แม้ว่าก่อนพุทธปรินิพพานในครั้งนั้น พระพุทธองค์จะได้ตรัสอนุญาตไว้ว่า “ดูกรอานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่ จะพึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ ข้อ ๖๒๐) แต่ปัญหาข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นก็คือ ท่านพระอานนท์มิได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า สิกขาบทเหล่าใด คือสิกขาบทที่ตรัสว่า เล็กน้อย ?
ปรากฏเรื่องราวต่อมา กล่าวคือ พระอรหันตเถระในที่ประชุมสังคายนา ได้กล่าวเสนอความคิดเห็นที่ค่อนข้างหลากหลาย ความว่า
(๑) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๒) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๓) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๔) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๕) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๖) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฏิเทสนียะ ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเปิดใจให้กว้างและทำความเข้าใจให้ดีว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายเหล่านั้น เป็นเพียงแค่การนำเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมสงฆ์ตามปกติธรรมดา อย่าได้(เผลอ)เข้าใจผิดไปว่า นั่นเป็นความแตกแยกทางความคิดเป็นอันขาด
แต่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ ในท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายนั้นเอง ท่านพระมหากัสสปะ กลับแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ ท่านเห็นว่า คณะสงฆ์ไม่ควรเพิกถอนพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด แม้ว่าสิกขาบทหรือพระบัญญัติเหล่านั้น อาจถือได้ว่าเล็กน้อยสักเพียงใดก็ตาม เพราะมิฉะนั้น ชาวบ้านทั่วไปในสังคม ซึ่งเขาย่อมรู้ดีอยู่ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติสิ่งใดไว้กับคณะสงฆ์บ้าง ก็จะตำหนิติเตียนเอาได้ว่า ภิกษุศากยบุตร จะพึงศึกษาสิกขาบททั้งหลายที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ดีแล้ว ก็เฉพาะแต่เมื่อพระพุทธองค์ยังดำรงค์อยู่เท่านั้น ครั้นเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ภิกษุสาวกทั้งหลาย ก็เพิกถอนละทิ้งสิกขาบทอันเป็นพระบัญญัตินั้นเสีย ในท้ายที่สุด ท่านพระมหากัสสปะจึงได้เสนอญัตติว่า จะไม่เพิกถอนหรือเพิ่มเติมพระธรรมวินัย
ดังนั้น ประเด็นปัญหาข้อที่ว่า สิกขาบทเล็กน้อย หมายถึง สิกขาบทข้อใดบ้าง จึงเป็นอันต้อง “ตกไป” โดยปริยาย ทั้งนี้ มิใช่ว่าพระอรหันตเถระทั้ง ๕๐๐ รูป จะไม่ทราบ หรือมิอาจลงมติได้ว่า สิกขาบทเล็กน้อยนั้นหมายถึงสิกขาบทข้อใด หากแต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีความมุ่งหมายว่า จะทำนุบำรุงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ทั้งหมด ซึ่งถ้าหากท่านได้ทำการวินิจฉัยความหมายของ สิกขาบทเล็กน้อยเอาไว้เสียแล้ว ภิกษุสาวกในสมัยหลัง อาจถือเป็นเหตุในการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้น ตามพุทธานุญาตที่ตรัสไว้กับท่านพระอานนท์ ก็เป็นได้ ท่านพระมหากัสสปะและคณะจึงได้ทำการป้องกันเหตุเอาไว้เสียแต่แรก อันนับได้ว่าเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อนักศึกษาพระพุทธศาสนา ที่จะได้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จากข้อมูลชั้นดั้งเดิมที่สุด เท่าที่ความบีบคั้นทางสังคมประวัติศาสตร์ จะสามารถดำรงรักษาเอาไว้ได้
