ทำไมเราถึงต้องคัดค้าน พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่

อยากเอามาให้ได้อ่านกันนะคะ
ไม่ได้อยากให้เกิดความแตกแยกหรือต่อสู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพอื่นๆนะคะ แต่อยากให้พี่น้องประชาชนรับรู้ถึง ผลเสียจากพรบ.ฉบับนี้ อาจยาวหน่อยนะคะ

ลิ้งค์พรบ.ฉบับที่กล่าวถึง
http://drug.fda.moph.go.th/zone_law/files/law.pdf
หรือ
https://www.dropbox.com/sh/splj2bgrft1syfk/AABkR6NoHtyw794OuJ4DF6Boa?dl=0
(ผู้ที่เปิดในคอมสามารถคลิกเข้าไปในรูป แล้วกดคลิกขวา view original เพื่อดูรูปขนาดใหญาได้ค่ะ)



**UPDATE** 31/10/2557
จาก เดลินิวส์ วันที่30/10/57


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124622




บทความนี้คัดลอกจาก https://www.facebook.com/ThaiPharmacyPower

ทำไมเราถึงต้องคัดค้าน พ.ร.บ. ยา ฉบับนี้
1. ประเภทยาไม่เป็นไปตามหลักสากล
2. ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาไม่ต้องขออนุญาต ผลิต ขาย นำเข้ายา
3. ให้ผู้ไม่เชี่ยวชาญจัดการและควบคุมการประกอบการด้านยา
4. ต่ออายุทะเบียนตำรับยาโดยไม่ทบทวนทะเบียนตำรับยา และมีข้อยกเว้นโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา
5. เปิดให้มีการโฆษณายาทุกประเภทและโฆษณารักษาโรคร้ายแรงได้ ปละไม่มีการควบคุมการส่งเสริมการขาย
6. ไม่มีข้อห้ามการผลิต/ขายยาชุด
7. ความรับผิดทางแพ่ง/บทลงโทษไม่เป็นธรรม และไม่มีบทลงโทษทางปกครอง  




1. ใบยื่นคัดค้านตามลิ้งค์แนบจำนวน 2ชุด
http://news.pharmacy.psu.ac.th/images/stories/doc/2557-09/PSU.doc
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 2 ชุด โดยเซ็นคร่อมว่าใช้สำหรับคัดค้าน พรบ.ยาฉบับใหม่ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องและลงวันที่ที่เซ็นรับรอง เพื่อความปลอดภัย

ส่งไปที่
สำนักงานเลขานุการคณะฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
หรือ สำนักงานเลขานุการคณะฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  หรือ สภาเภสัชกรรม
( วงเล็บมุมซองคัดค้านพรบ.ยา )

พรบ.กำลังจะถูกส่งต่อไปยัง ครม./สนช. ค่ะ
ช่วยกันลงชื่อคัดค้านให้ได้มากที่สุดนะคะ อย่าให้เรื่องเงียบไป ไม่อย่างงั้นเผลอๆอีกทีพรบ.นี้ถูกเนียนส่งเรื่องไปเรียบร้อยแล้ว

สองชุดนี้ จะส่งไปยื่นคัดค้านที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ( สคก.) และ  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ส่วนอ.ย./ กระทรวงสาธารณสุข  ได้ยื่นไปแล้ว


7/10/2557
เพิ่มสรุปนะคะ โดย ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ



◾ข้อที่ 1:: ประเภทยาไม่เป็นไปตามหลักสากล ::
ตามหลักสากลได้กำหนดประเภทยาไว้ 3 ประเภท คือ

1.     ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยาจากแพทย์
2.     ยาอันตราย ที่ต้องจ่ายโดยเภสัชกร
3.     ยาสามัญประจำบ้าน จำหน่ายได้ทั่วไป
◾แต่ พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้ กลับ แก้ข้อ 2 เปลี่ยนจากเภสัชกร เป็นยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเภสัชกรเท่านั้น แต่เป็นวิชาชีพอื่นๆ แล้วมันจะมีปัญหาอะไรตามมา เรามาพิจารณากันดังนี้.....

