อะไรเอ่ย ? ไม่อ่านก็โง่ แต่ถ้าเชื่อก็บ้า..
จุดประสงค์หลักที่ผมตั้งกระทู้นี้คือผมว่าง.. ล้อเล่นครับ คือผมต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่มีหลักการและเหตุผลทางวิชาการรองรับ เพียงหวังให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่นเมื่อต้องการค้นหา จะได้ไม่ต้องพบแต่สิ่งไม่เป็นแก่นสารในทำนองนี้ (กระทู้อื่นไม่มีอะไร ที่เซ็นเซอร์ขาวนั้นไซร้.. ไร้สาระเอย)
แรกเริ่มขอให้ผู้อ่านนึกถึงเวลาที่เราป่วยเป็นโรค เช่นโรคหวัดนะครับ แน่นอนว่าร่างกายคนเป็นหวัดย่อมมีเชื้อหวัดอยู่มากมาย เชื้อจำนวนมากนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างชั้นดีของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องการเก็บมันไปวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาจุดอ่อน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์นั้นฉลาดมากครับ มันไม่ได้แค่กำจัดตัวเชื้อ (เช่นด้วยการกลืนกินเข้าไปย่อยในเซลล์เมื่อพบเจอ) แต่มันยังนำเศษซากชิ้นส่วนของเชื้อไปนำเสนอให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อ B-cell (เป็น lymphocyte ชนิดหนึ่ง มาจากสองคำคือ lymph - ระบบน้ำเหลือง ส่วน -cyte หมายถึงเซลล์ที่เติบโตเต็มวัย) จากนั้น B-cell นี้เองที่จะสร้างแอนติบอดีที่จับจำเพาะกับชิ้นส่วนเศษซากของเชื้อและหลั่งออกมาในกระแสเลือด
ทำไมแอนติบอดีจึงใช้เพื่อรักษาโรคได้ ? ก่อนไปถึงคำตอบผมขอยกตัวอย่างการถูกงูพิษกัด แน่นอนครับสิ่งที่เกิดขึ้นคือร่างกายได้รับพิษงู และสิ่งที่ควรทำคือการไปสถานพยาบาลเพื่อรับการฉีด “เซรุ่ม” ต้านพิษงูชนิดที่ถูกกัด เซรุ่มหรือ serum ที่ว่านี้ได้มาจากเลือดม้าที่ถูกฉีดพิษงูเข้าไป (พอม้าได้รับพิษงูซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม ระบบภูมิคุ้มกันของม้าก็ทำงานในลักษณะที่อธิบายไปขั้นต้น คือนำเสนอพิษงูให้ B-cell จากนั้น B-cell จะผลิตและหลั่งแอนติบอดีที่จับกับพิษงูได้ออกมาในกระแสเลือด แล้วมนุษย์อย่างเราก็เก็บเลือดม้าตัวนั้นมาแยกเอาเฉพาะส่วนใสที่มีแอนติบอดีไว้ใช้นั่นเอง)
สิ่งที่แอนติบอดีทำกับพิษงูคือการจับ เมื่อพิษงูถูกแอนติบอดีจับ โครงสร้างของมันย่อมไม่เหมือนเดิม ทำให้ปราศจากความเป็นพิษ (ฆ่าพิษ) กระบวนการเช่นนี้ทางภูมิคุ้มกันวิทยาเรียกว่า Neutralization คล้าย ๆ กับการสะเทินของเคมี ที่กรดกับเบสผสมกันแล้วเป็นกลาง แต่ว่าอนุภาคของไวรัสนั้นมีขนาดใหญ่โตมโหฬารเมื่อเทียบกับพิษงู ฉะนั้น ไม่ใช่ว่าแอนติบอดีอะไรก็ได้จับแล้วจะจบ มันต้องเป็นแอนติบอดีที่เฉพาะกับบางชิ้นส่วนของไวรัส คราวนี้ลองนึกภาพอนุภาคไวรัสเป็นยุงตัวหนึ่ง การที่ไวรัสจะทำให้เซลล์ติดเชื้อได้มันต้องจับกับเซลล์และส่งองค์ประกอบของมันเข้าเซลล์ เสมือนยุงที่จะดูดเลือดเราก็ต้องเกาะผิวและแทงปากเข็มลงบนผิวหนังเราก่อน ฉะนั้นแอนติบอดีที่จะ Neutralization หรือฆ่าพิษ - กรณีนี้คือยับยั้งการติดเชื้อ ต้องจับกับขายุง (ไม่ให้มันเกาะผิวหนัง) หรือปากเข็ม (ไม่ให้มันใช้แทงทะลุผิวหนัง) เท่านั้น ถ้าเกาะส่วนอื่นถือว่าไร้ประโยชน์เพราะสุดท้ายยุงจะเกาะและแทงเข็มลงบนผิวหนังเพื่อดูดเลือดเราได้
ผู้อ่านอาจคิดในใจว่า ถ้าเราจะทำแอนติบอดีต่อเชื้อโรคหรือสารใดสารหนึ่ง เราก็ต้องมีสารนั้นอยู่ในมือ เหมือนที่จะทำเซรุ่มต้านพิษงู เราก็ต้องมีพิษงูก่อนใช่ไหมครับ ? แล้วกรณีแอนติบอดีต่ออีโบล่าของศิริราชล่ะครับ แบบนั้นแสดงว่า
ศิริราชมีเชื้ออีโบล่าหรือไม่ ? คำตอบคือไม่มีแน่นอน และมีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลด้วยครับ ขอให้นึกถึงตัวอย่างเรื่องยุงที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่เราต้องการคือแอนติบอดีต่อ “บางชิ้นส่วน” ของยุง
ฉะนั้นสิ่งที่ต้องมีจริง ๆ ก็คืออวัยวะยุงครับ มีแค่บางชิ้นส่วนไม่ใช่มียุงตัวเป็น ๆ แต่อย่างใด และชิ้นส่วนที่ว่านั้นก็มิใช่ได้มาโดยตรง (ไม่ใช่สกัดเชื้อไวรัสมาแยกชิ้นส่วน เพราะการทำแบบนั้นก็ยังเสี่ยงที่จะมีอนุภาคไวรัสที่ไม่บุบสลายและสามารถติดเชื้อได้) แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมและโคลนนิ่งเพื่อสร้างชิ้นส่วนเหล่านั้นขึ้นมาในห้องทดลอง คล้ายกับเรามีแปลนบ้านแล้วว่าจ้างบริษัทรับเหมาให้สร้างบ้าน อะไรทำนองนั้น
ส่วนวิธีการได้แอนติบอดีนั้นมาผมเองยังไม่แน่ใจ อาจมีวิธีการพิเศษอื่น ๆ อยู่ แต่ตามที่ผมเคยร่ำเรียนมานั้น วิธีการคือการฉีดชิ้นส่วนไวรัสเข้าสู่หนูทดลองแล้วรอเป็นสัปดาห์ให้ B-cell ถูกกระตุ้นและที่สร้างแอนติบอดี จากนั้นจึงฆ่าหนูทดลองเอาต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes) มาคัดเลือก B-cell และแยกเลี้ยงให้เป็นเซลล์เดียว ตามด้วยผ่านกระบวนการกลายสภาพให้เป็นเซลล์ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ (B-cell ปกติเมื่ออยู่นอกร่างกายจะมีอายุขัยจำกัด) เพื่อเราสามารถเลี้ยงมันและให้มันผลิตแอนติบอดีออกมาได้ตลอดเวลา (ใครสนใจลองค้นต่อเองด้วยคำว่า hybridoma ครับ) ท้ายสุดค่อยนำแอนติบอดีที่ได้มาหว่านลงบนชิ้นส่วนเดิมของไวรัสเพื่อดูการทำปฏิกิริยาและเลือกเอาเฉพาะ B-cell ที่ผลิตแอนติบอดีที่ทำปฏิกิริยาได้เฉพาะเจาะจง แอนติบอดีที่ได้มาด้วยวิธีการนี้เรียกว่า monoclonal antibody คือแอนติบอดีที่ได้จากโคลนเดี่ยว - mono clone (B-cell ที่ตั้งต้นเพียงเซลล์เดียว) แตกต่างจากเซรุ่มที่เป็น polyclonal antibody หรือแอนติบอดีที่ได้จากหลาย ๆ โคลน - poly clone (ก็เป็นแอนติบอดีต่อพิษงูนั่นแหละ เพียงแต่มันปะปนกันมาหมดเลยครับ ไม่รู้ว่า B-cell ต้นทางตัวไหนหลั่งแอนติบอดีแบบไหนออกมาบ้าง) เอาหล่ะขอตัดบทหยุดดื้อ ๆ เท่านี้แล้วกันเพราะผมรู้ดีว่าคนไทยยาวไปไม่อ่าน.. ล้อเล่นครับ เหตุผลคือเพราะมันเริ่มออกนอกหัวข้อกระทู้แล้วต่างหากครับ
สุดท้ายอยากให้ติดตามการแถลงข่าวของศิริราชในวันพรุ่งนี้ อันที่จริงหากอ่านสิ่งที่ผมเขียนอย่างละเอียดและพยายามทำความเข้าใจก็จะพอเดาทางได้ว่าทางทีมวิจัยของศิริราชค้นพบแอนติบอดีอะไรกันแน่ ซึ่งผมรับประกันได้เลยว่าไม่ใช่อะไรอย่างที่สื่อพยายามหยิบมาเล่นอย่างครึกโครมขนาดนั้น และมันก็เพิ่งเป็น “ขั้นต้น” ของความพยายามที่จะรู้จักกับเชื้ออีโบล่า อย่างไรก็ตามหากผู้อ่านคนไหนไม่เข้าใจสิ่งที่ผมพยายามอธิบายก็คอมเม้นได้เต็มที่ครับ ผมจะพยายามกลับมาเช็คกระทู้ทุกวันและถ้าว่างพอก็จะตอบกลับครับ
การรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบล่าด้วยแอนติบอดี อะไรเป็นอะไร [ภูมิคุ้มกันวิทยา]
จุดประสงค์หลักที่ผมตั้งกระทู้นี้คือผมว่าง.. ล้อเล่นครับ คือผมต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่มีหลักการและเหตุผลทางวิชาการรองรับ เพียงหวังให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่นเมื่อต้องการค้นหา จะได้ไม่ต้องพบแต่สิ่งไม่เป็นแก่นสารในทำนองนี้ (กระทู้อื่นไม่มีอะไร ที่เซ็นเซอร์ขาวนั้นไซร้.. ไร้สาระเอย)
แรกเริ่มขอให้ผู้อ่านนึกถึงเวลาที่เราป่วยเป็นโรค เช่นโรคหวัดนะครับ แน่นอนว่าร่างกายคนเป็นหวัดย่อมมีเชื้อหวัดอยู่มากมาย เชื้อจำนวนมากนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างชั้นดีของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องการเก็บมันไปวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาจุดอ่อน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์นั้นฉลาดมากครับ มันไม่ได้แค่กำจัดตัวเชื้อ (เช่นด้วยการกลืนกินเข้าไปย่อยในเซลล์เมื่อพบเจอ) แต่มันยังนำเศษซากชิ้นส่วนของเชื้อไปนำเสนอให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ชื่อ B-cell (เป็น lymphocyte ชนิดหนึ่ง มาจากสองคำคือ lymph - ระบบน้ำเหลือง ส่วน -cyte หมายถึงเซลล์ที่เติบโตเต็มวัย) จากนั้น B-cell นี้เองที่จะสร้างแอนติบอดีที่จับจำเพาะกับชิ้นส่วนเศษซากของเชื้อและหลั่งออกมาในกระแสเลือด
