลองสังเกตไหมครับว่าทำไมเขาถึงมีเงินจ้างคนไปเดินตามห้างตื้อลูกค้าได้
ท้ายสุด ประเด็นใหญ่เลย ด้วยเหตุผลทั้งหมด ผมกลับเชื่อมั่นในธนาคารอเมริกามากกว่า (ถึงแม้การทำธุรกรรมจะไม่มี "OTP" ก็ตาม) เพราะว่าการทำธุรกรรมต่างๆทางธนาคารปกป้องลูกค้าอย่างแท้จริงครับ ไม่ใช่ว่าปัญหาบางอย่าง ถึงแม้จะเป็นความผิดธนาคาร ก็ต้องมาให้ลูกค้ารอ เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินว่า KTB มีปัญหาเรื่องเอทีเอ็ม กลายเป็นว่าลูกค้าต้องมารอเงินคืน ทั้งๆที่เป็นความผิดธนาคาร กรณีแบบนี้ถ้าเป็นที่อเมริกา เขาคืนเงินให้ก่อนโดยไม่ต้องรอเลยครับ (ธุรกรรมการเงินของอเมริกาเขาให้"เครดิต"ลูกค้าครับ ขึ้นเช็คนี่โดยปกติตามกระบวนการของธนาคารแล้วนี่บางทีใช้เวลา 7-10 วันทำการ แต่ปกติผมเข้าเช็คนี่ วันถัดไปก็มักจะขึ้นให้แล้วครับ แต่แน่นอนว่าถ้าเช็คไม่ผ่าน เขาก็จะดึงเงินคืนออกจากบัญชีครับ)
ผมกับแฟนมีธนาคารที่อเมริกาอยู่ 4 ส่วนที่เมืองไทยอยู่ 5 บอกได้เลยครับว่าค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆต่างกันราวฟ้ากับดินโดยที่อเมริกาคือฟ้าครับ
โดยสรุป ธนาคารของอเมริกามีระบบงานที่มีประสิทธิภาพกว่าเยอะครับ ที่สำคัญเขาให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างแท้จริงครับ (ไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าก็จะไม่มีลูกค้า) ในขณะที่ธนาคารไทยที่เวลาทำธุรกรรมต่างๆ รวบรวมหลักฐานมากมาย เขาทำเพื่อปกป้องตัวเองครับ ซึ่งโดยรวมผมให้คะแนนการให้บริการไม่ต่ำกว่า 7 ครับ ในขณะที่เมืองไทยไม่มีธนาคารไหนผมให้สูงกว่า 4 เลยครับ
ป.ล. ธนาคารไหนในเมืองไทยที่สามารถให้บริการได้เหมือนอเมริกาได้ เตรียมรับเงินที่เมืองไทยผมไปได้เลยครับ แต่ผมยังไม่รู้สึกว่ามีครับ
ประเด็นหลักว่าทำไมสาขาธนาคารต่างๆนั้นโล่ง ก็ตามที่มีคนบอกไปแล้วว่าเขาทำธุรกรรมออนไลน์กันมากกว่า เพราะสะดวก ไม่มีค่าธรรมเนียม และธนาคารก็ปกป้องทรัพย์สินให้กับลูกค้าด้วยครับ
ธนาคารในอเมริกาเขามองว่าการทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะฉะนั้นธนาคารต่างๆในอเมริกาก็จะพยายาม"ผลัก"ให้ลูกค้าไปทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งส่งผลแง่บวกหลายๆอย่างกับธนาคาร คือนอกจากจะสะดวกลูกค้าแล้วไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์หรือการเข้ามาที่สาขา ยังเป็นการลดต้นทุนเพราะสามารถลดจำนวนคนที่ต้องมานั่งตรงเคาเตอร์ได้อีกด้วยครับ หลายๆที่จะมีบัญชีประเภทที่เรียกว่า e-Banking หรือ e-Account คือฟรีค่าธรรมเนียมทุกอย่างตราบใดก็ตามที่ทำธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมด และจะมีค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อต้องเข้าไปทำธุรกรรมกับ teller หรือในบางที่ ก็จะมีการจำกัดจำนวนครั้ง เช่น ไม่เกิน 3 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่บางบัญชีที่ผมมีอยู่ ถ้าเงินเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า $1,500 ก็จะไม่มีค่าธรรมเนียมเช่นกันครับ
