ใครจะไปคิดว่าการเลือกร้านดีๆ ว่าสะอาดแล้ว มันมีเชื้อโรคประเภทหนึ่งที่คนปรุงเป็นพาหะ เมื่อเชื้อมันมาเจอกับคนที่กระเพาะอักเสบอยู่แล้ว เกิดเป็นโรงมหรสพปาร์ตี้ของเชื้อนั้นไปเลย ผลคือกระเพาะและลำไส้ตอนต้นยิ่งพัง ร่างกายดูดซับอาหารได้ไม่ดี อ่อนเพลียง่าย ในเด็กตัวจะแกรนกว่าเพื่อน
วันนี้มีโอกาสได้แบทเทิ้ลสรรพศัพท์ทางการแพทย์กับหมออายุกรรมลำไส้ และแบทเทิ้ล make up หน้า คิ้ว กับพยาบาล #ยันฮี (หมอและพยาบาลผู้หญิงที่นี่โคตรงาม)
เรื่องมีอยู่ว่า
ความทุเรศสุด เกิดขึ้นตอนไปสัมภาษณ์อาจารย์ แล้วอาจารย์บอกว่าเธอไปทำอะไรมา ผอมลงมาก ก็ตอบท่านว่า ”หนูไม่สบาย ปวดท้อง หมอบอกเป็นลำไส้อักเสบ” สภาพตัวเองตอนนั้นคงน่าเกลียดมาก อาจารย์ถึงขั้นให้คนในสำนักพิมพ์ไปซื้ออูกาสติน (Ulgastrin) มาให้เราเดี๋ยวนั้น
รอบล่าสุดที่ไปตรวจ หมออีกท่านบอก “กระเพาะอาหารอักเสบ” ไปตรวจตอนเกือบสองทุ่ม (หลังเลิกงาน) ที่ยันฮี ไม่ได้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม เพราะกว่าจะรอต่อแถวรอตรวจคงเป็นลมตาย
ก่อนออกจากห้องตรวจ บอกหมอว่า “หมอคะ หนูอยากส่องกล้อง”
หมอเงิบเลยนะ มองหน้าแบบ .. เมิงจะส่องทำไม?
คือด้วยจากการติดตามข่าวพระอาการของฟ้าหญิงฯ ที่ทรงแอดมิดที่ รพ. วิชัยยุทธ ด้วยโรคกระเพาะ พอตรวจส่องกล้อง เจอติ่งเนื้ออักเสบ ตรวจแล้วไม่ได้เป็น CANCER แค่เนื้อที่อักเสบเฉยๆ ในใจเป็นกำลังใจให้พระองค์ตลอด
องค์ฟ้าหญิงทรงเป็นไอดอล ของนักแลป นักชีววิทยา นักพันธุศาสตร์ นักเทคนิคการแพทย์ คือ นิสิตวิทยาศาสตร์คนไหนที่ไม่ทราบว่าพระองค์ท่านทุ่มเทให้กับการศึกษาเรื่องโรคมะเร็งแค่ไหน นี่ควรไป search Google บัดเดี๋ยวนี้
คือปกติแล้วการเป็นโรคกระเพาะ มันไม่ควรปวดทุเรศทุรังขนาดนี้ (มิ.ย. – ต.ค.) น้ำหนักลดเหลือ 42 กิโล ลมพัดมาปลิว (ยิ่งฝนตกๆ ลมพัดมานี่ ต้องไปเกาะเสา)
จากการประเมินเบื้องต้นตามที่เรียนๆ มา มันไม่ควรปวดเยอะขนาดนี้ มันเกินระดับปกติแล้ว ถามหมอว่าหนักสุดของโรคกระเพาะคืออะไร หมอไล่สเต็ปมาดังนี้
ปวดท้อง > จุกเสียด > คลื่นไส้ > อาเจียน > ถ่ายเป็นเลือด > กระเพาะทะลุ > เลือดออกในกระเพาะ > เสียชีวิตได้
(ตัวเราเองอาจอยู่แค่ Step 4 แต่มันไม่ควรติดกัน 4 เดือนแล้วนะ)
วันนี้มีนัดตรวจกับ พญ. กัลยาณี พรโกเมธกุล แพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหาร (มีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้คนเดียวใน รพ.ยันฮี) คือประกันสังคมเราอยู่ที่ รพ. นี้ แต่วันนี้ใช้สิทธิ์เบิกประกันชีวิตบูพ่าของบริษัท กับจ่ายส่วนต่างเอง (ซึ่งส่วนต่างมันก็ทำให้เห็นความต่างจริงๆ)
ก่อนตรวจเลย พยาบาลบอกว่า ไปทำเรื่องประกันหรือยัง? ถ้ายังจะยังเข้าตรวจกับหมอไม่ได้นะ ซึ่งก็ต้องเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการส่องกล้องมันไม่ใช่ว่า สวยๆ อยากจะดูว่าข้างในเป็นอะไรก็ไปส่อง เราพร้อมและบอกว่า คือถ้ามันต้องส่องจริงๆ เดี๋ยวค่อยว่ากัน วันนี้ขอคุยก่อนว่ามีความเสี่ยงที่ต้องทำไหม?
