WHOติดต่อ"ศิริราช"ขอแอนติบอดี้รักษาอีโบลาไปทดลองกับไวรัสจริงระดับ4ที่อเมริกา หากได้ผลดีใช้ในแอฟริกาทันที
ลดขั้นตอนทดลองในสัตว์-คน
จากกรณีที่ทีมนักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ประสบความสำเร็จในการผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา โดยมีขนาดเล็กกว่าแอนติบอดีปกติถึง 5 เท่าและกลไกการทำงานเป็นการปล่อยให้ไวรัสเข้าสู่ภายในเซลล์ก่อนที่แอนติบอดีที่ผลิตขึ้นจะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส โดยยับยั้งที่ไวรัสโปรตีนสำคัญของไวรัสอีโบลา ซึ่งมีอยู่ในทุกสายพันธุ์จึงใช้รักษาได้ในทุกสายพันธุ์ และการใช้รักษาได้ผลเป็นการทำในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ยีนสังเคราะห์ของเชื้อไวรัสอีโบลาไม่ได้มีการนำเข้าเชื้อจริงนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ได้รับอีเมล์จาก Dr. Martin Friede หัวหน้าโครงการวิจัยอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า ยินดีกับความสำเร็จของไทยในการพัฒนาแอนติบอดี้ที่สามารถยับยั้งเชื้ออีโบลาได้ ถือว่ามีประโยชน์ และสามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาเชื้ออีโบลาได้ จึงอยากจะขอทำการพิสูจน์แอนติบอดีที่ใช้กัยไวรัสปลอมที่ทางศิริราชพยาบาลสร้างขึ้นกับเชื้อไวรัสจริง ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ4 ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยีนส์ที่ศิริราชนำมาศึกษาทดลองนี้ เป็นยีนส์สังเคราะห์ เพื่อความปลอดภัย
"และหากสามารถทดสอบแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีก็จะนำไปสู่การพัฒนารักษาเชื้อไวรัสอีโบลาในคนได้ทันที โดยสามารถลดขั้นตอนการทดลองในสัตว์และคนได้ คาดว่าจะทำเรื่องรวบรวมเอกสารที่จำเป็น ตัวอย่างของแอนติบอดี้ และนักวิจัยของไทยบางส่วนไปร่วมทดสอบในสหรัฐอเมริกาได้ภายใน 2-3 สัปดาห์"ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวดเวยว่า ส่วนตัวคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยระดับสูงสุดอย่างน้อยๆ 1 แห่ง โดยอาจจะให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการทำสร้างห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 4 เพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศ เนื่องจากห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดตอนนี้ระดับความปลอดภัยสูงสุดมีเพียงแค่ระดับ 3 เท่านั้น ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลหันมาสนใจเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ให้มากขึ้น
ขณะนี้ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ชื้อโรคอันตราย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดหนักในทวีปแอฟฟริกาตะวันตกนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับเชื้อมากที่สุดคือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข จึงได้อนุมัติงบประมาณ ประมาณ 12 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องมือวินิจฉันโรคติดเชื้อร้ายแรงระบบปิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ในตัวเองเข้ามาไว้ที่รพ.ศิริราช 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจาย และป้องกันการติดต่อได้ 100% ซึ่งคาดว่าน่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยภายใน 2 เดือนนี้
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิระภัยระดับ 4 (Biosafety Level 4 - BSL4) ว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำเรื่องขออนุมัติสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิระภัยระดับ 4 ไปยังผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แล้ว โดยใช้งบประมาณรวม 57 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างอาคาร 50 ล้านบาท สำหรับอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญ 2 ล้านบาท และงบบำรุงรักษา 5 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยเชื้อโรคร้ายแรงอย่างเชื้อไวรัสอีโบลา และเพิ่มศักยภาพในการศึกษาวิจัยต่อยอดการป้องกันรักษา สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมาเนื่องจากว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร โดยขณะนี้ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. ยังอยู่ระหว่างการเดินสายมอบนโยบายแก่กรมต่างๆ อยู่ หากได้เห็นงานทั้งหมดแล้วคาดว่าหลังจากนี้จะได้มีการคุยกันในรายละเอียดมากขึ้น
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