ในทางกลับกัน ธนาคารเมืองไทยไม่มีนโยบายแบบนี้ (ผมมักจะบอกมาตลอดว่าเมืองไทยเป็นตลาดผู้ขาย) ธนาคารมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องสร้างนโยบายแบบนั้น การที่ลูกค้าต้องมานั่งรอคิวเป็นชั่วโมงก็แทบจะถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ การทำธุรกรรมออนไลน์ถูกมองว่าเป็นบริการพิเศษที่สร้างความสะดวกให้กับลูกค้า จึงมีการคิดค่าธรรมเนียม ในขณะที่คนไทยโดยภาพรวมต้องการ"ความเป็นพิเศษ" ดังนั้นธนาคารจึงเอาตรงนี้มาดึงดูดคนมีเงินด้วยการทำพรีเมี่ยมเซอร์วิสสำหรับคนที่มียอดฝากสูง (คล้ายๆกับลูกค้าสายการบินที่บินชั้นหนึ่ง)
ในอเมริกา การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆทุกอย่างสะดวกมาก ไม่ว่าจะจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเคเบิ้ล ทุกอย่างฟรีหมดครับ แต่โดยส่วนใหญ่ผมจะจ่ายด้วยบัตรเครดิต (เพราะมักจะได้เงินคืนจากบัตรเครดิต 2-5%) แล้วค่อยจ่ายบัตรเครดิตเมื่อครบกำหนดจากธนาคารอีกครั้ง
ในขณะที่เมืองไทย การทำธุรกรรมต่างๆออนไลน์มักจะมีค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะจ่ายบัตรเครดิต ซึ่งถ้าเป็นที่อเมริกานั้นฟรีหมด ในขณะที่เมืองไทยนั้นขนาดว่าเป็นของธนาคารเดียวกันเอง อย่างเช่น บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ เข้า scbeasy.com จะจ่ายด้วยบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ยังมีค่าธรรมเนียมเลยครับ
โอนเงินไปให้คนอื่นที่เมืองไทยยังไงก็เสียค่าธรรมเนียม ในขณะที่อเมริกาตอนนี้ผมส่งเงินใช้ PopMoney (เป็นบริการของธนาคารหนึ่งที่ผมใช้อยู่) ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ หรือผมจะย้ายเงินไปมาระหว่างธนาคารอื่นๆมาที่ "Capital One 360" ซึ่งเป็นอีกธนาคารหนึ่งของผม ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ
เอทีเอ็ม ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีครับ บัตรเก่าเสียจะขอบัตรใหม่ก็ไม่มีค่าธรรมเนียม ถ้าผมบอกว่าผมต้องรีบใช้ ดีไม่ดีจะมีการส่งแบบข้ามคืนมาให้เลยครับ แถมมีการขอโทษขอโพยกับปัญหานี้เสียอีกต่างหาก ในขณะที่เมืองไทยนอกจากมีค่าธรรมเนียมรายปีแล้ว ถ้าบัตรเสีย โดนยึด ลูกค้าต้องจ่ายเองใหม่หมด
เวลาเอาบัตรเอทีเอ็มไปกดต่างประเทศ ธนาคารในอเมริกาที่ผมใช้ไม่มีค่าธรรมเนียม"ค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน" ปกติค่าธรรมเนียมนี้ผมไม่ค่อยแปลกใจสำหรับบัครเครดิตสักเท่าไหร่ เพราะธุรกรรมของบัตรเครดิตบางทีกว่าจะเสร็จสิ้นอาจจะเป็นสัปดาห์ได้ หรือในกรณีที่มีการคืนเงิน (ขนาดบัตรเครดิตบางเจ้าของอเมริกายังไม่มีค่าธรรมเนียมนี้เลยครับ) แต่การกดเงินสดจากบัญชีด้วยบัตรเอทีเอ็มผมมองว่าไม่ควรมีครับ แต่ธนาคารที่เมืองไทยมีการคิด 2.5% ครับ
เรื่องการขึ้นเช็ค ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมในอเมริกาครับ เพราะการใช้เช็คเป็นเรื่องปกติมากของอเมริกา ยิ่งเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ทำธุรกรรมออนไลน์กันนี่ใช้เช็คกันเป็นเรื่องปกติเลยครับ ของเมืองไทยขนาดทำเป็น"เช็คเงินสด" ในหลายๆกรณียังต้องมีค่าธรรมเนียมการขึ้นเงินเลยครับ ถ้าไปขึ้นต่างจังหวัดเสียเพิ่มเป็นเปอร์เซ็นต์อีกต่างหาก
