กลุ่มเส้นด้าย จี้ "รัฐบาล" ชัดเจน "โรคโควิด" แก้ปัญหาคนป่วยนอนข้างถนน
https://www.thairath.co.th/news/society/2322570
กลุ่มเส้นด้าย จี้ "รัฐบาล" ชัดเจน "โรคโควิด" แก้ปัญหาคนป่วยนอนข้างถนน
กลุ่มเส้น-ด้าย จี้ "รัฐบาล" แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับ "โรคโควิด" เพื่อไม่ให้คนป่วยต้องนอนรอข้างถนน ทั้งที่ยังมีเตียงในระบบรองรับ
วันที่ 22 ก.พ. ที่ศูนย์ประสานงาน กลุ่มเส้น-ด้าย ถ.พหลโยธิน นาย
คริส โปตระนันทน์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเส้น-ด้าย เปิดเผยถึงสถานการณ์ฮอสพิเทลหลายที่เริ่มปิดรับคนไข้เนื่องจากเตียงเต็ม ทำให้คนไข้หลายคนรอคอยอยู่ที่บ้าน และผู้ป่วยบางคนต้องออกมานอนรอเตียงริมถนน ก่อนขอความช่วยเหลือมาที่กลุ่มเส้น-ด้าย ให้ช่วยหาเตียงเข้าพักรักษาตัว ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นเพราะความไม่ชัดเจนในนโยบายบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ว่าจะตัดสินใจไปทางไหน ระหว่างจะให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป หรือจะให้โควิดเป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน
ซึ่งกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาลวันนี้มันครึ่งๆ กลางๆ คือ โควิดยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป แต่ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคนกันเอง จึงไม่มีโรงพยาบาลไหนอยากรับรักษาผู้ป่วยโควิดเพิ่ม ทั้งที่ยังมีเตียง เพื่อเก็บเตียงให้กับกลุ่มผู้ป่วยโควิด ที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำให้เกิดเคส รปภ.รายหนึ่งติดเชื้อโควิด ต้องมานอนบริเวณหน้าธนาคารรอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
หรือกรณีล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ. ที่มีคุณลุงท่านหนึ่งตรวจโควิดจากโรงพยาบาลผลออกมาติดเชื้อ ระดับการป่วยสีเหลือง-สีแดง แต่ไร้ที่รักษา บ้านก็ไม่มีจึงมานอนข้างทาง ยังไม่นับกรณีที่กลุ่มบริษัทประกันภัยบางบริษัท ตั้งเงื่อนไขจะไม่จ่ายเงินชดเชยรายวันให้กับผู้เอาประกันที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล จึงทำให้ประชาชนที่ป่วยไม่รุนแรงเกิดความตื่นตระหนกหาเตียงกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ระบบเตียงในโรงพยาบาลยังมีพอรองรับได้ เพราะจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ขั้นรุนแรงมีระดับน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
นาย
คริส กล่าวอีกว่า หากรัฐบาล ทั้ง ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข มีความชัดเจนว่า จะเลือกปฏิบัติแนวทางไหน ถ้าให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป ก็ต้องมีระบบ HI ที่ดี มีความรวดเร็วในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน และต้องมีระบบ CI ในทุกชุมชน เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถอยู่ในระบบ HI ได้ รวมทั้งต้องให้ผู้ป่วยที่ทำประกันโควิดที่อยู่ในรักษาทั้งระบบ HI และ CI มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัย เช่นเดียวกับการเข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล
หรือถ้ารัฐบาลให้โควิด เป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน ก็ต้องเปิดเสรีในการรักษาพยาบาล ทุกโรงพยาบาลต้องรักษาผู้ป่วยโควิดอย่างเท่าเทียมทุกคน เปิดเสรีการฉีดวัคซีนตามความสมัครใจ และเลิกควบคุมการจำหน่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลมีความชัดเจนในทางปฏิบัติทางใดทางหนึ่งอย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มเส้น-ด้าย ก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ด้าน น.ส.