แต่กระนั้น มติของพระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป เมื่อครั้งปฐมสังคายนานี้ ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อด้อยไปพร้อมๆ กันด้วย กล่าวคือ แม้มติที่ว่า จะไม่เพิกถอนหรือเพิ่มเติมพระธรรมวินัย ในครั้งนั้น จะสามารถทำให้พระธรรมวินัยครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็จริง หากแต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงที่ว่า พระธรรมวินัยฉบับลายลักษณ์อักษรนั้นย่อมมิอาจล่วงพ้นกฏไตรลักษณ์ อันมีอนิจจลักษณะเป็นปฐมนั้นไปได้เลย หมายความว่า แม้มิได้มีความจงใจแต่อย่างใด ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นกับพระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษรได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูให้ดีเถิดว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร ที่ได้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมรสุมทางการเมืองของลังกา มามากสักเพียงใด และต้องไม่ลืมด้วยว่า แม้แต่คณะสงฆ์ในลังกาเองก็เกิดวิกฤติการณ์มานับครั้งไม่ถ้วน ดังเช่น กรณีความขัดแย้งระหว่าง สำนักมหาวิหาร สำนักอภัยคีรีวิหาร และสำนักเชตวันวิหาร ซึ่งมีความบาดหมางกันมานานกว่า ๑๑ ปี เข้าใจว่าพึ่งมีการปรองดองกันได้เมื่อรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ นี่เอง โดยเมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์ทางการเมือง ของลังกาในห้วงเวลากว่า ๒,๐๐๐ ปี แล้วย่อมพบว่า พระพุทธศาสนามักได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากการเมืองที่เต็มไปด้วยศึกสงคราม ทั้งจากข้าศึกศัตรูภายนอก และความแตกแยกทางการเมืองภายใน ดังที่ได้พบว่าคณะสงฆ์ในลังกา ถึงกับวอดวายจนขาดสมณวงศ์ไปเสียก็หลายหน
ดังนั้น ปัญหาที่สำคัญที่สุดของคณะสงฆ์ ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในปัจจุบันก็คือ การถูกจำกัดบทบาทในการแสดงท่าทีต่อ พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร อันเป็นผลงานการชำระและเรียบเรียงขึ้นโดยคณะสงฆ์ลังกาเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๗ แต่กลับถูกเคลือบคลุมเอาไว้ด้วยมายาคติที่ว่า พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นพระธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งปฐมสังคายนา และได้กลายเป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่มิอาจตั้งข้อสงสัยใดๆ ด้วยประการทั้งปวง สำหรับชาวพุทธฝ่ายอนุรักษ์นิยมในบัดนี้
สภาวะตามความเป็นจริงของพระคัมภีร์
จะอย่างไรก็ตาม เราย่อมต้องยอมรับตามความจริงด้วยว่า เมื่อกล่าวสำหรับอาณาจักรยุคโบราณที่เต็มไปด้วยการศึกสงครามนั้น การคาดหวังว่า ตำรับตำราทางพระพุทธศาสนา จะเป็นสิ่งที่สามารถดำรงรักษาเอาไว้ได้ อย่างครบถ้วนต่อเนื่อง นั้นคงเป็นไปไม่ได้ ดังที่ประวัติศาสตร์การเมืองของสยามประเทศนี้ย่อมเป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดีว่า แม้แต่สถานการณ์ทางการเมืองของสยาม ในช่วงเวลาแค่กึ่งสหัสวรรษ ซึ่งได้ผ่านศึกสงครามครั้งใหญ่จากศัตรูภายนอกเพียงแค่ ๒ ครั้ง เรายังไม่อาจรักษาพงศาวดารฉบับดั้งเดิม รวมไปถึงตำรับตำราฉบับหลวงของเก่า และพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาใดๆ เอาไว้ได้เลย หากแต่ต้องมีการชำระและเรียบเรียงกันขึ้นมาใหม่ ด้วยข้อมูลเท่าที่จะสามารถสืบค้นเสาะหาและรวบรวมได้ในชั้นหลังนี้เท่านั้น
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า แม้แต่ข้อมูลอันเป็นตำรับตำราและพงศาวดารซึ่งเป็นของสำคัญที่ฝ่ายอาณาจักรจำต้องรักษาไว้ ก็ยังหลงเหลือตกทอดมาอย่างกระพร่องกระแพร่งเต็มที แต่ชาวพุทธทั้งหลายจะคาดหวังว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร รวมไปถึงพระคัมภีร์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา จะสามารถรักษาสืบทอดลงมาได้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนบริบูรณ์ โดยที่มิได้ผ่านการชำระและเรียบเรียงขึ้นใหม่ในยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูพระศาสนา หลังจากผ่านความทุกข์เข็ญในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ลังกา ได้อีกละหรือ ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ ?