สิ่งที่คุณหมอพบคือ
ชะนีนางหนึ่งที่ตัวผอม เพลีย พร้อมจะเป็นลมตลอดเวลา และนางก็กรี๊ดๆ บอกว่า “หนูปวดกระเพาะ”
นาง [เล่าประหนึ่งเป็นเรื่องย่อทรายสีเพลิง] : “คืองี้ fjwp [)2Q))_FI @@@ jf -!_! ฯลฯ ”
พญ. บอกว่า : “งง !! น้อง.. ช้าๆ ค่อยๆ อธิบายเป็นสเต็ปไป จะไปรู้ได้ยังไงว่าเป็นที่กระเพาะ” “ปวดแบบไหน จุกๆ เสียดๆ ฯลฯ...”
นาง [เชื่อเหอะ หนูตรวจกับหมอกระเพาะมา 3 ที่แล้ว] : “คือ.. หนูปวดตรงนี้ (ชี้ไปตรงใต้ลิ้นปี่) ปวดตลอด ไม่รู้เรียกจุกหรือเรียกเสียด”
พญ. [เอามือกด และเอาสเตรปโตรสโครปมาฟัง] : “อืม..แก๊สเยอะนะ ..กระเพาะเนี่ยะ”
นาง [ทำหน้าอัศจรรย์ใจมาก] : “หมอรู้ได้ไง”
พญ. : “มันมีลมดันออกมา”
นาง : “คือหนูว่าปีนี้หนูปวดท้องกระเพาะบ่อยเกินไป คือมันไม่ใช่ มันไม่ควรถี่ขนาดนี้”
พญ. : “อาเจียนไหม?”
นาง : “ไม่ค่ะ แต่คลื่นไส้”
พญ. : “ถ่ายเป็นเลือดไหม?”
นาง : “ไม่ค่ะ แต่ท้องเสีย”
จริงๆ Diagnosis นานกว่านี้ ..ขอรวบเหลือตอนท้ายๆ
พญ. [ชี้ที่ Flow Chart กระเพาะ พร้อมอธิบายเป็นศัพท์แพทย์] : “ ... ฯลฯ”
นาง : “หนูรู้.. แต่หนูงงว่าทำไมตัวเองไม่หายสักที”
พญ. [ชี้ไปที่รูปแบคทีเรียตัวหนึ่ง] : “งั้นขอตรวจเลือด ตรวจอึ ตรวจ H.pylori ถือว่าเป็นการตรวจอ้อมๆ ก่อน อย่าเพิ่งส่องกล้อง”
นาง [มองไปที่หางแบคทีเรีย] : “แฟกเจลล่ามันน่ารักดีนะคะ”
พญ. : “ไม่เห็นจะน่ารักเลย น่ารักตรงไหน”
พญ. : “แบคทีเรียตัวนี้มันทำให้กระเพาะสร้างกรด คือถ้าน้ำย่อยมาโดนมัน มันก็จะสร้างกรดขึ้นมาเพิ่มอีก ยิ่งทำให้กระเพาะเป็นแผล อักเสบ”
นาง [ทำหน้าอัศจรรย์ใจกว่าเมื่อกี้ ตกใจระดับหกกะโหลก] : “เห้ย! หนูเรียนมาทางนี้ทำไมหนูไม่รู้จัก”
พญ. : “ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม โรงพยาบาลในไทยไม่ค่อยตรวจ มีแค่ประมาณ 3 ที่”
นาง : “มันมาจากไหน”
พญ. : “ปกติ คนเราเนี่ยะแหละ เป็นพาหะ มาจากมือของผู้ประกอบอาหาร ผักโรยก๋วยเตี๋ยว ผักไม่สุก อาหารไม่สุก คนญี่ปุ่นกับคนไทยเป็นเยอะ”
พญ. : “เคยมีเคส ชาวอาหรับ คือเขารวยมาก ทานอาหารนอกบ้านตลอด ต้องมาฆ่าไป 3 รอบ คือคนรวยเขาไม่ทำอาหารกินเอง”
นาง [ทำหน้าตระหนก] : “คือคนเป็นพาหะของแบคทีเรียตัวนี้ แล้วถ้าร้ายแรงสุดคืออะไร”
พญ. : “เป็นแผลในกระเพาะไปเรื่อยๆ ก็อักเสบ มีกรดเยอะ แต่ถ้ามีจำนวนของแบคทีเรียตัวนี้มากจริงๆ ก็อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้”
นาง [จะกรี๊ด] : “ห๊ะ!!”