ปูเป้ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ย่านรังสิต จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตอนนี้ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ประชาชนตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด รัฐให้ไปโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่ไปถึงหน้าโรงพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะตรวจ RT-PCR ให้ หลายวันมานี้ มีคนโทรมาขอคำปรึกษาเรื่องนี้ถี่ขึ้นวันละหลายๆ คน ยอดเพิ่มขึ้น สถานการณ์เดิมกำลังวนมา ขณะที่รัฐก็กำลังจะยกเลิกนโยบายการรับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ แต่ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น ยกเว้นกรณีฉุกเฉินวิกฤติยังสามารถใช้ระบบการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ จนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤติหรือไม่เกิน 72 ชม.
ขณะที่ศูนย์พักคอยก็ทยอยเต็ม Hospitel ก็ทยอยปิดไปหลายแห่งแล้ว ที่เหลืออยู่ก็ผู้ป่วยเต็ม อย่างน้อยโรงพยาบาลตามสิทธิควรรับตรวจ RT-PCR แล้วแนะนำให้เขา HI ส่งยาให้ก็ได้ ตอนนี้ถ้าใครตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ก็ลงทะเบียน HI แล้วอยู่บ้านทำ HI ไปตามมีตามเกิด รอไป รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา อาการไม่หนักไปโรงพยาบาลเขาไม่รับ ดังนั้นก็ต้องดูแลตัวเองกันดีๆ.
‘ได๋’ แจงดราม่าซัดนโยบายรัฐไม่ชัดเจน ทำคนสับสนจนต้องนอนถนน
https://www.dailynews.co.th/news/790385/
"ได๋ ไดอาน่า" แจงดราม่าประเด็นร้อน หลังออกมาแฉศูนย์พักคอยเตียงเต็มแล้ว! ลั่นนโยบายรับทำคนสับสนไม่มีที่ไป จนสุดท้ายเจอภาพคนนอนข้างถนนแบบนี้!
จากกรณี “
ได๋ ไดอาน่า” เจ้าของเพจอาสาเราต้องรอด เผยสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 กลับมาวิกฤติอีกครั้ง หลังพบคนติดเชื้อเพิ่มหลักหมื่นต่อวัน จนทำให้ตอนนี้ศูนย์พักคอยเตียงเต็ม คนต้องพามานอนที่พื้น พร้อมเผยภาพเจอคนป่วยต้องนอนข้างถนนแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ก.พ. “ได๋ ไดอาน่า” ได้ออกมาไลฟ์พูดถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีช่วงหนึ่งได้ระบุว่า จริงๆประมาณอาทิตย์นึงที่ผ่านมา ก็จะมีเสียงของประชาชนที่เป็นห่วงมาก หนึ่งเลยคือคนที่ติดแล้วค่อนข้างที่จะหาเตียงยาก สองก็คือคนที่ไม่ติดก็จะมีความกังวล ว่าเมื่อยกเลิกสิทธิรักษาแล้วรักษาตามสิทธิจะเป็นอย่างไร
คำว่าเลื่อนออกไปก่อนของ ครม. ก็ยังทำให้เราสบายใจได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีประกาศออกมาแบบเป็นทางการ เราก็ยังไม่รู้ว่ามาตรการที่แน่ชัดเป็นอย่างไร นโยบายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่เบื้องต้นขอแจ้งก่อนว่า เรายังไม่รู้ว่านโยบายต่างๆเมื่อมีการเปลี่ยนในระดับบน เมื่อเปลี่ยนมาถึงผู้ปฏิบัติการในระดับล่างๆ แล้วแนวทางการทำงานจริง จะสอดคล้องได้ทันเวลาไหม ยกตัวอย่างเช่น Hospitel หลายๆที่ก็แจ้งแล้วว่าจะปิดรับผู้ป่วยแล้ว ก็ต้องมีประชุมกัน ว่าจะปิดรับผู้ป่วยจริงไหม หรือจะเปิดรับต่อ
“เรายังไม่รู้ว่านโยบายที่เปลี่ยนมา เมื่อมาถึงการทำงานจริงหน้างาน จะสามารถทำงานได้จริงไหม ท่ามกลางความยังไม่ชัดเจนแบบนี้ ก็ทำให้ผู้ป่วยหลายคนต้องมองพึ่งศูนย์พักคอยแบบนี้ ซึ่งต้องพูดตรงๆว่า ด้วยระบบราชการ เมื่อเลิกงานก็จะติดต่อไม่ได้ แต่โควิดมันไม่เลือกเวลา บางคนเขารอผลก่อนถึงบ้าน ก็ไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จะรอแบบไหน จนเกิดภาพที่เห็นมีคนนอนข้างถนน มีคนนอนรอในรถ เพราะไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนดีแบบนี้”..