ทำไมแอนติบอดีจึงใช้เพื่อรักษาโรคได้ ? ก่อนไปถึงคำตอบผมขอยกตัวอย่างการถูกงูพิษกัด แน่นอนครับสิ่งที่เกิดขึ้นคือร่างกายได้รับพิษงู และสิ่งที่ควรทำคือการไปสถานพยาบาลเพื่อรับการฉีด “เซรุ่ม” ต้านพิษงูชนิดที่ถูกกัด เซรุ่มหรือ serum ที่ว่านี้ได้มาจากเลือดม้าที่ถูกฉีดพิษงูเข้าไป (พอม้าได้รับพิษงูซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม ระบบภูมิคุ้มกันของม้าก็ทำงานในลักษณะที่อธิบายไปขั้นต้น คือนำเสนอพิษงูให้ B-cell จากนั้น B-cell จะผลิตและหลั่งแอนติบอดีที่จับกับพิษงูได้ออกมาในกระแสเลือด แล้วมนุษย์อย่างเราก็เก็บเลือดม้าตัวนั้นมาแยกเอาเฉพาะส่วนใสที่มีแอนติบอดีไว้ใช้นั่นเอง) สิ่งที่แอนติบอดีทำกับพิษงูคือการจับ เมื่อพิษงูถูกแอนติบอดีจับ โครงสร้างของมันย่อมไม่เหมือนเดิม ทำให้ปราศจากความเป็นพิษ (ฆ่าพิษ) กระบวนการเช่นนี้ทางภูมิคุ้มกันวิทยาเรียกว่า Neutralization คล้าย ๆ กับการสะเทินของเคมี ที่กรดกับเบสผสมกันแล้วเป็นกลาง แต่ว่าอนุภาคของไวรัสนั้นมีขนาดใหญ่โตมโหฬารเมื่อเทียบกับพิษงู ฉะนั้น ไม่ใช่ว่าแอนติบอดีอะไรก็ได้จับแล้วจะจบ มันต้องเป็นแอนติบอดีที่เฉพาะกับบางชิ้นส่วนของไวรัส คราวนี้ลองนึกภาพอนุภาคไวรัสเป็นยุงตัวหนึ่ง การที่ไวรัสจะทำให้เซลล์ติดเชื้อได้มันต้องจับกับเซลล์และส่งองค์ประกอบของมันเข้าเซลล์ เสมือนยุงที่จะดูดเลือดเราก็ต้องเกาะผิวและแทงปากเข็มลงบนผิวหนังเราก่อน ฉะนั้นแอนติบอดีที่จะ Neutralization หรือฆ่าพิษ - กรณีนี้คือยับยั้งการติดเชื้อ ต้องจับกับขายุง (ไม่ให้มันเกาะผิวหนัง) หรือปากเข็ม (ไม่ให้มันใช้แทงทะลุผิวหนัง) เท่านั้น ถ้าเกาะส่วนอื่นถือว่าไร้ประโยชน์เพราะสุดท้ายยุงจะเกาะและแทงเข็มลงบนผิวหนังเพื่อดูดเลือดเราได้
ผู้อ่านอาจคิดในใจว่า ถ้าเราจะทำแอนติบอดีต่อเชื้อโรคหรือสารใดสารหนึ่ง เราก็ต้องมีสารนั้นอยู่ในมือ เหมือนที่จะทำเซรุ่มต้านพิษงู เราก็ต้องมีพิษงูก่อนใช่ไหมครับ ? แล้วกรณีแอนติบอดีต่ออีโบล่าของศิริราชล่ะครับ แบบนั้นแสดงว่าศิริราชมีเชื้ออีโบล่าหรือไม่ ? คำตอบคือไม่มีแน่นอน และมีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลด้วยครับ ขอให้นึกถึงตัวอย่างเรื่องยุงที่กล่าวไปแล้ว สิ่งที่เราต้องการคือแอนติบอดีต่อ “บางชิ้นส่วน” ของยุง ฉะนั้นสิ่งที่ต้องมีจริง ๆ ก็คืออวัยวะยุงครับ มีแค่บางชิ้นส่วนไม่ใช่มียุงตัวเป็น ๆ แต่อย่างใด และชิ้นส่วนที่ว่านั้นก็มิใช่ได้มาโดยตรง (ไม่ใช่สกัดเชื้อไวรัสมาแยกชิ้นส่วน เพราะการทำแบบนั้นก็ยังเสี่ยงที่จะมีอนุภาคไวรัสที่ไม่บุบสลายและสามารถติดเชื้อได้) แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมและโคลนนิ่งเพื่อสร้างชิ้นส่วนเหล่านั้นขึ้นมาในห้องทดลอง คล้ายกับเรามีแปลนบ้านแล้วว่าจ้างบริษัทรับเหมาให้สร้างบ้าน อะไรทำนองนั้น
ส่วนวิธีการได้แอนติบอดีนั้นมาผมเองยังไม่แน่ใจ อาจมีวิธีการพิเศษอื่น ๆ อยู่ แต่ตามที่ผมเคยร่ำเรียนมานั้น วิธีการคือการฉีดชิ้นส่วนไวรัสเข้าสู่หนูทดลองแล้วรอเป็นสัปดาห์ให้ B-cell ถูกกระตุ้นและที่สร้างแอนติบอดี จากนั้นจึงฆ่าหนูทดลองเอาต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes) มาคัดเลือก B-cell และแยกเลี้ยงให้เป็นเซลล์เดียว ตามด้วยผ่านกระบวนการกลายสภาพให้เป็นเซลล์ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ (B-cell ปกติเมื่ออยู่นอกร่างกายจะมีอายุขัยจำกัด) เพื่อเราสามารถเลี้ยงมันและให้มันผลิตแอนติบอดีออกมาได้ตลอดเวลา (ใครสนใจลองค้นต่อเองด้วยคำว่า hybridoma ครับ) ท้ายสุดค่อยนำแอนติบอดีที่ได้มาหว่านลงบนชิ้นส่วนเดิมของไวรัสเพื่อดูการทำปฏิกิริยาและเลือกเอาเฉพาะ B-cell ที่ผลิตแอนติบอดีที่ทำปฏิกิริยาได้เฉพาะเจาะจง แอนติบอดีที่ได้มาด้วยวิธีการนี้เรียกว่า monoclonal antibody คือแอนติบอดีที่ได้จากโคลนเดี่ยว - mono clone (B-cell ที่ตั้งต้นเพียงเซลล์เดียว) แตกต่างจากเซรุ่มที่เป็น polyclonal antibody หรือแอนติบอดีที่ได้จากหลาย ๆ โคลน - poly clone (ก็เป็นแอนติบอดีต่อพิษงูนั่นแหละ เพียงแต่มันปะปนกันมาหมดเลยครับ ไม่รู้ว่า B-cell ต้นทางตัวไหนหลั่งแอนติบอดีแบบไหนออกมาบ้าง) เอาหล่ะขอตัดบทหยุดดื้อ ๆ เท่านี้แล้วกันเพราะผมรู้ดีว่าคนไทยยาวไปไม่อ่าน.. ล้อเล่นครับ เหตุผลคือเพราะมันเริ่มออกนอกหัวข้อกระทู้แล้วต่างหากครับ
สุดท้ายอยากให้ติดตามการแถลงข่าวของศิริราชในวันพรุ่งนี้ อันที่จริงหากอ่านสิ่งที่ผมเขียนอย่างละเอียดและพยายามทำความเข้าใจก็จะพอเดาทางได้ว่าทางทีมวิจัยของศิริราชค้นพบแอนติบอดีอะไรกันแน่ ซึ่งผมรับประกันได้เลยว่าไม่ใช่อะไรอย่างที่สื่อพยายามหยิบมาเล่นอย่างครึกโครมขนาดนั้น และมันก็เพิ่งเป็น “ขั้นต้น” ของความพยายามที่จะรู้จักกับเชื้ออีโบล่า อย่างไรก็ตามหากผู้อ่านคนไหนไม่เข้าใจสิ่งที่ผมพยายามอธิบายก็คอมเม้นได้เต็มที่ครับ ผมจะพยายามกลับมาเช็คกระทู้ทุกวันและถ้าว่างพอก็จะตอบกลับครับ