สวัสดียามเช้าวันจันทร์ วันแรก ของสัปดาห์การทำงาน ครับ พี่ๆ น้องๆ ชาว ขาS และ ขาL & ชาว Put,Call ทุกๆท่านครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา SET index ค่อนข้างแกว่งตัว โดยช่วงเช้า ย่อตัวลงมากว่า -16 จุด ตามตลาดภูมิภาคเอเชีย โดยเจอปัจจัยกดดันจาก
ตลาดหุ้นสหรัฐคืนวันพฤหัส ที่ปรับตัวลงค่อนข้างแรง หลังจากนักลงทุนมีความวิตกกังวล ต่อ สถานการณ์ไวรัสอีโบล่า โดยมีผู้ป่วยชาวสหรัฐ
ได้เสียชีวิตลง หลังจากเข้ารับการรักษาได้ไม่นาน กับอีกปัจจัย ก็คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดเป้าการเติบโตเศรษฐกิจโลก
ลดลง ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนแห่เทขาย ทำกำไรออกมาทั่วทั้งโลก ไม่เว้นตลาดหุ้นไทย แต่อย่างไรก็ตามช่วงสายๆ ก็เริ่มเห็นแรงซื้อกลับเข้ามา
อย่างต่อเนื่อง ดันให้ดัชนี SET index ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาปิดที่ระดับ 1552 จุด -7.89 จุด วันนี้มาติดตามกันต่อ ว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นไปได้ไหม
Fundamental
"ฝั่งสหรัฐ" ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
หลังจากบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง" เป็นวงกว้างในระยะเวลา
อันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังคงเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย
ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,544.10 จุด ร่วงลง 115.15 จุด หรือ -0.69%
ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,276.24 จุด ดิ่งลง 102.10 จุด หรือ -2.33%
ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,906.13 จุด ลดลง 22.08 จุด หรือ -1.15%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะซบเซาของ
เศรษฐกิจในยูโรโซน รวมถึงยอดส่งออกของเยอรมนีที่หดตัวลง 5.8% ซึ่งเป็นการหดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 5 ปี และกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 สู่ระดับ 3.3% และปี 2558 สู่ระดับ 3.8%
ซึ่งลดลง 0.1% และ 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. ตามลำดับ
นักลงทุนวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศความพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
(QE) เพื่อปกป้องเศรษฐกิจยูโรโซนให้รอดพ้นจากภาวะเงินฝืด และพร้อมที่จะใช้มาตรการแทรกแซงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งความเคลื่อนไหว
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังย่ำแย่
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น NASDAQ ที่ดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากบริษัท
ไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้เข้าสู่ภาวะปรับฐานแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง" เป็นวงกว้าง
ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ขณะที่หุ้นของไมโครชิพ เทคโนโลยี ร่วงลง 12.26% หุ้นอินเทล คอร์ป ดิ่งลง 5.1% หุ้นไมครอน เทค ร่วงลง 9.3%
และหุ้นเอ็นเอ็กซ์พี เซมิคอนดัคเตอร์ ดิ่งลง 12.4%
ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลงทั้งสิ้น 3.1% ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลง 4.5% และดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 2.7%
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจในต่างประเทศที่ส่งผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดนั้น ทางการฝรั่งเศสเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของ
ฝรั่งเศสไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนก.ค. ซึ่งตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะงักงันของฝรั่งเศส
ได้ตอกย้ำความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3 ปีนี้ หลังจากที่กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมของเยอรมนีร่วงลงอย่างหนัก โดยปรับตัวลง 4.0% ในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ว่าจะปรับตัวลง 1.5%
"ฝั่งยุโรป" ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (10 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
อาจจะเผชิญอุปสรรคในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่รัฐมนตรีคลังของเยอรมนีออกมาเตือนเรื่องการใช้มาตรการผ่อนคลาย
เชิงปริมาณ (QE) แบบเดียวกับในสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขัดแย้งกับที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีได้ออกมาส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ว่า อีซีบีพร้อม
ที่จะใช้มาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในยูโรโซน
ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 321.62 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,788.81 จุด ร่วงลง 216.21 จุด หรือ -2.40%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,073.71 จุด ลดลง 67.74 จุด หรือ -1.64%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,339.97 จุด ลดลง 91.88 จุด หรือ -1.43%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบีอาจจะไม่ราบรื่น
หลังจากที่นายโวล์ฟกัง ชอยเบอร์ รัฐมนตรีคลังเยอรมนีได้ออกมาเตือนเรื่องผลกระทบของการใช้มาตรการ QE แบบเดียวกับในสหรัฐ และเรียกร้อง
ให้ประเทศยูโรโซนหันมาเพิ่มวินัยด้านการคลังเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
การแสดงความคิดเห็นของนายชอยเบิลถือเป็นการขัดแย้งกับที่นายดรากิ ประธานอีซีบีได้กล่าวในที่ประชุมของสถาบันบรูคกิงส์ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
เมื่อเร็วๆนี้ว่า อีซีบีพร้อมที่จะใช้มาตรการเพิ่มเติมอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เงินเฟ้อเคลื่อนไหวในระดับต่ำนาน
จนเกินไป และยังกล่าวด้วยว่า อีซีบีเราพร้อมที่จะใช้มาตรการขนานใหญ่ และ/หรือ ใช้มาตรการแทรกแซงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งถ้อยแถลง
ของนายดรากิถือเป็นการส่งสัญญาณที่หนักแน่นว่า อีซีบีพร้อมที่จะเปิดตัวโครงการซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่ของรัฐบาล หรือที่เรียกกว่ามาตรการ
ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อป้องกันเศรษฐกิจยูโรโซนจากภาวะเงินฝืด หลังจากอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนร่วงลงแตะระดับ 0.3% ในเดือน
ก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ของอีซีบีอยู่มาก
นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในยุโรปอย่างใกล้ชิด หลังจากโรงพยาบาลในกรุงมาดริดรายงานว่า มีการเฝ้าระวัง
สัญญาณการติดเชื้ออีโบลาในประชาชน 13 คนในประเทศสเปน ซึ่งข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางร่วงลงด้วย
รวมถึงหุ้นแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม และหุ้นโธมัส คุ๊ก ที่ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 2.2%
- หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง นำโดยหุ้นเซมิไมโครอิเล็คทรอนิคส์ ร่วงลง 5.7% และหุ้นอินฟิเนียน เทคโนโลยี ร่วงลงเช่นกัน เพราะได้รับแรงกดดัน
หลังจากบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้เข้าสู่ภาวะปรับฐานแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง"
เป็นวงกว้างในระยะเวลาอันใกล้นี้
- หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้น Ophir Energy ร่วงลง 8.2% และหุ้น Abengoa SA ดิ่งลง 8.8%
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
Technical Analysis
SET index TF Day : เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่อตัว หลุดระดับ 1550 ลงไป แต่ช่วงสายๆ เริ่มเห็นแรงซื้อกลับ
จึงทำให้ฟื้นตัวกลับมาปิดตัวยืนเหนือ ระดับ 1550+ ได้อีกครั้ง พร้อมกับเกิดรูปแบบแท่งเทียน "Gapping Side-by-Side
White Lines in Uptrend" ซึ่งเป็น Continuation Pattern จึงคาดว่า แนวโน้มวันนี้ น่าจะใต่ระดับ กลับขึ้นไปยืนเหนือ
EMA25 วัน ได้อีกครั้ง
S50Z14 TF DAy : เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่อตัว หลุดเส้น EMA75วัน 1030 ลงไปเล็กน้อย พอช่วงสายๆ
เริ่มเห็นแรงซื้อกลับ จึงทำให้ฟื้นตัวกลับมาปิดตัวยืนเหนือ เส้น EMA75 ได้สำเร็จ พร้อมกับแท่งเทียน "Morning Star"
จึงคาดว่าแนวโน้มวันนี้ น่าจะฟื้นตัว ใต่ระดับขึ้นไปได้ อีกครั้ง
TF60 : หลังจากกระโดดเปิด Gap ลงมา เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ ตลอดทั้งวันแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ (1026 - 1033 จุด )
โดยมีบางช่วง บางตอนที่ลงไปปิด Gap ด้านล่าง ที่เปิดไว้เช้าวันพฤหัส วันนี้มาลุ้นกันต่อว่า จะสามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือ
EMA25 วัน ได้หรือไม่ ถ้าหากกลับมายืนได้ จะทำให้สัญญาณกลับมาดูสวยงามยิ่งขึ้น / แต่ถ้าหากไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้
ระวังอาจจะย่อตัวลงไป Test Low ที่เคยทำไว้เมื่อเช้าวันพฤหัส ก็เป็นได้
Resistance 1035 1040 1045 / 1560 1566 1570
Support 1025 1020 / 1545 1540
*EOD End of day
ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะ
สำหรับพี่ๆ น้องๆ ที่ เล่น Put,Call Option ครับ ผมอาจจะไม่ ถนัดด้านนี้
แต่ ในกระทู้นี้ รับรองว่ามี จอมขมังเวทย์ Option เยอะครับ เชิญแชร์ iDea เจ๋งๆ เด็ดๆ / หรือข้อสงสัย สอบถามกันตามสบายเลยครับ
กู๊ดมอนิ่ง ชาว ขาS และ ขาL & ชาว Put,Call (13 Oct 14)
