ปรีดีพนมยงค์เคยเอาอาวุธให้โฮจิมินต์

พ่อเอาอาวุธนี้แหละ ไม่รู้จากไหนต่อไหน เอาเป็นว่า อังกฤษให้ อเมริกาให้ มันก็เป็นของเสรีไทยแบ้ว พ่อถือว่าพ่อก็มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ใครก็ได้ (เพราะพ่อเป็นบิดาแห่งกฎหมายลักษณะกรรมสิทธิ์)

พ่อเอาอาวุธหนักพวกนี้ไปให้ "ลุงโฮ" เว้ยลูก "โฮ จิ มินห์" น่ะลูก ลูกรู้จักลุงคนนี้กันมั๊ย ในฐานะคนเวียดนาม ลุงแกเป็นวีรบุรุษ แต่พ่อขอเล่าในฐานะมุมมองของอเมริกานะลูก (เป็นหนึ่งในบทความที่ทางเพจคณะร่านได้ให้ไว้)


แหล่งข้อมูล
E. Bruce Reynolds, Thailand's Secret War : OSS, SOE, and the Free Thai Underground during World War II (Cambridge ; New York : Cambridge University Press, 2005)

NARA, CIA Record search Tool (CREST), CIA-RDP82-00457R001000650008-5, 4 November 1947, "Free Thai view on Ho Chi Minh."
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8&page=1&start=1

อัญเชิญขึ้นครองราชย์

...
ที่ผมอุตส่าห์ลำดับความการสืบราชสันตติวงศ์มานั้น ก็เพื่อเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ท่านปรีดี  พนมยงค์ มีส่วนสำคัญอย่างไรบ้างในการสนับสนุนเชื้อสายกรมหลวงสงขลานครินทร์ขึ้นนั่งบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ทั้งที่ถูกข้ามมาแล้ว

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีระหว่างวันที่ ๒-๗ มีนาคม ๒๔๗๗ ครั้งนั้นท่านปรีดีได้บันทึกไว้ในหนังสือ บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้

“(๑) พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ที่ทรงเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ ๖ ครั้นแล้วจึงพิจารณาคำว่า “โดยนัย” แห่งกฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ นั้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จะต้องยกเว้นตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่งกฎมณเฑียรบาลหรือไม่เพราะมารดามีสัญชาติเดิมเป็นต่างประเทศ ซึ่งตามตัวบทโดยเคร่งครัดกล่าวไว้แต่เพียง ยกเว้นผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว (ขณะนั้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยังไม่มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว) รัฐมนตรีบางท่านเห็นว่าข้อยกเว้นนั้นใช้สำหรับรัชทายาทองค์อื่น แต่ไม่ใช่กรณีสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ซึ่งขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ สถาปนาเป็นรัชทายาทนั้น ก็ทรงมีพระชายาเป็นนางต่างด้าวอยู่แล้ว และทรงรับรองเป็นสะใภ้หลวงโดยถูกต้อง แต่ส่วนมากของคณะรัฐมนตรีตีความคำว่า ‘โดยนัย’ นั้นย่อมนำมาใช้ในกรณีผู้ซึ่งจะสืบราชสันตติวงศ์มีพระมารดาเป็นนางต่างด้าวด้วย”

รัฐมนตรีส่วนข้างมากที่ตีความคำว่า ‘โดยนัย’ ดังกล่าวนี้มีท่านปรีดีรวมอยู่ด้วย และเป็นคนสำคัญในการอภิปรายชักจูงให้รัฐมนตรีส่วนข้างมากมีความเห็นร่วมกับท่าน

ที่ประชุมจึงได้พิจารณาถึงพระองค์อื่นๆ ตามกฎเกณฑ์ของกฎมณเฑียรบาลที่ระบุไว้ว่า “...ต่อไม่สามารถเลือกทางสายตรงได้แล้ว จึงให้เลือกตามเกณฑ์ที่สนิทมากน้อย”

ในบรรดาพระงค์ที่สนิทมากและน้อยนี้มี อาทิ กรมพระนครสวรรค์ฯ และพระโอรส พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และในที่สุดคณะรัฐมนตรีมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ตามการชี้นำของท่านปรีดีที่เห็นสมควรสถาปนาพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานคริทร์ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๘ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ อันเป็นการกลับเข้าสู่สายเดิม คือสายสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฎราชกุมาร

การสถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ นอกจากจะเป็นการกลับคืนเข้าสู่สายเดิมโดยชอบธรรมแล้วยังเป็นไปตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ อีกด้วย บันทึกลับที่จดโดยพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ว่าดังนี้

“วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลา ๑๗.๑๕ น. โปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์ฯ พระยาศรีวิสารฯ พระยาปรีชาชลยุทธ พระยาพหลฯ กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม มาเฝ้าฯ ที่วังสุโขทัย มีพระราชดำรัสว่า อยากจะสอบถามความบางข้อและบอกความจริงใจ ฯลฯ อีกอย่างหนึ่งอยากจะแนะนำเรื่องสืบสันตติวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และพระพุทธเจ้าหลวงได้เคยทรงพระราชดำริที่จะออกจากราชสมบัติเมื่อทรงพระชราเช่นเดียวกัน ในส่วนพระองค์พระเนตรก็ไม่ปรกติคงทนงานไปได้ไม่นาน เมื่อการณ์ปรกติแล้ว จึงอยากจะลาออกเสีย ทรงพระราชดำริเห็นว่า พระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ ก็ถูกข้ามมาแล้ว ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป ควรจะเป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานคริทร์ ฯลฯ”

ดังกล่าวนี้  จะเห็นได้ว่าท่านปรีดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการอัญเชิญในหลวงอานันท์ฯ ขึ้นครองราชย์ เมื่อ  ๒ มีนาคม ๒๔๗๗
__________

http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8&page=2&start=1

ปกป้องพระเกียรติ

จากการที่พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และท่านปรีดีได้ลงพระนามและลงนามอนุมัติให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการก็ได้ออกอากาศให้รู้กันทั่วไป อันเป็นการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องตามแบบแผนทุกประการ แต่ไม่ถูกใจจอมพล ป. เพราะเจตนาการลาออกของจอมพล ป. ก็เพื่อหยั่งเชิงการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบนโปเลียน ด้วยคาดคิดว่าคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คงไม่กล้าลงพระนามและลงนามอนุมัติให้ท่านลาออก และถ้าเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับยอมรับในอำนาจเบ็ดเสร็จของท่าน แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น อันเป็นสัญญาณบอกให้ท่านรู้ว่าการเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จยังมีปัญหา ซึ่งหมายถึงยังมีคนต่อต้านขัดขวาง

เพื่อแก้ปัญหาการต่อต้านขัดขวางการขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ จอมพล ป. จึงอาศัยอำนาจตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตามกฤษฎีกาลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ ออกคำสั่งให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และท่านปรีดีเข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด (อันอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารสูงสุด คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ผู้เขียน) และให้ไปรายงานตัวต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดภายใน ๒๔ ชั่วโมง

ต่อคำสั่งดังกล่าว พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ รีบไปรายงานตัวทันที ส่วนท่านปรีดีไม่ยอมไปท่านให้เหตุผลที่ไม่ยอมไปรายงานตัวว่าดังนี้

“ข้าพเจ้ามีตำแหน่งเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญ ถ้าข้าพเจ้าไปรายงานตัวยอมอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็เท่ากับข้าพเจ้าลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงอยู่ภายใต้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีรัฐมนตรีบางนายได้ชี้แจงขอร้องให้จอมพล ป.ถอนคำสั่งที่ว่านั้น ซึ่งจอมพล ป. ก็ได้ยอมถอนคำสั่ง เป็นอันว่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ และข้าพเจ้าคงสามารถปฏิบัติภารกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นจอมทัพตามรัฐธรรมนูญได้ต่อไป”

_____________________________

http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8&page=2&start=1

ปกป้องพระเกียรติ

ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านปรีดีได้ปกป้องพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ไว้อย่างดียิ่งชีวิต ดังเช่นในกรณีที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เมื่อนำพระราชบัญญัติหรือพระบรมราชโองการใดก็แล้วแต่ เสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงพระนามและลงนามในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะลงนามในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการไปเป็นการล่วงหน้าเป็นการบีบบังคับให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องลงนามในพระราชบัญญัติหรือพระบรมราชโองการนั้นๆ เสมือนกับตรายาง อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายทวี  บุณยเกตุ ในฐานะเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้นำพระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ได้บันทึกไว้ในหนังสือความทรงจำของท่านว่าดังนี้

“...ตามระเบียบนั้น จะเป็นพระราชบัญญัติก็ตามหรือพระบรมราชโองการใดๆ ก็ตาม พระมหากษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธยหรือลงนามก่อนแล้วนายกรัฐมนตรีจึงจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในภายหลัง แต่ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม มักจะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก่อน แล้วจึงได้ให้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ลงนาม...”

