คณะแพทย์ในรัฐเทกซัสใช้ยาทดลองตัวใหม่รักษาชายชาวไลบีเรีย ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกที่แสดงอาการในสหรัฐ ขณะที่ช่างภาพข่าวชาวอเมริกันซึ่งติดเชื้อไวรัสมรณะในไลบีเรีย เดินทางกลับมารักษาตัวในประเทศแล้ว
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่าโรงพยาบาลเทกซัสเพรสบิเทียเรียน ในเมืองดัลลัส ซึ่งเป็นสถานที่พักรักษาตัวของนายโธมัส เอริค ดันแคน ชายชาวไลบีเรียซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกที่แสดงอาการในสหรัฐ เผยเรื่องการใช้ยาชื่อ "บรินซิโดโฟเวียร์" ผลิตโดยบริษัท "คิเมริกซ์" ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ทดลองรักษาดันแคนเป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ หลังอาการของผู้ป่วยทรุดลงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยาบรินซิโดโฟเวียร์ยังไม่เคยใช้ทดลองรักษามนุษย์ซึ่งป่วยด้วยเชื้อไวรัสอี โบลามาก่อน แต่เคยใช้ทกลองรักษากับผู้ติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวีและไวรัสอะดีโนมาก่อนราว 1,000 คน ซึ่งผู้ผลิตเชื่อว่า สรรพคุณของยาสามารถรบกวนการสร้างและสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสได้
ในเวลาเดียวกัน นายอาโชกา มักโป วัย 33 ปี ช่างภาพข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี ซึ่งติดเชื้อไวรัสอีโบลาขณะทำงานอยู่ในไลบีเรีย เดินทางกลับถึงสหรัฐแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่รอรับเพื่อนำตัวส่งไปรักษาที่ศูนย์การแพทย์ในรัฐเนแบรสกา ต่อไป
“Based on in vitro data from work conducted by the CDC and the National Institutes of Health suggesting brincidofovir activity against Ebola, we are hopeful that brincidofovir may offer potential treatment for Ebola virus disease during this outbreak,” said Dr. M. Michelle Berrey, Chimerix’s CEO.
http://wreg.com/2014/10/06/drug-that-saved-st-jude-patient-used-on-ebola-patient/
ผู้ป่วยอีโบลารายแรกของสหรัฐทดลองยาตัวใหม่ Brincidofovir
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ว่าโรงพยาบาลเทกซัสเพรสบิเทียเรียน ในเมืองดัลลัส ซึ่งเป็นสถานที่พักรักษาตัวของนายโธมัส เอริค ดันแคน ชายชาวไลบีเรียซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกที่แสดงอาการในสหรัฐ เผยเรื่องการใช้ยาชื่อ "บรินซิโดโฟเวียร์" ผลิตโดยบริษัท "คิเมริกซ์" ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ทดลองรักษาดันแคนเป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ หลังอาการของผู้ป่วยทรุดลงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยาบรินซิโดโฟเวียร์ยังไม่เคยใช้ทดลองรักษามนุษย์ซึ่งป่วยด้วยเชื้อไวรัสอี โบลามาก่อน แต่เคยใช้ทกลองรักษากับผู้ติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวีและไวรัสอะดีโนมาก่อนราว 1,000 คน ซึ่งผู้ผลิตเชื่อว่า สรรพคุณของยาสามารถรบกวนการสร้างและสังเคราะห์ดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสได้
ในเวลาเดียวกัน นายอาโชกา มักโป วัย 33 ปี ช่างภาพข่าวของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี ซึ่งติดเชื้อไวรัสอีโบลาขณะทำงานอยู่ในไลบีเรีย เดินทางกลับถึงสหรัฐแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่รอรับเพื่อนำตัวส่งไปรักษาที่ศูนย์การแพทย์ในรัฐเนแบรสกา ต่อไป
“Based on in vitro data from work conducted by the CDC and the National Institutes of Health suggesting brincidofovir activity against Ebola, we are hopeful that brincidofovir may offer potential treatment for Ebola virus disease during this outbreak,” said Dr. M. Michelle Berrey, Chimerix’s CEO.
http://wreg.com/2014/10/06/drug-that-saved-st-jude-patient-used-on-ebola-patient/