ปัญหาที่คณะสงฆ์ในชั้นหลังของลังกาจะต้องประสบก็คือ ในกระบวนการฟื้นฟูพระศาสนาแต่ละครั้งนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่หลงหลืออยู่และเท่าที่จะสามารถเสาะหามาได้จากแหล่งอื่นเช่น อาณาจักรใกล้เคียงที่ยังสามารถรักษาพระคัมภีร์เหล่านั้นเอาไว้ ซึ่งก็ใช่ว่า อาณาจักรเหล่านั้นจะไม่ประสบกับปัญหาความวุ่นวายทางสังคมการเมืองเลยเสียเมื่อไร
จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ก่อนที่จะมีการรวบรวมพระธรรมวินัยขึ้นอีกครั้ง เมื่อสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ นั้น พระคัมภีร์ที่ได้มีการจดจารสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วยภาษาสิงหฬ คงมีการตกหล่นสูญหายไปมาก จนมิอาจที่จะรักษารวบรวมให้กลับมาสมบูรณ์ครบถ้วนดังเดิมได้อีก ดังนั้น การรวบรวมพระธรรมวินัยโดยมีท่านพระกัสสปะเถระเป็นประธาน ร่วมกับภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูปในครั้งนั้น จึงได้มีการชำระและรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นภาษามคธทั้งหมด และนี่เองก็คือจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ที่ต่อมาก็ได้เจริญรุ่งเรื่องไปทั่วสุวรรณภูมิ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นไป
ซึ่งพระคัมภีร์ทั้งหลายทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ ไม่ว่าจะเป็น พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร คัมภีร์อรรถกถาฉบับภาษามคธของท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ที่ท่านได้แปลและเรียบเรียงไว้เมื่อราวศตวรรษที่ ๑๐ อีกทั้งคัมภีร์ฎีกาและอนุฎีกาทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่มีจุดเริ่มต้นที่กระบวนการฟื้นฟูพระศาสนา ณ ลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ เมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๗ นี้ทั้งสิ้น ดังที่เราย่อมทราบเค้าความจากคัมภีร์อรรถกถาได้อย่างชัดเจนว่า คัมภีร์อรรถกถาดั้งเดิม ที่ท่านพระพุทธโฆษะได้เคยใช้ในการศึกษา เพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาภาษามคธเมื่อราวศตวรรษที่ ๑๐ นั้น คงได้สูญหายไปจนหมดสิ้นแล้ว ก่อนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ ๑๗ เป็นแน่ สมดังที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ตรัสถึงพระคัมภีร์ชั้นหลังเหล่านั้นไว้ดังนี้ว่า
“ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังรจนาแก้อรรถแห่งบาลีนั้น เรียกอรรถกถา นับถือคลายลงมาจากบาลี เพราะเป็นปกรณ์ชั้นที่ ๒ แต่ท่านผู้รจนาเป็นผู้รู้พระพุทธวจนะ จึงยังเป็นที่เชื่อฟัง ปกรณ์อันพระอาจารย์ทั้งหลาย แต่งแก้ หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา เรียกฎีกา ที่เพิ่มฎีกา เรียกอนุฎีกา นับถือน้อยลงมากว่าอรรถกถา ถือเป็นเพียงมติของอาจารย์ผู้รจนา ปกรณ์ที่แต่งขึ้นตามความปรารภของพระอาจารย์ทั้งหลาย ไม่อยู่ในสายนี้ ถือเป็นเพียงอาจริยวาทอย่างหนึ่ง โดยทางพิจารณาสอดส่อง ได้ความเข้าใจว่า ในการสังคายนาครั้งแรก คงเป็นเพียงพระสงฆ์ประชุมกันไต่ถามสอบสวนกันถึงคำสอนของพระศาสดา ทั้งในส่วนพระธรรม ทั้งในส่วนพระวินัย ข้อใดได้ความรับรองทั่วไปหรือโดยมาก ก็ถือเอาข้อนั้นเป็นที่เชื่อฟังได้นำกันสืบมา ในคราวหลัง เมื่อเกิดเข้าใจแผกกันขึ้นว่าอย่างไรถูก หรือต้องการอธิบายข้อความอันยังไม่แจ่ม พระเถระผู้เป็นประธานในครั้งนั้น ก็ประชุมกันทำสังคายนา วินิจฉัยแล้ววางเป็นแบบสืบลงมาอีกเป็นคราว กว่าจะได้จารึกลงเป็นอักษร จึงเป็นทางที่รจนาและอธิบายได้กว้างขวาง ฯ” (วินัยมุข เล่ม ๑ คำนำ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