ครัวเรือนกู้หนัก ดันยอดหนี้โต แบงก์ชาติสะท้อนภาวะฝืดหนัก
https://www.prachachat.net/prachachat-hilight/news-870749
ธุรกิจ-ครัวเรือน ยังต้องการสินเชื่อสูง “แบงก์ชาติ” เผยแนวโน้มปี 65 ทุกขนาดธุรกิจต้องการเงินหมุน ด้าน”ครัวเรือน” สินเชื่อรถมาแรง แต่ปี 2565 น่าจะแผ่วจากโอมิครอน สวนทางสินเชื่อแบบอื่น
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผ่านมาเกือบ 2 เดือนของปี 2565 ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งพากันนำเสนอแผนและเป้าหมายการเติบโตตลอดทั้งปี โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกือบทุกแห่งใช้เป็นอาวุธคือ
“สินเชื่อ” ซึ่งสอดรับกับข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่า
ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ระดับ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณ 4.2% ซึ่งจากการประเมินพบว่า สัญญาณของการก่อหนี้เพิ่ม เพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น
สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการในฝั่งนอนแบงก์
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่า คนไทยยังประสบปัญหาทางการเงินจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซ้ำด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการสินเชื่อและเงินด่วนยังมีอยู่มาก
“ประชาชาติธุรกิจ” เปิดรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
ภาคบริการกู้สูง ธุรกิจขนาดใหญ่ขอสินเชื่อทำควบรวม
จากรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อประจำไตรมาส 4 ปี 2564 ระบุว่า ความต้องการสินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นทั้งหมด
โดยภาคธุรกิจที่ต้องการสินเชื่อมากที่สุด คือภาคบริการเป็นหลักเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อการควบรวมกิจการ (M&A) และเพื่อการส่งออกสอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1/2565 คาดว่าธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มีแนวโน้มต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกสาขาธุรกิจ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจและเพื่อการส่งออก รวมถึงเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยธุรกิจขนาดใหญ่ยังต้องการสินเชื่อเพื่อการควบรวมกิจการ (M&A) ต่อเนื่อง
ครัวเรือน: เช่าซื้อรถพุ่งสุด
ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือน จากข้อมูลไตรมาสที่ 4/2564 ทุกประเภทสินเชื่อความต้องการเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยเฉพาะความต้องการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบการออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขายที่ถูกกระทบในช่วงก่อนหน้า
ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและอุปโภคบริโภคอื่น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากครัวเรือนกลุ่มที่มีเงินออมจำกัดเพื่อใช้จ่ายทั่วไป ขณะที่สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัยยังไม่มากนัก แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราวเมื่อ 21 ต.ค. 2564
คาดการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 1/2565 ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่มีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากความต้องการน่าจะลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ส่วนสินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการ LTV
เหล่านี้คือข้อมูลที่สะท้อนชัดเจนว่า ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนยังต้องการ
“สินเชื่อ” ต่อไป เป็นเหตุผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินแห่ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อตอบสนองตลาด
JJNY : 4in1 เส้นด้ายจี้แก้คนป่วยนอนข้างถ.│‘ได๋’ซัดนโยบายรัฐไม่ชัดเจน│ครัวเรือนกู้หนัก ดันยอดหนี้โต│วิโรจน์ลงคลองเตย
https://www.thairath.co.th/news/society/2322570
กลุ่มเส้นด้าย จี้ "รัฐบาล" ชัดเจน "โรคโควิด" แก้ปัญหาคนป่วยนอนข้างถนน
กลุ่มเส้น-ด้าย จี้ "รัฐบาล" แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับ "โรคโควิด" เพื่อไม่ให้คนป่วยต้องนอนรอข้างถนน ทั้งที่ยังมีเตียงในระบบรองรับ
