“Hope is a good thing. Maybe the best of good things. and no good thing ever dies”
- The Shawshank Redemption (1994)
‘ชายหนุ่มวัยกลางคนคนหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถสีดำคันใหญ่ ซึ่งจอดสนิทอยู่ท่ามกลางสวนสาธารณะอันมืดมิด มือขวาของเขากำขวดวอดก้าไว้แน่นราวกับว่ามันคือขวดสุดท้ายบนโลกใบนี้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งบรรจงบรรจุกระสุนใส่ปืนลูกโม่ขนาดพอดีมือพร้อมใช้งาน สีหน้าและท่าทางกระสับกระส่ายของเขาบ่งบอกถึงความสับสนและความขัดแย้งในใจของเขาเอง ยิ่งปริมาตรของวอดก้าในขวดน้อยลงเท่าไหร่ ความสับสนของเขากลับเพิ่มเป็นทวีคูณ แต่ท้ายสุดแล้วเขาก็เลือกที่จะยุติปัญหาของเขาด้วยการปล่อยวาง เขาได้ก้าวลงจากรถเดินตรงไปที่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงและได้โยนอาวุธสังหารที่อยู่ในมือของเขาลงไปในแม่น้ำ แต่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก วินาทีที่ปืนของเขากระทบกับผิวน้ำนั้น ชีวิตของเขาก็ได้เปลี่ยนไปตลอดกาล’ เรื่องราวที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นฉากเปิดของหนังเรื่องหนึ่ง ที่หลายต่อหลายคนยกให้เป็นหนังยอดเยี่ยมตลอดกาล หนังเรื่องนี้ถูกดัดแปลงมาจากนิยายชื่อดัง แต่งโดยเจ้าพ่อนิยายสยองขวัญอย่าง Stephen King โดยนิยายที่ว่ามานั้นมีชื่อว่า‘Rita Hayworth and Shawshank Redemption’ ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับฉบับภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า ‘The Shawshank Redemption’
The Shawshank Redemption ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครที่ชื่อ Andy Dufrense (Tim Robbins) นายธนาคารอนาคตไกลคนหนึ่งซึ่งโชคร้ายโดนยัดเยียดความผิดฐานฆาตรกรรมภรรยาของเขาและชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นชู้กับภรรยาของเขา ไม่เพียงแต่แรงจูงใจที่ดูมีน้ำหนักของ แอนดี้ เท่านั้นเขายังถูกหลักฐานต่างๆที่ทนายไปสืบหามา รัดตัวจนทำให้คำปฏิเสธของเขาดูจะไร้น้ำหนักลงทันทีการกระทำต่างๆที่เขาได้กระทำในสวนสาธารณะคืนนั้นต่างย้อยกลับมาทักทายเขาในชั้นศาลราวกับเป็นเพื่อนสนิทที่กำลังจะลากเขาเข้าไปในคุก เมื่อถึงคำพูดสรุปสุดท้ายของผู้พิพากษา ชื่อของ Andy Dufrense ก็ถูกบันทึกลงไปในฐานช้อมูลรายชื่อนักโทษของเรือนจำชอแชงทันที
ดูผิวเผินแล้วThe Shawshank Redemption เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนชีวิตของผู้บริสุทธิ์คนหนึ่งที่ต้องถูกจำกัดอิสรภาพของตนเองจากการเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำเพื่อชดใช้ความผิดที่ตนเองไม่ได้ก่อไว้ แอนดี้ ต้องเจอกับผู้คนมากมายในชอแชง โดยตัวละครต่างๆที่มีส่วนในการดำเนินเรื่องนั้นไม่ต่างกับตัวละครของภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรือนจำทั่วไป อย่างเช่นพัศดีผู้เคร่งศาสนาแต่การกระทำกลับตรงข้าม