ผงชูรสvsผงปรุงรส เหมือนกันรึเปล่า?
มันคือความเหมือนที่แตกต่าง ที่จริงแล้วทั้งสองอย่างก็คือวัตถุปรุงรสที่ใส่ลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่มีข้อแตกต่างที่ต่างกันคือ
ผงชูรส คือวัตถุปรุงแต่งอาหารที่เกิดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย นำมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้เกิดการตกผลึก กลายเป็นผงชูรส
ผงปรุงรส คือการนำเอาเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ มาหมักรวมกับเนื้อสัตว์ แล้วนำไปต้ม จากนั้นจึงผ่านกระบวนการอบแห้ง จากนั้นจึงทำให้เป็นผง
แต่ทั้งสองชนิดล้วนมี โมโนโซเดียมกลูตาเมต ผสมอยู่ในปริมาณที่ต่างกัน ผงชูรสคือโมโนโซเดียมกลูตาเมตล้วน แต่ผงปรุงรสมีโมโนโซเดียมกลูตาเมต ในปริมาณที่น้อยกว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ
แต่ปัจจุบันสถาบันอาหารหลายแห่งได้ให้การรับรองความปลอดภัยของผงชูรส เทียบเท่ากับวัตถุปรุงแต่งอาหารพวก ซีอิ้วขาว น้ำส้มสายชู
ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคจะเลือกใช้
ในรายการทำอาหาร ที่เราดูในโทรทัศน์ ก็เช่นกัน ล้วนคือการโฆษณาสินค้า ปรุงแต่งรสอาหารเกือบทั้งสิ้น
นอกจากผลิตภัณฑ์ผงชูรสหรือผงปรุงรสโดยตรงแล้ว เรายังได้รับจากเครื่องปรุงอื่นๆที่มีส่วนผสมของผงชูรสและผงปรุงรส อีกมากเช่น
1 กลุ่มเครื่องปรุง เช่น น้ำมันหอย ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงกรอบ ผงเนื้อนุ่ม ฯลฯ
2 กลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง ฯลฯ
3 กลุ่มอาหารแปรรูปอื่นๆ เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง ฯลฯ
4 กลุ่มขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ เช่น ประเภทมันฝรั่งทอด มันฝรั่งอบ สาหร่าย ฯลฯ
5 กลุ่มอาหารปรุงสำเร็จ อาหารจานด่วน พิซซ่า อาหารใส่ถุง อาหารตามสั่ง ฯลฯ
จะเห็นว่า อาหารในแต่มื้อ ขนมในแต่ละซอง เราจะได้รับกลุ่มผงชูรสหรือผงปรุงรสอยู่เสมอ ผลเสียต่อสุขภาพ นอกจาก ความเค็ม การตกค้างของสารเคมีในขบวนการผลิต ฤทธิ์หรืออาการแพ้ แล้ว ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลเสียต่อสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกันในเชิงการค้า ก็ยังเป็นสินค้าที่ทำให้เกิดการติดรสชาติอาหาร ไม่ใส่ไม่อร่อย นั่นหมายความว่า สามารถสร้างความต้องการที่จำเป็นให้เกิดการซื้ออย่างต่อเนื่อง ซื้อประจำ ขาดไม่ได้
แม้ว่ากฎหมายจะไม่ห้าม เพียงให้แสดงฉลาก และกำหนดปริมาณ แต่เราในฐานะผู้บริโภค ควรรู้เท่าทันถึงผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าต่อสุขภาพ ค่านิยมความเคยชิน ผลต่อระบบอาหาร และค่าใช้จ่าย
เลี่ยงได้ก็เลี่ยงนะคะ ทานให้อร่อยน้อยลงหน่อยแต่ดีต่อสุขภาพก็น่าจะดีกว่านะคะ
Cr: facebook เพจ "ครัวคุณนาย สูตรอาหารอร่อย"
https://www.facebook.com/MadameKitchenByPunPun
Cr: © สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์
Cr: PaPaAmaTa
ความแตกต่าง ผงชูรสvsผงปรุงรส
มันคือความเหมือนที่แตกต่าง ที่จริงแล้วทั้งสองอย่างก็คือวัตถุปรุงรสที่ใส่ลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่มีข้อแตกต่างที่ต่างกันคือ
ผงชูรส คือวัตถุปรุงแต่งอาหารที่เกิดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย นำมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้เกิดการตกผลึก กลายเป็นผงชูรส
ผงปรุงรส คือการนำเอาเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ มาหมักรวมกับเนื้อสัตว์ แล้วนำไปต้ม จากนั้นจึงผ่านกระบวนการอบแห้ง จากนั้นจึงทำให้เป็นผง
แต่ทั้งสองชนิดล้วนมี โมโนโซเดียมกลูตาเมต ผสมอยู่ในปริมาณที่ต่างกัน ผงชูรสคือโมโนโซเดียมกลูตาเมตล้วน แต่ผงปรุงรสมีโมโนโซเดียมกลูตาเมต ในปริมาณที่น้อยกว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ
แต่ปัจจุบันสถาบันอาหารหลายแห่งได้ให้การรับรองความปลอดภัยของผงชูรส เทียบเท่ากับวัตถุปรุงแต่งอาหารพวก ซีอิ้วขาว น้ำส้มสายชู
ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคจะเลือกใช้
ในรายการทำอาหาร ที่เราดูในโทรทัศน์ ก็เช่นกัน ล้วนคือการโฆษณาสินค้า ปรุงแต่งรสอาหารเกือบทั้งสิ้น
นอกจากผลิตภัณฑ์ผงชูรสหรือผงปรุงรสโดยตรงแล้ว เรายังได้รับจากเครื่องปรุงอื่นๆที่มีส่วนผสมของผงชูรสและผงปรุงรส อีกมากเช่น
1 กลุ่มเครื่องปรุง เช่น น้ำมันหอย ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงกรอบ ผงเนื้อนุ่ม ฯลฯ
2 กลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง ฯลฯ
3 กลุ่มอาหารแปรรูปอื่นๆ เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง ฯลฯ
4 กลุ่มขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ เช่น ประเภทมันฝรั่งทอด มันฝรั่งอบ สาหร่าย ฯลฯ
5 กลุ่มอาหารปรุงสำเร็จ อาหารจานด่วน พิซซ่า อาหารใส่ถุง อาหารตามสั่ง ฯลฯ
จะเห็นว่า อาหารในแต่มื้อ ขนมในแต่ละซอง เราจะได้รับกลุ่มผงชูรสหรือผงปรุงรสอยู่เสมอ ผลเสียต่อสุขภาพ นอกจาก ความเค็ม การตกค้างของสารเคมีในขบวนการผลิต ฤทธิ์หรืออาการแพ้ แล้ว ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลเสียต่อสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกันในเชิงการค้า ก็ยังเป็นสินค้าที่ทำให้เกิดการติดรสชาติอาหาร ไม่ใส่ไม่อร่อย นั่นหมายความว่า สามารถสร้างความต้องการที่จำเป็นให้เกิดการซื้ออย่างต่อเนื่อง ซื้อประจำ ขาดไม่ได้
แม้ว่ากฎหมายจะไม่ห้าม เพียงให้แสดงฉลาก และกำหนดปริมาณ แต่เราในฐานะผู้บริโภค ควรรู้เท่าทันถึงผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าต่อสุขภาพ ค่านิยมความเคยชิน ผลต่อระบบอาหาร และค่าใช้จ่าย
เลี่ยงได้ก็เลี่ยงนะคะ ทานให้อร่อยน้อยลงหน่อยแต่ดีต่อสุขภาพก็น่าจะดีกว่านะคะ
Cr: facebook เพจ "ครัวคุณนาย สูตรอาหารอร่อย"
https://www.facebook.com/MadameKitchenByPunPun
Cr: © สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์
Cr: PaPaAmaTa