1.     เภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านยา เรียนทางด้านยาด้วยหลักสูตร 6 ปี เวลาในการเรียนนานขนาดนี้ ก็ต้องแสดงว่า ศาสตร์ทางด้านยา นั้นต้องมีอะไรมากกว่าการรู้จักชื่อยา สรรพคุณ วิธีใช้ ดังนั้นการที่เปิดช่องให้ใครก็ได้มาจ่ายยาได้โดยที่ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญโดยตรง ก็จะเกิดความ "เสี่ยง และอันตราย" ถึงชีวิตของผู้ป่วยได้
2.     การกำหนดประเภทยาตามหลักสากล ย่อมมีเหตุผลอย่างมากจากนานาอารยประเทศได้กำหนดแบบนั้น แต่การที่ไทยเราจะเปลี่ยนแบบนี้ ก็ย่อมขัดต่อระบบการสาธารณสุขของโลก ซึ่งกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทำหน้าที่ของตนเอง และต้องทำงานร่วมกันเพื่อสุขภาพของประชาชน แต่ พ.ร.บ. ยาฉบับนี้ สนับสนุนให้มีการทำงานเกินหน้าที่ขอบเขตของตนเอง
3.     การทำงานเกินหน้าที่ขอบเขตของตนเอง ด้วยการไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญอย่างเพียงพอจะเป็นอันตรายต่อประชาชนอย่างมาก มีโอกาสในการผิดพลาดสูง ระบบการสาธารณสุขสากลจึงได้กำหนดให้มีการทำงานร่วมกัน เช่น [[แพทย์สั่งจ่ายยา เภสัชกรทบทวนใบสั่งยา และจ่ายยา พยาบาลนำยาไปฉีด]] แค่ขั้นตอนตรงนี้อย่างน้อยต้องผ่านบุคลากรถึง 3 คน (ขั้นตอน) โอกาสในการจะตรวจพบข้อผิดพลาดย่อมมีโอกาสสูงกว่า หรือ มองในอีกมุมร้าย [[ถ้าเภสัชกรถือมีดผ่าตัด หรือฉีดยาบ้างมันทำได้หรือและมันสมควรไหม]] วิชาชีพสาขาอื่นๆ ก็เช่นกัน ก็ควรทำหน้าที่เฉพาะของตนให้ดี และทำงานร่วมกันในทุกสาขาเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา การกำหนดให้บุคลากรมีอำนาจในการทำอยู่แต่เพียงผู้เดียว ที่ผ่านมาปัญหาฟ้องร้องทางการรักษามีอย่างมาก หาก พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ถูกประกาศใช้ ปัญหาพวกนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ แทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหากลับเป็นการเพิ่มปัญหาให้มาก และหนักหนายิ่งขึ้น


◾ข้อที่ 2:: ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาไม่ต้องขออนุญาต ผลิต ขาย นำเข้ายา ::
การจะผลิตยา ขาย นำเข้า ตามปกติก็ต้องมีการขออนุญาตแต่ละประเภทต่างกัน  
1.ผลิตยา: โรงงานจะผลิตยาก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตตั้งแต่การตั้งตำรับยา การผลิต รวมถึงขออนุญาตในการตั้งโรงงานผลิต ตรวจหลายขั้นตอนเพื่อคุณภาพ มีเภสัชกรควบคุมการผลิต แต่ต่อนี้ไปผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาไม่ต้องทำได้เลยตามใจ อยากจะเอาครีมมานั่งกวนหลังร้านก็ทำได้ อยากได้ยานวดขาผู้ป่วยก็เทๆๆ ผสมๆๆ กวนๆ ใส่ขวด ขายเลย มันจะต่างจากพวกลักลอบผสมครีมทาหน้าขาว ลอกผิวขาวที่ผิดกฎหมายอย่างไร
2.ขายยา: ในปัจจุบันกำหนดร้านขายยา (คน) ไว้ 2 ประเภท คือ ขย.1 และ ขย.2
- ขย.1 คือร้านขายยาแผนปัจจุบัน โดยเภสัชกร (ขายยาอันตราย, ยาตามใบสั่ง)
- ขย.2 คือร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ยาสามัญประจำบ้าน) ขายโดยผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่ใช่เภสัชกร แต่จะต้องหมดไปใน 8 ปี เพื่อเปลี่ยนเป็น ขย.1
◾แต่ พ.ร.บ. ยาฉบับนี้ ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาไม่ต้องขออนุญาต นั่นหมายถึง ใครก็มาขายยาได้ แล้วใครได้ประโยชน์ล่ะ มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อร้านสะดวกซื้อรายหนึ่งที่มีแผนการจัดทำร้านขายยาอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาทำไม่สำเร็จเป้าหมายเพราะขาดเภสัชกร ถ้า พ.ร.บ ยา ฉบับนี้ผ่าน ก็มีแนวโน้มที่ร้านสะดวกซื้อจะสามารถเปิดขายยาโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาทำหน้าที่ขายยาได้ จากที่กำลังจะยกเลิก ขย.2 ให้เป็น ขย.1 ภายใน 8 ปี เพื่อมาตรฐาน และความปลอดภัยของประชาชนก็ไร้ความหมาย ซ้ำร้ายจะยิ่งหนักหนาสาหัสกว่าเดิม เพราะประชาชนจะเข้าถึงยาได้ง่ายเกินไปโดยได้รับยาจากผู้ไม่มีความรู้ และเชี่ยวชาญทางด้านยา