อย่าง Warden Norton, หัวหน้าผู้คุมสุดเหี้ยมแต่ใจเปราะอย่าง Captain Byron T.Hadley, กลุ่มเพื่อนนักโทษซึ่งคนที่ดูท่าจะสนิทกับแอนดี้ที่สุดคงหนีไม่พ้น Red (Morgan Freeman) หนุ่มใหญ่ผิวสีผู้ซึ่งประทับใจในสายตาและการกระทำของแอนดี้ ตั้งแต่แรกเริ่มที่แอนดี้ก้าวเข้ามา ในเรือนจำแห่งนี้ และที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นกลุ่มศัตรูรักร่วมเพศอย่าง Bogs Diamondและผองเพื่อน ที่คอยรังความแอนดี้แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ได้รับผลกรรมอย่างสาสม
สิ่งที่ทำให้ The Shawshank Redemption แตกต่างจากหนังจำคุกเรื่องอื่นๆก็คงเป็นเรื่องความสวยงามของเนื้อหาที่ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า”ผลผลิตทางความคิด”ซึ่งถ้าจะอธิบายในเชิงเปรียบเทียบแล้ว จะเห็นได้ว่า การใช้ชีวิตของแอนดี้ระหว่างอยู่ชอแชง อุปสรรค ความคิด และการกระทำต่างๆของเขานั้นเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงที่ถูกดูดซึมผ่านทางความคิดวิเคราะห์ของคนดูที่เปรียบเหมือรากแก้วรวมไปถึงท่อลำเลียงน้ำ ทำให้เกิดผลผลิตทางความคิดที่งดงามและน่าค้นหา ผลผลิตทางความคิดที่เกิดขึ้นก็คงหมายถึงข้อคิดต่างๆที่หนังได้ถ่ายทอดให้คนดูได้นำไปคิดและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นในการฝ่าฟันอุปสรรค ถือเป็นเป็นกำไรของผู้ที่ได้รับชมนอกจากความสนุกที่ตัวหนังมีอยู่แล้ว ซึ่งก็คงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หนังเรื่องนี้ยืนหยัดเป็นภาพยนตร์อันดับต้นๆของนักดูหนังได้อย่างยืนยาวและไม่มีทีท่าว่าจะล้มตาย ผลผลิตทางความคิดที่ได้จากหนังเรื่องนี้นั้นมีมากมายเหลือเกิน แต่ที่เห็นได้ชัดคงไม่พ้นสิ่งต่างๆที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ โดยผลแรกที่ผมจะนำมากล่าวถึงก็คือ
1. “ศีลธรรมความดี” หน้ากากที่ทุกคนสวมใส่
“หน้ากากแห่งศีลธรรม” คำคำนี้คงจะไม่ใช่คำเปรียบเปรยที่ดูเกินจริง อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า หน้ากากนั้นเป็นสิ่งที่คนเราสวมใส่เพื่อปกปิดใบหน้าในเวลาที่ไม่ต้องการให้คนอื่นรอบๆตัวเรารู้ว่าเรานั้นเป็นใคร แต่หน้ากากที่ปกปิดด้านศีลธรรมนั้นกลับสื่อความหมายออกมาในด้านตรงข้าม สิ่งที่หน้ากากปกปิดนั้นกลับเป็นสันดานเลวที่ผู้สวมใส่มีไว้ในครอบครองแต่ไม่กล้าที่จะเผยออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้อาจเนื่องมาจากเวลาหรือสถานที่ไม่อำนวย เพราะมันอาจนำมาซึ่งการถูกลงโทษทางกฎหมายหรือถูกประนามโดยสังคมรอบตัว โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนต่างมีสิ่งๆนี้ในตัวทั้งสิ้นไม่มากก็น้อยจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะแปลกใจนักเท่าไหร่ที่หลายๆคนต้องการที่จะไขว่คว้าหน้ากากแห่งศีลธรรมมาสวมใส่เพื่อปิดบังความไม่ปกติทางศีลธรรมของตนเองและรอวันที่จะเผยมันออกมาในเวลาที่สถานการณ์ต่างๆเอื้ออำนวย