07 สิกขาบทเล็กน้อย คือเบาะแสแห่งธรรม
ปรากฏเรื่องราวต่อมา กล่าวคือ พระอรหันตเถระในที่ประชุมสังคายนา ได้กล่าวเสนอความคิดเห็นที่ค่อนข้างหลากหลาย ความว่า
(๑) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๒) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๓) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๔) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๕) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
(๖) พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฏิเทสนียะ ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเปิดใจให้กว้างและทำความเข้าใจให้ดีว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายเหล่านั้น เป็นเพียงแค่การนำเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมสงฆ์ตามปกติธรรมดา อย่าได้(เผลอ)เข้าใจผิดไปว่า นั่นเป็นความแตกแยกทางความคิดเป็นอันขาด
แต่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ ในท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายนั้นเอง ท่านพระมหากัสสปะ กลับแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ ท่านเห็นว่า คณะสงฆ์ไม่ควรเพิกถอนพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด แม้ว่าสิกขาบทหรือพระบัญญัติเหล่านั้น อาจถือได้ว่าเล็กน้อยสักเพียงใดก็ตาม เพราะมิฉะนั้น ชาวบ้านทั่วไปในสังคม ซึ่งเขาย่อมรู้ดีอยู่ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติสิ่งใดไว้กับคณะสงฆ์บ้าง ก็จะตำหนิติเตียนเอาได้ว่า ภิกษุศากยบุตร จะพึงศึกษาสิกขาบททั้งหลายที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ดีแล้ว ก็เฉพาะแต่เมื่อพระพุทธองค์ยังดำรงค์อยู่เท่านั้น ครั้นเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ภิกษุสาวกทั้งหลาย ก็เพิกถอนละทิ้งสิกขาบทอันเป็นพระบัญญัตินั้นเสีย ในท้ายที่สุด ท่านพระมหากัสสปะจึงได้เสนอญัตติว่า จะไม่เพิกถอนหรือเพิ่มเติมพระธรรมวินัย
ดังนั้น ประเด็นปัญหาข้อที่ว่า สิกขาบทเล็กน้อย หมายถึง สิกขาบทข้อใดบ้าง จึงเป็นอันต้อง “ตกไป” โดยปริยาย ทั้งนี้ มิใช่ว่าพระอรหันตเถระทั้ง ๕๐๐ รูป จะไม่ทราบ หรือมิอาจลงมติได้ว่า สิกขาบทเล็กน้อยนั้นหมายถึงสิกขาบทข้อใด หากแต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีความมุ่งหมายว่า จะทำนุบำรุงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ทั้งหมด ซึ่งถ้าหากท่านได้ทำการวินิจฉัยความหมายของ สิกขาบทเล็กน้อยเอาไว้เสียแล้ว ภิกษุสาวกในสมัยหลัง อาจถือเป็นเหตุในการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้น ตามพุทธานุญาตที่ตรัสไว้กับท่านพระอานนท์ ก็เป็นได้ ท่านพระมหากัสสปะและคณะจึงได้ทำการป้องกันเหตุเอาไว้เสียแต่แรก อันนับได้ว่าเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อนักศึกษาพระพุทธศาสนา ที่จะได้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จากข้อมูลชั้นดั้งเดิมที่สุด เท่าที่ความบีบคั้นทางสังคมประวัติศาสตร์ จะสามารถดำรงรักษาเอาไว้ได้
แต่กระนั้น มติของพระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป เมื่อครั้งปฐมสังคายนานี้ ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อด้อยไปพร้อมๆ กันด้วย กล่าวคือ แม้มติที่ว่า จะไม่เพิกถอนหรือเพิ่มเติมพระธรรมวินัย ในครั้งนั้น จะสามารถทำให้พระธรรมวินัยครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็จริง หากแต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงที่ว่า พระธรรมวินัยฉบับลายลักษณ์อักษรนั้นย่อมมิอาจล่วงพ้นกฏไตรลักษณ์ อันมีอนิจจลักษณะเป็นปฐมนั้นไปได้เลย