วันที่ 22 ก.พ. ที่ศูนย์ประสานงาน กลุ่มเส้น-ด้าย ถ.พหลโยธิน นายคริส โปตระนันทน์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเส้น-ด้าย เปิดเผยถึงสถานการณ์ฮอสพิเทลหลายที่เริ่มปิดรับคนไข้เนื่องจากเตียงเต็ม ทำให้คนไข้หลายคนรอคอยอยู่ที่บ้าน และผู้ป่วยบางคนต้องออกมานอนรอเตียงริมถนน ก่อนขอความช่วยเหลือมาที่กลุ่มเส้น-ด้าย ให้ช่วยหาเตียงเข้าพักรักษาตัว ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นเพราะความไม่ชัดเจนในนโยบายบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล ว่าจะตัดสินใจไปทางไหน ระหว่างจะให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป หรือจะให้โควิดเป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน
ซึ่งกลายเป็นว่า นโยบายของรัฐบาลวันนี้มันครึ่งๆ กลางๆ คือ โควิดยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป แต่ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคนกันเอง จึงไม่มีโรงพยาบาลไหนอยากรับรักษาผู้ป่วยโควิดเพิ่ม ทั้งที่ยังมีเตียง เพื่อเก็บเตียงให้กับกลุ่มผู้ป่วยโควิด ที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทำให้เกิดเคส รปภ.รายหนึ่งติดเชื้อโควิด ต้องมานอนบริเวณหน้าธนาคารรอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
หรือกรณีล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ. ที่มีคุณลุงท่านหนึ่งตรวจโควิดจากโรงพยาบาลผลออกมาติดเชื้อ ระดับการป่วยสีเหลือง-สีแดง แต่ไร้ที่รักษา บ้านก็ไม่มีจึงมานอนข้างทาง ยังไม่นับกรณีที่กลุ่มบริษัทประกันภัยบางบริษัท ตั้งเงื่อนไขจะไม่จ่ายเงินชดเชยรายวันให้กับผู้เอาประกันที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล จึงทำให้ประชาชนที่ป่วยไม่รุนแรงเกิดความตื่นตระหนกหาเตียงกันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ระบบเตียงในโรงพยาบาลยังมีพอรองรับได้ เพราะจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ขั้นรุนแรงมีระดับน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
นายคริส กล่าวอีกว่า หากรัฐบาล ทั้ง ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข มีความชัดเจนว่า จะเลือกปฏิบัติแนวทางไหน ถ้าให้โควิด ยังเป็นโรคติดต่อร้ายแรงต้องควบคุมต่อไป ก็ต้องมีระบบ HI ที่ดี มีความรวดเร็วในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน และต้องมีระบบ CI ในทุกชุมชน เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถอยู่ในระบบ HI ได้ รวมทั้งต้องให้ผู้ป่วยที่ทำประกันโควิดที่อยู่ในรักษาทั้งระบบ HI และ CI มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัย เช่นเดียวกับการเข้ารับการรักษาในระบบโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล
หรือถ้ารัฐบาลให้โควิด เป็นโรคทั่วไปเหมือนการเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนเข้ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน ก็ต้องเปิดเสรีในการรักษาพยาบาล ทุกโรงพยาบาลต้องรักษาผู้ป่วยโควิดอย่างเท่าเทียมทุกคน เปิดเสรีการฉีดวัคซีนตามความสมัครใจ และเลิกควบคุมการจำหน่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลมีความชัดเจนในทางปฏิบัติทางใดทางหนึ่งอย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มเส้น-ด้าย ก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ด้าน น.ส.ปูเป้ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ย่านรังสิต จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตอนนี้ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ ประชาชนตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด รัฐให้ไปโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่ไปถึงหน้าโรงพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะตรวจ RT-PCR ให้ หลายวันมานี้ มีคนโทรมาขอคำปรึกษาเรื่องนี้ถี่ขึ้นวันละหลายๆ คน ยอดเพิ่มขึ้น สถานการณ์เดิมกำลังวนมา ขณะที่รัฐก็กำลังจะยกเลิกนโยบายการรับเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ แต่ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น ยกเว้นกรณีฉุกเฉินวิกฤติยังสามารถใช้ระบบการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ จนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤติหรือไม่เกิน 72 ชม.
