อ้างอิงจากข่าวของ Sanook นะครับ
http://bit.ly/1rBF55i
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เรือพาณิชย์ไทยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเรือยางล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่วยได้ 55 เสียชีวิต 40 ราย
ตามที่ได้มีการอัพโหลดคลิปวิดีโอเรือพาณิชย์ไทยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเรือยางล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนบนเว็บไซต์ยูทูบ จนได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก นายน้ำเอก เขียวชะอุ่ม นักเรียนเดินเรือ เรือ Stjerneborg ซึ่งเป็นเรือที่ปรากฏอยู่ในคลิปภาพดังกล่าว ได้ให้ข้อมูลกับ "สำนักข่าวไทย" ผ่านเฟซบุ๊ก ขณะเรือเทียบท่าที่ประเทศมอลตา ว่าเหตุการณ์ในคลิปเกิดเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 11.00 น. ขณะที่ เรือ Stjerneborg ซึ่งเป็นเรือขนส่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัท จุฑานาวี จำกัด กำลังแล่นอยู่กลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน น่านน้ำลิเบีย ห่างฝั่งราว 40 ไมล์ทะเล ได้รับแจ้งจากยามฝั่งอิตาลี ว่ามีเรือยางที่บรรทุกชาวแกมเบีย ไอวอร์รีโคสต์ และหลายสัญชาติ รวม 95 คน ร้องขอความช่วยเหลือเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุเรือรั่ว ใกล้อับปาง
นายชาติไท ชำนาญวิทย์ กัปตันเรือ จึงสั่งการให้เดินเรือจึงไปยังพิกัดที่รับแจ้งทันที จนพบว่าเรือยางที่บรรทุกคนหลายสัญชาติลอยลำอยู่กลางทะเล จึงสั่งการให้ลูกเรือส่งเรือช่วยชีวิต แพช่วยชีวิต และห่วงยางทั้งหมดบนเรือให้แก่ผู้ประสบภัย แต่เนื่องจากเรือยางลำดังกล่าวเริ่มรั่ว น้ำทะลักเข้าเรือ คนบนเรือพยายามแย่งกันเอาชีวิตรอด ทำให้เรือยางพลิกคว่ำ จนทำให้มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 40 คน ช่วยชีวิตได้ 55 คน หลังจากนั้นทางการอิตาลีได้ส่งเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งมารับตัวผู้รอดชีวิตและศพผู้เสียชีวิตทั้งหมด
"รอบนี้เป็นรอบที่ 3 แล้วที่เรือ Stjerneborg ของไทย ได้ช่วยชีวิตผู้ประสบภัยกลางทะเล รอบแรกช่วยได้ 96 คน รอบที่ 2 ช่วยขึ้นมา 105 คน มีคนท้อง และมีเด็กด้วย แต่รอบนี้มีคนเสียชีวิต ซึ่งกัปตันและลูกเรือ 33 คน พยายามช่วยอย่างเต็มที่แล้ว" นักเรียนเดินเรือเรือ Stjerneborg กล่าว - สำนักข่าวไทย
การกระทำของเรือ Stjerneborg ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลถือว่าน่าชื่นชมมากในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล แต่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้รายละเอียดและหลับการของเรื่องนี้กัน วันนี้จึงอยากจะพูดถึงเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลกันสักหน่อย...