พญ. : “แต่การจะเป็นมะเร็งนี้มันมี Factor อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่นมีประวัติว่าญาติเป็นมาก่อน ..”
นาง : “คือถ้าคนที่ปวดท้องแล้วไม่รู้ว่ามีอีแบคทีเรียตัวนี้อยู่ในตัว เค้าก็จะไปหาหมอ หมอก็จะบอกว่าเป็นโรคกระเพาะ กินยาเคลือบกระเพาะ วนไปอยู่อย่างนี้ หมอ..หนูขอไปเขียนลงพันทิปได้ป่ะ”
พญ. : “ได้..เอาสิ”
นาง [หยั่งเชิง กวนตีนหมอหน่อยๆ] : “ส้มตำปูปลาร้าเกี่ยวไหม?”
พญ. [ทำหน้าแบบจะเหลือหรอ?] : “มันสุกป่าวล่ะ?”
สรุปคือ ต้องเก็บอึ๊ มาให้แลปตรวจ พร้อมกับเจาะเลือดตรวจ H. Pylori
ข้อมูลจาก พญ. กัลยาณี พรโกเมธกุล แพทย์อายุรกรรม แผนกระบบทางเดินอาหารและลำไส้ รพ.ยันฮี
------------
ข้อมูลเสริมเพิ่มเติม
๑. เกี่ยวกับความสามานย์ ของ H. pylori
ทั่วโลกพบการติดเชื้ออยู่ที่ 66% คนไทยผู้ใหญ่เป็นประมาณ 74% พบในเด็ก 25% จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นแผลในทางเดินอาหารกว่า 90% พบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ร่วมอยู่ด้วย
H. pylori เป็นสาเหตุสำคัญของ Gastric Ulcer และ Duodenal Ulcer การติดเชื้อจากแบคทีเรียตัวนี้จะเพิ่มการหลั่งกรด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นถ้าไม่กำจัดเชื้อนี้ก็จะไม่สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารขาดได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เชื้อชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่และไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้นการกำจัดเชื้อให้หมดจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
๒. สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร (ซึ่งคุณหมอให้แผ่นพับมา ได้มาเราโยนทิ้งเลย รู้ทั้งรู้ แต่ต้องลด ละ เลิก)
๑. กินอาหารไม่ตรงเวลา
๒. กินอาหารรสจัด
๓. ดื่มกาแฟ ชา
๔. ดื่มน้ำอัดลม
๕. ดื่มน้ำผลไม้
๖. เครียด
ลด ละ เลิก หมดแล้ว
เพราะฉะนั้นวิธีที่เราต้องทำในลำดับต่อไปคือ
หนึ่ง >> ไปอึ๊ แล้วถ้าตรวจเจอจริงๆ ก็ต้องกำจัดไอ้แบคทีเรียชั่วนี่ออกไปให้หมดจากร่าง
สอง >> เดทเฉพาะร้านประจำ อะไรเบาๆ ไม่ใส่ผักโรย หรือทำกินกันเอง สวยๆ ไป
ยาเพียบ
โรคจากอาหารนอกบ้าน
ใครจะไปคิดว่าการเลือกร้านดีๆ ว่าสะอาดแล้ว มันมีเชื้อโรคประเภทหนึ่งที่คนปรุงเป็นพาหะ เมื่อเชื้อมันมาเจอกับคนที่กระเพาะอักเสบอยู่แล้ว เกิดเป็นโรงมหรสพปาร์ตี้ของเชื้อนั้นไปเลย ผลคือกระเพาะและลำไส้ตอนต้นยิ่งพัง ร่างกายดูดซับอาหารได้ไม่ดี อ่อนเพลียง่าย ในเด็กตัวจะแกรนกว่าเพื่อน