ขณะที่ศูนย์พักคอยก็ทยอยเต็ม Hospitel ก็ทยอยปิดไปหลายแห่งแล้ว ที่เหลืออยู่ก็ผู้ป่วยเต็ม อย่างน้อยโรงพยาบาลตามสิทธิควรรับตรวจ RT-PCR แล้วแนะนำให้เขา HI ส่งยาให้ก็ได้ ตอนนี้ถ้าใครตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ก็ลงทะเบียน HI แล้วอยู่บ้านทำ HI ไปตามมีตามเกิด รอไป รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา อาการไม่หนักไปโรงพยาบาลเขาไม่รับ ดังนั้นก็ต้องดูแลตัวเองกันดีๆ.
‘ได๋’ แจงดราม่าซัดนโยบายรัฐไม่ชัดเจน ทำคนสับสนจนต้องนอนถนน
https://www.dailynews.co.th/news/790385/
"ได๋ ไดอาน่า" แจงดราม่าประเด็นร้อน หลังออกมาแฉศูนย์พักคอยเตียงเต็มแล้ว! ลั่นนโยบายรับทำคนสับสนไม่มีที่ไป จนสุดท้ายเจอภาพคนนอนข้างถนนแบบนี้!
จากกรณี “ได๋ ไดอาน่า” เจ้าของเพจอาสาเราต้องรอด เผยสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 กลับมาวิกฤติอีกครั้ง หลังพบคนติดเชื้อเพิ่มหลักหมื่นต่อวัน จนทำให้ตอนนี้ศูนย์พักคอยเตียงเต็ม คนต้องพามานอนที่พื้น พร้อมเผยภาพเจอคนป่วยต้องนอนข้างถนนแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ก.พ. “ได๋ ไดอาน่า” ได้ออกมาไลฟ์พูดถึงเรื่องดังกล่าว โดยมีช่วงหนึ่งได้ระบุว่า จริงๆประมาณอาทิตย์นึงที่ผ่านมา ก็จะมีเสียงของประชาชนที่เป็นห่วงมาก หนึ่งเลยคือคนที่ติดแล้วค่อนข้างที่จะหาเตียงยาก สองก็คือคนที่ไม่ติดก็จะมีความกังวล ว่าเมื่อยกเลิกสิทธิรักษาแล้วรักษาตามสิทธิจะเป็นอย่างไร
คำว่าเลื่อนออกไปก่อนของ ครม. ก็ยังทำให้เราสบายใจได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีประกาศออกมาแบบเป็นทางการ เราก็ยังไม่รู้ว่ามาตรการที่แน่ชัดเป็นอย่างไร นโยบายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่เบื้องต้นขอแจ้งก่อนว่า เรายังไม่รู้ว่านโยบายต่างๆเมื่อมีการเปลี่ยนในระดับบน เมื่อเปลี่ยนมาถึงผู้ปฏิบัติการในระดับล่างๆ แล้วแนวทางการทำงานจริง จะสอดคล้องได้ทันเวลาไหม ยกตัวอย่างเช่น Hospitel หลายๆที่ก็แจ้งแล้วว่าจะปิดรับผู้ป่วยแล้ว ก็ต้องมีประชุมกัน ว่าจะปิดรับผู้ป่วยจริงไหม หรือจะเปิดรับต่อ
“เรายังไม่รู้ว่านโยบายที่เปลี่ยนมา เมื่อมาถึงการทำงานจริงหน้างาน จะสามารถทำงานได้จริงไหม ท่ามกลางความยังไม่ชัดเจนแบบนี้ ก็ทำให้ผู้ป่วยหลายคนต้องมองพึ่งศูนย์พักคอยแบบนี้ ซึ่งต้องพูดตรงๆว่า ด้วยระบบราชการ เมื่อเลิกงานก็จะติดต่อไม่ได้ แต่โควิดมันไม่เลือกเวลา บางคนเขารอผลก่อนถึงบ้าน ก็ไม่รู้จะต้องทำอย่างไร จะรอแบบไหน จนเกิดภาพที่เห็นมีคนนอนข้างถนน มีคนนอนรอในรถ เพราะไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนดีแบบนี้”..