◾ยาไม่เหมือนสินค้าทั่วไปที่ขายได้ง่ายได้มากแล้วจะดี ถ้ายาขายดี ก็แสดงว่าประชาชนป่วยมากขึ้น คุณภาพชีวิตเลวลง แถมการเข้าถึงยาได้ง่ายแบบนี้ทำให้ประชาชนเสี่ยงอันตรายมากกว่าเดิม และผู้ขายยาก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และมีความรู้ในการจ่ายยา แล้วลูกหลานของเราแวะไปซื้อน้ำหวาน ซื้อขนม เห็นยาวางขายอาจอยากจะซื้อกินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น เห็นเพื่อนกินแล้วผิวสวย งานนี้ไม่มีเภสัชกรมาคอยมาซักประวัติ สอบถาม แนะนำ และยับยั้ง รับรองจะมีผู้ป่วยจากการใช้ยาสูงขึ้นทวีคูณ เพราะที่ผ่านมาตามร้านของชำก็แอบขายยากันอยู่แล้ว ผู้สูงอายุตาบอด ก็เพราะซื้อยาหยอดตามาใช้เอง ผู้ใช้แรงงานมีเลือดออกในกระเพาะอาหารจนเสียชีวิต ก็เพราะไปซื้อยาชุด ยาที่โฆษณาในวิทยุกินเอง เป็นต้น
◾ทำไมประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว ถึงมีเภสัชกรประจำร้านยา ก็เพราะเขารู้ว่าเภสัชกรเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านยา และมีหน้าที่ตามกฎหมาย ในการดูแลควบคุมการจ่ายยา เพราะยาจัดเป็นสินค้าอันตรายที่ต้องมีการควบคุม ถ้าขายได้ง่าย อย่างเสรี ก็ย่อมส่งผลเสียต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ และอาจส่งผลต่อความไม่มั่นใจในระบบสุขภาพของประเทศนั้นๆ ได้อีกด้วย แล้วใครจะกล้ามารักษา หรือมาเที่ยวเมืองไทย


3.นำเข้ายา: ทุกวันนี้มีกฎหมายนำเข้ายาก็ยังมีการลักลอบนำยาจากต่างประเทศเข้าสู่ราชอาณาจักรกันมากอยู่แล้ว ทั้งยาจากจีน อินเดีย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (แต่ทำให้ตายเร็ว) ยาผิวขาว ยาหน้าอกโต ยาหน้าเรียว อะไรก็แล้วแต่ที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ แล้วยิ่งถ้า พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ออกมาใช้ รับรอง จะมียาผิดกฎหมายจากต่างประเทศเกลื่อนตามท้องถนนมากกว่าเดิม แถมไม่ผิดกฎหมาย โดนจับก็ไม่ได้ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาไม่ต้องขออนุญาตนำเข้ายา ไม่เชื่อหรอกว่าผู้ประกอบวิชาชีพหลายสาขาที่ พ.ร.บ. ยา ฉบับนี้เปิดช่อง จะซื่อสัตย์สุจริตกันทุกคน ในเมื่ออดีตมีกฎหมายบังคับยังลักลอบกระทำผิดได้ แล้วนี่กฎหมายเปิดช่องเสียรูโหว่ รับรองได้เกิดการกระทำผิด ไร้จรรยาบรรณ และคุณธรรมกันอย่างสนุกสนานได้กำไรเต็มกระเป๋า แต่ประชาชนได้รับอันตราย สังคมพินาศเสื่อมทราม



