"พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม"
บริษัทวู้ดเวอร์คอังสุธน ได้ใช้บริการวงเงินสินเชื่อกับธนาคารทหารไทย ตามรูปที่แนบมา
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ชำระเงินกู้ให้แก่ธ.ทหารไทย ครบถ้วนแล้วในทุกวงเงิน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557
บริษัทฯ ได้ทำหนังสือถึงธนาคาร เพื่อขอยกเลิกสัญญา ยกเลิกวงเงิน พร้อมทั้งขอไถ่ถอนหลักประกันคืนจากธนาคารฯ
ทางธนาคารฯ แจ้งว่าในการขอยกเลิกวงเงินสินเชื่อ ทางบริษัทฯจะต้องชำระค่าธรรมเนียมยกเลิกสินเชื่อ (Cancellation Fee) ตามบันทึกแนบท้ายสัญญา ข้อ 3 (ตามรูปด้านล่าง) โดยคำนวณจาก วงเงิน RPN , วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี , วงเงิน L/G ในอัตรา 2% ของจำนวนเงินสินเชื่อ (รวม 41 ล้านบาท) รวมเป็นเงินค่าธรรมเนียม (ค่าปรับในภาษาชาวบ้าน) 820,000 บาท
บริษัทฯ มีความเห็นว่า.. การเรียกเก็บเงินดังกล่าว เป็นการไม่สมควร ไม่เป็นธรรมต่อบริษัทฯ และอาจจะไม่ชอบด้วยข้อกฏหมาย ตามที่กล่าวมา
บริษัทฯ จึงใคร่ขอความคิดเห็นจากผู้รู้ หรือบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1.นิยามของคำว่า ค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อ (Cancellation Fee) คืออะไร
2.ธนาคารฯ สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะอะไร
อนึ่งผมไม่ใช่นักกฏหมาย ผมลองคิดด้วยสามัญสำนึก (Common Sense) มีความสงสัยว่า ถ้าธนาคารฯสามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้จริง แสดงว่า แม้นว่าบริษัทฯ จะเป็นลูกหนี้ของธนาคารฯไปอีก 10 ปี 50 ปี 100 ปี หากวันใดวันหนึ่งบริษัทฯใช้หนี้ให้แก่ธนาคารฯครบเรียบร้อยแล้ว และมีความประสงค์จะยกเลิกสัญญาพร้อมทั้งไถ่ถอนหลักทรัพย์ บริษัทฯก็ยังคงต้องชำระเงิน 840,000 ใช่หรือไม่
หรือว่าวันใดวันหนึ่ง บริษัทฯต้องการเลิกกิจการ ชำระหนี้ครบถ้วน ต้องการปิดบริษัทฯ ชำระบัญชีตามกฏหมาย ทางบริษัทฯ ก็ยังคงต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ใช่หรือไม่
หากสัญญาดังกล่าวตามข้อ 3 สามารถบังคับใช้ได้จริง จะเปรียบเสมือนเป็น "สัญญาทาส" ที่จะต้องมีภาระต่อกันตลอดกาลหรือไม่ จะเป็นการเข้าข่าย..ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่
3.บริษัทฯ ควรจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และถูกต้องตามขั้นตอนของกฏหมาย รวมทั้งสามารถไถ่ถอนหลักประกัน ได้ในเวลาที่รวดเร็วเหมาะสม (เนื่องจากเรื่องดังกล่าวผ่านมานานพอสมควรแล้ว)
การไถ่ถอนที่ล้าช้า จะนำมาซึ่งความเสียหายต่อบริษัทฯ หากท้ายที่สุดแล้วสัญญาข้อดังกล่าวเป็นโมฆะ ทางบริษัทฯ สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย (ถ้ามี) จากธนาคารทหารไทยได้หรือไม่
**อนึ่งผมอยากให้เพื่อนๆ หรือบุคคลทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งในแง่ข้อกฏหมาย และความคิดเห็นทั่วๆไป ต่อกรณีนี้
หากเป็นไปได้ เป็นการเหมาะสมที่จะหาข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ และไม่เป็นการรบกวนเกินไป ผมอยากให้ผู้ที่อ่านกระทู้นี้ ช่วยแชร์กระทู้นี้ไปยังบุคคลที่คุณคิดว่า..สามารถให้ความคิดเห็น หรือให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ เพื่อที่ว่าจะได้เป็นความรู้แก่คนทั่วไปที่จะทำธุรกิจ หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินในโอกาสต่อไป"
ขอบคุณครับ
วิกิจ สุพิทักษ์
กรรมการบริหาร
บริษัทวู้ดเวอร์คอังสุธนจำกัด
พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ปี พ.ศ. 2540
บริษัทวู้ดเวอร์คอังสุธน ได้ใช้บริการวงเงินสินเชื่อกับธนาคารทหารไทย ตามรูปที่แนบมา
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ชำระเงินกู้ให้แก่ธ.ทหารไทย ครบถ้วนแล้วในทุกวงเงิน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557
บริษัทฯ ได้ทำหนังสือถึงธนาคาร เพื่อขอยกเลิกสัญญา ยกเลิกวงเงิน พร้อมทั้งขอไถ่ถอนหลักประกันคืนจากธนาคารฯ
ทางธนาคารฯ แจ้งว่าในการขอยกเลิกวงเงินสินเชื่อ ทางบริษัทฯจะต้องชำระค่าธรรมเนียมยกเลิกสินเชื่อ (Cancellation Fee) ตามบันทึกแนบท้ายสัญญา ข้อ 3 (ตามรูปด้านล่าง) โดยคำนวณจาก วงเงิน RPN , วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี , วงเงิน L/G ในอัตรา 2% ของจำนวนเงินสินเชื่อ (รวม 41 ล้านบาท) รวมเป็นเงินค่าธรรมเนียม (ค่าปรับในภาษาชาวบ้าน) 820,000 บาท
บริษัทฯ มีความเห็นว่า.. การเรียกเก็บเงินดังกล่าว เป็นการไม่สมควร ไม่เป็นธรรมต่อบริษัทฯ และอาจจะไม่ชอบด้วยข้อกฏหมาย ตามที่กล่าวมา
บริษัทฯ จึงใคร่ขอความคิดเห็นจากผู้รู้ หรือบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1.นิยามของคำว่า ค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อ (Cancellation Fee) คืออะไร
2.ธนาคารฯ สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะอะไร
อนึ่งผมไม่ใช่นักกฏหมาย ผมลองคิดด้วยสามัญสำนึก (Common Sense) มีความสงสัยว่า ถ้าธนาคารฯสามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้จริง แสดงว่า แม้นว่าบริษัทฯ จะเป็นลูกหนี้ของธนาคารฯไปอีก 10 ปี 50 ปี 100 ปี หากวันใดวันหนึ่งบริษัทฯใช้หนี้ให้แก่ธนาคารฯครบเรียบร้อยแล้ว และมีความประสงค์จะยกเลิกสัญญาพร้อมทั้งไถ่ถอนหลักทรัพย์ บริษัทฯก็ยังคงต้องชำระเงิน 840,000 ใช่หรือไม่
หรือว่าวันใดวันหนึ่ง บริษัทฯต้องการเลิกกิจการ ชำระหนี้ครบถ้วน ต้องการปิดบริษัทฯ ชำระบัญชีตามกฏหมาย ทางบริษัทฯ ก็ยังคงต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ใช่หรือไม่
หากสัญญาดังกล่าวตามข้อ 3 สามารถบังคับใช้ได้จริง จะเปรียบเสมือนเป็น "สัญญาทาส" ที่จะต้องมีภาระต่อกันตลอดกาลหรือไม่ จะเป็นการเข้าข่าย..ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่
3.บริษัทฯ ควรจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และถูกต้องตามขั้นตอนของกฏหมาย รวมทั้งสามารถไถ่ถอนหลักประกัน ได้ในเวลาที่รวดเร็วเหมาะสม (เนื่องจากเรื่องดังกล่าวผ่านมานานพอสมควรแล้ว)
การไถ่ถอนที่ล้าช้า จะนำมาซึ่งความเสียหายต่อบริษัทฯ หากท้ายที่สุดแล้วสัญญาข้อดังกล่าวเป็นโมฆะ ทางบริษัทฯ สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย (ถ้ามี) จากธนาคารทหารไทยได้หรือไม่
**อนึ่งผมอยากให้เพื่อนๆ หรือบุคคลทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งในแง่ข้อกฏหมาย และความคิดเห็นทั่วๆไป ต่อกรณีนี้
หากเป็นไปได้ เป็นการเหมาะสมที่จะหาข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ และไม่เป็นการรบกวนเกินไป ผมอยากให้ผู้ที่อ่านกระทู้นี้ ช่วยแชร์กระทู้นี้ไปยังบุคคลที่คุณคิดว่า..สามารถให้ความคิดเห็น หรือให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ เพื่อที่ว่าจะได้เป็นความรู้แก่คนทั่วไปที่จะทำธุรกิจ หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินในโอกาสต่อไป"
ขอบคุณครับ
วิกิจ สุพิทักษ์
กรรมการบริหาร
บริษัทวู้ดเวอร์คอังสุธนจำกัด