หมายความว่า แม้มิได้มีความจงใจแต่อย่างใด ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นกับพระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษรได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูให้ดีเถิดว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร ที่ได้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมรสุมทางการเมืองของลังกา มามากสักเพียงใด และต้องไม่ลืมด้วยว่า แม้แต่คณะสงฆ์ในลังกาเองก็เกิดวิกฤติการณ์มานับครั้งไม่ถ้วน ดังเช่น กรณีความขัดแย้งระหว่าง สำนักมหาวิหาร สำนักอภัยคีรีวิหาร และสำนักเชตวันวิหาร ซึ่งมีความบาดหมางกันมานานกว่า ๑๑ ปี เข้าใจว่าพึ่งมีการปรองดองกันได้เมื่อรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ นี่เอง โดยเมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์ทางการเมือง ของลังกาในห้วงเวลากว่า ๒,๐๐๐ ปี แล้วย่อมพบว่า พระพุทธศาสนามักได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากการเมืองที่เต็มไปด้วยศึกสงคราม ทั้งจากข้าศึกศัตรูภายนอก และความแตกแยกทางการเมืองภายใน ดังที่ได้พบว่าคณะสงฆ์ในลังกา ถึงกับวอดวายจนขาดสมณวงศ์ไปเสียก็หลายหน
ดังนั้น ปัญหาที่สำคัญที่สุดของคณะสงฆ์ ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในปัจจุบันก็คือ การถูกจำกัดบทบาทในการแสดงท่าทีต่อ พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร อันเป็นผลงานการชำระและเรียบเรียงขึ้นโดยคณะสงฆ์ลังกาเมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๗ แต่กลับถูกเคลือบคลุมเอาไว้ด้วยมายาคติที่ว่า พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นพระธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งปฐมสังคายนา และได้กลายเป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่มิอาจตั้งข้อสงสัยใดๆ ด้วยประการทั้งปวง สำหรับชาวพุทธฝ่ายอนุรักษ์นิยมในบัดนี้
สภาวะตามความเป็นจริงของพระคัมภีร์
จะอย่างไรก็ตาม เราย่อมต้องยอมรับตามความจริงด้วยว่า เมื่อกล่าวสำหรับอาณาจักรยุคโบราณที่เต็มไปด้วยการศึกสงครามนั้น การคาดหวังว่า ตำรับตำราทางพระพุทธศาสนา จะเป็นสิ่งที่สามารถดำรงรักษาเอาไว้ได้ อย่างครบถ้วนต่อเนื่อง นั้นคงเป็นไปไม่ได้ ดังที่ประวัติศาสตร์การเมืองของสยามประเทศนี้ย่อมเป็นอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดีว่า แม้แต่สถานการณ์ทางการเมืองของสยาม ในช่วงเวลาแค่กึ่งสหัสวรรษ ซึ่งได้ผ่านศึกสงครามครั้งใหญ่จากศัตรูภายนอกเพียงแค่ ๒ ครั้ง เรายังไม่อาจรักษาพงศาวดารฉบับดั้งเดิม รวมไปถึงตำรับตำราฉบับหลวงของเก่า และพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาใดๆ เอาไว้ได้เลย หากแต่ต้องมีการชำระและเรียบเรียงกันขึ้นมาใหม่ ด้วยข้อมูลเท่าที่จะสามารถสืบค้นเสาะหาและรวบรวมได้ในชั้นหลังนี้เท่านั้น
ปัญหาจึงมีอยู่ว่า แม้แต่ข้อมูลอันเป็นตำรับตำราและพงศาวดารซึ่งเป็นของสำคัญที่ฝ่ายอาณาจักรจำต้องรักษาไว้ ก็ยังหลงเหลือตกทอดมาอย่างกระพร่องกระแพร่งเต็มที แต่ชาวพุทธทั้งหลายจะคาดหวังว่า พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร รวมไปถึงพระคัมภีร์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา จะสามารถรักษาสืบทอดลงมาได้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วนบริบูรณ์ โดยที่มิได้ผ่านการชำระและเรียบเรียงขึ้นใหม่ในยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูพระศาสนา หลังจากผ่านความทุกข์เข็ญในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ลังกา ได้อีกละหรือ ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ ?