วันนี้มีโอกาสได้แบทเทิ้ลสรรพศัพท์ทางการแพทย์กับหมออายุกรรมลำไส้ และแบทเทิ้ล make up หน้า คิ้ว กับพยาบาล #ยันฮี (หมอและพยาบาลผู้หญิงที่นี่โคตรงาม)
เรื่องมีอยู่ว่า
ความทุเรศสุด เกิดขึ้นตอนไปสัมภาษณ์อาจารย์ แล้วอาจารย์บอกว่าเธอไปทำอะไรมา ผอมลงมาก ก็ตอบท่านว่า ”หนูไม่สบาย ปวดท้อง หมอบอกเป็นลำไส้อักเสบ” สภาพตัวเองตอนนั้นคงน่าเกลียดมาก อาจารย์ถึงขั้นให้คนในสำนักพิมพ์ไปซื้ออูกาสติน (Ulgastrin) มาให้เราเดี๋ยวนั้น
รอบล่าสุดที่ไปตรวจ หมออีกท่านบอก “กระเพาะอาหารอักเสบ” ไปตรวจตอนเกือบสองทุ่ม (หลังเลิกงาน) ที่ยันฮี ไม่ได้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม เพราะกว่าจะรอต่อแถวรอตรวจคงเป็นลมตาย
ก่อนออกจากห้องตรวจ บอกหมอว่า “หมอคะ หนูอยากส่องกล้อง”
หมอเงิบเลยนะ มองหน้าแบบ .. เมิงจะส่องทำไม?
คือด้วยจากการติดตามข่าวพระอาการของฟ้าหญิงฯ ที่ทรงแอดมิดที่ รพ. วิชัยยุทธ ด้วยโรคกระเพาะ พอตรวจส่องกล้อง เจอติ่งเนื้ออักเสบ ตรวจแล้วไม่ได้เป็น CANCER แค่เนื้อที่อักเสบเฉยๆ ในใจเป็นกำลังใจให้พระองค์ตลอด
องค์ฟ้าหญิงทรงเป็นไอดอล ของนักแลป นักชีววิทยา นักพันธุศาสตร์ นักเทคนิคการแพทย์ คือ นิสิตวิทยาศาสตร์คนไหนที่ไม่ทราบว่าพระองค์ท่านทุ่มเทให้กับการศึกษาเรื่องโรคมะเร็งแค่ไหน นี่ควรไป search Google บัดเดี๋ยวนี้
คือปกติแล้วการเป็นโรคกระเพาะ มันไม่ควรปวดทุเรศทุรังขนาดนี้ (มิ.ย. – ต.ค.) น้ำหนักลดเหลือ 42 กิโล ลมพัดมาปลิว (ยิ่งฝนตกๆ ลมพัดมานี่ ต้องไปเกาะเสา)
จากการประเมินเบื้องต้นตามที่เรียนๆ มา มันไม่ควรปวดเยอะขนาดนี้ มันเกินระดับปกติแล้ว ถามหมอว่าหนักสุดของโรคกระเพาะคืออะไร หมอไล่สเต็ปมาดังนี้
ปวดท้อง > จุกเสียด > คลื่นไส้ > อาเจียน > ถ่ายเป็นเลือด > กระเพาะทะลุ > เลือดออกในกระเพาะ > เสียชีวิตได้
(ตัวเราเองอาจอยู่แค่ Step 4 แต่มันไม่ควรติดกัน 4 เดือนแล้วนะ)
วันนี้มีนัดตรวจกับ พญ. กัลยาณี พรโกเมธกุล แพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหาร (มีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้คนเดียวใน รพ.ยันฮี) คือประกันสังคมเราอยู่ที่ รพ. นี้ แต่วันนี้ใช้สิทธิ์เบิกประกันชีวิตบูพ่าของบริษัท กับจ่ายส่วนต่างเอง (ซึ่งส่วนต่างมันก็ทำให้เห็นความต่างจริงๆ)
ก่อนตรวจเลย พยาบาลบอกว่า ไปทำเรื่องประกันหรือยัง? ถ้ายังจะยังเข้าตรวจกับหมอไม่ได้นะ ซึ่งก็ต้องเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการส่องกล้องมันไม่ใช่ว่า สวยๆ อยากจะดูว่าข้างในเป็นอะไรก็ไปส่อง เราพร้อมและบอกว่า คือถ้ามันต้องส่องจริงๆ เดี๋ยวค่อยว่ากัน วันนี้ขอคุยก่อนว่ามีความเสี่ยงที่ต้องทำไหม?
