ต่อเนื่องกระทู้ ทำไมอัตราภาษีบุคคลธรรมดาถึงไม่เท่ากับนิติบุคคล

สืบเนื่องจากกระทู้ มีคนสงสัยกันเยอะ ก็เลยตั้งกระทู้ใหม่ซะเลย  (ยาวหน่อยแต่ลองอ่านดูครับ)  http://ppantip.com/topic/32582426

มีแต่คนสงสัยว่าทำไมอัตราภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาถึงไม่เท่ากัน เอางี้ไม๊ครับ ผมจะอธิบายให้ฟัง ไม่ใช่เค้าอยากจะตั้งเท่าไหร่ก็ตั้งนะครับ
เดิมทีเดียว (ก่อนที่จะมีการปรับอัตราภาษีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา) ทุกคนพอจะจำได้ว่า อัตราภาษีสูงสุดของ บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 37% และ นิติบุคคลอยู่ที่ 30% ใช่ไม๊ครับ   โดย concept ของการตั้งอัตราภาษี เค้าจะผูกอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเข้ากับภาษีนิติบุคคลครับ นั่นแปลว่าในความเป็นจริง อัตรา 30% มาก่อนครับ แล้วค่อยมาตั้งอัตราของบุคคลธรรมดา  แล้วทำไมมันถึงเป็นที่ 37% ได้ล่ะ   ค่อย ๆ ตามมาครับ

โดยปกติถ้าทุกคนทราบ กำไรของบริษัท เค้าเสียภาษีที่ 30% ใช่ไม๊ครับ แล้วส่วนที่เหลือ สมมติว่าเค้าปันผลให้กับผู้ถือหุ้นหมด  เช่น บริษัท A มีกำไร 100 บาท เสียภาษีไป 30 บาท  ก็แปลว่าเหลือให้บุคคลธรรมดาในรูปของปันผลที่ 70 บาทใช่บ่ อย่างไรก็ตาม สรรพากรกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% ของเงินปันผลครับ แปลว่า เวลาบริษัทปันผลให้กับ 70 บาท ผู้ถือหุ้นก็จะได้แค่ 63 บาทครับ  

เอาใหม่ครับ  ถ้าสมมติ นาย A ทำงานได้เงินได้สุทธิ (เงินเดือนหักคชจ.หักลดหย่อน) 100 บาท เราเสียภาษีสุงสุดที่ 37%  (สูงสุดนะครับ) ที่ 37 บาทครับ แปลว่าเราเหลือ 63 บาท ใช่ปะ  ในขณะเดียวกัน เกิดนาย A เปลี่ยนใจไม่ทำงานได้เงินเดือนละ ไปเปิดบริษัทดีกว่า แล้วมีกำไรที่ 100 บาท (รายได้หักค่าใช้จ่าย) บริษัท A ต้องเสียภาษีที่ 30 บาท เหลือ 70 บาทใช่ปะ เวลาบริษัทจ่ายปันผลไปให้นาย A ก็เสีย ณ ที่จ่ายอีก 10% แปลว่าเหลือถึงมือนาย A จริง ๆ 63 บาท เท่ากันจริงป่ะ

ดังนั้นโดย Concept ไม่ว่านาย A จะทำมาหากินในรูปแบบใด ก็จะเสียภาษีเท่ากัน (ซึ่งก็จะมีความเป็นธรรม) ไม่อย่างนั้น อัตราภาษีต่างกัน มันจะเกิดการย้ายหน่วยภาษีกันขึ้นครับ   ผมว่าโดย Concept ก่อนนะครับซึ่งอธิบายได้ตามข้างบนครับ  อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ทุกคนเสียภาษีในอัตรา 37% เท่ากันหมด คงจะอิ๋บหายกันละ มันก็เลยเกิดการเสียเป็นรุปแบบขั้นบันไดไงครับ แต่สูงสุดโดย concept นิติบุคคลกับบุคคลธรรมดาก็จะเสียอัตราเดียวกัน

ทีนี้เมื่อเราทำธุรกิจกันไปมาเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ เราคงพิจารณาแต่ในประเทศไทยไม่ได้ครับ เราคงต้องพิจารณาประเทศอื่นด้วย เนื่องจากเราไม่ได้ทำธุรกิจแค่ประเทศเดียว แล้วอัตรา 30% มันสูงมาก (เวียดนามกับมาเลยเซียอัตรา 25%) มันไม่จูงใจให้ประเทศอื่นมาลงทุนในประเทศ  จึงเริ่มมีการลดอัตราภาษีจาก 30% เหลือ 20% ไงคร้าบบบบ

ทีนี้ก็เริ่มมีคนสงสัยแล้วว่าถ้าใช้ตรรกะข้างบนที่อธิบายไป ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% ภาษีบุคคลธรรมดาก็ควรจะอยู่ที่ 28%  แต่ผมเข้าใจว่าถ้าไปลดแบบนั้น อาจจะมีผลกระทบในแง่ของการจัดเก็บรายได้ที่ไม่เข้าเป้าคร้าบบบ (อันนี้คิดเอง)  ดังนั้นตอนนี้ความเป็นธรรมยังบ่ได้เกิดครับ เค้าคงพิจารณากันอยู่มั้ง   เพราะตอนนี้เศรษฐกิจมันเสรี ถ้ามีการจูงใจให้บริษัทเข้ามาเปิดในไทยเสียภาษีน้อย แต่บุคคลธรรมดาเสียภาษีสูง มันก็จะเกิดการย้ายฐานของแรงงานไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีน้อย สุดท้ายมันก็จะกลับมาเหมือนนิติบุคคลที่จะต้องลดอัตราภาษีเพื่อจูงใจให้คนทำงานในประเทศไงคร้าบบบบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่