เรื่องดอกเบี้ย ผมก็คิดว่าผมได้ที่อเมริกามากกว่านะครับ อย่างบัญชีออมทรัพย์ผมนี่ได้ที่ 0.75% ในขณะที่เมืองไทยได้ 0.50% (เพิ่งเช็คเมื่อกี้สดๆเลยครับ) ส่วนฝากประจำนี่ผมก็ว่าผมหาได้ไม่ต่ำกว่าเมืองไทยแน่ๆครับ แถมดีไม่ดีจะมีแถมอีกต่างหากครับ อย่างเช่นครั้งล่าสุดที่ผมย้ายเกินก้อนนึงไปฝาก"ประจำ"ซึ่งที่อเมริกาจะเป็นที่เรียกว่า CD (Certificate of Deposit) นอกเหนือว่าผมได้อัตราสูงแล้ว (ถ้าจำไม่ผิดคือได้ 3.5% 9 เดือน) ผมยังได้เงินแถมมา $100 ซึ่งเป็นโปรโมชั่นล่อใจลูกค้า (ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผมทำแบบนี้กับธนาคารและบัตรเครดิตที่เป็นโปรโมชั่นลูกค้าใหม่ ได้เงินรวมๆแล้วเกือบ $13,000 ครับ)
พอพูดถึงเรื่องโปรโมชั่นเปิดบัตรเครดิต ปกติในอเมริกาจะดึงดูดลูกค้าด้วยการให้เงินหรือของมูลค่า $100-$500 (บางใบอาจมีได้ถึง $1,000) ในขณะที่เมืองไทย ลองสังเกตไหมครับว่าทำไมเขาถึงมีเงินจ้างคนไปเดินตามห้างตื้อลูกค้าได้
ท้ายสุด ประเด็นใหญ่เลย ด้วยเหตุผลทั้งหมด ผมกลับเชื่อมั่นในธนาคารอเมริกามากกว่า (ถึงแม้การทำธุรกรรมจะไม่มี "OTP" ก็ตาม) เพราะว่าการทำธุรกรรมต่างๆทางธนาคารปกป้องลูกค้าอย่างแท้จริงครับ ไม่ใช่ว่าปัญหาบางอย่าง ถึงแม้จะเป็นความผิดธนาคาร ก็ต้องมาให้ลูกค้ารอ เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินว่า KTB มีปัญหาเรื่องเอทีเอ็ม กลายเป็นว่าลูกค้าต้องมารอเงินคืน ทั้งๆที่เป็นความผิดธนาคาร กรณีแบบนี้ถ้าเป็นที่อเมริกา เขาคืนเงินให้ก่อนโดยไม่ต้องรอเลยครับ (ธุรกรรมการเงินของอเมริกาเขาให้"เครดิต"ลูกค้าครับ ขึ้นเช็คนี่โดยปกติตามกระบวนการของธนาคารแล้วนี่บางทีใช้เวลา 7-10 วันทำการ แต่ปกติผมเข้าเช็คนี่ วันถัดไปก็มักจะขึ้นให้แล้วครับ แต่แน่นอนว่าถ้าเช็คไม่ผ่าน เขาก็จะดึงเงินคืนออกจากบัญชีครับ)
ผมกับแฟนมีธนาคารที่อเมริกาอยู่ 4 ส่วนที่เมืองไทยอยู่ 5 บอกได้เลยครับว่าค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆต่างกันราวฟ้ากับดินโดยที่อเมริกาคือฟ้าครับ
โดยสรุป ธนาคารของอเมริกามีระบบงานที่มีประสิทธิภาพกว่าเยอะครับ ที่สำคัญเขาให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างแท้จริงครับ (ไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าก็จะไม่มีลูกค้า) ในขณะที่ธนาคารไทยที่เวลาทำธุรกรรมต่างๆ รวบรวมหลักฐานมากมาย เขาทำเพื่อปกป้องตัวเองครับ ซึ่งโดยรวมผมให้คะแนนการให้บริการไม่ต่ำกว่า 7 ครับ ในขณะที่เมืองไทยไม่มีธนาคารไหนผมให้สูงกว่า 4 เลยครับ
ป.ล. ธนาคารไหนในเมืองไทยที่สามารถให้บริการได้เหมือนอเมริกาได้ เตรียมรับเงินที่เมืองไทยผมไปได้เลยครับ แต่ผมยังไม่รู้สึกว่ามีครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมธนาคารที่อเมริกาไม่ค่อยมีคนเข้าใช้บริการมากๆแบบเมืองไทย
ทำไมธนาคารที่ไทย คนเยอะมาก แล้วก็มีปัญหาการแซงคิว เลือกปฎิบัติ มีห้อง VIP มีบัตรWisdom สารพัดจะแบ่งชนชั้น แบบในกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/32693935
อยากรู้ว่ามันแตกต่างกันยังไง ทำไมธนาคารไทยทำไม่ได้แบบอเมริกา จะได้ไม่ต้องรู้สึกว่าถูกเลือกปฎิบัติ