เมื่อเกิดเหตุประสบภัยทางทะเล(Distress) กรณีต่างๆ ไม่ว่าจะ เรืออับปาง ไฟไหม้ เรือโดนกัน(ชนกัน) คนตกน้ำ หรืออื่นๆ เรือที่ประสบเหตุจะแจ้งสัญญาณอับจน(Distress Signal) ออกมา ทั้งทางวิทยุและทางข้อความ(Telex, e-mail) เพื่อแจ้งให้เรือใกล้เคียง และสถานีชายฝั่งทราบ ซึ่งรายละเอียดการแจ้ง ช่องทางการแจ้ง และคลื่นความถี่ต่างๆ เป็นไปตามข้อกำหนดของ IMO(International Maritime Organization) และ ITU(International Telecommunication Union)
ซึ่งเมื่อเรือได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือดังกล่าวแล้วก็ใช่ว่าจะเข้าไปช่วยเหลือได้ทันที แต่ต้องรับคำสั่งจากในการเข้าไปทำการช่วยเหลือจากสถานีฝั่งอีกที ซึ่งเมื่อสถานีฝั่งได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือแล้ว จะส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปยัง ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล(Maritime Rescue Coordination Center : MRCC) ที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุที่สุด(ซึ่ง MRCC นี้มีศูนย์อยู่ทั่วโลก; ของไทยรับผิดชอบโดยกองทัพเรือ) แล้วทาง MRCC จะจัดตั้งหน่วยกู้ภัยเฉพาะกิจขึ้น(Rescue Unit : RU) โดยใช้ทีมงานจาก MRCC ที่ใกล้ที่สุด และ ออกคำสั่งไปยังเรือพาณิชย์ที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อทำภารกิจ ค้นหาและช่วยเหลือ(Search and Rescue : SAR)อีกทีหนึ่ง นอกเสียจากว่าเรือที่อยู่ใกล้เรือที่ประสบภัยจะเป็นเรือที่อยู่ใกล้มากในระยะไม่กี่ไมล์ทะเล และสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า On Scene Vessel จึงสามารถเข้าทำการช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอคำสั่งจาก MRCC
เรือไทยช่วยผู้ประสบภัยเรือล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รอด55 ตาย40
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การกระทำของเรือ Stjerneborg ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลถือว่าน่าชื่นชมมากในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล แต่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้รายละเอียดและหลับการของเรื่องนี้กัน วันนี้จึงอยากจะพูดถึงเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลกันสักหน่อย...
เมื่อเกิดเหตุประสบภัยทางทะเล(Distress) กรณีต่างๆ ไม่ว่าจะ เรืออับปาง ไฟไหม้ เรือโดนกัน(ชนกัน) คนตกน้ำ หรืออื่นๆ เรือที่ประสบเหตุจะแจ้งสัญญาณอับจน(Distress Signal) ออกมา ทั้งทางวิทยุและทางข้อความ(Telex, e-mail) เพื่อแจ้งให้เรือใกล้เคียง และสถานีชายฝั่งทราบ ซึ่งรายละเอียดการแจ้ง ช่องทางการแจ้ง และคลื่นความถี่ต่างๆ เป็นไปตามข้อกำหนดของ IMO(International Maritime Organization) และ ITU(International Telecommunication Union)
ซึ่งเมื่อเรือได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือดังกล่าวแล้วก็ใช่ว่าจะเข้าไปช่วยเหลือได้ทันที แต่ต้องรับคำสั่งจากในการเข้าไปทำการช่วยเหลือจากสถานีฝั่งอีกที ซึ่งเมื่อสถานีฝั่งได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือแล้ว จะส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปยัง ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล(Maritime Rescue Coordination Center : MRCC) ที่อยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุที่สุด(ซึ่ง MRCC นี้มีศูนย์อยู่ทั่วโลก; ของไทยรับผิดชอบโดยกองทัพเรือ) แล้วทาง MRCC จะจัดตั้งหน่วยกู้ภัยเฉพาะกิจขึ้น(Rescue Unit : RU) โดยใช้ทีมงานจาก MRCC ที่ใกล้ที่สุด และ ออกคำสั่งไปยังเรือพาณิชย์ที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อทำภารกิจ ค้นหาและช่วยเหลือ(Search and Rescue : SAR)อีกทีหนึ่ง นอกเสียจากว่าเรือที่อยู่ใกล้เรือที่ประสบภัยจะเป็นเรือที่อยู่ใกล้มากในระยะไม่กี่ไมล์ทะเล และสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า On Scene Vessel จึงสามารถเข้าทำการช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอคำสั่งจาก MRCC