สวัสดียามเช้าวันจันทร์ วันแรก ของสัปดาห์การทำงาน ครับ พี่ๆ น้องๆ ชาว ขาS และ ขาL & ชาว Put,Call ทุกๆท่านครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา SET index ค่อนข้างแกว่งตัว โดยช่วงเช้า ย่อตัวลงมากว่า -16 จุด ตามตลาดภูมิภาคเอเชีย โดยเจอปัจจัยกดดันจาก
ตลาดหุ้นสหรัฐคืนวันพฤหัส ที่ปรับตัวลงค่อนข้างแรง หลังจากนักลงทุนมีความวิตกกังวล ต่อ สถานการณ์ไวรัสอีโบล่า โดยมีผู้ป่วยชาวสหรัฐ
ได้เสียชีวิตลง หลังจากเข้ารับการรักษาได้ไม่นาน กับอีกปัจจัย ก็คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดเป้าการเติบโตเศรษฐกิจโลก
ลดลง ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนแห่เทขาย ทำกำไรออกมาทั่วทั้งโลก ไม่เว้นตลาดหุ้นไทย แต่อย่างไรก็ตามช่วงสายๆ ก็เริ่มเห็นแรงซื้อกลับเข้ามา
อย่างต่อเนื่อง ดันให้ดัชนี SET index ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาปิดที่ระดับ 1552 จุด -7.89 จุด วันนี้มาติดตามกันต่อ ว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นไปได้ไหม
Fundamental
"ฝั่งสหรัฐ" ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (10 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
หลังจากบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง" เป็นวงกว้างในระยะเวลา
อันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังคงเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย
ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,544.10 จุด ร่วงลง 115.15 จุด หรือ -0.69%
ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,276.24 จุด ดิ่งลง 102.10 จุด หรือ -2.33%
ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,906.13 จุด ลดลง 22.08 จุด หรือ -1.15%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะซบเซาของ
เศรษฐกิจในยูโรโซน รวมถึงยอดส่งออกของเยอรมนีที่หดตัวลง 5.8% ซึ่งเป็นการหดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 5 ปี และกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 สู่ระดับ 3.3% และปี 2558 สู่ระดับ 3.8%
ซึ่งลดลง 0.1% และ 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. ตามลำดับ
นักลงทุนวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศความพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
(QE) เพื่อปกป้องเศรษฐกิจยูโรโซนให้รอดพ้นจากภาวะเงินฝืด และพร้อมที่จะใช้มาตรการแทรกแซงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งความเคลื่อนไหว
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังย่ำแย่
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากการที่นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น NASDAQ ที่ดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากบริษัท
ไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้เข้าสู่ภาวะปรับฐานแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง" เป็นวงกว้าง
ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ขณะที่หุ้นของไมโครชิพ เทคโนโลยี ร่วงลง 12.26% หุ้นอินเทล คอร์ป ดิ่งลง 5.1% หุ้นไมครอน เทค ร่วงลง 9.3%
และหุ้นเอ็นเอ็กซ์พี เซมิคอนดัคเตอร์ ดิ่งลง 12.4%
ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลงทั้งสิ้น 3.1% ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลง 4.5% และดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 2.7%
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจในต่างประเทศที่ส่งผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดนั้น ทางการฝรั่งเศสเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของ
ฝรั่งเศสไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนก.ค. ซึ่งตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะงักงันของฝรั่งเศส
ได้ตอกย้ำความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3 ปีนี้ หลังจากที่กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมของเยอรมนีร่วงลงอย่างหนัก โดยปรับตัวลง 4.0% ในเดือนส.ค. ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ว่าจะปรับตัวลง 1.5%
"ฝั่งยุโรป" ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (10 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
อาจจะเผชิญอุปสรรคในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่รัฐมนตรีคลังของเยอรมนีออกมาเตือนเรื่องการใช้มาตรการผ่อนคลาย
เชิงปริมาณ (QE) แบบเดียวกับในสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขัดแย้งกับที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีได้ออกมาส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ว่า อีซีบีพร้อม
ที่จะใช้มาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในยูโรโซน
ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 321.62 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,788.81 จุด ร่วงลง 216.21 จุด หรือ -2.40%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,073.71 จุด ลดลง 67.74 จุด หรือ -1.64%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,339.97 จุด ลดลง 91.88 จุด หรือ -1.43%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่าการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบีอาจจะไม่ราบรื่น
หลังจากที่นายโวล์ฟกัง ชอยเบอร์ รัฐมนตรีคลังเยอรมนีได้ออกมาเตือนเรื่องผลกระทบของการใช้มาตรการ QE แบบเดียวกับในสหรัฐ และเรียกร้อง
ให้ประเทศยูโรโซนหันมาเพิ่มวินัยด้านการคลังเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
การแสดงความคิดเห็นของนายชอยเบิลถือเป็นการขัดแย้งกับที่นายดรากิ ประธานอีซีบีได้กล่าวในที่ประชุมของสถาบันบรูคกิงส์ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
เมื่อเร็วๆนี้ว่า อีซีบีพร้อมที่จะใช้มาตรการเพิ่มเติมอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เงินเฟ้อเคลื่อนไหวในระดับต่ำนาน
จนเกินไป และยังกล่าวด้วยว่า อีซีบีเราพร้อมที่จะใช้มาตรการขนานใหญ่ และ/หรือ ใช้มาตรการแทรกแซงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งถ้อยแถลง
ของนายดรากิถือเป็นการส่งสัญญาณที่หนักแน่นว่า อีซีบีพร้อมที่จะเปิดตัวโครงการซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่ของรัฐบาล หรือที่เรียกกว่ามาตรการ
ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อป้องกันเศรษฐกิจยูโรโซนจากภาวะเงินฝืด หลังจากอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนร่วงลงแตะระดับ 0.3% ในเดือน
ก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% ของอีซีบีอยู่มาก
นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในยุโรปอย่างใกล้ชิด หลังจากโรงพยาบาลในกรุงมาดริดรายงานว่า มีการเฝ้าระวัง
สัญญาณการติดเชื้ออีโบลาในประชาชน 13 คนในประเทศสเปน ซึ่งข่าวดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางร่วงลงด้วย
รวมถึงหุ้นแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม และหุ้นโธมัส คุ๊ก ที่ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 2.2%
- หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง นำโดยหุ้นเซมิไมโครอิเล็คทรอนิคส์ ร่วงลง 5.7% และหุ้นอินฟิเนียน เทคโนโลยี ร่วงลงเช่นกัน เพราะได้รับแรงกดดัน
หลังจากบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้เข้าสู่ภาวะปรับฐานแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง"
เป็นวงกว้างในระยะเวลาอันใกล้นี้
- หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงเช่นกัน โดยหุ้น Ophir Energy ร่วงลง 8.2% และหุ้น Abengoa SA ดิ่งลง 8.8%
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
Technical Analysis
SET index TF Day : เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่อตัว หลุดระดับ 1550 ลงไป แต่ช่วงสายๆ เริ่มเห็นแรงซื้อกลับ
จึงทำให้ฟื้นตัวกลับมาปิดตัวยืนเหนือ ระดับ 1550+ ได้อีกครั้ง พร้อมกับเกิดรูปแบบแท่งเทียน "Gapping Side-by-Side
White Lines in Uptrend" ซึ่งเป็น Continuation Pattern จึงคาดว่า แนวโน้มวันนี้ น่าจะใต่ระดับ กลับขึ้นไปยืนเหนือ
EMA25 วัน ได้อีกครั้ง
S50Z14 TF DAy : เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่อตัว หลุดเส้น EMA75วัน 1030 ลงไปเล็กน้อย พอช่วงสายๆ
เริ่มเห็นแรงซื้อกลับ จึงทำให้ฟื้นตัวกลับมาปิดตัวยืนเหนือ เส้น EMA75 ได้สำเร็จ พร้อมกับแท่งเทียน "Morning Star"
จึงคาดว่าแนวโน้มวันนี้ น่าจะฟื้นตัว ใต่ระดับขึ้นไปได้ อีกครั้ง
TF60 : หลังจากกระโดดเปิด Gap ลงมา เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ ตลอดทั้งวันแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ (1026 - 1033 จุด )
โดยมีบางช่วง บางตอนที่ลงไปปิด Gap ด้านล่าง ที่เปิดไว้เช้าวันพฤหัส วันนี้มาลุ้นกันต่อว่า จะสามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือ
EMA25 วัน ได้หรือไม่ ถ้าหากกลับมายืนได้ จะทำให้สัญญาณกลับมาดูสวยงามยิ่งขึ้น / แต่ถ้าหากไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้
ระวังอาจจะย่อตัวลงไป Test Low ที่เคยทำไว้เมื่อเช้าวันพฤหัส ก็เป็นได้
Resistance 1035 1040 1045 / 1560 1566 1570
Support 1025 1020 / 1545 1540
*EOD End of day
ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะ
สำหรับพี่ๆ น้องๆ ที่ เล่น Put,Call Option ครับ ผมอาจจะไม่ ถนัดด้านนี้
แต่ ในกระทู้นี้ รับรองว่ามี จอมขมังเวทย์ Option เยอะครับ เชิญแชร์ iDea เจ๋งๆ เด็ดๆ / หรือข้อสงสัย สอบถามกันตามสบายเลยครับ