คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ครั้งแรกใช้ภิกษุ 500รูปและเป็นพระอริยะทั้งหมดจนมาเป็นพระไตรปิฎกให้ชาวพุทธได้ศึกษาอยู่ทุกวันนี้
#แต่เดี๋ยวนี้บางวัด ใช้ ภิกษุไม่กี่รูป ตัดคำพระไตรปิฎก
ศาสนาชื่งหมายถึงคำสอน สมบูรณ์ที่สุดแล้วพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ท่านถึงจะนิพพาน
ศาสนาไม่ต้องแก้แล้ว แก้ที่คนนี่แก้ที่ชาวพุทธนี่
http://www.dharmatarzan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539731566
#แต่เดี๋ยวนี้บางวัด ใช้ ภิกษุไม่กี่รูป ตัดคำพระไตรปิฎก
ศาสนาชื่งหมายถึงคำสอน สมบูรณ์ที่สุดแล้วพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ท่านถึงจะนิพพาน
ศาสนาไม่ต้องแก้แล้ว แก้ที่คนนี่แก้ที่ชาวพุทธนี่
http://www.dharmatarzan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539731566
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ง่ายมากเลยหลักเกณฑ์คือ
หากสมมติไม่มีส่วนอภิธรรมปิฎก ยกเอาออกไปเสียจากพระไตรปิฎก
คำของพระศาสดาก็ยังบริบูรณ์ สมบูรณ์ ได้อยู่ดี
ยกเว้นว่า ส่วนของอภิธรรมจะเป็นส่วนที่แต่งขึ้นมาเป็นเอกเทศจากส่วนของธรรมและวินัย
หากตัดอภิธรรมปิฎกออกไป คำของพระองค์จะไม่สมบูรณ์
แต่แท้จริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย
พระองค์ทรงได้ตรัสเพียงแต่คำว่า " ธรรมและวินัย " (Only แปลว่า เท่านั้น)
จะเป็นศาสดาของพวกเธอต่อไป โดยการล่วงไปแห่งเรา
(มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘)
ดังนั้นปัญญาในารตามรู้เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปโดยยากเลยว่า
ทำไม อภิธรรม จึงเป็นคำที่ปรากฏรวบรวมขึ้นมาภายหลัง
แถมรวบรวมไปรวบรวมมา เนื้อความบางส่วนก็ไปขัดในพระสูตรอีก
คำว่า ทิฏฐิเจตสิก ในอภิธรรม ก็ไปตีความว่าประกอบในดวงจิตแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยฝ่ายเดียว
ทั้งที่ศาสดาทรงตรัสไว้เป็นสองนัย คือ สัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ
ปัญจมฌาน ผู้เรียนอภิธรรมช่วยบอกทีครับ ว่าศาสดาของท่าน(และของผม)
ตรัสไว้ในส่วนใดของพระสูตร พระวินัย
ในเมื่อพระองค์ทรงตรัสไว้หลังจากการตรัสรู้ว่า
ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
(อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓. )
แล้วไฉน เนื้อหาส่วนอภิธรรมจึงกล้าขัดแย้งในส่วนของพระสูตร พระวินัยได้ละครับ
กรุณาตอบมาทีครับ อยากทราบมานานละ
หากสมมติไม่มีส่วนอภิธรรมปิฎก ยกเอาออกไปเสียจากพระไตรปิฎก
คำของพระศาสดาก็ยังบริบูรณ์ สมบูรณ์ ได้อยู่ดี
ยกเว้นว่า ส่วนของอภิธรรมจะเป็นส่วนที่แต่งขึ้นมาเป็นเอกเทศจากส่วนของธรรมและวินัย
หากตัดอภิธรรมปิฎกออกไป คำของพระองค์จะไม่สมบูรณ์
แต่แท้จริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย
พระองค์ทรงได้ตรัสเพียงแต่คำว่า " ธรรมและวินัย " (Only แปลว่า เท่านั้น)
จะเป็นศาสดาของพวกเธอต่อไป โดยการล่วงไปแห่งเรา
(มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘)
ดังนั้นปัญญาในารตามรู้เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปโดยยากเลยว่า
ทำไม อภิธรรม จึงเป็นคำที่ปรากฏรวบรวมขึ้นมาภายหลัง
แถมรวบรวมไปรวบรวมมา เนื้อความบางส่วนก็ไปขัดในพระสูตรอีก
คำว่า ทิฏฐิเจตสิก ในอภิธรรม ก็ไปตีความว่าประกอบในดวงจิตแล้วเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยฝ่ายเดียว
ทั้งที่ศาสดาทรงตรัสไว้เป็นสองนัย คือ สัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ
ปัญจมฌาน ผู้เรียนอภิธรรมช่วยบอกทีครับ ว่าศาสดาของท่าน(และของผม)
ตรัสไว้ในส่วนใดของพระสูตร พระวินัย
ในเมื่อพระองค์ทรงตรัสไว้หลังจากการตรัสรู้ว่า
ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
(อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓. )
แล้วไฉน เนื้อหาส่วนอภิธรรมจึงกล้าขัดแย้งในส่วนของพระสูตร พระวินัยได้ละครับ
กรุณาตอบมาทีครับ อยากทราบมานานละ
แสดงความคิดเห็น
พุทธวจนปิฎก จะมาแทนพระไตรปิฎกทั้งหมดในประเทศไทย และในโลก?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
ปาติโมกขุเทศ ๕
[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปริวิตกว่า ปาติโมกขุเทศมีเท่าไรหนอ แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปาติโมกขุเทศนี้มี ๕ คือ ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
ปาติโมกขุเทศที่ ๑.
สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติ
โมกขุเทศที่ ๒.
สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้วพึงสวดอุเทศที่เหลือด้วย
สุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๓.
สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบแล้ว พึงสวด
อุเทศที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๔.
สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุเทศที่ ๕.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุเทศ ๕ นี้แล.
ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้
จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
รับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย
สมัยต่อมา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุกพล่านในวันอุโบสถ.
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจสวดปาติโมกข์โดยพิสดาร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี
พระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวด
ปาติโมกข์ย่อ.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
https://www.youtube.com/watch?v=6IfXtCiJ_-E
ว้าว! อย่างนี้ถือว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงรึเปล่าครับ?
จะมีประโยชน์อะไรที่อุตส่าห์ไปรวบรวมและจัดพิมพ์พุทธวจนมาเป็นเล่มๆ แต่ไม่ปฎิบัติตามพุทธวจน
เช่น "พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ"
แต่พระคึกฤทธิ์ไม่สวดอนิยต ๒ ในการสวดปาติโมกข์ในเวลาที่บ้านเมืองปกติ จะให้เชื่อว่าพระคึกฤทธิ์ปฏิบัติตามพุทธวจนทั้งหมดได้หรือไม่?