◾ข้อที่ 3:: ให้ผู้ไม่เชี่ยวชาญจัดการและควบคุมการประกอบการด้านยา ::
◾ชัดแจ้งแจ๋วแหววแน่แท้จริงเอย ข้อนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า พ.ร.บ. ยาฉบับนี้เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนยักษ์ใหญ่ สำหรับการเปิดร้านขายยาเพราะมีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ สามารถดำเนินการผลิตยา ขายยา และนำเข้ายาได้ นั่นหมายความว่า "ไม่ต้องมีเภสัชกรก็ได้"  ไหนๆ เภสัชกรมีน้อยไม่เพียงพอต่อการขยายร้านยาในร้านสะดวกซื้อ ก็จัดการให้มีกฎหมายรับรองให้ใครก็ได้มาเป็นคนขายยาในร้านของตนเองได้ นอกจากซาลาเปา ขนมจีบแล้ว ยาพาราอาจจะเป็นคำสร้อยพูดติดปากของพนักงาน "รับพาราสักแผงไหมคะ" ก็เป็นไปได้ ประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงมีความ "สะดวก" ในการซื้อยา  และก็ได้รับสิทธิ "ตายง่าย" จากการซื้อยาง่ายๆ โดยไม่มีเภสัชกรทำหน้าที่ในการดูแลให้บริการ เพราะใครก็ขายยาได้แต่มีความรู้หรือไม่ ก็ไม่จำเป็น

◾ระบบการผูกขาดการตลาด เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจ สังคมไทย ที่ผ่านมาเกิดระบบผูกขาดทางการตลาดหลายด้าน อาธิ การเกษตร ที่ต้องปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์บริษัทนี้เท่านั้น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ก็ต้องซื้อตัวนี้เท่านั้น แถมเมล็ดพันธุ์ก็ยังเป็นหมัน ทำให้ไม่สมารถนำมาไว้เพาะพันธุ์ได้ใหม่ เป็นต้น ตอนนี้ในตลาดยาก็เริ่มมีการผูกขาดให้เห็น เช่น ยาพาราเซตามอลยี่ห้อหนึ่ง แบบ 4 เม็ด หรือยาสตรียี่ห้อหนึ่งแบบขวดเล็กพิเศษ หรือครีมรักษาฝ้ายี่ห้อหนึ่งแบบหลอดเล็กพิเศษ หรืออาหารเสริมยี่ห้อหนึ่งแบบขวดจิ๋ว ต้องมีจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งเท่านั้น ห้ามจำหน่ายในร้านยี่ห้ออื่น หรือร้านขายยาอื่นๆ การผูดขาดการตลาดแบบนี้มันเริ่มแล้วครับ ไม่ใช่ว่ายังไม่เริ่ม แต่เริ่มมาสักพักแล้ว และยิ่งถ้า พ.ร.บ. ยา ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อไหร่ จะเกิดระบบผูกขาดการตลาดอย่างมาก ยาที่วางขายในอนาคตหลังจากมีการผูกขาดการตลาดสำเร็จ จะมีราคาสูงขึ้น คุณภาพแย่ลง มียี่ห้อของร้านสะดวกซื้อมาแทนยี่ห้อยาที่มีขายในปัจจุบันเป็นต้น นอกจากประชาชนจะไม่ได้รับบริการจากเภสัชกรแล้ว ยาที่มีขายก็อาจมีคุณภาพต่ำ หรือมีชนิดเดิมๆ ไม่มีการเปิดโอกาสให้ยาชนิดใหม่เข้ามาขาย ปัญหาการใช้ยาที่ผิดจะมีมากขึ้น และที่แน่นอนปัญหาการดื้อยาจะสูงขึ้น ที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปี ไทยจะมีปัญหาขาดยาปฏิชีวนะในการใช้รักษาโรค อาจะหนักหน่วง และเร็วขึ้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่