แต่ในสมัยที่ท่านปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านไม่ยอมให้จอมพล ป. ทำเช่นนั้น  โดยท่านอ้างว่า การกระทำของจอมพล ป. เช่นนั้นเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

_____________________________

http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8&page=2&start=1

ปกป้องราชบัลลังก์

ต่อกรณีดังกล่าว พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ให้การเป็นพยานในคดีอาชญากรสงคราม ที่มีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นจำเลย มีความตอนหนึ่งรับกันกับคำฟ้องของท่านปรีดีข้างต้น ดังนี้

“ตอนที่ จอมพล ป. นำให้มีการลาออกหรือให้พ้นจากบรรดาศักดิ์กันนั้น ขุนนิรันดรชัยได้มาทาบทามข้าพเจ้าว่า จะได้มีการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์กันใหม่เป็นสมเด็จเจ้าพญาชายบ้าง สมเด็จเจ้าพญาหญิงบ้าง และขุนนิรันดรชัยถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ โดยยึดหลักเกณฑ์ว่า ผู้ที่ได้สายสะพายนพรัตน์จะได้เป็นสมเด็จเจ้าพญาชาย ซึ่งมีจอมพล ป. คนเดียวที่ได้สายสะพายนั้น เมื่อตั้งสมเด็จเจ้าพญาชายแล้ว เมียของผู้นั้นก็ได้เป็นสมเด็จเจ้าพญาหญิงตามไปด้วย

“ข้าพเจ้า รู้สึกว่า จอมพล ป. นั้น กระทำการเพื่อจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง แล้วภรรยาจอมพล ป. ก็มีความมักใหญ่ใฝ่สูงทำนองเดียวกันเอารูปไปฉายในโรงหนังให้คนทำความเคารพโดยมีการบังคับ ในการทำบุญวันเกิดก็ทำเทียมวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น มีตราไก่กางปีกประดับธงทิวทำนองเดียวกับตราครุฑหรือตราพระบรมนามาภิไธยย่อ และได้สร้างเก้าอี้ขึ้นในทำนองเดียวกับเก้าอี้โทรนของพระเจ้าแผ่นดินเว้นแต่ใช้ตราไก่กางปีกแทนตราครุฑเท่านั้น...”

ในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๘๙ ถึงคณะกรรมการจังหวัด ชี้แจงการโฆษณาหลอกลวงของพรรคประชาธิปัตย์ (ในขณะนั้น) ที่ใส่ร้ายท่านปรีดีในกรณีสวรรคตของในหลวงอานันท์ฯ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยได้ยกข้อเท็จจริงในการแสดงความจงรักภักดีของท่านปรีดีต่อในหลวงอานันท์ฯ มีความตอนหนึ่งว่าดังนี้

“เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษฐ์ ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว นายกรัฐมนตรีปัจจุบันนี้ (ปรีดี  พนมยงค์ ) เมื่อครั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้อัญเชิญทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เสด็จกลับมาครองราชย์ มิได้ปรารถนาที่จะกุมอำนาจที่จะทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐ และไม่ได้กระทำการขัดขวางอย่างใด แต่ตรงกันข้ามกลับอัญเชิญเสด็จกลับมา มอบถวายราชสมบัติแด่พระองค์

“ในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้ปองร้ายต่อราชบัลลังก์ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนี้ (ปรีดี  พนมยงค์) เมื่อครั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้เสียสละและเสี่ยงภัยเพื่อป้องกันราชบัลลังก์ให้ปลอดภัยตลอดมา เวลานั้นหามีผู้ใดเสี่ยงภัยเช่นนั้นไม่ แต่ตรงกันข้ามกลับประจบสอพลอผู้มีอำนาจ รัฐบาลนี้มีความเสียใจที่พรรคประชาธิปัตย์บางคนได้ฉวยเอาพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง” (เพื่อทำลายท่านปรีดี-ผู้เขียน)
_____________________________

http://chantrawong.blogspot.com/2011/12/blog-post.html
     นายปรีดี พนมยงค์ หากประสงค์จะล้มล้างระบอบกษัตริย์แล้ว มีโอกาสทำได้มานานแล้วตั้งแต่สมัยครั้งเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ในค่ำวันเกิดเหตุนั้น นายปรีดีฯ กลับรีบเรียกประชุมรัฐสภาด่วน และลงมติแต่งตั้งเจ้าฟ้าภูมิพล เป็นผู้สืบราชบัลลังก์เป็นรัชกาลที่ 9 ต่อจากพระเชษฐา  หลังจากนั้นนายปรีดีฯ ก็ลาออกจากนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความรับผิดชอบ นายปรีดีฯ กำลังกลัวอะไร หรือนายปรีดีฯ กำลังกลัวกลุ่มอำนาจมืดจะมายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งล้มล้างสถาบันกษัตริย์        
     ทำไมสภา ยังมอบความไว้วางใจ เชิญ นายปรีดี พนมยงค์ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 11 มิ.ย.2498 อีกครั้ง (หลังจากเกิดเหตุการณ์และลาออกไปแล้วเพียง 3 วัน) แสดงว่า สภาคงรู้สึกเคลือบแคลงต่อกลุ่มอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ และเชื่อมั่นกลุ่มอำนาจของนายปรีดี พนมยงค์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่