ครัวเรือนกู้หนัก ดันยอดหนี้โต แบงก์ชาติสะท้อนภาวะฝืดหนัก
https://www.prachachat.net/prachachat-hilight/news-870749
ธุรกิจ-ครัวเรือน ยังต้องการสินเชื่อสูง “แบงก์ชาติ” เผยแนวโน้มปี 65 ทุกขนาดธุรกิจต้องการเงินหมุน ด้าน”ครัวเรือน” สินเชื่อรถมาแรง แต่ปี 2565 น่าจะแผ่วจากโอมิครอน สวนทางสินเชื่อแบบอื่น
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผ่านมาเกือบ 2 เดือนของปี 2565 ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งพากันนำเสนอแผนและเป้าหมายการเติบโตตลอดทั้งปี โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกือบทุกแห่งใช้เป็นอาวุธคือ “สินเชื่อ” ซึ่งสอดรับกับข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ระบุว่า
ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ระดับ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณ 4.2% ซึ่งจากการประเมินพบว่า สัญญาณของการก่อหนี้เพิ่ม เพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น
สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการในฝั่งนอนแบงก์
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่า คนไทยยังประสบปัญหาทางการเงินจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซ้ำด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการสินเชื่อและเงินด่วนยังมีอยู่มาก
“ประชาชาติธุรกิจ” เปิดรายงานธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
ภาคบริการกู้สูง ธุรกิจขนาดใหญ่ขอสินเชื่อทำควบรวม
จากรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อประจำไตรมาส 4 ปี 2564 ระบุว่า ความต้องการสินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นทั้งหมด
โดยภาคธุรกิจที่ต้องการสินเชื่อมากที่สุด คือภาคบริการเป็นหลักเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาฟื้นตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อการควบรวมกิจการ (M&A) และเพื่อการส่งออกสอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1/2565 คาดว่าธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มีแนวโน้มต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกสาขาธุรกิจ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจและเพื่อการส่งออก รวมถึงเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยธุรกิจขนาดใหญ่ยังต้องการสินเชื่อเพื่อการควบรวมกิจการ (M&A) ต่อเนื่อง
ครัวเรือน: เช่าซื้อรถพุ่งสุด
ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือน จากข้อมูลไตรมาสที่ 4/2564 ทุกประเภทสินเชื่อความต้องการเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยเฉพาะความต้องการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบการออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขายที่ถูกกระทบในช่วงก่อนหน้า
ส่วนความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและอุปโภคบริโภคอื่น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากครัวเรือนกลุ่มที่มีเงินออมจำกัดเพื่อใช้จ่ายทั่วไป ขณะที่สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัยยังไม่มากนัก แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราวเมื่อ 21 ต.ค. 2564
คาดการณ์ในช่วงไตรมาสที่ 1/2565 ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อรถยนต์ที่มีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากความต้องการน่าจะลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ส่วนสินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการ LTV
เหล่านี้คือข้อมูลที่สะท้อนชัดเจนว่า ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนยังต้องการ “สินเชื่อ” ต่อไป เป็นเหตุผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินแห่ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อตอบสนองตลาด