สิ่งที่คุณหมอพบคือ
ชะนีนางหนึ่งที่ตัวผอม เพลีย พร้อมจะเป็นลมตลอดเวลา และนางก็กรี๊ดๆ บอกว่า “หนูปวดกระเพาะ”
นาง [เล่าประหนึ่งเป็นเรื่องย่อทรายสีเพลิง] : “คืองี้ fjwp [)2Q))_FI @@@ jf -!_! ฯลฯ ”
พญ. บอกว่า : “งง !! น้อง.. ช้าๆ ค่อยๆ อธิบายเป็นสเต็ปไป จะไปรู้ได้ยังไงว่าเป็นที่กระเพาะ” “ปวดแบบไหน จุกๆ เสียดๆ ฯลฯ...”
นาง [เชื่อเหอะ หนูตรวจกับหมอกระเพาะมา 3 ที่แล้ว] : “คือ.. หนูปวดตรงนี้ (ชี้ไปตรงใต้ลิ้นปี่) ปวดตลอด ไม่รู้เรียกจุกหรือเรียกเสียด”
พญ. [เอามือกด และเอาสเตรปโตรสโครปมาฟัง] : “อืม..แก๊สเยอะนะ ..กระเพาะเนี่ยะ”
นาง [ทำหน้าอัศจรรย์ใจมาก] : “หมอรู้ได้ไง”
พญ. : “มันมีลมดันออกมา”
นาง : “คือหนูว่าปีนี้หนูปวดท้องกระเพาะบ่อยเกินไป คือมันไม่ใช่ มันไม่ควรถี่ขนาดนี้”
พญ. : “อาเจียนไหม?”
นาง : “ไม่ค่ะ แต่คลื่นไส้”
พญ. : “ถ่ายเป็นเลือดไหม?”
นาง : “ไม่ค่ะ แต่ท้องเสีย”
จริงๆ Diagnosis นานกว่านี้ ..ขอรวบเหลือตอนท้ายๆ
พญ. [ชี้ที่ Flow Chart กระเพาะ พร้อมอธิบายเป็นศัพท์แพทย์] : “ ... ฯลฯ”
นาง : “หนูรู้.. แต่หนูงงว่าทำไมตัวเองไม่หายสักที”
พญ. [ชี้ไปที่รูปแบคทีเรียตัวหนึ่ง] : “งั้นขอตรวจเลือด ตรวจอึ ตรวจ H.pylori ถือว่าเป็นการตรวจอ้อมๆ ก่อน อย่าเพิ่งส่องกล้อง”
นาง [มองไปที่หางแบคทีเรีย] : “แฟกเจลล่ามันน่ารักดีนะคะ”
พญ. : “ไม่เห็นจะน่ารักเลย น่ารักตรงไหน”
พญ. : “แบคทีเรียตัวนี้มันทำให้กระเพาะสร้างกรด คือถ้าน้ำย่อยมาโดนมัน มันก็จะสร้างกรดขึ้นมาเพิ่มอีก ยิ่งทำให้กระเพาะเป็นแผล อักเสบ”
นาง [ทำหน้าอัศจรรย์ใจกว่าเมื่อกี้ ตกใจระดับหกกะโหลก] : “เห้ย! หนูเรียนมาทางนี้ทำไมหนูไม่รู้จัก”
พญ. : “ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม โรงพยาบาลในไทยไม่ค่อยตรวจ มีแค่ประมาณ 3 ที่”
นาง : “มันมาจากไหน”
พญ. : “ปกติ คนเราเนี่ยะแหละ เป็นพาหะ มาจากมือของผู้ประกอบอาหาร ผักโรยก๋วยเตี๋ยว ผักไม่สุก อาหารไม่สุก คนญี่ปุ่นกับคนไทยเป็นเยอะ”
พญ. : “เคยมีเคส ชาวอาหรับ คือเขารวยมาก ทานอาหารนอกบ้านตลอด ต้องมาฆ่าไป 3 รอบ คือคนรวยเขาไม่ทำอาหารกินเอง”
นาง [ทำหน้าตระหนก] : “คือคนเป็นพาหะของแบคทีเรียตัวนี้ แล้วถ้าร้ายแรงสุดคืออะไร”
พญ. : “เป็นแผลในกระเพาะไปเรื่อยๆ ก็อักเสบ มีกรดเยอะ แต่ถ้ามีจำนวนของแบคทีเรียตัวนี้มากจริงๆ ก็อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้”
นาง [จะกรี๊ด] : “ห๊ะ!!”