ปัญหาที่คณะสงฆ์ในชั้นหลังของลังกาจะต้องประสบก็คือ ในกระบวนการฟื้นฟูพระศาสนาแต่ละครั้งนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่หลงหลืออยู่และเท่าที่จะสามารถเสาะหามาได้จากแหล่งอื่นเช่น อาณาจักรใกล้เคียงที่ยังสามารถรักษาพระคัมภีร์เหล่านั้นเอาไว้ ซึ่งก็ใช่ว่า อาณาจักรเหล่านั้นจะไม่ประสบกับปัญหาความวุ่นวายทางสังคมการเมืองเลยเสียเมื่อไร
จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ก่อนที่จะมีการรวบรวมพระธรรมวินัยขึ้นอีกครั้ง เมื่อสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ นั้น พระคัมภีร์ที่ได้มีการจดจารสืบต่อกันมาแต่โบราณด้วยภาษาสิงหฬ คงมีการตกหล่นสูญหายไปมาก จนมิอาจที่จะรักษารวบรวมให้กลับมาสมบูรณ์ครบถ้วนดังเดิมได้อีก ดังนั้น การรวบรวมพระธรรมวินัยโดยมีท่านพระกัสสปะเถระเป็นประธาน ร่วมกับภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูปในครั้งนั้น จึงได้มีการชำระและรวบรวมพระธรรมวินัยเป็นภาษามคธทั้งหมด และนี่เองก็คือจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ที่ต่อมาก็ได้เจริญรุ่งเรื่องไปทั่วสุวรรณภูมิ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นไป
ซึ่งพระคัมภีร์ทั้งหลายทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ ไม่ว่าจะเป็น พระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร คัมภีร์อรรถกถาฉบับภาษามคธของท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ที่ท่านได้แปลและเรียบเรียงไว้เมื่อราวศตวรรษที่ ๑๐ อีกทั้งคัมภีร์ฎีกาและอนุฎีกาทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่มีจุดเริ่มต้นที่กระบวนการฟื้นฟูพระศาสนา ณ ลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ เมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๗ นี้ทั้งสิ้น ดังที่เราย่อมทราบเค้าความจากคัมภีร์อรรถกถาได้อย่างชัดเจนว่า คัมภีร์อรรถกถาดั้งเดิม ที่ท่านพระพุทธโฆษะได้เคยใช้ในการศึกษา เพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาภาษามคธเมื่อราวศตวรรษที่ ๑๐ นั้น คงได้สูญหายไปจนหมดสิ้นแล้ว ก่อนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ ๑๗ เป็นแน่ สมดังที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ตรัสถึงพระคัมภีร์ชั้นหลังเหล่านั้นไว้ดังนี้ว่า
“ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังรจนาแก้อรรถแห่งบาลีนั้น เรียกอรรถกถา นับถือคลายลงมาจากบาลี เพราะเป็นปกรณ์ชั้นที่ ๒ แต่ท่านผู้รจนาเป็นผู้รู้พระพุทธวจนะ จึงยังเป็นที่เชื่อฟัง ปกรณ์อันพระอาจารย์ทั้งหลาย แต่งแก้ หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา เรียกฎีกา ที่เพิ่มฎีกา เรียกอนุฎีกา นับถือน้อยลงมากว่าอรรถกถา ถือเป็นเพียงมติของอาจารย์ผู้รจนา ปกรณ์ที่แต่งขึ้นตามความปรารภของพระอาจารย์ทั้งหลาย ไม่อยู่ในสายนี้ ถือเป็นเพียงอาจริยวาทอย่างหนึ่ง โดยทางพิจารณาสอดส่อง ได้ความเข้าใจว่า ในการสังคายนาครั้งแรก คงเป็นเพียงพระสงฆ์ประชุมกันไต่ถามสอบสวนกันถึงคำสอนของพระศาสดา ทั้งในส่วนพระธรรม ทั้งในส่วนพระวินัย ข้อใดได้ความรับรองทั่วไปหรือโดยมาก ก็ถือเอาข้อนั้นเป็นที่เชื่อฟังได้นำกันสืบมา ในคราวหลัง เมื่อเกิดเข้าใจแผกกันขึ้นว่าอย่างไรถูก หรือต้องการอธิบายข้อความอันยังไม่แจ่ม พระเถระผู้เป็นประธานในครั้งนั้น ก็ประชุมกันทำสังคายนา วินิจฉัยแล้ววางเป็นแบบสืบลงมาอีกเป็นคราว กว่าจะได้จารึกลงเป็นอักษร จึงเป็นทางที่รจนาและอธิบายได้กว้างขวาง ฯ” (วินัยมุข เล่ม ๑ คำนำ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)