พัศดี Warden เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของคนที่สวมใส่หน้ากากศีลธรรม จากประเด็นหลายๆเรื่องที่ถูกถ่ายถอดออกมาในหนังเรื่องนี้อย่างเช่น การที่เขาสร้างภาพลักษณ์ของตนเองจากการเป็นคนที่คลั่งไคล้ในคำสอนของพระเยซูเจ้าและเชื่อในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลแบบสุดใจ ถึงขนาดติดป้ายเตือนใจไว้บนกำแพงห้องทำงานด้วยประโยคที่ว่า “His judgement cometh and that right soon” ประโยคเตือนใจที่ถูกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ที่เขานับถือแต่ท้ายสุดเขากลับใช้ป้ายนั้นในการปิดบังตู้เซฟที่เขาใช้เก็บทรัพย์สินต่างๆที่เขาได้มาอย่างสกปรกไม่ว่าจะเป็นการ กินเงินใต้โต๊ะ การหลีกหนีภาษี และการคอรัปชั่นมากมาย หน้ากากที่ท่านพัศดีผู้นี้สวมใส่ไม่เพียงแต่จะครอบคลุมใบหน้าเขาเท่านั้น มันยังรวมไปถึงการแต่งกายที่ดูมีฐานะภูมิฐาน ตำแหน่งการทำงานที่ค่อนข้างจะเป็นที่น่าเชื่อถือ รวมไปถึงคำพูดต่างๆที่เอ่ยออกมาจากปากที่ดูสวยงามและหนักแน่นในกฎ แต่หน้ากากก็ยังเป็นหน้ากากอยู่วันยังค่ำ มันสามารถถูกถอดออกได้เสมอและเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม วอเดนก็ไม่ลังเลที่จะถอดมันออกและเผยถึงหน้าตาสันดานที่แท้จริงที่เขาเป็น ทำได้แม้กระทั่งการฆ่าคนเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ประเด็นของผลผลิตผลนี้ถ้ามองย้อนกลับมาที่สังคมเราก็จะเห็นว่ามันช่างละม้ายคล้ายคลึงกับคนในสังคมเรามากเหลือเกิน ตัวของวอเดนก็คงเป็นตัวแทนถึง คนจำพวก มือถือสาก ปากถือศีล แต่งตัวหรูหรา แต่ศีลธรรมความคิดกลับไม่หรูหราตาม ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ก็คงเป็น นักการเมืองที่รณรงค์ต่อต้านคอรัปชั่นแต่ท้ายสุดกลับทำเสียเอง หรือจะเป็นนายตำรวจยศสูงที่ใช้กฎหมายที่ตนเคารพนับถือมาเอาเปรียบชาวบ้านตาดำๆ ปฏิบัติงานตามใบสั่งจากผู้มีอิทธิพลเพื่อเปลี่ยนแปลงความจริงให้เป็นเท็จ เปลี่ยนผิดให้เป็นถูก แต่เมื่อไหร่ที่ถึงเวลาออกสื่อพวกเขาจะอาศัยความกฎหมายที่เคยท่องมาและความถูกต้องจอมปลอมจะถูกกล่าวขึ้นมาบังหน้าเป็นเสมือนหน้ากากที่ทำให้ตนเองดูเป็นคนมีศีลธรรมขึ้นมาทันที
2. “สัญชาติญาณที่เลือนหายไป”
นักโทษที่ถูกจองจำในคุกคงไม่ต่างกับนกที่ถูกขังในกรง นานๆไปนกเหล่านั้นก็จะลืมวิธีบิน ลืมความรู้สึก ลืมความสวยงามของทิวทัศน์เมื่อมองลงมาจากมุมสูง ไม่ต่างกับสัตว์ผู้ล่าที่โดนขังอยู่ในกรง นานๆเข้าสันชาติญาณการล่า ความเร็ว ความโหดเหี้ยมที่อยู่ในสายตาก็จะเลือนหายไป มนุษย์ก็เช่นกันเมื่อถูกจองจำไปนานๆก็จะมีสองสิ่งที่เลือนหายไปนั่นก็คือสันชาติญาณในการใช้ชีวิตและสันชาติญาณในการมีชีวิต ทั้งสองสิ่งที่ผมกล่าวมานั้นแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น และ The Shawshank Redemption สามารถถ่ายทอดประเด็นนี้ได้อย่างแยบยลผ่านความเบื่อหน่ายต่อโลกของนักโทษอย่าง บรูก ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของมนุษย์ที่สูญเสียสันชาติญาณในการใช้ชีวิตภายนอกเรือนจำไปสันชาติญาณในการใช้ชีวิตก็คงหมายถึงการเอาตัวรอดจากสังคมภายนอกที่โหดร้าย ที่ถาโถมเข้ามาคอยเอารัดเอาเปรียบตัวเขาอยู่เสมอ รวมไปถึงการมีเป้าหมายในชีวิตในสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากกาลเวลาที่เลยผ่าน โลกภายนอกที่บรูกต้องเจอนั้นไม่ใช่โลกที่เขารู้จักอีกต่อไป เมื่อเขาใช้ชีวิตของเขาให้ผ่านไปวันวันอย่างไร้จุดหมาย ด้วยความชราภาพ และไร้ซึ่งญาติมิตร คนรู้จัก เป็นเหตุทำให้เขาเป็นโรคซึมเศร้าและสุดท้ายแล้วเขาเลือกทางออกโดยการจบชีวิตของตนเองอยู่บนขื่อที่ห้องพักของเขา คำว่า “Brook was here” เป็นประโยคที่คอยย้ำเตือนถึงตัวตนของเขาที่ไม่มีใครเคยรับรู้ ประโยคนี้ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรแต่มันเต็มเปี่ยมไปด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจและน่าเศร้ายิ่งนัก
สันชาตญานในการมีชีวิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ตัวละครอย่าง เรด เป็นตัวแทนที่ดีของคนที่ลืมไปแล้วว่าสันชาติญาณในการมีชีวิตนั้นสำคัญเพียงใด เขาลืมไปแล้วว่าครั้งหนึ่งตัวเขามีความสุขเพียงใดในการมีชีวิตก่อนที่เขาจะถูกกักอยู่ในคุกแห่งนี้ ตรงข้ามกับตัวละครอย่างแอนดี้ที่คอยทำทุกวิถีทางที่จะไม่ลืมมัน จากฉากๆหนึ่งที่แอนดี้ได้ลอบเข้าไปในห้องกระจายเสียงและเปิดเพลงที่แสนจะไพเราะเพื่อคอยย้ำเตือนให้ทุกคนในคุกรับรู้และจดจำไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเขามีความสุขเพียงใดเมื่อได้ฟังเพลงที่แสนไพเราะ และสวยงาม ความสุขเล็กน้อยๆที่ทุกคนได้ลืมมันไปแล้ว อีกฉากที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดของแอนดี้ต่อสันชาติญานในการมีชีวิตนี้ก็คงเป็นฉากที่แอนดี้ได้ถามเร้ดว่าทำไมถึงเลิกเป่าหีบเพลงเพราะมันเป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนถึงความสุขเล็กน้อยๆ และเสียงมันออกจะไพเราะ แต่เร้ดกลับตอบอย่างไร้เยื่อไยว่า เขาได้ลืมความสุขนั้นไปแล้วและไม่อยากที่จะรับรู้ถึงมันอีก แอนดี้จึงมอบหีบเพลงให้เป็นของขวัญแก่เขาเพื่อให้เขาได้นำความสุขเล็กๆนี้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง สิ่งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยหลักที่พวกเราควรต้องมีและใช้มันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมที่โหดร้ายแห่งนี้ จุดหมายในชีวิตบ่งบอกถึงหนทางในการใช้ชีวิตของเราว่าจะต้องมุ่งไปในเส้นทางไหน แต่ก็ต้องไม่ลืมความสุขในการดำเนินชีวิตถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงความสุขเล็กๆน้อยๆ เพราะสิ่งสองสิ่งนี้เปรียบเสมือนเชื้อพลิงที่คอยผลักดันให้พวกเราทุกคนก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ทำให้พวกเราทุกคนกล้าที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือมันทำให้เรามีความสุขและอยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