พญ. : “แต่การจะเป็นมะเร็งนี้มันมี Factor อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่นมีประวัติว่าญาติเป็นมาก่อน ..”
นาง : “คือถ้าคนที่ปวดท้องแล้วไม่รู้ว่ามีอีแบคทีเรียตัวนี้อยู่ในตัว เค้าก็จะไปหาหมอ หมอก็จะบอกว่าเป็นโรคกระเพาะ กินยาเคลือบกระเพาะ วนไปอยู่อย่างนี้ หมอ..หนูขอไปเขียนลงพันทิปได้ป่ะ”
พญ. : “ได้..เอาสิ”
นาง [หยั่งเชิง กวนตีนหมอหน่อยๆ] : “ส้มตำปูปลาร้าเกี่ยวไหม?”
พญ. [ทำหน้าแบบจะเหลือหรอ?] : “มันสุกป่าวล่ะ?”
สรุปคือ ต้องเก็บอึ๊ มาให้แลปตรวจ พร้อมกับเจาะเลือดตรวจ H. Pylori
ข้อมูลจาก พญ. กัลยาณี พรโกเมธกุล แพทย์อายุรกรรม แผนกระบบทางเดินอาหารและลำไส้ รพ.ยันฮี
------------
ข้อมูลเสริมเพิ่มเติม
๑. เกี่ยวกับความสามานย์ ของ H. pylori
ทั่วโลกพบการติดเชื้ออยู่ที่ 66% คนไทยผู้ใหญ่เป็นประมาณ 74% พบในเด็ก 25% จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นแผลในทางเดินอาหารกว่า 90% พบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ร่วมอยู่ด้วย
H. pylori เป็นสาเหตุสำคัญของ Gastric Ulcer และ Duodenal Ulcer การติดเชื้อจากแบคทีเรียตัวนี้จะเพิ่มการหลั่งกรด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นถ้าไม่กำจัดเชื้อนี้ก็จะไม่สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหารขาดได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เชื้อชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่และไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้นการกำจัดเชื้อให้หมดจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
๒. สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร (ซึ่งคุณหมอให้แผ่นพับมา ได้มาเราโยนทิ้งเลย รู้ทั้งรู้ แต่ต้องลด ละ เลิก)
๑. กินอาหารไม่ตรงเวลา
๒. กินอาหารรสจัด
๓. ดื่มกาแฟ ชา
๔. ดื่มน้ำอัดลม
๕. ดื่มน้ำผลไม้
๖. เครียด
ลด ละ เลิก หมดแล้ว
เพราะฉะนั้นวิธีที่เราต้องทำในลำดับต่อไปคือ
หนึ่ง >> ไปอึ๊ แล้วถ้าตรวจเจอจริงๆ ก็ต้องกำจัดไอ้แบคทีเรียชั่วนี่ออกไปให้หมดจากร่าง
สอง >> เดทเฉพาะร้านประจำ อะไรเบาๆ ไม่ใส่ผักโรย หรือทำกินกันเอง สวยๆ ไป