WHOขอแอนติบอดี้ไวรัสอีโบลาจากศิริราช
WHOติดต่อ"ศิริราช"ขอแอนติบอดี้รักษาอีโบลาไปทดลองกับไวรัสจริงระดับ4ที่อเมริกา หากได้ผลดีใช้ในแอฟริกาทันที
ลดขั้นตอนทดลองในสัตว์-คน
จากกรณีที่ทีมนักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ประสบความสำเร็จในการผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา โดยมีขนาดเล็กกว่าแอนติบอดีปกติถึง 5 เท่าและกลไกการทำงานเป็นการปล่อยให้ไวรัสเข้าสู่ภายในเซลล์ก่อนที่แอนติบอดีที่ผลิตขึ้นจะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส โดยยับยั้งที่ไวรัสโปรตีนสำคัญของไวรัสอีโบลา ซึ่งมีอยู่ในทุกสายพันธุ์จึงใช้รักษาได้ในทุกสายพันธุ์ และการใช้รักษาได้ผลเป็นการทำในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ยีนสังเคราะห์ของเชื้อไวรัสอีโบลาไม่ได้มีการนำเข้าเชื้อจริงนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ได้รับอีเมล์จาก Dr. Martin Friede หัวหน้าโครงการวิจัยอีโบลา ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า ยินดีกับความสำเร็จของไทยในการพัฒนาแอนติบอดี้ที่สามารถยับยั้งเชื้ออีโบลาได้ ถือว่ามีประโยชน์ และสามารถเปลี่ยนแปลงการรักษาเชื้ออีโบลาได้ จึงอยากจะขอทำการพิสูจน์แอนติบอดีที่ใช้กัยไวรัสปลอมที่ทางศิริราชพยาบาลสร้างขึ้นกับเชื้อไวรัสจริง ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ4 ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยีนส์ที่ศิริราชนำมาศึกษาทดลองนี้ เป็นยีนส์สังเคราะห์ เพื่อความปลอดภัย
"และหากสามารถทดสอบแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีก็จะนำไปสู่การพัฒนารักษาเชื้อไวรัสอีโบลาในคนได้ทันที โดยสามารถลดขั้นตอนการทดลองในสัตว์และคนได้ คาดว่าจะทำเรื่องรวบรวมเอกสารที่จำเป็น ตัวอย่างของแอนติบอดี้ และนักวิจัยของไทยบางส่วนไปร่วมทดสอบในสหรัฐอเมริกาได้ภายใน 2-3 สัปดาห์"ศ.คลินิก นพ.อุดมกล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวดเวยว่า ส่วนตัวคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยระดับสูงสุดอย่างน้อยๆ 1 แห่ง โดยอาจจะให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการทำสร้างห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 4 เพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศ เนื่องจากห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดตอนนี้ระดับความปลอดภัยสูงสุดมีเพียงแค่ระดับ 3 เท่านั้น ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลหันมาสนใจเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ให้มากขึ้น
ขณะนี้ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ชื้อโรคอันตราย โดยเฉพาะเชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดหนักในทวีปแอฟฟริกาตะวันตกนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับเชื้อมากที่สุดคือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข จึงได้อนุมัติงบประมาณ ประมาณ 12 ล้านบาท ในการซื้อเครื่องมือวินิจฉันโรคติดเชื้อร้ายแรงระบบปิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้ในตัวเองเข้ามาไว้ที่รพ.ศิริราช 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจาย และป้องกันการติดต่อได้ 100% ซึ่งคาดว่าน่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยภายใน 2 เดือนนี้
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิระภัยระดับ 4 (Biosafety Level 4 - BSL4) ว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำเรื่องขออนุมัติสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิระภัยระดับ 4 ไปยังผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แล้ว โดยใช้งบประมาณรวม 57 ล้านบาท แบ่งเป็นการก่อสร้างอาคาร 50 ล้านบาท สำหรับอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญ 2 ล้านบาท และงบบำรุงรักษา 5 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยเชื้อโรคร้ายแรงอย่างเชื้อไวรัสอีโบลา และเพิ่มศักยภาพในการศึกษาวิจัยต่อยอดการป้องกันรักษา สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมาเนื่องจากว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านผู้บริหาร โดยขณะนี้ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. ยังอยู่ระหว่างการเดินสายมอบนโยบายแก่กรมต่างๆ อยู่ หากได้เห็นงานทั้งหมดแล้วคาดว่าหลังจากนี้จะได้มีการคุยกันในรายละเอียดมากขึ้น
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์