<The Shawshank Redemption> กำแพงที่มองไม่เห็น
- The Shawshank Redemption (1994)
‘ชายหนุ่มวัยกลางคนคนหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถสีดำคันใหญ่ ซึ่งจอดสนิทอยู่ท่ามกลางสวนสาธารณะอันมืดมิด มือขวาของเขากำขวดวอดก้าไว้แน่นราวกับว่ามันคือขวดสุดท้ายบนโลกใบนี้ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งบรรจงบรรจุกระสุนใส่ปืนลูกโม่ขนาดพอดีมือพร้อมใช้งาน สีหน้าและท่าทางกระสับกระส่ายของเขาบ่งบอกถึงความสับสนและความขัดแย้งในใจของเขาเอง ยิ่งปริมาตรของวอดก้าในขวดน้อยลงเท่าไหร่ ความสับสนของเขากลับเพิ่มเป็นทวีคูณ แต่ท้ายสุดแล้วเขาก็เลือกที่จะยุติปัญหาของเขาด้วยการปล่อยวาง เขาได้ก้าวลงจากรถเดินตรงไปที่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงและได้โยนอาวุธสังหารที่อยู่ในมือของเขาลงไปในแม่น้ำ แต่เหมือนโชคชะตาเล่นตลก วินาทีที่ปืนของเขากระทบกับผิวน้ำนั้น ชีวิตของเขาก็ได้เปลี่ยนไปตลอดกาล’ เรื่องราวที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นฉากเปิดของหนังเรื่องหนึ่ง ที่หลายต่อหลายคนยกให้เป็นหนังยอดเยี่ยมตลอดกาล หนังเรื่องนี้ถูกดัดแปลงมาจากนิยายชื่อดัง แต่งโดยเจ้าพ่อนิยายสยองขวัญอย่าง Stephen King โดยนิยายที่ว่ามานั้นมีชื่อว่า‘Rita Hayworth and Shawshank Redemption’ ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับฉบับภาพยนตร์ที่ใช้ชื่อว่า ‘The Shawshank Redemption’
The Shawshank Redemption ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครที่ชื่อ Andy Dufrense (Tim Robbins) นายธนาคารอนาคตไกลคนหนึ่งซึ่งโชคร้ายโดนยัดเยียดความผิดฐานฆาตรกรรมภรรยาของเขาและชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นชู้กับภรรยาของเขา ไม่เพียงแต่แรงจูงใจที่ดูมีน้ำหนักของ แอนดี้ เท่านั้นเขายังถูกหลักฐานต่างๆที่ทนายไปสืบหามา รัดตัวจนทำให้คำปฏิเสธของเขาดูจะไร้น้ำหนักลงทันทีการกระทำต่างๆที่เขาได้กระทำในสวนสาธารณะคืนนั้นต่างย้อยกลับมาทักทายเขาในชั้นศาลราวกับเป็นเพื่อนสนิทที่กำลังจะลากเขาเข้าไปในคุก เมื่อถึงคำพูดสรุปสุดท้ายของผู้พิพากษา ชื่อของ Andy Dufrense ก็ถูกบันทึกลงไปในฐานช้อมูลรายชื่อนักโทษของเรือนจำชอแชงทันที
ดูผิวเผินแล้วThe Shawshank Redemption เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนชีวิตของผู้บริสุทธิ์คนหนึ่งที่ต้องถูกจำกัดอิสรภาพของตนเองจากการเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำเพื่อชดใช้ความผิดที่ตนเองไม่ได้ก่อไว้ แอนดี้ ต้องเจอกับผู้คนมากมายในชอแชง โดยตัวละครต่างๆที่มีส่วนในการดำเนินเรื่องนั้นไม่ต่างกับตัวละครของภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรือนจำทั่วไป อย่างเช่นพัศดีผู้เคร่งศาสนาแต่การกระทำกลับตรงข้าม อย่าง Warden Norton, หัวหน้าผู้คุมสุดเหี้ยมแต่ใจเปราะอย่าง Captain Byron T.Hadley, กลุ่มเพื่อนนักโทษซึ่งคนที่ดูท่าจะสนิทกับแอนดี้ที่สุดคงหนีไม่พ้น Red (Morgan Freeman) หนุ่มใหญ่ผิวสีผู้ซึ่งประทับใจในสายตาและการกระทำของแอนดี้ ตั้งแต่แรกเริ่มที่แอนดี้ก้าวเข้ามา ในเรือนจำแห่งนี้ และที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นกลุ่มศัตรูรักร่วมเพศอย่าง Bogs Diamondและผองเพื่อน ที่คอยรังความแอนดี้แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ได้รับผลกรรมอย่างสาสม
สิ่งที่ทำให้ The Shawshank Redemption แตกต่างจากหนังจำคุกเรื่องอื่นๆก็คงเป็นเรื่องความสวยงามของเนื้อหาที่ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า”ผลผลิตทางความคิด”ซึ่งถ้าจะอธิบายในเชิงเปรียบเทียบแล้ว จะเห็นได้ว่า การใช้ชีวิตของแอนดี้ระหว่างอยู่ชอแชง อุปสรรค ความคิด และการกระทำต่างๆของเขานั้นเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงที่ถูกดูดซึมผ่านทางความคิดวิเคราะห์ของคนดูที่เปรียบเหมือรากแก้วรวมไปถึงท่อลำเลียงน้ำ ทำให้เกิดผลผลิตทางความคิดที่งดงามและน่าค้นหา ผลผลิตทางความคิดที่เกิดขึ้นก็คงหมายถึงข้อคิดต่างๆที่หนังได้ถ่ายทอดให้คนดูได้นำไปคิดและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นในการฝ่าฟันอุปสรรค ถือเป็นเป็นกำไรของผู้ที่ได้รับชมนอกจากความสนุกที่ตัวหนังมีอยู่แล้ว ซึ่งก็คงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หนังเรื่องนี้ยืนหยัดเป็นภาพยนตร์อันดับต้นๆของนักดูหนังได้อย่างยืนยาวและไม่มีทีท่าว่าจะล้มตาย ผลผลิตทางความคิดที่ได้จากหนังเรื่องนี้นั้นมีมากมายเหลือเกิน แต่ที่เห็นได้ชัดคงไม่พ้นสิ่งต่างๆที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ โดยผลแรกที่ผมจะนำมากล่าวถึงก็คือ
1. “ศีลธรรมความดี” หน้ากากที่ทุกคนสวมใส่
“หน้ากากแห่งศีลธรรม” คำคำนี้คงจะไม่ใช่คำเปรียบเปรยที่ดูเกินจริง อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า หน้ากากนั้นเป็นสิ่งที่คนเราสวมใส่เพื่อปกปิดใบหน้าในเวลาที่ไม่ต้องการให้คนอื่นรอบๆตัวเรารู้ว่าเรานั้นเป็นใคร แต่หน้ากากที่ปกปิดด้านศีลธรรมนั้นกลับสื่อความหมายออกมาในด้านตรงข้าม สิ่งที่หน้ากากปกปิดนั้นกลับเป็นสันดานเลวที่ผู้สวมใส่มีไว้ในครอบครองแต่ไม่กล้าที่จะเผยออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้อาจเนื่องมาจากเวลาหรือสถานที่ไม่อำนวย เพราะมันอาจนำมาซึ่งการถูกลงโทษทางกฎหมายหรือถูกประนามโดยสังคมรอบตัว โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนต่างมีสิ่งๆนี้ในตัวทั้งสิ้นไม่มากก็น้อยจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะแปลกใจนักเท่าไหร่ที่หลายๆคนต้องการที่จะไขว่คว้าหน้ากากแห่งศีลธรรมมาสวมใส่เพื่อปิดบังความไม่ปกติทางศีลธรรมของตนเองและรอวันที่จะเผยมันออกมาในเวลาที่สถานการณ์ต่างๆเอื้ออำนวย พัศดี Warden เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของคนที่สวมใส่หน้ากากศีลธรรม จากประเด็นหลายๆเรื่องที่ถูกถ่ายถอดออกมาในหนังเรื่องนี้อย่างเช่น การที่เขาสร้างภาพลักษณ์ของตนเองจากการเป็นคนที่คลั่งไคล้ในคำสอนของพระเยซูเจ้าและเชื่อในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลแบบสุดใจ ถึงขนาดติดป้ายเตือนใจไว้บนกำแพงห้องทำงานด้วยประโยคที่ว่า “His judgement cometh and that right soon” ประโยคเตือนใจที่ถูกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ที่เขานับถือแต่ท้ายสุดเขากลับใช้ป้ายนั้นในการปิดบังตู้เซฟที่เขาใช้เก็บทรัพย์สินต่างๆที่เขาได้มาอย่างสกปรกไม่ว่าจะเป็นการ กินเงินใต้โต๊ะ การหลีกหนีภาษี และการคอรัปชั่นมากมาย หน้ากากที่ท่านพัศดีผู้นี้สวมใส่ไม่เพียงแต่จะครอบคลุมใบหน้าเขาเท่านั้น มันยังรวมไปถึงการแต่งกายที่ดูมีฐานะภูมิฐาน ตำแหน่งการทำงานที่ค่อนข้างจะเป็นที่น่าเชื่อถือ รวมไปถึงคำพูดต่างๆที่เอ่ยออกมาจากปากที่ดูสวยงามและหนักแน่นในกฎ แต่หน้ากากก็ยังเป็นหน้ากากอยู่วันยังค่ำ มันสามารถถูกถอดออกได้เสมอและเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม วอเดนก็ไม่ลังเลที่จะถอดมันออกและเผยถึงหน้าตาสันดานที่แท้จริงที่เขาเป็น ทำได้แม้กระทั่งการฆ่าคนเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ประเด็นของผลผลิตผลนี้ถ้ามองย้อนกลับมาที่สังคมเราก็จะเห็นว่ามันช่างละม้ายคล้ายคลึงกับคนในสังคมเรามากเหลือเกิน ตัวของวอเดนก็คงเป็นตัวแทนถึง คนจำพวก มือถือสาก ปากถือศีล แต่งตัวหรูหรา แต่ศีลธรรมความคิดกลับไม่หรูหราตาม ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ก็คงเป็น นักการเมืองที่รณรงค์ต่อต้านคอรัปชั่นแต่ท้ายสุดกลับทำเสียเอง หรือจะเป็นนายตำรวจยศสูงที่ใช้กฎหมายที่ตนเคารพนับถือมาเอาเปรียบชาวบ้านตาดำๆ ปฏิบัติงานตามใบสั่งจากผู้มีอิทธิพลเพื่อเปลี่ยนแปลงความจริงให้เป็นเท็จ เปลี่ยนผิดให้เป็นถูก แต่เมื่อไหร่ที่ถึงเวลาออกสื่อพวกเขาจะอาศัยความกฎหมายที่เคยท่องมาและความถูกต้องจอมปลอมจะถูกกล่าวขึ้นมาบังหน้าเป็นเสมือนหน้ากากที่ทำให้ตนเองดูเป็นคนมีศีลธรรมขึ้นมาทันที
2. “สัญชาติญาณที่เลือนหายไป”
นักโทษที่ถูกจองจำในคุกคงไม่ต่างกับนกที่ถูกขังในกรง นานๆไปนกเหล่านั้นก็จะลืมวิธีบิน ลืมความรู้สึก ลืมความสวยงามของทิวทัศน์เมื่อมองลงมาจากมุมสูง ไม่ต่างกับสัตว์ผู้ล่าที่โดนขังอยู่ในกรง นานๆเข้าสันชาติญาณการล่า ความเร็ว ความโหดเหี้ยมที่อยู่ในสายตาก็จะเลือนหายไป มนุษย์ก็เช่นกันเมื่อถูกจองจำไปนานๆก็จะมีสองสิ่งที่เลือนหายไปนั่นก็คือสันชาติญาณในการใช้ชีวิตและสันชาติญาณในการมีชีวิต ทั้งสองสิ่งที่ผมกล่าวมานั้นแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น และ The Shawshank Redemption สามารถถ่ายทอดประเด็นนี้ได้อย่างแยบยลผ่านความเบื่อหน่ายต่อโลกของนักโทษอย่าง บรูก ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของมนุษย์ที่สูญเสียสันชาติญาณในการใช้ชีวิตภายนอกเรือนจำไปสันชาติญาณในการใช้ชีวิตก็คงหมายถึงการเอาตัวรอดจากสังคมภายนอกที่โหดร้าย ที่ถาโถมเข้ามาคอยเอารัดเอาเปรียบตัวเขาอยู่เสมอ รวมไปถึงการมีเป้าหมายในชีวิตในสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากกาลเวลาที่เลยผ่าน โลกภายนอกที่บรูกต้องเจอนั้นไม่ใช่โลกที่เขารู้จักอีกต่อไป เมื่อเขาใช้ชีวิตของเขาให้ผ่านไปวันวันอย่างไร้จุดหมาย ด้วยความชราภาพ และไร้ซึ่งญาติมิตร คนรู้จัก เป็นเหตุทำให้เขาเป็นโรคซึมเศร้าและสุดท้ายแล้วเขาเลือกทางออกโดยการจบชีวิตของตนเองอยู่บนขื่อที่ห้องพักของเขา คำว่า “Brook was here” เป็นประโยคที่คอยย้ำเตือนถึงตัวตนของเขาที่ไม่มีใครเคยรับรู้ ประโยคนี้ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรแต่มันเต็มเปี่ยมไปด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจและน่าเศร้ายิ่งนัก
สันชาตญานในการมีชีวิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ตัวละครอย่าง เรด เป็นตัวแทนที่ดีของคนที่ลืมไปแล้วว่าสันชาติญาณในการมีชีวิตนั้นสำคัญเพียงใด เขาลืมไปแล้วว่าครั้งหนึ่งตัวเขามีความสุขเพียงใดในการมีชีวิตก่อนที่เขาจะถูกกักอยู่ในคุกแห่งนี้ ตรงข้ามกับตัวละครอย่างแอนดี้ที่คอยทำทุกวิถีทางที่จะไม่ลืมมัน จากฉากๆหนึ่งที่แอนดี้ได้ลอบเข้าไปในห้องกระจายเสียงและเปิดเพลงที่แสนจะไพเราะเพื่อคอยย้ำเตือนให้ทุกคนในคุกรับรู้และจดจำไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเขามีความสุขเพียงใดเมื่อได้ฟังเพลงที่แสนไพเราะ และสวยงาม ความสุขเล็กน้อยๆที่ทุกคนได้ลืมมันไปแล้ว อีกฉากที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดของแอนดี้ต่อสันชาติญานในการมีชีวิตนี้ก็คงเป็นฉากที่แอนดี้ได้ถามเร้ดว่าทำไมถึงเลิกเป่าหีบเพลงเพราะมันเป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนถึงความสุขเล็กน้อยๆ และเสียงมันออกจะไพเราะ แต่เร้ดกลับตอบอย่างไร้เยื่อไยว่า เขาได้ลืมความสุขนั้นไปแล้วและไม่อยากที่จะรับรู้ถึงมันอีก แอนดี้จึงมอบหีบเพลงให้เป็นของขวัญแก่เขาเพื่อให้เขาได้นำความสุขเล็กๆนี้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง สิ่งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยหลักที่พวกเราควรต้องมีและใช้มันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมที่โหดร้ายแห่งนี้ จุดหมายในชีวิตบ่งบอกถึงหนทางในการใช้ชีวิตของเราว่าจะต้องมุ่งไปในเส้นทางไหน แต่ก็ต้องไม่ลืมความสุขในการดำเนินชีวิตถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงความสุขเล็กๆน้อยๆ เพราะสิ่งสองสิ่งนี้เปรียบเสมือนเชื้อพลิงที่คอยผลักดันให้พวกเราทุกคนก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ ทำให้พวกเราทุกคนกล้าที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือมันทำให้เรามีความสุขและอยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป